|
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552 ผมได้มีโอกาสเดินทางไปชมพุทธสถานภูปอ ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดอินทรประทานพร หมู่ 3 บ้านโนนสวรรค์ ต.ภูปอ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ เป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาที่น่าสนใจยิ่ง โดยผมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก คุณอนันต์ จำเริญเจือ ซึ่งทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาที่วัดแห่งนี้ ได้จัดส่งข้อมูลไปให้ผม ทางอีเมล์ พร้อมรูปภาพบางส่วน และต้องขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย และผมต้องขอขอบพระคุณหลวงพี่เบิร์ด ที่ให้ข้อมูลในการประสานงานเป็นอย่างดี ผมหวังว่าข้อมูลที่เผยแพร่ต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ท่านที่สนใจสามารถติดต่อขอข้อมมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณอนันต์ โทร 087-1011569 |
|
ผมได้เดินทางไป วัดภูค่าว หรือวัดพุทธนิมิต ซึ่งตั้งอยู่ใน ตำบลสหัสขันธ์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยวัดนี้ ตั้งอยู่ห่างจาก อำเภอสมเด็จประมาณ 30 กม. และตั้งอยู่ห่างจาก อำเภอสหัสขันธ์ ประมาณ 10 กม. วัดภูค่าว จะตั้งอยู่ระหว่างทางไปอำเภอสหัสขันธ์ กับอำเภอสมเด็จ เราสามารถมองเห็น พระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างพุทธไสยาสน์ องค์นี้ ดูแปลกจากองค์อื่น ๆ ที่ผมเห็นมา และยังแตกต่างจากพุทธไสยาสน์ที่ประดิษฐานที่ภูปอ ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก ตามประวัติระบุว่า พุทธไสยาสน์ องค์นี้ เป็นสาวกของพระพุท
ธเจ้า คือ พระโมคัลลานะ สังเกตได้จาก เศียร จะหันไปทางซ้ายมือของเรา หรือนอนตะแคงซ้าย ที่เศียรก็ไม่มีพระเกตุมาลา และองค์เล็กกว่าพุทธไสยาสน์ที่ดินภูปอ |
|
วัดพุทธาวาส ซึ่งวัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูเขา ที่ชาวบ้านเรียกว่าภูสิงห์ และภูเขาลูกนี้ตั้งอยู่ในตัว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สิ่งที่มหัศจรรย์ก็คือ บนภูเขาจะมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ถ้ามองจากพื้นล่าง จะมองเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งแต่ไกล ได้อย่างชัดเจน ผมเดินสำรวจอยู่พักหนึ่งก็ได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับ เจ้าอาวาส โดยพระอาจารย์ได้บอกว่า การนำเสนอข่าวต้องนำเสนอ แบบพูดตามข้อเท็จจริง แต่การพูดข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ถ้าไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่ต้องนำเสนอ ซึ่งสิ่งที่ออกมาจะกลับไปสู่สันติ และต้องเป็นข่าวเพื่อชี้นำสันติอย่าไปเขียนเพื่อนำสูความขัดแย้ง การคิดต้องคิดให้ไกล แต่ทำให้ใกล้ |
|
สิงห์แห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระขนาดใหญ่ นามว่า พระพรหมภูมิปาโล ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ ตัวอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้เนื่องจากปลายปี พ.ศ. 2509 จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในพื้นที่ Sensitive Area ที่มีการแทรกซึมบ่อนทำลายของฝ่ายตรงข้ามคือ ลัทธิคอมมิวนิสต์ นายบุรี พรหมลักขโณ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมพระพุทธศาสนาวัฒนธรรมและประเพณีจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มีมติให้มีการก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนไหล่เขาภูสิงห์ด้านทิศใต้เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยึดเหนี่ยวจิตใจแก่ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ และเป็นมิ่งมงคลแก่บ้านเมือง |
|
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านถือกำเนิดในสกุล แก่นแก้ว โดยมีนายคำด้วง เป็นบิดา และนางจันทร์เป็นมารดา ในวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ. 2413 ณ บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ณ วัดบ้านคำบง ต่อมาภายหลังอีก 2 ปี ได้ลาสิกขาบทตามคำร้องขอของบิดา เพื่อให้ไปช่วยงานการที่บ้าน เมื่ออายุได้ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2436 โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจา พระครูประจักษ์ อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ |
|
เมืองสงขลา เป็นเมืองที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน และเป็นเมืองที่น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะโบราณสถานในพระพุทธศาสนา ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ตามแถบเทือกเขาน้อย , เขาหัวแดง มีป้อมค่าย และสถูปเจดีย์ ตั้งอยู่เรียงราย ซึ่งในอดีต บริเวณนี้เป็นที่ตั้งเมืองเก่าสงขลา เพราะเมื่อเจ้าเมืองมีการขึ้นดำรงตำแหน่ง ก็จะมีการสร้างวัดประจำเจ้าเมือง เพื่อเป็นการเสริมบารมี และพื้นที่ที่ผมกล่าวมา ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่ใน อ.สิงหนคร จ.สงขลา ตรงนี้แหล่ะครับ ผมได้พบกับ สามเณรโดนี่ จันทร์ดี พร้อมสามเณรน้อย ประมาณ 5 รูป สามเณรโดนี่ ทักทายผมด้วยอัธยาศัย ไมตรีเป็นอย่างดี และผมก็ได้ทักทาย สามเณรโดนี่ ที่ได้ให้การต้อนรับผม ด้วยท่าทีที่ยิ้มแย้มแจ่มใส หายเหนื่อยครับ ที่ผมได้มีโอกาสสนทนา |
|
กรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรส และสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ทำให้ชาวต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาค้าขาย ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา เป็นจำนวนมาก อาทิ ชาวอินเดีย ชาวเปอร์เซีย หรือชาวอิหร่าน ในปัจจุบัน โดยชาวมุสลิม จากเปอร์เซีย ที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา มี 2 สาย คือ สายที่หนึ่ง คือ เชคอะหมัด พร้อมน้องชาย เดินทางเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ยุคกลาง และได้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา โดยการตั้งห้างร้าน ทำมาค้าขายจนรุ่งเรืองร่ำรวย ทำให้ เชคอะหมัด เป็นที่รู้จักในกรุงศรีอยุธยา และได้รับพระราชทาน ทินนาม ใหม่ ซึ่งเป็นต้น ตระกูลบุนนาค ที่พวกเรารู้จัก มาจนถึงทุกวันนี้ |
|
วัดเขาน้อย : ตั้งอยู่ที่บ้านบนเมือง หมู่ 78 ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:smarttags" />38 ไร่ 2 งาน 2ตารางวา ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ระหว่างสามแยกการท่าเรือน้ำลึกสงขลา กับสะพานติณสูลานนท์ เกาะยอ ทางด้านทิศใต้ ประมาณ 500 เมตร เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณยุคพุทธศาสนามหายานแห่งศรีวิชัย ต่อมาเมืองสงขลาได้ตั้งขึ้นที่เขาค่ายม่วง หรือที่เรียกว่า เมืองสงขลาหัวเขาแดง |
|
.
นับเป็นความโชคดีของผมที่ได้มีโอกาส ไปทำงานที่ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ระหว่างปี วันที่7 ธันวาคม 2540- 30 มิถุนายน 2546 ได้เรียนรู้และได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองในลุ่มน้ำตะกั่วป่า พอสมควร วันหนึ่งผมได้รับบันทึกฉบับหนึ่ง ซึ่งผมมีสำเนาต้นฉบับอยู่ที่ผม และผมรับรองได้เลยว่า บันทึกนี้มีอยู่กับผมเพียงผู้เดียวที่เขียนด้วยลายมือของพระอาจารย์จรัญ (พระครูโสภณประชานุกูล) เจ้าอาวาสวัดนารายณิการาม หรือ วัดเหล ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ที่ ตำบลเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา
(ในภาพ:พระครูโสภณประชานุกูล ผู้เขียนเรื่องรอยพระพุทธบาท ในป่าลึก กะปง พังงา)
|
|
ทวดหัวเขาแดง เป็นเทพที่สถิตอยู่ที่หัวเขาแดงปากน้ำเมืองสงขลา และเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่ว ๆ ไป มาแต่สมัยโบราณว่า ทวดคอยอภิบาลคุ้มครองปัองกันรักษาความปลอดภัย ประสิทธิ์โชคลาภนานาประการแก่เมืองสงขลา ประชาชนชาวสงขลาและผู้ที่เดินทางผ่านไป-มา ทั้งทางบกและทางทะเล
สมัยญี่ปุ่นขึ้น พ.ศ.2484 มีระเบิดลงมา 6 ลูก ที่หน้าศาลของปู่ทวดหัวเขาแดง แต่ระเบิดไม่ปะทุ (ไม่ระเบิด) มีเรือญี่ปุ่นจอดอยู่ด้วย แต่ไม่ได้รับอันตรายและชาวสงขลาส่วนใหญ่จะหลบภัยอยู่ตามถ้ำ ซึ่งในปัจจุบันคือถ้ำแม่นาง |