www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 60 คน
 สถิติเมื่อวาน 59 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4169 คน
4169 คน
1749437 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

คำนำ


ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนได้เข้าปล้นปืน ที่กองพันพัฒนาที่ 4 อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นการก่อการร้ายที่ร้ายแรงและไม่เคยเกิดเหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้มาก่อน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนั้น ส่งผลให้มีเหตุการณ์รุนแรงอื่น ๆตามมา หลายครั้ง คือ เหตุการณ์กรือเซะ เหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์ตันหยงลิมอ การลอบเผาโรงเรียน การลอบทำร้ายผู้บริสุทธิ์

การเผยแพร่ข่าวตามสื่อสารมวลชนต่าง ๆ สร้างความสับสนต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางข่าวทำให้เกิดความหวาดกลัวของคนต่างถิ่น และไม่ยอมที่จะเดินทางมาในพื้นที่ บางข่าวมีการนำเสนอเกินความเป็นจริง บางข่าวมีการแพร่ภาพที่หวาดเสียว ไม่มีการปกปิด สร้างความสยดสยองต่อผู้ที่ได้รับความสาร

คู่มือการสื่อข่าวในภาวะวิกฤต จึงเป็นแนวทางในนำไปใช้ปฏิบัติของผู้สื่อข่าว ซึ่งจะทำให้การนำเสนอข่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้รับสาร ให้ได้รับข้อมูลรอบด้าน ที่สำคัญจะได้เป็นกรอบการทำงานที่จะไปสู่ความสำเร็จของ การสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชนในพื้นที่ และจะนำไปสู่ความสงบสุขของคนในชาติ

บทที่ 1
ภาวะวิกฤต
ภาวะวิกฤต (CRISIS)

ภาวะวิกฤต ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า CRISIS และคำนี้ในภาษาไทยยังมีความหมายเดียวกันอีกคือ "เหตุวิกฤต" "วิกฤตการณ์" "ภาวะไม่ปกติ"

ภาวะวิกฤต สำนักสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ให้คำจำกัดความว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยมากเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันและต้องการตอบสนองอย่างรวดเร็ว เหตุวิกฤตรบกวนการดำเนินชีวิตตามปกติ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่แน่นอนมีความตรึงเครียด ภาวะวิกฤตอาจเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว การเกิดสึนามิ เมื่อ 26 ธ.ค.47 และน้ำท่วม ภาวะวิกฤต ยังเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การเผาทำลายอาคารโรงเรียน วัด มัสยิด ที่ทำการปกครอง การฆ่าพระภิกษุ โต๊ะอิหม่าม การระเบิดเสาไฟฟ้าที่ จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี การจับกุมตัวครูจูหลิง และการทำร้ายครู การลอบระเบิดรถทหาร

ภาวะวิกฤต หรือภาวะที่ไม่ปกติ ประเทศไทยมีแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติด้านการประชาสัมพันธ์ และการจัดการด้านข้อมูลข่าวสารที่ 1/2542 โดยหมายถึง เหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ ได้แก่

1.กรณีที่ประเทศไทยอาจมีภัยคุกคามด้วยกำลังทหารจากภายนอกประเทศ เช่น กรณีที่ว้าแดง สู้รบชาวไทยใหญ่ ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่

2.กรณีประเทศไทยถูกคุกคามด้วยกำลังทหารในบริเวณชายแดนทั้งทางบกและทางทะเล รวมทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาการสู้รบของประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในบริเวณชายแดน ไม่สามารถ
จะดำเนินชีวิตตามปกติสุขได้

3.กรณีที่มีเหตุการณ์ก่อความไม่สงบและการจลาจลอย่างรุนแรง เช่นกรณีสะพานบองอ จ.ปัตตานี เมื่อปี 2518 ที่มีชาวปัตตานีออกมาชุมนุม เหตุการณ์ 16 ตุลาคม 2514 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 20 พฤษภาคม 2535 เหตุการณ์กรณีตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เหตุการณ์กรณีกรือเซะ วันที่ 28 เมษายน 2547 กรณีปล้นปืนค่ายปิเหล็ง 4 มกราคม 2547 กรณีตันหยงลิมอ วันที่ 21 กันยายน 2548กรณีจับกุมครูจูงหลิง วันที่ 19 พ.ค.49 กรณีระเบิดป่วนเมือง 15 -18 มิ.ย.2549

4.กรณีเกิดสาธารณภัยและภัยธรรมชาติอย่างรุนแรงในพื้นที่บางส่วนของประเทศ เช่น การเกิดสึนามิ เมื่อ วันที่ 26 ธ.ค.47 เหตุการณ์น้ำท่วมหาดใหญ่เมื่อ ปี 2542 และปี 2548

5.กรณีเกิดเหตุการณ์รุนแรงอันเนื่องมาจากการแพร่กระจายของนิวเคลียร์ สารเคมีและอาวุธชีวะภาพ

6.กรณีเกิดสถานการณ์รุนแรง อันเนื่องมาจากการแพร่กระจายข่าวสารผ่านทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น อินเตอร์เน็ตและผ่านสื่อข้ามชาติที่กระทบต่อความมั่นคง เช่น เว็บไซต์พูโล www.pulo.org หรือ www.puloinfo.net ที่ฐานปฏิบัติการที่ประเทศสวีเดน เป็นต้น

 

* * * * * * * * * * * * * *


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com