www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 22 คน
 สถิติเมื่อวาน 24 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2297 คน
11327 คน
1703771 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

คำนำ

คู่มือการบริหารการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต เป็นหนังสือคู่มือที่นำการประชาสัมพันธ์มาใช้แก้ไขปัญหาวิกฤติ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แต่การประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือ ที่จะช่วยให้เกิดความความเข้าใจ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภาษา ศาสนาอีกตั้งยังได้ทราบ ที่มาของขบวนการก่อการร้าย ที่เป็นระดับแกนนำ และแนวร่วมที่สำคัญ ขณะที่เหตุความไม่สงบมีส่วนหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากขบวนการค้ายาเสพติด นอกจากนี้คู่มือเล่มนี้ยังเป็นแนวทางให้มีความคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลกภายนอกหรือไม่

คู่มือการบริหารการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต ยังได้นำคู่มือสำหรับ ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ที่รับราชการในมณฑลซึ่งมีพลเมืองนับถือศาสนาอิสลาม พ.ศ.2466 ในรัชกาลสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มาเสนอเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ต่อรัฐประศาสโนบายที่มีต่อพลเมืองในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะ ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ที่มาเป็นฝ่ายปกครองบ้านเมือง

คู่มือเล่มนี้ ยังเป็นการวิเคราะห์การทำงานของขบวนการแบ่งแยกดินแดน ที่ก่อตัวขึ้นในประเทศและขบวนการที่มาจากต่างประเทศ เพื่อให้นักประชาสัมพันธ์ได้เรียนรู้ว่า เรากำลังต่อสู้อยู่กับใคร ซึ่งจะนำไปสู่การวางยุทธศาสตร์การต่อสู้ที่เป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุด นั่นคือยุทธศาสตร์ดอกไม้หลายสี

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
ผู้สื่อข่าว 8 ว.
22 พฤศจิกายน 2549


 

บทที่ 1
รัฐประศาสโนบาย รัชกาลที่ 6
หลักการบริหารราชการในมณฑลปัตตานี


การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลสยามให้ความสำคัญ ต่อการปกครอง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นอย่างยิ่งโดยสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีหลักรัฐประศาสโนบายว่า ข้าราชการที่จะลงไปรับราชการในพื้นที่ของ มณฑลปัตตานี จะต้องมีการอบรมให้มีความรู้ และต้องปฏิบัติตามหลักรัฐประศาสโนบายสำหรับผู้ปฏิบัติราชการในมณฑลปัตตานี ตามพระราชหัตถเลขาที่ 3/78 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2466 โดยมีข้อความบางตอนว่า

"...ข้าราชการที่จะแต่งตั้งออกไปประจำตำแหน่งในมณฑลปัตตานีพึงเลือกเฟ้นคนที่มีนิสัยซื่อสัตย์ สุจริต สงบเสงี่ยมเยือกเย็น ..... เมื่อจะส่งไปแล้วต้องสั่งสอนชี้แจง ให้รู้ลักษณะทางการอันพึงประพฤติระมัดระวัง............. ผู้ใหญ่ในท้องที่พึงสอดส่องฝึกอบรมกันต่อ ๆ ไป ในคุณธรรมเหล่านั้นเนือง ๆ ใช่แต่คอยให้พลาดพลั้งลงไปก่อนแล้ว จึงจะลงโทษ............"

ข้อพึงระวัง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้จัดทำสมุดคู่มือสำหรับข้าราชการ พ.ศ.2466 ที่มาปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการที่มาจากภาคอื่นของสยาม ได้มีความระมัดระวัง ต่อการปฏิบัติงาน โดยมีสารที่สำคัญ 14 ข้อ คือ
1.)คัมภีร์กุรฺอาน(Qur' an)
2.)การจับต้องคัมภีร์กุรฺอาน
3.)การเรียนรู้หนังสือยาวี
4.)ประเพณีเกี่ยวกับสตรีมุสลิม(มุสลิมะฮฺ)
5.)การถือศีลอด
6.)การออกบวชและออกหะยี
7.)การละหมาดประจำวัน
8.)การละหมาดและฟังคุตบะฮฺในวันศุกร์
9.)การห้ามใส่รองเท้าในมัสยิด
10.)ข้อห้ามในเรื่องการทำกิริยาและการเปล่งวาจา
11.)การทำระเหต็บและระเหต็บอาหรับ
12.)การบริโภคและแตะต้องสุกร
13.)การเสพสุราหรือแตะต้องสุราเป็นบาป
14.)เรื่องโต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม หรือ โต๊ะหะยีและโต๊ะละใบ


1.)คัมภีร์กุรฺอาน(Qur' an) :
หนังสือโกรานเปนคัมภีร์ซึ่งพระออลลอห์เจ้า ได้บัญญัติคำสั่งสอนลงไว้ให้ชายหญิงชาวอิศลามทุกคนเรียนรู้ ทั้งให้เคารพต่อคัมภีร์โกรานด้วย โกรานจึงเปนคัมภีร์สิ่งสำคัญประเสริฐของพวกอิศลาม แม้นแต่ถ้ากำลังทำกิจการอันใดเช่นกำลังเดินอยู่ เมื่อได้ยินเสียงมีคนอ่านโกรานอยู่แล้วต้องหยุดชั่วขณะหนึ่ง สำหรับการสงบดวงจิตแลแสดงความกลัวเกรง แก่โกรานนั้น อาศรัยข้อบัญญัติในเรื่องโกรานบทที่ 27 กับฮะดิศข้อบัญญัติในเรื่องโกรานบทที่ 27 กับฮะดิศ หรือคำสั่งสอนของพระมหมัด เปนหลัก อิศลามคนใดที่ไม่เรียนรู้หนังสือโกรานย่อมมีโทษเป็นบาป ถานขัดขืนคำสั่งของพระ ส่วนคุณแห่งผู้ที่เรียนรู้โกรานนั้นมีเปนลำดับจนถึงกับมีอำนาจอาจกันไฟนารกร้ายแรง ไม่สามารถที่จะทำอันตรายร้ายแรง ไม่สามารถที่จะทำอันตรายแก่ผู้ที่รู้หนังสือโกรานนั้นได้เลย เหตุนี้หนังสือโกรานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ชาวอิศลามต้องการนัก ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงให้ความสำคัญกับคัมภีร์โกรานหรือคัมภีร์ กุรอาน เป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นหัวใจของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ละเว้น จะต้องขาดจากการเป็นมุสลิมทันที ดังนั้น ทุกคนต้องให้ความเคารพ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนต่างศาสนิกก็ตาม เพราหากไม่เคารพก็จะต้องถือเป็นบาปอย่างยิ่ง สิ่งเหล่านี้ ผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องใช้ความระมัดระวัง เป็นพิเศษ

2.)การจับต้องคัมภีร์กุรฺอาน : โกราน เมื่อเปนพระคัมภีร์คำสั่งสอนแห่งพระออลลอห์เจ้าลงมาให้ชาวอิศลาม เชื่อฟังนับถือให้เคารพกลัวเกรง แม้นแต่ในหมู่ชนชาวอิศลามเอ็ง เมื่อจะจับต้องโกรานคราวใดก็ต้องกระทำการชำระร่างกายอย่างสอาจโดยมีน้ำละหมาดด้วยก่อนจึงถูกต้องโกรานได้ โกรานเปนสิ่งที่นับถือของชาวอิศลามเหตุนี้จึงใช้โกรานซึ่งเป็นเครื่องสาบาล มีประจำสำหรับที่ว่าการของรัฐบาลทั่ว ๆ ไปนั้น ควรจัดวางไว้ในที่ ๆ เห็นว่า เปนการเคารพคารวะ ปราศจากความหลบหลู่ เมื่อจะให้สุขุมกลมเกลียวกับการสาสนาของราษฎรในบังคับบัญชาเราแล้ว เมื่อมีกิจจำเปนเกี่ยวข้องกับดกราน เช่นให้พยานกระทำสัตยสาบาลตนเปนต้น.........ให้ผู้ที่เปนอิศลามนิกชนหยิบเอามาให้พยานสาบาล ตลอดจนการที่จะเอาคืนไปไว้ที่ โดยไม่ต้องให้คนนอกช่วยเหลือ การกระทำดังกล่าวนี้จะเปนการพ้นจากสิ่งที่เขารังเกียจกันนั้นได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงให้ความสำคัญต่อการจับ คัมภีร์กุนอาน ผู้จับต้อง จะต้องเป็นผู้ที่สะอาด เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการทำการสาบานตนเมื่อขึ้นสู่ศาล ดังนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องละเว้นการจับต้อง หากจะจับต้องจะต้องให้ ผู้ที่เป็นมุสลิมจับต้องคัมภีร์กุรอานจะดีที่สุด และจะไม่เป็นเงื่อนไขที่แกนนำ จะเอาไปโฆษณาชวนเชื่อ


3.)การเรียนรู้หนังสือยาวี : หนังสือยาวีนั้น เปนหนังสือที่แปลงมาจากโกราน หรือหนังสืออาหรับ โกรานเปนหนังสือที่มีสระ แลพยันชนะประสมกันเป็นตัวอักษรหนังสืออาหรับ ส่วนหนังสือยาวีนั้นใช้แต่พยันชนะประสมกันทิ้งสระทั้งหมด แต่ตัวอักษรคงเดิมอันเดียวกับโกรานนั้นเอ็งเรียกกันว่าหนังสือยาวี การเรียนหนังสือยาวีนี้ก็เนื่องมาจากเรื่องที่ต้องรู้ความประสงค์ของพระคัมภีร์โกราน เมื่อต้องรู้ความประสงค์ในโกรานแล้ว ความจำเป็นพวกยาวีที่จะต้องรู้หนังสือยาวีก็มีขึ้น เพราะเหตุว่าโกรานที่แปลเปนภาษายาวีเรียกว่ากิตับ หรือหนังสือคำแปลโกรานเปนภาษายาวีมีอยู่ และด้วยเหตุว่าการเรียนโกรานของชาวอิศลามในแหลมมลายู ชั้นต้นโดยมากเรียนเพียงอ่านออกก่อน สำหรับการสวดมนต์ไหว้พระส่วนการรู้จักแปลความประสงค์ในโกรานนั้น จะรู้แต่เมื่อได้เรียนรู้หนังสือยาวีสำเร็จอีกภาษาหนึ่ง จึงย้อนกลับมาแปลเอาความเข้าใจแจ่มแจ้งจากกิตับแปลโกรานนั้น เหตุนี้การเรียนหนังสือยาวีก็เปนความต้องการด้วยเหมือนกัน หนังสือยาวีนอกจากต้องการสำหรับการแปลใจความในโกรานแล้ว ยังต้องใช้ประโยชน์อื่นอีกโดยเปนหนังสือสำหรับพื้นเมือง ใช้ในการตอบโต้จดหมายแลใช้ในงานการเมืองทั่วไป สำหรับชาติแขกยาวีแต่เป็นกิ่งก้านของโกราน โกรานเท่ากับเป็นลำต้นแห่งการหนังสือ ถ้าได้เรียนรู้หนังสือโกรานแล้วเปนการง่ายสำหรับการเขียนหนังสือยาวีมาก เพราะเค้ามูลและตัวอักษรตั้งต้นมาจากดกรานเมื่อประเพณีความนิยมความจำเปนและสิ่งหนักเบามีอยู่แก่การเล่าเรียนหนังสือสองชนิดยิ่ง และหย่อนกว่ากันมีอยู่ดังนี้ หน้าที่ผู้ปกครองก็ควรจะผ่อนผันตามความที่ราษฏรนิยม สิ่งใดมากก็อนุโลมให้มีการเล่าเรียนในสิ่งนั้นด้วยหรือให้มีการไปด้วยกันโดยวิธีปันเวลาการเล่าเรียนสุดแต่เหตุผล ภูมิประเทศความสามารถที่อาจจะจัดทำได้


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงชี้ให้เห็นว่า ที่มาของอักษรยาวี นั้นมาจากคัมภีร์โกรานหรือคัมภีร์กุรอาน ซึ่งเป็นอักษรอาหรับ หรืออักษรอารบิก ที่มีการใช้กันมากในตะวันออกลาง ดังนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจค้นจับกุม และยึดเอกสารมาได้ มักจะเข้าใจผิดคิดว่าเอกสารที่ได้มาเป็นหนังสือภาษาอาหรับ แต่เป็นอักษรยาวี เพราะอักษรยาวี มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรอาหรับเป็นอย่างมาก ลักษณะการ
เขียนก็เหมือนกัน เพียงแต่อักษรยาวีนำเอาแต่พยัญชนะมาใช้เท่านั้น จึงทำให้หลายครั้งที่มีการตรวจค้นจับกุมและนำเอกสาร มาตรวจสอบจึงพบว่า ไม่ใช่หนังสือภาษาอาหรับ ที่ใช้ในการปลุกระดมตามที่เข้าใจกัน จึงทำให้เกิดเงื่อนไข นำไปสู่การโฆษณาชวนเชื่อของผู้ก่อการร้ายว่า มีการลบหลู่ คัมภีร์ และไม่เข้าในในภาษา นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ยังทรงชี้ให้เห็นว่า ควรให้ราษฎรมีการใช้ภาษายาวี เป็นภาษาในการสื่อสาร และยังให้มีการเรียนภาษายาวีด้วย ดังนั้น อักษรยาวี จึงไม่สามารถที่จะแยกออกจาก ศาสนาอิสลาม ได้ เพราะใช้เป็นสื่อในการทำความเข้าใจในคัมภีร์โกราน นั้นเอง

4.)ประเพณีเกี่ยวกับสตรีมุสลิม(มุสลิมะฮฺ) : เนื่องจากเหตุว่า อาการกิริยากลิ่นศรีแห่งหญิงเปนต้น กระทำให้เกิดการพลั้งเผลอสติแห่งชายเพราะฉะนั้นความรับผิดชอบในการบาปจึงไม่พ้นหญิง อาศรัยพระคัมภีร์บทที่ 18 เปนหลักในเรื่องหญิงและประเพณีนิยมกันว่า หญิงรุ่นสาวแต่อายุ 9ปี เปนเกณฑ์นับว่าเข้าอยู่ในความระมัดระวังของผู้ปกครอง ปราศจากความปะปนแห่งชายแล้ว และด้วยธุรกิจเมื่อจะออกจากที่กำบังก็ต้องปกคลุมร่างกายโดยมิดชิด มิฉะนั้นเปนบาปแก่ตน ส่วนการพบปะกับชายสำหรับหญิงที่มีสามีแล้ว ยิ่งเปนการลำบากมาก นอกจากญาติพี่น้องที่สนิทแล้ว ถ้าพบปะกันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีก่อนย่อมเปนผิดทั้งมีบาปแก่ตัวหญิงด้วย ข้อห้ามในเรื่องหญิงนอกจากนี้ยังมีอยู่ีอิิกมาก ถ้าจะจดลงในที่นี้ต่อไปอิกก็เปนการเกินต้องการไป จึงได้งดไว้แต่เพียงเท่านี้ เพื่อเป็นเครื่องรู้ศึกว่าบัญญัติในเรื่องผู้หญิงชาวอิศลามนั้นเขาห้ามหวงกันเคร่งครัดนัก ล้วนแต่เปนบาปไปแทบทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อประเพณีข้อห้ามหวงกันแขงแรงดังนั้นแล้ว หน้าที่เราผู้ปกครองบังคับบัญชาชาวอิศลาม เพื่อความนิยมนับถือก็จำเป็นจะต้องอนุโลมตามแต่ที่จะเปนไปได้ เช่นถ้าจะบังคับให้เด็กหญิงชาวอิศลามเรียนหนังสือ และเมื่อได้จัดให้มีโรงเรียนและมีครูผู้หญิงสอนต่างหาก ไม่ต้องปะปนกับผู้ชาย เมื่อได้จัดการได้เรียบร้อยเช่นนี้แล้ว จึงเปนเวลาสมควรจะบังคับเรื่องผู้หญิงได้ ส่วนการที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงว่าโดยทั่ว ๆ ไป เช่นการเปิดหรือให้เปิดผ้าคลุมศีศะออกอันเป็นของที่เขาต้องกระทำ เพื่อด้วยการสาสนานั้น หาควรรบกวนไม่ ข้อเหล่านี้เปนต้นย่อมเป็นสิ่งที่ควรต้องรู้เหตุผล

เรื่องผู้หญิงมุสลิม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะในคัมภีร์ ก็มีความเคร่งครัดอย่างหนักหนา การอยู่กันสองต่อสองระหว่างชายหญิงเป็นส่งที่ต้องห้าม เด็กผู้หญิงตั้งแต่ อายุ 9 ขวบขึ้นไป ผู้ปกครองก็ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด การเรียนการสอนก็ต้องมีการแยกหญิงออกจากชาย ไม่ให้เรียนปะปนกัน การคลุมผม หรือการสวมใส่ฮิญาบ ก็เป็นไปตามหลักศาสนา ที่ไม่ต้องไปรวบรวนซึ่งข้าราชการที่ลงไปทำงานในพื้นที่ ก็จะต้องมีความเข้าใจในส่วนนี้

5.)การถือศีลอด : หรือการถือบวช โดยข้อบัญญัติในพระคัมภีร์โกรานบทที่ 27 บัญญัติให้ชายหญิงชาวอิศลามทุกคนถือบวชในเดือนรัมดอน 30 วัน ด้วยความกะเกณฑ์อันแขงแรงเปนวะหยิบ หรือการกะเกณฑ์แห่งพระผู้เปนเจ้า ใครไม่ทำมีโทษและมีการถือบวชในเดือนชะวัน อีก 6 วัน เรียกว่าบวชหก บวชหกสำหรับเดือนชะวัน 6 วันนี้ ผู้ใดสามารถทำได้ก็เปนผลกำไรเมื่อไม่ทำก็ไม่มีโทษ แต่ประโยชน์สำหรับการถือบวชในเดือนชะวัน 6 วันนั้น ถ้าใครทำอาจช่วยเหลือใช้หนี้บวชของเดือนรัมดอน ที่ขาด เพราะการเจ็บป่วยหรือเหตุจำเปนซึ่งให้การถือบวชขาดไปในระหว่างเดือน เช่นระหว่างเวลาที่ถือบวชอยู่นั้น ป่วยไข้ลงหรือหญิงที่มีโลหิตประจำเดือนมาระหว่านั้น ก็ต้องเปนการขาดบวชเดือนรัมดอนที่จะทดแทนโดยการบวชของเดือนชะวัน 6 วันนั้นได้ ในวันที่ใช้หนี้กันเช่นนี้แล้วใช่ว่าวันสำหรับเดือนชะวันจะขาดประโยชน์ไปด้วยก็หามิได้ ในวันเดียวกันนั้นอาจใช้หนี้ในเดือนรัมดอนด้วยและเปนการได้ กำไรสำหรับเดือนชะวันด้วยอีกโสตรหนึ่ง การถือบวชนับแต่เวลา 4 นาฬิกาก่อนเที่ยงไปจนถึงเวลา 6 นาฬิกา ล.ท. 38 นาที ระหว่างนั้นเปนเวลาห้ามอาหารการบริโภคกลิ่นรสทั้งปวง แม้นแต่น้ำเมือกในคอแห่งตนเอ็งก็ต้องบ้วนทิ้งคนถือบวชโดยมากไม่ใคร่จะมีกำลังทำการงานอันใดในเดือนบวช เพราะเกี่ยวด้วยการธรมานตน ทั้งนิยมกันว่าเปนเดือนที่จะกระทำการกุศลในระหว่างรอบปี 1 ๆ ทรัพย์สินที่หาได้ในระหว่างปีก็มักถือเอาว่าจะได้สำหรับการทำบุญให้ทานบริโภคใช้สอยให้สบายในเดือนที่ถือบวชโดยปราศจากต้องทำการงานอันใด ๆ ทั้งหมดที่ต้องออกแรงออกกำลัง โดยเหตุผลดังกล่าวมาข้างบนแล้ว การปกครองชาวอิศลามผู้เปนราษฎรของเราในเวลาที่เขาถือบวชธรมานตนปราศจากเรี่ยวแรงกำลังเช่นนั้น ควรจะเลี่ยงหลีกละเว้นหรือผ่อนผันสิ่งที่จะบังคับกวดขันหรือการเรียกร้องกะเกณฑ์อันเปนทางขัดความสะดวกในเวลาถือบวชให้มากที่สุดที่สามารถจะผ่อนได้

การถือบวช ของชาวมุสลิม ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง การที่ผู้ปกครองลงมาในพื้นที่ จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องนี้ เพราะการถือศีลอดเป็นเรื่องของการทรมานตน กลางวันไม่สามารถที่จะรับประทานน้ำและอาหารได้ และแม้แต่นำลายของตนเองก็ห้ามกลืน ในเดือนนี้ชาวมุสลิม จึงมีร่างกายที่อ่อนแอ การที่จะกระทำงานต่อชาวมุสลิมในเดือนนี้จะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นผู้ก่อความไม่สงบ จึงมักจะใช้เรื่องนี้ นำไปโฆษณาชวนเชื่อ เช่นกรณี ตากใบ แกนนำ ได้มีการแจ้งว่า จะมีการออกบวชที่ตากใบ และมีการชักชวนว่าจะมีงานละศีลอดที่ ตากใบ ทำให้ชาวมุสลิมบางคนหลงเชื่อจึงได้เข้าร่วมชุมนุม โดยไม่ตั้งใจ และเมื่อมีการขนย้ายไปกุมขังที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จึงมีคนล้มตายไปจำนวน 78 คน ดังนั้น ในเรื่องการประชาสัมพันธ์จึงต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

6.)การออกบวชและออกหะยี : การลาบวชเนื่องมาจากการถือบวชเมื่อครบ 30 วันแล้วก็ต้องออกหรือลาบวช เรียกว่าออกอิดเล็ด มีกำหนด 3 วัน การออกอิด 3 วันนี้ถือว่าเปนวันกรุศของชาวอิศลาม มีการทำบุญให้ทานและออกซะกาด เข้าในวันลาบวชทุกคนละ4 ทนานที่จะให้ทานตามบัญญัติข้อสั่งสอน ของพระ นอกจากนั้นก็มีการทำบุญที่สุเหร่า กับการขอสมาลาโทษซึ่งกันแลกันเปนต้นการออกหะยี นับทั้งเดือนรัมดอนไป 100 วันมีการออกหะยีอีก 4 วันเรียกว่าอิดใหญ่ มีการทำบุญให้ทาน การเยี่ยมเยียนสุสานและสุเหร่ามัสยิด การขอสมาลาโทษเที่ยวเกร่เหมือนอย่างวันออกอิดน้อย แต่ออกอิดใหญ่นี้มีเวลา 4 วัน (พวกที่ไปเมกะจะได้สรวมผ้าหะยีกันในระหว่างวันอออิดใหญ่นี่เอง )สำหรับผู้ปกครองบังคับบัญชาคนอิศลามก็มีอยู่แต่ว่า ควรรู้ถึงกิจการแลวันเวลาสำคัญของคนในบังคับเรา เช่นการล่ำลาแห่งเสมียนพนักงานในใต้บังคับ ผ่อนผันกิจการอันเกี่ยวข้องด้วยกำนันผู้ใหญ่บ้านสารวัดในระหว่างวันเวลาเหล่านั้น เอื้อเฟื้อแก่ราษฎรในกิจการอันเกี่ยวข้องด้วยต้องจำกัดวันเวลา เช่นการอนุญาตให้ฆ่าสัตย์ สำหรับการพลีกรรมอันจำเปนเพื่อด้วยการสาสนา ความนิยมของคนใต้บังคับเราให้ทันความประสงค์เท่าที่สามารถจะเอื้อเฟื้อได้ดังนี้เป็นต้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวรัชกาลที่ 6 พระองค์ ทรงเข้าพระทัย ต่อหลักศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีเพราะในวันออกบวช จะมีการฆ่าสัตว์ เพื่อประกอบพิธีกรรม ได้ให้เจ้าหน้าที่มีการผ่อนผันต่อราษฎร ไม่ให้มีความเคร่งครัดต่อพิธีกรรมในวันดังกล่าว เพราะการฆ่าสัตว์จะต้องมีการขออนุญาตจึงจะกระทำได้ การที่จะมีการเข้มงวดก็จะเป็นเงื่อนไขต่อการปกครองได้

7.)การละหมาดประจำวัน : การละหมาดนั้น เปนฟาร์หม่านแห่งพระผู้เป็นเจ้าให้หญิงชายอิศลามทุกคนกระทำการละหมาดทุกวันละ 5 เวลา คือ
1.ละหมาดสุโบะห์ตั้งแต่เวลาแสงเงินแสงทองขึ้น จนเวลาพระอาทิตย์ขึ้นหมดเขตร
2.ละหมาดละโฮร์ แต่เวลาเที่ยงครึ่งถึง 3 นาฬิกาครึ่งหลังเที่ยง
3.ละหมาดอะซาร์ แต่เวลา 3 นาฬิกาครึ่งหลังเที่ยงถึง 6 นาฬิกาครึ่งหลัง
4.ละหมาดมะคะหริบ ในเวลาพลบแต่ 6นาฬิกาครึ่งหลังเที่ยงถึง7นาฬิกาหลังเที่ยงเข้าใต้ไฟ
5.ละหมาดอิซา ตั้งแต่เวลา 7 นาฬิกาหลังเที่ยงถึงเวลา 3 นาฬิกาก่อนเที่ยง หมดเขตร
เวลาที่ว่านี้เป็นเวลาเขตรของการที่จะกระทำการไหว้พระ ส่วนเวลาของการที่จะกระทำการไหว้พระเวลาสำคัญเคร่งครัด อันจะไม่ละเว้นผู้ใดนั้นสำหรับการละหมาดครั้งหนึ่ง ๆ เพียงชั่วเวลาครึ่งนาฬิกาเท่านั้น ในเวลาชั่วครึ่งนาฬิกา ระหว่างที่กำลังกระทำพิธีไหว้พระอยู่นั้น ถือว่าเปนเวลาสำคัญที่สุด ถ้าผู้ใดขัดขวางขึ้นแก่การละหมาดเวลานั้นย่อมถือคล้ายเปนสัตรูสาสนา แม้กระทำการต่อสู้ถึงล้มตายกลับเปนกุศล มีแต่ทางสู่สวรรค์เปนที่ตั้ง ถ้าสัตรูล้มตายหามีการรับบาปไม่ เพราะฉะนั้นการละหมาดจึงเปนการสำคัญนักเมื่อชาวอิศลามถือว่า การละหมาดเปนการสำคัญเฉภาะเวลาที่ได้กล่าวไว้ดังนั้นแล้ว ผู้ปกครองคนอิศลามก็ควรอยู่ที่จะผ่อนผันให้โอกาสแก่ผู้อยู่ใต้บังคับ เมื่อมีกิจอันใดเกี่ยวข้องพ้องเข้ากับเวลาที่เขากำลังทำพิธีละหมาดอยู่แล้วควรผ่อนผันให้มากที่สุด เช่นผู้คนอิศลามที่ไปด้วยกับเราในเวลาเดินทางกิจการต่าง ๆ เปนต้นว่าผู้ที่กะเกณฑ์หรือขอแรงกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือจ้างวานไปด้วยถ้าถึงเวลาที่ผู้นั้นจะกระทำพิธีละหมาดไหว้พระแล้ว ควรให้โอกาสให้เขาได้กระทำการพิธีไหว้พระโดยสะดวกดังนี้ ก็อาจเปนสิ่งที่เพิ่มความนิยมสมควรแก่น่าที่ผู้ปกครองคนอิศลามโดยแท้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงให้ความสำคัญกับการละหมาดเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ปกครองไปห้ามมิให้ละหมาด เป็นเรื่องที่มีความร้ายแรงอย่างยิ่งต่อชาวมุสลิม ถึงขั้นที่ว่า หากเข่นฆ่าเจ้าหน้าที่คนนั้นได้ ก็ถึงขนาดขึ้นสวรรคเลยที่เดียว และหากชาวมุสลิมผู้นั้นเดินทางไกลไปด้วย ก็ต้องผ่อนผันให้เวลา ละหมาดด้วย

8.)การละหมาดและฟังคุตบะฮฺในวันศุกร์ : ในวันศุกร์ทุก ๆ วันโดยบัญญัติแห่งพระผู้เปนเจ้าให้ชาวอิศลามทุกคนฟังเทศน์แล้วละหมาดไหว้พระสำหรับวันนั้น ตามสะเหร่ามัสยิดหรือที่ประชุมที่พอจะจัดและรวมกันได้ แต่กำหนดที่จะให้ครบขณะสำหรับหรับการละหมาดวันศุกร์โดยบริบูรณต้องการให้ได้คนประชุมกันพอ 40 คนขึ้นไป เวลาทำการละหมาดวันศุกร์แต่เที่ยงวันถึง2 นาฬิกาหลังเที่ยงหมดเขตร แต่เปนเวลาสำคัญคือเวลาที่เข้าพิธีละหมาดไหว้พระวันนั้นราว 40 นาที เวลาเข้าพิธีละหมาดไหว้พระวันศุกร์ 40 นาทีนั้น เปนเวลาสำคัญเสมอเหมือนเวลาสำคัญของการละหมาดไหว้พระประจำวันที่ได้กล่าวมาแล้วเหมือนกัน อนึ่งคำเทศน์ในวันศุกร์นั้น ไม่เปนการจำเปนที่จะจดลงในที่นี้ว่าอะไรบ้างเพราะยืดยาวมาก แต่เป็นสิ่งที่ควรทราบเฉภาะหัวข้อโดยย่อ ๆ ว่ามีคำสั่งสอนที่เกี่ยวแก่การปกครองอยู่บ้าง เช่นสั่งให้ละความชั่วกลับประพฤติดี ให้ทำบุญให้ทาน ประพฤติแต่สิ่งที่ชอบ ดังนี้เปนต้น เพราะฉะนั้นการละหมาดแลฟังเทศน์ในวันศุกร์ย่อมเปนประโยชน์แก่การปกครองในทางอ้อม เพราะย่อมเปนเครื่องหน่วงเหนี่ยวแห่งการรั้งสติคน เช่นกับลูกบ้านที่คิดจะกระทำการชั่วลักขโมยปล้นเปนต้น ย่อมเปนธรรมดาแห่งคนโดยมาก เมื่อได้ฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่บ้างแล้วดวงจิตรก็ย่อมโอนอ่อนบ้างไม่มากก็น้อยหรือบางทีคิดจะทำชั่ว ในวันนี้ แต่เมื่อได้ฟังเทศน์ฟังธรรมเข้าเข้าก็อาจรั้งรอสติเลิกความตั้งใจไปในบางครั้งคราวเปนธรรมดาย่อมเปนดังนี้เมื่อและการฟังเทศน์วันศุกร์ เปนประโยชน์แก่การปกครองทางอ้อมเช่นนั้นแล้ว เปนการดีที่จะเอาคุณจากบัญญัติของพระมหมัด ช่วยอุดหนุนอย่างใดอย่างหนึ่งให้ราษฎรมีโอกาสไปฟังเทศน์ในวันศุกร์ ด้วยความพร้อมเพรียงให้มากที่สุดในวันศุกร์เท่าที่จะทำได้เอาประโยชน์ ในทางที่ราษฎรจะได้อยู่ในศีลธรรมมากขึ้น และเอาคุณถานเปนผู้ช่วยดูแลการสาสนาให้แทน พระมหมัดจะเปนสิ่งนำมาแห่งความปนคุณประโยชน์ในราชการมาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นความสำคัญของการละหมาดวันศุกร์ เป็นอย่างมาก ที่เป็นประโยชน์ต่อการปกครอง เพราะการละหมาดในวันศุกร์ถือว่าเป็นการละหมาดใหญ่ แต่ก็ไม่ได้ให้ประชาชนหยุดทำงาน เพื่อไปละหมาด ต่อมาผู้ก่อความไม่สงบได้นำเรื่องนี้มาเป็นเงื่อนไข ว่า ให้ชาวมุสลิมทุกคนต้องหยุดทำงานในวันศุกร์เพื่อจะได้ไปละหมาด ทำให้ชาวมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บางส่วนปิดทำการในวันศุกร์ จนทางการได้หาวิธีการทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อให้ทุกคนเห็นว่า การละหมาดวันศุกร์ รัฐบาลไม่ห้าม พร้อมให้ความสะดวกในการร่วมพิธี เงื่อนไขนี้จึงอ่อนลง

9.)การห้ามใส่รองเท้าในมัสยิด : รองเท้าตามธรรมดาถือกันว่า เปนของต่ำสำหรับเหยียบย่ำและติดของโสโครกได้ง่าย ชาวอิศลามจึงห้ามและเคืองนักในเรื่องใส่รองเท้าเข้าในสะเหร่ามัสยิดก็เมื่อเปนประเพณีข้อห้ามหวงมีอยู่อย่างนั้นแล้ว ผู้ปกครองบังคับบัญชาราษฎรชาวอิศลามผู้ที่ไม่ได้คิดว่าเปนการเล็กน้อย แล้วก็ควรจะเอาเปนเรื่องสำหรับรู้ไว้โดยหมิ่น ๆ แต่ไม่ควรลืมทีเดียวว่าเหตุการณ์บางอย่าง ทีแรกเกิดนั้นจากเรื่องเล็กน้อยก่อนแล้วเกิดเป็นเรื่องใหญ่โตใหญ่ภายหลังก็ได้และควรเป็นที่สังเกตอิกอย่างหนึ่งว่า อะไรที่เกิด ถ้าเป็นเรื่องสำหรับสำหรับบุคคลแล้วย่อมไม่เปนการสำคัญเท่าเรื่องที่เกี่ยวแก่การสาสนาเพราะชาวอิศลามยังถือเคร่งครัดว่า การสาสนาของเขาเปนสิ่งสำคัญใหญ่ยิ่ง

การปฏิบัติการในบางครั้งของทหาร ตำรวจ ที่เข้าทำการตรวจค้นในพื้นที่ บางครั้งมักจะละเลยในการถอดรองเท้า เพื่อเข้าไปในมัสยิด ทำให้เกิดเป็นเงื่อนไขที่ผู้ก่อความไม่สงบนำไปเป็นเงื่อนไขโฆษณาชวนเชื่อ ว่าทหารและตำรวจ ไม่เคารพ ทำให้ประชาชน มีอารมณ์โกรธแค้น ดังนั้นการเข้ามัสยิดหากไม่รีบร้อนก็ขอให้ถอดรองเท้า จึงจะชนะใจประชาชน เพราะการขึ้นไปมัสยิดทุกคนจะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาด จึงจะเข้าสูพิธีการละหมาดได้

10.)ข้อห้ามในเรื่องการทำกิริยาและการเปล่งวาจา : กริยาท่าสุหยูด(คือท่ากราบพระ) ในการละหมาดเปนท่าที่ต้องกระทำ และเฉภาะพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ท่าสุหยูด นั้นคล้ายคลึงกับท่ากราบพระที่ในโบถ เพราะฉะนั้นท่าอะไรที่คล้ายคลึงกับท่าสุหยูด หรือท่ากราบพระผู้เป็นเจ้าในเวลาละหมาดแล้วชาวอิสลามก็ทำไม่ได้ ผู้ขืนทำผู้นั้นก็ตกเปนขาดจากอิศลามทันทีส่วนการออกเสียงก็เป็นการห้ามด้วยเช่นจะไปกระทำการสาบาล หรือการออกเสียงออกวาจาว่าตนไม่ใช่อิสลามไม่ได้นับถือสาสนานั้น เท่านี้ก็ย่อมขาดจากอิศลามแล้วเพราะฉะนั้นจึง เปนอีกข้อ 1 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ความรู้ คืออะไรที่เกี่ยวกับการลงท่า เหมือนกับท่าละหมาดในการไหว้พระของคนอิศลามเช่นท่ากราบพระในอุโบสถ เปนต้น ซึ่งเป็นท่าที่คล้ายคลึงกันกับท่าละหมาดไหว้พระของคนอิศลามทำไม่ได้อย่างนี้เปนต้น เปนสิ่งที่ไม่ควรฝ่าฝืน แม้จำเปนด้วยการเกี่ยวข้องต้องกระทำแล้วก็ควรผ่อนผันเปลี่ยนวิธีท่าทางอย่างที่ไม่มีการขัดขวางใดแทนแล้วก็ย่อมเปนสิ่งปราศจากความรังเกียจทั้งหลาย ส่วนการออกวาจาบางคำ ซึ่งเปนข้อขัดขวางต่อการสาสนาของคนใต้บังคับ เช่นคำสาบาลที่กล่าวเกี่ยวข้องกับพระพุทธสาสนาเป็นต้น เปนสิ่งที่ควรจะละเว้นตัดข้อความ เหล่านั้นออก หรือให้กระทำสาบาลตามลัทธิใช้วิธีชูโกรานแทน เช่นนี้ก็ยังเปนสิ่งที่ปราศจากความรังเกียจแห่งอิศลามสาสนิกชนทั่วไป หลายคนอาจจะสังเกตเห็นว่า ในการพิธีทางศาสนาพุทธ บางคนที่มาร่วมพิธี ไม่ยกมือไหว้ หรือกราบเหมือนคนที่นับถือศาสนาพุทธ ก็อย่าไปดูแคลนเพราะ คนเหล่านั้นอาจจะนับถือศาสนาอื่น เพราะหากยกมือไหว้หรือก้มลงกราบ ความเป็นผู้นับถือศาสนานั้นต้องมีอันยุติเช่นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ถือเป็นข้อห้ามที่ไม่ให้คนในศาสนาก้มกราบ ที่มีลักษณะเหมือนกับท่าละหมาด เพราะจะทำให้พ้นจากการเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในทันที สิ่งเหล่านี้ต้องเข้าใจ และพึงระวัง

11.)การทำระเหต็บและระเหต็บอาหรับ : ระเหต็บ เป็นคำสรรเสริญ แลคำวิงวอนขอร้องต่อพระผู้เป็นเจ้า ในกิจการที่ผู้กระทำต้องประสงค์ เปนคำเล่าบ่นพร่ำพระนามแห่งพระผู้เปนเจ้า ของชาวอิศลามถือเอาจำนวนพร่ำบ่นถึงพระนามนั้นเปนเกณฑ์ สำหรับผลที่จะได้ตามลำดับโดยจำนวนมากแลน้อย การที่จะให้ได้จำนวนมาก บางทีรวมกันทำตั้งหลาย ๆ สิบหรือหลาย ๆ ร้อยคนแล้วเอาจำนวนรวมกัน สำหรับผลแห่งผู้กระทำกิจนั้นระเหต็บอาหรับ ก็ระเหต็บนั้นเอ็งแต่มีท่ายืนด้วยตามอย่างที่พวกอาหรับเขาทำกันทางแผ่นดินอาหรับ ภายหลังพวกยาวีจึงกระทำบ้างส่วนข้อความที่จดลงในที่นี้ก็มีอยู่ว่าการกระทำระเหต็บมีเวลาที่สำคัญก็ในระหว่างกำลังพร่ำบ่นออกพระนามพระผู้เปนเจ้าอยู่นั้น เปนการจำเปนเฉภาะผู้ที่เปนหัวหน้าหรือเรียกว่าผู้พาคนเดียวที่หยุดหรือละเว้นเสียไม่ได้เปนอันขาดจนกว่าจะเสร็จหรือจบลงเมื่อไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางแก่ตัวผู้พาคนเดียวแล้ว ก็ไม่มีอะไรที่จะว่าขัดขวางแก่ทางสาสนาจนดำเนินไปไม่ได้
ผู้ที่เป็นคนนอกศาสนา ต้องเอื้ออำนวยต่อผู้นับถือศาสนาอิสลาม ไม่ว่าจะการประกอบภารกิจทางศาสนา

12.)การบริโภคและแตะต้องสุกร : โดยบัญญัติแห่งพระมหมัด ห้ามมิให้คนอิศลามบริโภคและถูกต้องสุกร เว้นแต่อุละหม่า (นักปราชญ์ ) หนึ่งยกเว้นเวลาจำเปน เพราะฉะนั้นสุกรจึงเปนของที่ชาวอิศลามรังเกียจเกลียดชังนัก เมื่อเป็นเช่นนั้น โดยธรรมดาผู้ปกครองคน ที่ต้องการความนิยมนับถือ แห่งคนใต้บังคับก็ เปนอยู่เอ็งที่จะไม่แสดงในสิ่งที่มีผู้รังเกียจ เช่นชักนำให้จับต้องหรือบริโภคสุกร ซึ่งทราบอยู่แล้วว่า เปนสิ่งที่บุคคลบางเพศรังเกียจ ครั้งผู้ที่รังเกียจถูกต้องหรือบริโภคเข้าไปแล้ว ด้วยความหลงหรือความเชื่อถือเกรงใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถือเปนการสนุกรื่นเริงขึ้นต่อไปอีก ซึ่งทางที่ดีสำหรับผู้ที่ดีสำหรับผู้ที่มีคารวะแล้วควรจะแสดงความช่วยเหลือแนะนำตามความรู้เห็นในสิ่งที่เป็นจริงด้วยความเอื้อเฟื้อแล้วก็จะมีแต่ความสรรเสริญเปนต้น

การจับต้องสุกรและการบริโภคเนื้อสุกร เป็นสิ่งต้องห้าม เว้นแต่จำเป็น แต่ในทางปฏิบัติควรงดเว้นในการล่อลวงหรือชักนำให้ชาวมุสลิมบริโภคเนื้อสุกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก และผู้นอกศาสนาควรนำไปปฏิบัติให้เกิดผลดี

13.)การเสพสุราหรือแตะต้องสุราเป็นบาป : ด้วยเหตุว่าสุราเปนของเมา อาจกระทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนสติลืมตัวเอ็งได้เพราะฉะนั้นโดยบัญญัติแห่งพระมหมัด ห้ามเปนอันขาดมิให้ชาวอิศลามบริโภคสุราตลอดจนการถูกต้องสุราก็ยังเปนบาป และแรงกว่าสุกร การที่พระมหมัดบัญญัติห้ามไม่ให้คนอิศลามบริโภคสุรานั้น ย่อมเปนคุณแก่การปกครองบังคับบัญชาอยู่มาก อาจจะประกันสาเหตุอันเนื่องมาจากเรื่องเมาสุราไปได้มากเมื่อเช่นนี้เปนการดีที่ผู้ปกครองจะยึดเอาโอกาสนั้นขึ้นเปนข้อตักเตือนว่ากล่าวสั่งสอนคนอิศลามใต้บังคับที่ฝ่าฝืนประพฤติประพฤติอยู่ให้ผู้นั้นละเว้นจากความประพฤติ โดยถือเปนการอุดหนุนและเปนผู้ช่วยดูแลการสาสนาแทนพระมหมัด ในถานที่พระมหมัดได้ฝากหน้าที่ไว้ให้นั้น ทำดังนี้คนอิศลามกลับรู้สึกนิยมแล้วยำเกรงขึ้นอีก

การห้ามดื่มสุราเป็นบาป แม้นแต่แตะต้องสุราก็ยังถือว่าเป็นบาป ดังนั้นในบางครั้งมีเจ้าหน้าที่ไม่ทราบกฎข้อบัญญัตินี้ มีการนำสุราเข้าไปดื่มกินในร้านอาหารมุสลิม จึงเป็นสิ่งที่ต้องห้ามด้วย และยังเป็นเงื่อนไขที่ผู้ก่อความไม่สงบนำไปโฆษณาชวนเชื่อ สร้างมวลชนตลอดเวลา เจ้าหน้าที่ที่ไปปฏิบัติงานในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้พึงต้องระวัง

14.)เรื่องโต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม หรือ โต๊ะหะยีและโต๊ะละใบ : โต๊ะหะยี นั้นคือคนที่ไปบวชเปนหะยี มาจากเมกะแล้ว ส่วนละไบคือคนที่เอาใจใส่มีความรู้ในการสาสนาพอจะไปบวชได้ แต่ยังไม่มีโอกาสออกไปบวช เรียกว่าละไบ หรือ โละไบ ความนิยมของคนอิศลามแก่คน 2 ชนิดนี้ ถ้าความรู้เท่ากัน นิยมโต๊ะหะยีมากว่าเพราะเปนผู้ที่ไปบวชแล้ว หะยีที่มีความรู้ถึงเปนคูรบาอาจารย์ ราษฎรมักเรียกว่ากันว่า ท่านครูหรือโต๊ะครู โดยปกติราษฎรมักนิยมนับถือถ้าท่านครู หรือโต๊ะครู พูดจาอะไรมักเปนที่เชื่อฟังฉันใดก็ดีคล้ายกับอธิการวัดหรือสมภารเจ้าวัดแห่งพุทธศาสนาฉันนั้น สำหรับผู้ที่ฉลาดหรือชำนาญการปกครองแล้วมักไม่ใคร่ทิ้งพระแม้ในท้องที่ ๆ ดำเนินการปกครองอย่างลำบากบางแห่งยังเคยมีผลจากความช่วยเหลือของพระในการช่วยเทสน์ช่วยธรรมช่วยว่าช่วกล่าว เอาราษฎรสงบไปก็ได้ ทั้งนี้ย่อมเคยมีเคยเห็นมาด้วยกันแล้วเปนอันมาก ท่านครู หรือโต๊ะครูในมณฑลปัตตานีนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าและเราจะเลือกคัดโต๊ะหะยีที่มีความรู้เอาตามคนที่ราษฎรนิยมนับถือลงไว้ในทะเบียฬอำเภอเป็นพิเศษ แล้วค่อยทำการติดต่อเข้าไว้ เช่นทักทายปราไสยหรือมีประชุมอะไร ๆ เปนพิเศษพอเปนพิธีเปนต้นว่าประชุมไต่ถามกิจการที่ได้ดำเนินไปแล้วมีสิ่งใดที่ขัดขวางแก่ทางสาสนาหรือทางการบ้านเมืองบ้าง หรือถ้ามีการที่จะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขขนบธรรมเนียม การภาษีอากรอย่างใด ๆ เมื่อพวกโต๊ะหะยีเปนใจอยู่ด้วยแล้ว จะช่วยให้ความสะดวกในราชการมากการที่ทำอะไรให้พอเปนพิธีขึ้นนั้นใช่ว่าจะนึกพูดโดยปราศจากสิ่งที่มีผู้คิด ผู้ทำเลยก็หามิได้ สิ่งที่จะอ้างและกล่าวสู่กันฟังในเรื่องที่ดินบางแห่งที่ต่างประเทศเขาทำ และที่มองเห็นได้ว่าเพื่อเปนพิธีคือมีคนต่างท้องที่แรกเข้ามาขอที่ดิน เจ้าพนักงานรู้ดีว่าที่ดินแห่งนั้น ราษฎรคนที่อยู่ในท้องที่ก่อนหามีใครต้องการไม่ แต่เขาก็เรียกราษฎรพวกที่อยู่ก่อนถามมาว่าพวกเราเจ้าของถิ่นที่ โดยอยู่ก่อนนมนานใครจะต้องการบ้างที่แห่งนั้น ถ้าไม่มีใครต้องการจัดให้มีผู้จับจองทำประโยชน์มิดีหรือต้องการจัดให้มีผู้จับจองทำประโยชน์มิดีหรือ เมื่อราษฎรยกมือพร้อมกันไม่ต้องการอำเภอก็เรียกผู้ขอจับจองมารับใบอนุญาต ถานที่ราษฎรคนก่อน ๆยกให้ ยกบุญคุณให้เปนของราษฎรพวกมาอยู่ก่อนหมดดังนี้ เขาก็ทำ ที่ว่านี้สำหรับแต่เรื่องที่ดินบางแห่งที่ทำเพื่อพิธี กิจการอย่างอื่น ๆ ที่เขาเดินวิธีนี้ยังมีอิกมากมายหลายประการ เพราะฉะนั้นความเลื่อมใสในระหว่าราษฎรกับอำเภอทางต่างประเทศเขาจึงมีการสรรเสริญมากส่วนการที่จะปฏิบัติแก่หะยีธรรมดานั้น สิ่งที่พอควรพองามก็คือว่า โต๊ะหะยีนั้น อย่างไรก็ดีคนอิสลามยัง ถือว่าเปนผู้ที่ได้บวชพระ หรือไปเปนหะยีมาจากเมกะแล้วซึ่งการบุณสุนทานการสวดมนต์ไหว้พระก็ยังนิยมใช้โต๊ะหะยีเปนหัวหน้าอยู่โดยมากเพราะฉะนั้นเมื่อและด้วยกิจราชการอันเกี่ยวข้องต้องด้วยการขอแรงหรือกะเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใด ถ้าจะผ่อนผันให้คนชั้นนี้อยู่ในพวกหัวหน้าควบคุมการงาน หรือในชั้นเปนผู้ช่วยรองจากกำนันผู้ใหญ่บ้านลงอีกต่อหนึ่งก็ยังเปนการงดงามอยู่

หลักรัฐประศาสโนบายสำหรับมณฑลปัตตานี
การประชุมเสนบดีกระทรวงต่าง ๆ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2466 จำนวน 6 ข้อ
1.)ควรตั้งวิธีปฏิบัติว่า เว้นจากการกดขี่ศาสนาอิสลาม
2.)ภาษีอากรทุกชนิดคิดถัวกันไม่ควรให้สูงกว่าอังกฤษเขาเก็บ
3.)พยายามไม่ให้มีการกดขี่บีบคั้นพลเมืองแต่เจ้าพนักงาน
4.)พยายามอย่าให้ราษฎรต้องเสียเวลาป่วยการในเมื่อเจ้าพนักงานบังคับ
5.)ข้าราชการในมณฑลนี้ควรเลือกคั้นเป็นพิเศษและอบรมกันขึ้นให้ดีเสมอ
6.)ระเบียบการใหม่อันใดเกี่ยวด้วยสุขทุกข์ของราษฎรควรหารือสมุหเทศาภิบาลเสียก่อนที่จะบังคับให้ทำลงไป

จะเห็นได้ว่า หลักการบริหารการอยู่ร่วมกันของคนในพื้นที่ มีมาตั้งแต่ รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา ซึ่งให้ความสำคัญต่อผู้คนที่อยู่พื้นที่ ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีภาษา วัฒนธรรม ที่แตกต่างจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้นข้าราชการที่มาอยู่ในพื้นที่ จะต้องมีแนวทางปฏิบัติ ให้ถูกต้องตรงตามวิถีชีวิต เพื่อให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสมานฉันท์

* * * * * * * * * *


บทที่ 2
ภาวะวิกฤต (Crisis)



ภาวะวิกฤต (Crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยมากมักเกิดโดยไม่คาดฝัน และต้องการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
ทำให้เกิด ความรู้สึกไม่แน่นอน และความตรึงเครียด

ประเภทของ ภาวะวิกฤต(Crisis Typology) มี 2 ประเภท คือ


1.)ไม่รุนแรง น้ำท่วม โรคระบาด การขู่วางระเบิด ข่าวลือ การแพร่กระจายข่าวที่ทำให้
เกิดความวุ่นวาย สับสนในสังคม ฯลฯ

2.)รุนแรง
- การก่อการร้ายสากล เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นอันมีผู้กระทำมาจากต่างประเทศ มาปฏิบัติการในเมืองไทย เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้น เมื่อมีเหตุจี้เครื่องบิน
- การวางระเบิดในภาคใต้ ที่มีการลอบวางระเบิดเส้นทางการเดินทางไปสอนนักเรียนของครูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การระเบิดรถทหาร การเผาโรงเรียน การเผาสถานีอนามัย สถานที่ราชการการ ระเบิดแหล่งธุรกิจที่สำคัญ ระเบิดธนาคารระเบิดในเมืองธุรกิจขนาดใหญ่
- การจลาจลที่ใช้อาวุธ เช่นการปิดถนน ที่อำเภอบันนังสตา แล้วจุดไฟเผาโรงเรียน
- กรณีกรือเซะ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 คนร้ายจำนวน 32 คน บุกเข้ายึดมัสยิดกรือเซะ เพื่อสร้างประเด็นในการลุกขึ้นต่อสู้ของผู้ที่อ้างตัวว่า เป็นนักรบฟาตอนี
- กรณีตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เกิดการชุมนุมประท้วงหน้าโรงพักตากใบ จนนำไปสู่การสลายการชุมนุม และมีการขนย้ายผู้ชุมนุมประมาณ 1,000 คน จากตากใบจนทำให้มีผู้เสียชีวิตในคราวนั้น 76 คน
- ฆ่าเผา ชาวบ้าน ครู ผู้บริสุทธิ์ คนร้ายมีการกระทำที่โหดเหี้ยมมีการฆ่าเผาผู้บริสุทธิ์เพื่อโต้ตอบการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่
- อุบัติเหตุร้ายแรงอื่น ๆ ฯลฯ
- รถแก๊ประเบิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2534 เกิดเหตุที่ บ้านทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา

3.)การวิเคราะห์ ภาวะวิกฤต
การวิเคราะห์ หมายถึง การแยกแยะ ข้อมูลอย่างมีเหตุมีผล เพื่อเปิดเผยความมีเงื่อนงำ ให้ความจริงปรากฏ อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง


มิติการวิเคราะห์


1.มิติ วัน เวลา การเกิดเหตุการณ์ในภาวะวิกฤต จะมีปัจจัยเรื่องเวลา มาเป็นตัวกำหนด และมักจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน เช่น เหตุการณ์เผาโรงเรียน ปล้นปืน จะเกิดเวลาประมาณ 03.00 น. เวลา 12.00 น. และเวลา 19.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ ประชาชนในพื้นที่ ไปละหมาดที่มัสยิด จึงเป็นช่องว่างที่จะให้คนร้าย เข้าไปเผา และปล้นปืน ได้อย่างง่ายดาย เหตุการณ์ระเบิดหาด ใหญ่ การระเบิดในพื้นที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2548 ปี 2549 และปี 2550 จะเกิดในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ช่วงเวลาประมาณ 20.30-21.00 น.


2.มิติ สถานที่ การเกิดเหตุการณ์ สถานที่ที่เป็นเป้าหมาย ส่วนใหญ่ จะเป็นโรงเรียน สถานีอนามัย สถานที่ราชการ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ จะเป็นสถานที่ ที่จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน โดยส่วนใหญ่จะถูกวางเพลิงเผา


3.มิติ บุคคล บุคคลที่เป็นเป้าหมายที่ถูกทำร้าย จะเป็น ครู ตำรวจ ทหาร อาสาสมัคร พนักงานไฟฟ้า และคนชรา


4.มิติ การตอบโต้ เมื่อมีการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ เช่น มีการจับกุมหรือมีการสังหาร อุสตาซ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ จะตอบโต้โดยการ ยิงครู ที่เป็นชาวไทยพุทธ โดยไม่เลือกว่า จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย


5.มิติ บรรยากาศ ก่อนเกิดเหตุการณ์จะมีสัญญาณบอกเหตุคือ สภาพโดยทั่วไปจะมีความเงียบผิดปกติ ไม่มีผู้คนพรุกพล่าน ชาวบ้านปิดประตูเฝ้านอนอยู่กับบ้าน การใช้บริการของสถานที่ราชการ หรือ ธนาคาร มีคนน้อยผิดปกติ เช่น กรณีเหตุการณ์ระเบิด ธนาคารในจังหวัดยะลา 22 จุด เมื่อ ปี 2549 มีผู้มาใช้บริการที่ธนาคาร อิสลาม ที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองยะลา ก่อนเกิดเหตุระเบิดมผู้มาใช้บริการเพียง 3 คน เท่านั้น

6.มิติ ข่าวลือก่อนการณ์เกิดเหตุการณ์ภาวะวิกฤต จะมีกระแสข่าวลือ แพร่กระจายแบบปากต่อปาก เช่น ให้หยุดทำมาหากินในวันศุกร์ใครฝ่าฝืนตาย และให้ไปมัสยิด

7.มิติ ข่าวจากสื่อมวลชน สื่อมวลชนจะเผยแพร่ข่าวที่ไม่มีที่มาของข่าว เป็นอันตรายอย่างยิ่งที่ทำให้มีการเข้าใจผิด เช่น แหล่งข่าวเปิดเผยว่า วันที่ 15 มิ.ย. วันก่อตั้งขบวนการ Bersatu จะมีเหตุร้าย หรือ วันครบรอบเหตุการณ์กรือเซะ 28 เม.ย. จะมีเหตุรุนแรง ข่าวเหล่านี้เป็นการคาดการณ์ที่จะสร้างความแตกตื่น เป็นสัญญาณนำไปสู่ภาวะวิกฤต เมื่อได้ มิติ ด้าน วันเวลา สถานที่ บุคคล การตอบโต้ บรรยากาศ ข่าวลือ ให้นำมาประเมินความเป็นไปได้ ที่จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งจะทำให้ผู้วิเคราะห์สามารถที่จะคาดการณ์ได้ว่า เหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใด

สื่อต้องการอะไร
1.)สื่อจะสนใจขุดคุ้ยข่าวด้านลบ มากกว่าข่าวเชิงบวก
2.)เหตุการณ์มักเกิดขึ้นในตอนกลางคืน การชี้แจงผ่านสื่อทำได้ยาก
3.)ไม่มีบุคคลที่เป็นผู้ให้ข่าวโดยเฉพาะ
4.)กองงานโฆษก ได้ข้อมูลจากที่เกิดเหตุล่าช้า ทำให้สื่อไปหาแหล่งข่าวจากที่อื่น
5.)ขาดการประสานงานกับสื่อ
6.)สื่อต้องแข่งขันกัน และต้องช่วงชิงข่าวใครได้ก่อนคือผู้ชนะ
7.)สื่อต้องการความเป็นกันเองกับ แหล่งข่าว
8.)ไม่มีแหล่งรวมข้อมูลประชาสัมพันธ์ ที่จะให้สื่อ ขาดศูนย์กลางด้านการประชาสัมพันธ์
9.)แหล่งข่าว ไม่อำนวยความสะดวกที่จะเข้าถึงข้อมูล
10.)สื่อต้องการผู้ให้ข่าว ให้ข้อมูล ที่ถูกต้องชัดเจน
11.)สื่อเข้าหาแหล่งข่าวในระดับสูงค่อนยาก มักมีการกีดกันจาก เลขา
12.)เจ้าหน้าที่ไม่รู้จักสื่อ จึงมักตรวจค้นที่ไม่ค่อยให้เกียรติ
13.)แหล่งข่าว ไม่มีความเป็นธรรมกับสื่อ ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับสื่อโทรทัศน์
14.)แหล่งข่าวมีความรู้สึกอคติต่อสื่อที่ชอบขุดคุ้ย และชอบข้อมูลA Bad News Is Good News
15.)สื่อ บางแห่งไม่ให้ความร่วมมือ
16.)สื่อ ต้องการข่าวเหตุการณ์มากกว่า รายงานพิเศษ

สนองสื่ออย่างไร
1.)ให้ความสะดวกกับสื่อ ที่ต้องการพาหนะ ไปทำข่าว เช่น เฮลิคอปเตอร์ รถยนต์
2.)สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อ จัดหลักสูตรสื่อมวลชนสัมพันธ์
3.)ต้องรู้จักสื่อ ที่เป็นผู้มีอิทธิพล หมายถึงผู้ที่จะเป็นช่องทางนำไปสู่การออกข่าว
4.)แต่งตั้งโฆษก เพื่อให้ข่าว กับสื่อ
5.)หาระบบสารสนเทศที่สามารถแจ้งข่าวให้ถึงสื่อโดยเร็ว เช่น ส่งข้อความผ่าน SMS
6.)เมื่อเกิดวิกฤต ทีมโฆษกต้องหาสาเหตุของเหตุการณ์วิกฤตได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
7.)เลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเวลา
8.)ให้ข้อเท็จจริงผ่านสื่อ ที่ไม่กระทบภาพลักษณ์องค์กร และกล้ารับความจริง
9.)ต้องชี้แจง เหตุการณ์ผ่านสื่อเพื่อให้ประชาชน รับทราบข้อเท็จจริงโดยเร็ว

บริหารข่าวและประเด็นผ่านสื่อ
1.)ร่วมมือกับสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ประสานประเด็นข่าว ให้เป็นระบบ
2.)ให้สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สั่งการให้ สวท.ในพื้นที่ เป็นเครื่องมือ สื่อสารไปยัง ประชาชน
3.)ให้กอ.รมน., ศอ.บต.มีอำนาจสั่งการให้ สื่อของรัฐ ออกอากาศในระบบเครือข่ายที่ครอบคลุม
4.)ข้อมูลข่าวสารควรออกไปสู่สาธารณะ ในแนวทางเดียวกัน
5.)ประสานสื่อส่วนกลาง ชี้แจงข้อเท็จจริง ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น(Phone In)
6.)จัดประชุมบรรณาธิการ เพื่อชี้แจงนโยบายแนวทางแก้ปัญหา สถานะของเหตุการณ์
7.)กำหนดประเด็นเนื้อหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
8.)ในแต่ละวันต้องคิดประเด็น ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ให้ทันต่อความอยากรู้
9.)ต้องรวบรวมข้อมูลข่าวสารให้ได้มากที่สุด และประเมินสถานการณ์

การหาข้อมูลข่าวสาร
1.)ส่งทีมรวบรวมข้อมูลข่าวสารเบื้องต้น (none Response Information Officer)ปฏิบัติงานในพื้นที่เกิดเหตุ หาข้อมูล
เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ ที่เกิดขึ้นในชั้นต้น แจ้งกลับมาที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์
2.)ประสานกับตำรวจที่ทำหน้าที่จำกัดวงรอบของสถานที่เกิดเหตุเพื่อกำหนดสถานที่ ที่จะอนุญาตให้สื่อมวลชนเข้า
ไปรายงานข่าวและถ่ายภาพได้ จุดใดที่ใกล้ที่สุด และไม่กีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อส่งผู้สื่อข่าว และช่างภาพ
ไปร่วมปฏิบัติงาน ณ จุดนั้น
3.)สอบถามผู้เห็นเหตุการณ์ เพื่อเป็นข้อมูล เบื้องต้น
4.)หาข้อมูลกับ หน่วยเฉพาะกิจ ร้อยเวรเจ้าของคดี หรือ ป้องกันจังหวัด

ข้อควรระวังเหตุก่อการร้าย
1.)ระวังและหลีกเลี่ยงการใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการโฆษณาการกระทำของคนร้าย
2.)หากพบว่าข้อมูลข่าวสารจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงให้ขอความร่วมมือสื่อมวลชนงดเผยแพร่ข่าวนั้น
3.)อย่าเปิดเผยหรือยืนยันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ก่อการร้าย เช่น รูปพรรณสัณฐาน สัญชาติ อาชีพ
ตำแหน่งที่สำคัญของตัวประกัน
4.)พึงระลึกเสมอว่าผู้ก่อการร้ายติดต่อสื่อสารกับพรรคพวกที่อยู่ภายนอกผ่านสื่อมวลชน เช่น พม่ายึดโรงพยาบาลราชบุรี
เจ้าหน้าที่ต้องหลอกสื่อให้ไปที่อื่น
5.)ต้องมีเอกภาพในการให้ข่าว ข่าวสารที่ให้แก่สื่อต้องมาจากแหล่งเดียวกัน หากมาจากหลายแหล่งต้องเป็นข้อมูลเดียวกัน

การวางแผนรับมือกับวิกฤต
1.) ตระหนักในเรื่องการสื่อสาร ที่จะใช้ในภาวะวิกฤต โดยจะต้องมีระบบการสื่อสารที่ มีเครือข่ายสำรอง พร้อมที่ทดแทน
เครือข่ายการสื่อสารหลักได้
2.) วางกลยุทธ์การบริหารการสื่อสารเชิงรุก เตรียมคน ให้สามารถปฏิบัติงานกับผู้สื่อข่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.) เตรียมหาผู้เชี่ยวชาญ ผู้พูด หรือ โฆษก (Spoken man) ที่น่าเชื่อถือให้เป็นผู้บอกข่าวแก่สื่อมวลชน ที่มีความ
ต้องการข้อมูลที่ฉับไหว เพื่อนำไปสู่การรายงานข่าวที่เกิดขึ้น
4. )เตรียมข้อมูลให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ซึ่งข้อมูลจะต้องมีความเที่ยงตรงแม่นยำ
5. )ก่อนข้อมูลถึงมือผู้บริหาร ต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์
6. )ศึกษา วิจัย การรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กร จากบุคคลภายนอก
7.)วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย สื่อมวลชนที่สามารถช่วยสื่อสารข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ

การเตรียมการก่อนเกิดวิกฤต
1.)คาดคะเนวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้
2.)แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
3.)จัดทำแผนติดต่อสื่อสารเมื่อเผชิญเหตุ
4.)ฝึกซ้อมปฏิบัติงานตามแผน
5.)ใช้ระบบเตือนภัยก่อนเกิดเหตุ

การปฏิบัติงานเมื่อเกิดภาวะวิกฤต
1.)เมื่อได้รับแจ้งเหตุ
2.)การปฏิบัติงาน ณ ที่เกิดเหตุ
3.)จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการประชาสัมพันธ์
4.)ประชุมชี้แจงสรุปสถานการณ์
5.)แบ่งมอบหน้าที่ และจัดชุดปฏิบัติงาน
6.)จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
7.)กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และความต้องการด้านข่าวสาร
8.)การอำนวยความสะดวกแก่สื่อมวลชน
9.)การกำหนดเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่จะเผยแพร่
10.)การกำหนดกลยุทธ์ และสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์
11.)แต่งตั้งโฆษกเหตุการณ์
12.)การควบคุมแหล่งข่าว
13.)การติดตาม ประเมินกระแสสื่อมวลชน และสาธารณชน
14.)การจดบันทึกสถานการณ์ และการปฏิบัติงาน

การจัดแถลงข่าว (Press Conference)
1.)เลือกเวลาที่เหมาะสม
2.)เลือกสถานที่ที่เหมาะสม จัดสถานที่ให้พร้อม
3.)เชิญและแจ้งกำหนดการ วัน เวลา ให้สื่อมวลชนทราบ
4.)จัดเตรียมแฟ้มข้อมูลข่าวสารที่จะแจก
5.)กำหนดตัวโฆษกผู้แถลง
6.)แต่งตั้งมอบหมายพิธีกรในการแถลงข่าว
7.)อำนวยความสะดวก และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สื่อข่าว
8.)ลงทะเบียน สื่อมวลชน

พิธีกรในการแถลงข่าว
1.)กำหนดวาระ รูปแบบ หรือขั้นตอนการแถลงข่าว
2.)กล่าวต้อนรับที่ประชุม
3.)ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการแถลงข่าว
4.)แนะนำโฆษกและผู้ร่วมแถลงข่าว
5.)แจ้งแหล่งข่าว หรือหน่วยงานสำหรับสอบถามเพิ่มเติม
6.)ควบคุมเวลาที่ใช้ในการซักถามในประเด็นต่าง ๆ
7.)กล่าวขอบคุณ และกล่าวปิดการแถลงข่าว

* * * * * * * * * * * * *


บทที่ 3
กรอบการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต

การประชาสัมพันธ์ Public Relation เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มี พระราชดำรัสแก่คณะกรรมการบริหารสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ณ พระตำหนักจิตลดารโหฐาน ความว่า "การประชาสัมพันธ์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนหรือให้ประชาชนเข้าใจสัมพันธ์กัน และงานกิจกรรมต่าง ๆ ก็ต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์เกือบทั้งนั้นถ้าทุกคนตั้งใจ ทำเพื่อให้ผลที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ก็เชื่อได้ว่าส่วนรวมจะอยู่เย็นเป็นสุข"

กรอบการประชาสัมพันธ์ (พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี)
1.)การแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นวาระแห่งชาติ ในระดับความสำคัญสูงสุด
2.)แก้ไขปัญหาด้วยแนวทางสันติสมานฉันท์ไม่ใช้วิธีการรุนแรง
3.)ความไม่สงบเป็นจากผู้ก่อเหตุใช้ประวัติศาสตร์ ศาสนา และอัตลักษณ์เป็นเงื่อนไข ใช้ความกลัวเพื่อไม่ให้ประชาชนร่วมมือ

แนวทางสันติวิธีของรัฐบาล
1)สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม
2)การปรับปรุงแก้ไขงานด้านความยุติธรรม
3)การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับคุณภาพชีวิต เร่งรัดความร่วมมือIMT-GT
4)การพัฒนาการศึกษาและสังคมให้เกื้อหนุนการพัฒนา
5)การแก้ไขปัญหาต้องได้รับความร่วมมือกับประชาชนในประเทศและประเทศมุสลิม
6)การใช้แนวทางสมานฉันท์ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะไม่ทำตามกฎหมาย
7)การทำงานของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา 2เรื่องคือการสร้างความสงบและสร้างความเข้าใจ

รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางสันติวิธีและเป็นที่ยอมรับจากประเทศมุสลิม โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านหากผู้ก่อการใช้ความรุนแรงมากเท่าไรก็จะยิ่งกระทบกับประเทศมุสลิมมากขึ้นเท่านั้น เพราะไม่ใช่แนวทางที่กลุ่มประเทศมุสลิมส่วนใหญ่เห็นด้วย" (พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 20 ม.ค.50)

"การแก้ปัญหาคือ ต้องแยกปลาออกจากน้ำ และค่อยๆ สลายเงื่อนไขที่มีอยู่ ขณะเดียวกันก็ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นแกนนำของขบวนการ" (พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 24ม.ค.50 พูดกับทูต OIC)"4 ดี" และ "7 ร่วม" คือ ศึกษาดี ทำงานดี ผูกมิตรดี สร้างแกนดี ร่วมกิน ร่วมอยู่ ร่วมทำงาน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมศึกษาร่วมทุกข์ และร่วมสุข (นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผอ.ศอ.บต. 23 ม.ค.50)

กระบวนการแก้ปัญหา อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำDos and Don'ts
1.)ชาวมุสลิมมีความหวาดระแวงต่ออำนาจรัฐ มีความรู้สึกเปราะบาง ในเชิงอารมณ์ความรู้สึก โดยมุสลิมจารีตนิยม (Muslim Fundamentalism)
2.)ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาต้อง สร้างสันติสุข ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมจะต้องสร้างความสมบูรณ์พูนสุขในหมู่บ้าน
3.)ชัยชนะที่ชี้ขาดคือชัยชนะทางยุทธศาสตร์บนพื้นฐานการไม่ใช้กำลัง "การเมืองนำการทหาร"
4.)แนวยุทธวิธี การค้นหาและทำลาย(Search and destroy) จะล้มเหลว เช่นสงครามเวียดนาม
5.)ต้องแก้ไขปัญหา เรื่องสังคมจิตวิทยา ต้องยอมรับเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรม ความรู้สึกความเชื่อของประชาชน เช่น
การนำเสนอข่าวการเคลื่อนย้ายกำลังทหารลงพื้นที่ เพื่อใช้กำลัง สยบ ซึ่งแก้ไม่ได้
6.เน้นการเข้าหาและสร้างความเข้าใจกับประชาชน เพื่อแย่งชิงประชาชน Hearts and Minds หรือสงครามแย่งชิงประชาชน
และรัฐจะไม่ก่อให้เกิดทัศนคติเชิงลบต่อรัฐ เพราะจะกลายเป็น แนวร่วมมุมกลับ
7.)การแก้ไขปัญหาจะต้องไม่ใช้การผสมกลมกลืน(Assimilation)เพราะแนวคิดจะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าถูกกลืน
ควรเป็นแนวคิดผสมผสาน คือให้พื้นที่ใช้นโยบาย 1 พื้นที่ 2 ภาษา บนแนวคิด เอกภาพบนความแตกต่าง (Unity Among Diversity )
8.)ยุทธศาสตร์จะต้องบูรณาการไม่ให้น้ำหนักไปไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นการเฉพาะ รูปแบบที่นำมาใช้ขณะนี้คือ กองกำลังผสม
พลเรือน ตำรวจ ทหาร (Joint Commander)

แนวทางแก้ไข (Solution)
ปฏิบัติตามนโยบายเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ คำสั่ง 206/2549 และคำสั่ง 207/2549
1.)ปัญหาทางเศรษฐกิจ , การเมือง ,และสังคม
1.1 ปัญหาความรุนแรงในท้องถิ่น
1.2 ปัญหาความแตกต่าง ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ
1.3 ปัญหาการไหลซึมของแนวคิดทางศาสนาแบบจารีตนิยม
1.4 ปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม การศึกษา ความยากจน
1.5 ปัญหาการควบคมชายแดน และจัดระเบียบชายแดน
1.6 ปัญหาอิทธิพลมืดในท้องถิ่น

บัญญัติ 20 ประการ สานความเข้าใจ ไขปัญหาใต้
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ออกบัญญัติ 20 ประการ สานความเข้าใจ ไขปัญหาใต้ เพื่อเป็นกรอบใน
การประชาสัมพันธ์ ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ ต่อการแก้ไขปัญหา ความไม่สงบในพื้นที่ โดยใช้การประชาสัมพันธ์
เป็นเครื่องมือในการสร้างสันติสุข ดังนี้
1.)ประชาสัมพันธ์นโยบายเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำสั่ง 206/2549 ยึดถือยุทธศาสตร์พระราชทาน
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา หลักนิติธรรม
2.)ประชาสัมพันธ์แก่นแท้ของหลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา รณรงค์ปฏิบัติอย่างจริงจัง
3.)ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ แนวคิดการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี เตือนสติ มิให้ติดกับดักของความรุนแรง
4.)สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่า สังคมไทย เป็นพหุสังคม ที่มีความหลากหลายที่จะเป็นจุดแข็งแต่ก็มีจุดเด่นคือ อุปนิสัยของคนไทย
5.)ปลูกฝังแนวความคิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนพื้นฐานความหลากหลาย ในวิธีคิด วิถีชีวิต ภายใต้แนวคิด
ชายแดนใต้ ความหลากหลายที่ล้ำค่า
7.)ประชาสัมพันธ์ให้เสรีภาพทางศาสนา
8.)ประชาสัมพันธ์ให้ความเสมอภาค เติบโตอาชีพ เช่น ผบ.ทบ.ผู้ว่า ฯลฯ
9.)ชาวมุสลิมใน3จังหวัดเป็นเจ้าของทั้ง 76 จังหวัด
10.)ส่งเสริมบทบาทองค์กรศาสนา
11.)สร้างทัศนะเชิงบวกต่อประวัติศาสตร์
12.)สร้างความเข้าใจต่อเหตุร้ายที่เกิดขึ้นมุสลิมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
13.)สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
14.)ลดอคติ ความหวาดระแวง
15.)สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นจริงเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของขบวนการ
16.)เปิดแผนประทุษกรรม กลอุบาย การใส่ร้ายป้ายสีเจ้าหน้าที่
17.)เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเชิงบวก การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ประเพณี ฯลฯ
18.)เผยแพร่พระราชกรณียกิจความห่วงใยของในหลวง ฯลฯ
19.)แสดงความเห็นใจเยียวยาจิตใจ และให้กำลังใจ
20.)สร้างเครือข่ายขบวนการประชาชนเพื่อสันติภาพ

ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อ การประชาสัมพันธ์
1.)การPR คือการแจกรางวัล
2.)คิดว่า การ PR เพื่อดึงดูดให้ประชาชนสนใจ
3.)มองการ PR เป็นผักชีโรยหน้า เป็นครั้งคราว
4.)มักเข้าใจผิดว่าการ PR เป็นยาวิเศษแก้ได้ทุกอย่าง
5.)การPR ไม่สามารถทดแทนงานโฆษณาได้
6.)PR คือ การมีคนสวย ๆ ที่โปรยยิ้ม นุ่นน้อยห่มน้อย
7.)เข้าใจว่าการ PR จะเนรมิตหรือปกปิดความเลวขององค์กร
8.)คิดว่าการPR เป็นการทำข่าวเท่านั้น แต่การPR จะต้องประกอบด้วยการวางแผน
9.)การ PR ไม่ใช่งานโฆษณาชวนเชื่อเพราะ PR ต้องใช้ความจริงใจตรงไปตรงมา
10.)เมื่อเกิดปัญหาในองค์กรผู้บริหารจะคิดว่า PR จะขจัดปัญหาได้ แต่การทำPR ต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอระยะยาว
11.)มีกิจการหลายอย่างที่เหมือน PR คือการโฆษณา การโฆษณาชวนเชื่อ การส่งเสริมการขาย การเผยแพร่
ทำให้เกิดสับสน แต่ผู้บริหารก็หวังกับการPR มาก

การโฆษณา Advertising
การโฆษณา Advertising คือการกระทำที่เป็นการจูงใจให้มีความประสงค์ เกิดความอยากใช้บริหาร หรืออยากซื้อบริการเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ ไอที แผ่นพับ ใบปลิว

การโฆษณาชวนเชื่อ Propaganda
การโฆษณาชวนเชื่อ Propaganda คือการปฏิบัติที่มุ่งประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวมีการโน้มน้าวความคิดและจูงใจคนด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้เห็นดีเห็นงาม หรือให้เป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่ต้องการ โดยอำพรางข้อเท็จจริง เป็นวิธีกลบเกลื่อนสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดี พยายามปิดบังซ่อนเร้นผู้กระทำหรือต้นตอของข่าวสาร มีการปรักปรำให้ร้ายป้ายสีฝ่ายตรงกันข้ามเพื่อประโยชน์ของตน

กลวิธีการโฆษณาชวนเชื่อ Propaganda
1.)จูงความสนใจ และการสร้างความน่าเชื่อถือ ด้วยศาสนา ที่บิดเบือน
2.)ใส่ร้ายป้ายสี ให้ร้ายแก่คนอื่น ขาวเป็นดำ
3.)อ้างบุคคลหรือกลุ่มชนสำคัญ
4.)เปรียบเปรย กล่าวเป็นนัย พูดหรือถามนำ ยกย่องพร้อมกับตำหนิ แสดงเจตนาบริสุทธิ์


การโฆษณาชวนเชื่อหาสมาชิกใหม่ของขบวนการ
1.)จะได้รับเงินจำนวนมากจากการเรียกค่าคุ้มครอง
2.)มีอำนาจและมีอาวุธปืนใช้
3.)มีที่ดินให้กับตัวเองและญาติพี่น้องในเขตป่าเขา
4.)จะได้รับการศึกษาต่อในต่างประเทศ
5.)ได้รับยศและตำแหน่งทางราชการของรัฐปัตตานี
6.)สามารถแต่งงานกับหญิงสาวสวยได้อย่างเสรี

รูปแบบการโฆษณาชวนเชื่อของขบวนการ
1.)การเผยแพร่ทางเว็บไซต์
2.)แผ่นพับ ใบปลิว
3.)สื่อมวลชน
4.)เทปบันทึกเสียง
5.)ปราศรัย ประชุมเสวนา
6.)อบรมที่แฝงในสถานศึกษา
7.)เอกสารสิ่งพิมพ์
8.)ซีดี
9.)สื่อบุคคล

หัวข้อการโฆษณาชวนเชื่อของขบวนการ
1.)เงื่อนไขเจ้าหน้าที่ของรัฐ (สงครามรบนาย)
2.)เจ้าหน้าที่ของรัฐรังแกชาวมุสลิม
3.)การบูชาพระพุทธรูปในโรงเรียนประถมศึกษา
4.)การสนับสนุนแหล่งเริงรมย์ของรัฐบาล
5.)ประวัติศาสตร์ปัตตานี
6.)กรณีการฆ่าชาวมุสลิมในมัสยิดกรือเซะ
7.)การสลายการชุมนุม กรณีตากใบ
8.)การเอาสุนัขค้นบ้าน
9.) การขึ้นบ้านที่ไม่ถอดรองเท้า
10.)การค้นกุโบร์
11.)การปล่อยให้มีสถานบันเทิง


ข้อแตกต่างระหว่าง การประชาสัมพันธ์ (PR) กับการโฆษณาชวนเชื่อ (PRO)
การประชาสัมพันธ์ (PR)
1.)สร้างความรู้ความเข้าใจ
2.)สร้างสัมพันธ์ภาพอันดี
3.)สื่อ 2 ทาง
4.)นำเสนอข้อเท็จจริงตรงไปตรงมาคำนึงถึงผลประโยชน์ต่อประชาชนเป็นหลัก

การโฆษณาชวนเชื่อ (PRO)
1.)เพื่อให้มีอิทธิพลเหนือคนอื่นทั้งทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อผลประโยชน์เฉพาะ จึงถูกมองในแง่ไม่ดี

หลักการประชาสัมพันธ์
1.)ต้องมีการวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์
2.)ต้องสร้างความเข้าใจอันดี เพื่อสร้างภาพลักษณ์
3.)ต้องพูดข้อเท็จจริง
4.)ต้องสื่อสองทาง Two Way Communication
5.)การวัดผลสำรวจประชามติ
6.)คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ คิดริเริ่ม มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รู้จักใช้ภาษาพูด
-โจรมุสลิม , อ้ายแขก , โจรใต้ , สตรีมุสลิม -ผมขอเรียงคิวต่อจากคุณ , -ผมขอหาเรื่อง(รือ)คุณหน่อย -ผมจะไปคลินิก ฟันหมอญาดา

หลักการปฏิบัติ การประชาสัมพันธ์
1.)มุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
2.)รู้จักจิตใจคนกลุ่มต่าง ๆ
3.)ต้องรู้จักองค์กรที่ตนเองทำงานอยู่
4.)เทคนิคการใช้สื่อ
5.)พูดข้อเท็จจริง
6.)ต้องทำประชาสัมพันธ์สม่ำเสมอ
7.)ต้องเปิดเผยความจริงตรงไปตรงมา
8.)อุปกรณ์มีคุณภาพสูง
9.)การประชาสัมพันธ์ต้องเข้าถึงผู้มีอิทธิพล

สื่อที่มีการนำไปใช้
สื่อที่ทางการนิยมใช้
1.) สื่อโทรทัศน์
2.) สื่อวิทยุกระจายเสียง
3.) สื่อหนังสือพิมพ์
4.) สื่อไอที
5.) สื่อบุคคล
6.) สื่อแผ่นป้าย
7.) สื่อใบปลิว
8.) สื่อแผ่นพับ
10.) จดหมายข่าว
11.)จุลสาร
12.)ใบแทรก
13.)โปสเตอร์
14.)วารสาร

สื่อที่ขบวนการนิยมใช้
1.) สื่อบุคคล
2.) สื่อใบปลิว
3.) สื่อไอที
4.) สื่อ CD กรณีตากใบ , กรือเซะ
5.) สื่อมวลชนของไทย-ต่างประเทศ

การทำสงครามข้อมูลข่าวสาร (ข้อมูล:พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก 16 ก.ค. 49)
1.)การทำสงครามข้อมูลข่าวสารต้องทำทุกระดับ โดยเฉพาะกำลังพลที่สัมผัสกับชาวบ้านโดยตรง เพราะต้องไม่ลืมว่า ฝ่ายก่อความไม่สงบก็ใช้วิธีปล่อยข่าวผ่านทางชาวบ้านในหมู่บ้านเช่นกัน
2.) ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียเงิน โดยหากเรามองปรากฏการณ์ย้อนหลังกลับไป จะพบว่าเหตุรุนแรงนั้นเกิดขึ้นเป็นจุดๆ แม้จะหลายจุดพร้อมกัน แต่ก็เป็นเพียงจุดเล็กๆ ทว่าเมื่อถูกนำเสนอเป็นข่าวผ่านสื่อ จะกลายเป็นว่าการก่อเหตุนั้นครอบคลุมทั้งพื้นที่ และนั่นทำให้ปฏิบัติของเขาได้ผลเกินคาด


ใบปลิว Hand Bill
ฝ่ายตรงกันข้าม ใช้สื่อใบปลิว เพราะมีราคาถูก แหลมคม ถึงชุมชน ในพื้นที่ เป็นสื่อกระจายข่าว ปลุกระดม ข่มขู่ ชี้ชวนให้หลงเชื่อ ปลุกกระแส เช่น ให้ชาวไทยมุสลิมหยุดประกอบกิจการทุกวันศุกร์

ยุทธวิธีฝ่ายตรงข้าม
1.)แจกใบปลิว ที่ ตลาดสด ตลาดนัด ร้านกาแฟ เรียกว่า Market Press Center
2.)มุ่งหวังให้ตลาด ร้านกาแฟในหมู่บ้านเป็น ศูนย์แถลงข่าวชุมชน ที่จะสื่อสารปากต่อปาก ทำให้ข่าวสารกระจายไปสู่ชุมชนอย่างรวดเร็ว
3.)อาศัยสื่อมวลชนนำใบปลิวไปขยายผล ยิ่งทำให้ข่าวแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

ใบปลิวของฝ่ายตรงข้ามที่สื่อ ตกเป็นเครื่องมือ ขยายผล
เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2549 หนังสือพิมพ์ มติชน หน้า13 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ ที่ 25 มิถุนายน 2549 และ หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 25 มิ.ย.49 หน้า 7 สื่อหนังสือพิมพ์ ดังกล่าวได้ นำใบปลิว ลงมาตีพิมพ์ ทำให้สื่อตกเป็นเครื่องมือโดยไม่รู้ตัว เพราะเป็นการขยายผลให้กับฝ่ายตรงกันข้าม เมื่อผู้รับสื่อ ได้อ่านก็จะเกิดการรับรู้ ที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวต่อสถานการณ์และตกเป็นแนวร่วมของฝ่ายตรงกันข้ามมากยิ่งขึ้น ซึ่งสื่อ จะต้องมีความระมัดระวัง ให้มากขึ้น ซึ่งข้อความที่สื่อลงเผยแพร่ มีดังนี้

ความจริงเป็นสัจธรรมที่ไม่ตาย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นับวันจะยิ่งรุนแรงและหลากหลายวิธี ที่พ่อแม่พี่น้องได้สัมผัส จนทำให้ทางการไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เหตุการณ์ที่ยืดเยื้อมานานนับปี ทำให้ทางการหมดหนทางแก้และเยียวยา ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเพราะทางการได้กระทำกับพี่น้องมุสลิมเหมือนชนชั้นสอง ใส่ความคนบริสุทธิ์ ฆ่าคนบริสุทธิ์ทำร้ายรังแกแม้กระทั่งผู้หญิงที่ไม่มีทางสู้ เป็นต้น ปฏิบัติการ 51 จุดที่เกิดขึ้น ในวันที่ 15-16 มิถุนายน 49 ชี้ให้เห็นว่าทางการปั่นป่วนอ่อนแอไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอีกทั้ง ปฏิบัติการจะยิ่งทวีคูณยิ่งขึ้น ตราบใดที่ทางการยังรังแกพ่อแม่พี่น้องมุสลิมของเรา"แล้วเมื่อไหร่ พ่อแม่พี่น้องจะลืมหูลืมตา กับการกระทำที่ป่าเถื่อน ของทางการที่มีต่อพวกเรา"

ยุทธวิธีตอบโต้ของฝ่ายราชการ
1.)การออกแถลงการณ์ตอบโต้ของ ผู้ว่าราชการจังหวัด
2.) ออกใบปลิวตอบโต้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นเรื่องปกติ
3.) ใบปลิวตอบโต้ ควรใช้ภาษามลายูและภาษาไทย
4.) ใบปลิวตอบโต้ ทำในทางลับ แบบใต้ดิน Black Sheet
5.) ใบปลิวตอบโต้ ควรเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคง

ยุทธวิธีในปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร Information Operation (ไอโอ)
พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก 21 ก.พ.50
1.)ใช้ปากเป็นปืนเล็ก คือใช้กำลังพลเข้าไปให้ถึงตัวชาวบ้าน แล้วพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจ
2.)ใช้วิทยุเป็นปืนใหญ่วิถีโค้ง นั่นคือการใช้สื่อเพื่อให้เกิดผลในวงกว้างมากขึ้น
3.)ใช้ทีวีเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด ซึ่งจะมีอานุภาพสูงกว่าวิทยุ
4.)ผู้บริหารระดับนโยบายจะต้องพูดในทิศทางเดียวกัน และคำพูดของผู้คุมนโยบายจะสร้างความเข้าใจทั้งประชาชนในประเทศ
และองค์กรต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ด้านการทหาร ก็คือการต่อสู้แบบเปิดหน้ากับกลุ่มก่อความไม่สงบ ขณะ ที่ยุทธศาสตร์ด้านการเมือง หรืองานกิจการพลเรือน คืองานพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งตลอด 2 ปีเศษที่ผ่านมา ภาครัฐเดินมาถูกทางแล้ว และจะเห็นผลสัมฤทธิ์เมื่อถึงเวลา

สงครามข้อมูลข่าวสาร
พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก ให้ความหมายของสงครามข้อมูลข่าวสารว่า ฝ่ายโจรก่อการร้ายมีการทำสงครามจิตวิทยา และประชาสัมพันธ์กับฝ่ายรัฐบาล โดยมีเป้าหมายคือต้องการ ข่มขวัญบีบบังคับให้ราษฎรเข้ามาร่วมมือกับฝ่ายโจร ทำนองเดียวกันก็มีความต้องการทำลายกำลังใจเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความท้อถอย โดยมีสื่อของ ฝ่ายเรา เป็นกำลังในการสนับสนุนวัตถุประสงค์ของโจร ก่อการร้ายในทางอ้อมโดยไม่รู้ตัวพันโท John Paul Vann เสนาธิการร่วมกองทัพสหรัฐอเมริกา 2506 ให้ความหมายของสงครามข้อมูลข่าวสาร ว่า"ในสงครามกองโจรนั้น การจะฆ่าใครสักคนจะต้องจำแนกแยกแยะให้ดี ทุกครั้งที่ฆ่าคนบริสุทธิ์ไปหนึ่งคนก็เท่ากับเราต้องถอยไปหนึ่งก้าวในสงครามแย่งชิงประชาชน"

* * * * * * * * * *


บทที่ 4
ขบวนการแบ่งแยกดินแดน



ขบวนการแบ่งแยกดินแดน ขบวนการแบ่งแยกดินแดน เริ่มที่ ตวนกูอับดุลกาเดร์ บินตวนกู รอมารุดดิน หรือ พระยาวิชิตภักดี เจ้าเมืองปัตตานี ไม่พอใจที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ส่งเจ้าเมืองคนใหม่ที่เป็นชาวมุสลิมจากกรุงเทพมาปกครองปัตตานีทำให้เจ้าเมืองเดิมไม่พอใจที่ สูญเสียรายได้ จึงฝักใฝ่อังกฤษ เพื่อจะได้แต่งตั้งตนเป็นเจ้าเมือง อีก เพราะในขณะนั้นอังกฤษกำลังล่าอาณานิคม ในพื้นที่มลายู ในที่สุดพระยาวิชิตภักดี ถูกทางการสยามจับกุมตัวในข้อหากบฏ โดยถูกนำตัวไปกักขังไว้ที่จังหวัดพิษณุโลก จึงทำให้เหตุการณ์ สงบไปพักหนึ่ง

ขบวนการแบ่งแยกดินแดนเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตวนกูมามุดมะไฮยิดดิน ลูกพระยาวิชิตภักดี ถูกอังกฤษหลอกใช้ให้รบกับญี่ปุ่น ว่าหากชนะจะให้ปกครองเมืองปัตตานี เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เหตุการณ์ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกัน จึงคิดตั้งเมืองปัตตานี เป็นรัฐอิสระ

ขบวนการ กัมปา (GAMPAR)
ตวนกู มามุด มะไฮยิดดิน ลูกชายพระยาวิชิตภักดี เจ้าเมืองปัตตานี จึงก่อตั้งขบวนการ กัมปา (GAMPAR) หรือเรียกว่า"สมาคมรวมเผ่ามลายูที่ยิ่งใหญ่"โดยรวมเอา เคดาห์ กลันตัน ปลิส ตรังกานู ยะลา นราธิวาส และปัตตานี เพื่อจัดตั้ง สาธารณรัฐปัตตานี สมาคมนี้ตั้งอยู่ ที่ รัฐ กลันตัน มาเลเซีย มีทั้งกองกำลังที่ติดอาวุธ และไม่ติดอาวุธ เคลื่อนไหวในไทยและมาเลเซีย โดยมีตวนกู มามุด มะไฮยิดดิน เป็นหัวหน้า หะยีสุหลง(อับดุลกาเดร์) โต๊ะมีนา อามีน โต๊ะมีนา อดุลย์ ณ สายบุรี

เรียกร้องสิทธิ ยุคแรก
หยีสุหลง อับดุลการ์เด หรือ โต๊ะมีนา ประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี เป็นตัวแทนยื่นหนังสือเรียกร้องต่อรัฐบาล 7 ข้อ
1.)แต่งตั้งคน 4 จังหวัดชายแดนใต้ปกครองกันเอง
2.)ข้าราชการในพื้นที่เป็นมุสลิมเกินกว่า 80%
3.)ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
4.)ให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษากลางใน โรงเรียนประถม
5.)ให้ใช้กฎหมายมุสลิมโดยมีดาโต๊ะยุติธรรมพิจารณาร่วมด้วย
6.)ภาษีทั้งปวงที่เก็บได้ในพื้นที่ให้นำมาใช้ในพื้นที่
7.)ให้ตั้งคณะกรรมการมุสลิมมีอำนาจเต็มในการดำเนินการเกี่ยวกับคนมุสลิมทุกเรื่อง

ขบวนการยุคที่ 2
ขบวนการ บีเอ็นพีพี BNPP
BNPP(Barisan National Pembebasar Pattani)
เมื่อผู้นำและสมาชิกขบวนการ กัมปา เสียชีวิตทั้งหมด ในปี พ.ศ.2500 จึงได้มีการก่อตั้ง ขบวนการ บีเอ็นพีพี (BNPP) มีสมาชิกประกอบด้วย
1.)นายดือเระ มะดีเยะ เป็นหัวหน้าขบวนการ บีเอ็นพีพี
2.)นายเปาะเยะ เป็นรองหัวหน้า ขบวนการ บีเอ็นพีพี

ขบวนการยุคที่ 3
ขบวนการ บีอาร์เอ็น BRN (Barisan Revolusi Nasional)
ขบวนการ บีอาร์เอ็น เป็นขบวนการที่แยกออกมาจาก ขบวนการ บีเอ็นพีพี
กลุ่มบีอาร์เอ็น คือ กลุ่มแนวร่วมปฏิบัติแห่งชาติมลายูปัตตานี เริ่มก่อตั้ง เมื่อปี 13 มีนาคม พ.ศ.2503 ผู้ก่อตั้งส่วนใหญ่
จบการศึกษามาจาก ประเทศอียิปต์ และเป็นกลุ่มหัวรุนแรง ขบวนการ บีอาร์เอ็น แยกย่อยออกเป็น 3 กลุ่มเพราะมี
ความขัดแย้งในผลประโยชน์และความคิด คือ
1.)บีอาร์เอ็น อุลุมา (BRN ULUMA) นายฮะยีอับ ดุลการิม เป็นประธานส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำศาสนา
2.)บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต (BRN COORDINATE) นายสะแปอิง บาซอ เป็นหัวหน้า
3.)บีอาร์เอ็น คองเกรส (BRN CONGRESS)นายรอซะ บูรากอ เป็นประธาน เป็นพวกหัวรุนแรง เช่น พลีชีพ ที่ใช้ในอิสราเอล

ขบวนการยุคที่ 4
ขบวนการ พูโล PULO (Pattani United Liberation Organization)พ.ศ. 2511 มีการแยกตัวจากกลุ่มบีอาร์เอ็น มาตั้งกลุ่มใหม่คือ พูโล ซึ่งก่อตั้งโดย ตนกูวีรา อับดุลเราะฮ์มาน โกตานีลา
ขณะเป็นนักศึกษาเรียกหม่อมราชวงศ์ วีระ ณ ราชวังคราม อ้างว่า เป็นเชื้อพระวงศ์กษัตริย์ปาตานี สายราชวังคราม ยี่งอ นราธิวาส จบปริญญาตรีในอินเดีย และปริญญาโทในสวีเดน ก่อตั้งองค์การพูโล ในวันที่ 22 มกราคม 2511 ในซาอุดิอาราเบีย มีแกนนำขบวนการพูโลคนสำคัญ คือลุกมาน บินลีมา และ Mr. Kasturi Mahkota หัวหน้ากิจการต่างประเทศขบวนการพูโล ขบวนการพูโลใหม่ ก่อตั้ง เมื่อปี 2532 ขบวนการพูโล ได้รับการช่วยเหลือ จาก พีแอลโอ ของ นายยัดเซอร์อาราฟัด ผู้นำปาเลสไตน์ และไออาร์เอ กลุ่มก่อการร้ายไอริชในอังกฤษ ได้ให้เงินสนับสนุนและฝึกการวางระเบิด แกนนำคนสำคัญของ พูโล ที่ถูกจับได้ คือ นายสะมะแอ ท่าน้ำ,นายดาโอ๊ะ ท่าน้ำ,นายบูโด เบตง ปัจจุบันศาลไทยตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ในข้อหากบฏ นายลุกมาน บินลีมา ผู้บัญชาการสูงสุดขบวนการพูโล เป็นชาวจังหวัดยะลา จบการศึกษาระดับประถมและมัธยม จากนั้นไปต่อที่ตะวันออกกลาง จบแล้วไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ จนจบปริญญาตรีรัฐศาสตร์ และไปเรียนต่อวิชาการสงครามจากโปแลนด์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวของพูโล ที่มักให้สัมภาษณ์ตอบโต้การทำงานของรัฐบาลไทยผ่านทางสำนักข่าวต่างประเทศ และมีถิ่นพำนักที่เชื่อได้ว่า อยู่ในประเทศสวีเดน ปี 2541พูโล คิดจะรวมตัวใหม่ โดยแกนนำ พูโล ทั้งสองกลุ่มแสวงหาความร่วมมือ เพื่อขจัดความขัดแย้งที่มีมาแต่ในอดีต แต่ก็รวมไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตามยังมีการส่งกองกำลังเข้ามาก่อกวนในพื้นที่ ปี 2548 พูโลเก่า รวมกับ พูโลใหม่ วันที่ 29 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2548 มีการประชุมเพื่อรวมพูโลนก หรือพูโลเก่า และพูโลกริช หรือพูโลใหม่ เป็นขบวนการเดียวกัน ใช้ชื่อว่า Pertubuhan Pembebasan Patani Bersatu การรวมตัวกันของพูโลเก่าและพูโลใหม่ ประสบความสำเร็จ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2548

ขบวนการยุคที่ 5
ขบวนการ มูจาฮีดีน เมื่อปี พ.ศ. 2530 กลุ่มบีอาร์เอ็น และ กลุ่มพูโล บางส่วน แยกตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มใหม่อีก เรียกว่าขบวนการมูจาฮีดีน มีนายเจ๊ะกูแม กูเต๊ะ เป็นประธาน มูจาฮีดีน เป็นกลุ่มโจร ที่ใช้ความเชื่อทางศาสนา ตายเพื่อพระเจ้า โดยใช้วิธี จีฮัจญ์ เป็นความรุนแรงที่นำเอาศาสนามาเกี่ยวข้อง

นายเจ๊ะกูแม กูเต๊ะ ประธานขบวนการมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี มีชื่อจริงว่า นายดอรอแม กูเต๊ะ ปัจจุบัน อายุ 61 ปี (พ.ศ.2547)มีชื่อจัดว่าตั้งว่า เจ๊ะกูแม กูเต๊ะ / เจ๊ะกูแม โต๊ะตาเยาะ / อับดุลเราะมัน มีรางวัลนำจับจากสำนักงานตำรวจภูธรภาค 9จากเดิม 3 แสนบาท เพิ่มเป็น 5 ล้านบาท ไม่ว่าจะจับเป็นหรือจับตาย และเป็นบุคคล 2 สัญชาติ ขบวนการมูจาฮีดีน ยังแบ่ง ออกเป็น
1.)มูจาฮีดีน ปัตตานี หรือ บีบีเอ็มพี (BBMP)
2.)มูจาฮีดีน อิสลามปัตตานี GMIP (Gerakan Mujahideen Islam Pattani)

นายเจ๊ะกูแม กูเต๊ะ :เจ๊ะกู เป็นภาษามลายู แปลว่า ครู ชื่อของเขา ปรากฏหลังปล้น ปืน ที่ค่าย ปิเหล็ง โดยชื่อ เจ๊ะกูแม กูเต๊ะ เป็นชื่อจัดตั้ง หลังปล้น ปืน ที่ค่ายปิเหล็ง เขา ยังมีชื่อในมาเลเซีย ว่า นายอะหะมะ บิน อาหมัด (Ahama B.Amad) และอับดุล เลาะห์มานมีภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 194 หมู่4 ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ชื่อในแฟ้มตำรวจไทยอยู่บ้านเลขที่ 1473 ถ.บูดีมัน เขตบาตูโระอ.กัวลาตรังกานู รัฐตรังกานู มาเลเซีย มีอาชีพทำเนื้อสะเต๊ะ ส่งขายตามร้านในรัฐตรังกานู นายเจ๊ะกูแม กูเต๊ะ จบปริญญาตรี ภาษาอังกฤษ-อาหรับ วิทยาลัยเมืองบันดุง อินโดนีเซีย จากนั้นกลับมาสอนศาสนาใน จ.ปัตตานี และกลับไปมาเลเซียเข้าร่วมขบวนการมูจาฮีดีนปัตตานี

ขบวนการ เบอร์ซาตู
ดร.วัน ฟาเดร์ เจ๊ะมาน มาฮาดี ดาโอ๊ะ อายุ 62 ปี (ปี 2547)ผู้นำกลุ่มเบอร์ซาตูบอกว่า ทางกลุ่มไม่มีความต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดนและไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่อยากเห็นชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูทางภาคใต้ของไทย เข้ามารับข้าราชการและมีบทบาททางการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น รวมถึงการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องการใช้ทรัพยากรในพื้นที่

เบอร์ซาตูมีหลายกลุ่มคือ กลุ่มพูโลเดิม พูโลใหม่ บีอาร์เอ็น บีเอ็นพีพี ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีนักรบติดอาวุธและแนวคิดเป็นของตัวเองทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม เบอร์ซาตู เริ่มมีบทบาทเมื่อปี 2532 ที่มีการประชุมครั้งแรกในวันที่ 31 สิงหาคม 2532ที่เมืองโกตาบารู มาเลเซีย มีชื่อเรียกตนเองอย่างเป็นทางการว่า " สมัชชาประชาชนมลายูปัตตานี " ทางการไทยเริ่มจับตามองเมื่อปี 2538 และในปี 2540 มีการเคลื่อนไหวอีกในมาเลเซีย โดยมีการสถาปนาในวันที่ 15 มิถุนายน 2540 ให้เป็นวันปลดปล่อยรัฐปัตตานี ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับเหตุการณ์สำคัญเมื่อ 100 ปี ล่วงมาในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์

ซาตู ในภาษามลายูท้องถิ่น แปลว่า 1 หมายถึง เบอร์ 1 และวันนี้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ระหว่าง พูโล บีอาร์เอ็น และมูจาฮีดีน รวมกันเรียกว่า เบอร์ซาตู

สำหรับกลุ่มแนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือ เบอร์ซาตู (BERSATU:Barisan Bersatu Kemerdekaan Patani) ก่อตั้งเมื่อปลายปี 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมโจรก่อการร้ายกลุ่มต่างๆให้เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน และเพื่อขจัดความสับสนในการที่จะรับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากต่างประเทศมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองอยู่ในประเทศมาเลเซีย โดยแอบแฝงอยู่ภายใน "สมาคมชาวปัตตานี" ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย

ดร.วัน ฟาเดร์ เจ๊ะมาน มาฮาดี ดาโอ๊ะ เป็นประธาน ขบวนการเบอร์ซาตู โดยมีกลุ่มพันธมิตร 4 กลุ่ม ได้แก่ บีอาร์เอ็น-คอนเกรสหรือ แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี, บีไอพีพี หรือแนวร่วมอิสลามปลด ปล่อยปัตตานี, ขบวนการมูจาฮีดีนปัตตานีหรือจีเอ็มพี และกลุ่มพูโลใหม่ หรือองค์การปลดปล่อยรัฐปัตตานี (Pattani Darusslam)

นายฟารีส เอ นูร์ นักวิจัยชาวมาเลเซีย ได้สัมภาษณ์ นายวัน อับดุล กาเดร์ เจ๊ะมัน (Wan Abdul Kadir Che Man ) หรือ ดร.วัน ฟาเดร์ เจ๊ะ มาน มาฮาดี ดาโอ๊ะ เกี่ยวกับการลาออกจากตำแหน่งผู้นำขบวนการเบอร์ซาตู ในฐานะแกนนำกลุ่มแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2548 (ข้อมูล จาก นสพ.โพส์ต ทูเดย์ 18 สิงหาคม 2548)

ประวัติ
ดร.วัน ฟาเดร์ เจ๊ะมาน มาฮาดี ดาโอ๊ะ

-เกิดที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
-จบชั้นประถม ที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
-จบชั้น ม.8 ที่ ร.ร.เบญจมราชูทิศ จ.ปัตตานี
-เดินทางไป เมืองเมกกะฮ์ ซาอุดิอาราเบีย ก่อนที่จะไปอยู่ อเมริกา เป็นเวลา 10 ปีเรียนจบปริญญาตรีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
-พ.ศ.2515-16 ทำงานที่ รพช.กระทรวงมหาดไทย
-พ.ศ.2518 ลาออกไปอยู่ปีนัง มาเลเซียและเรียนปริญญาโทรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเป็นอาจารย์หลังเรียนจบ
-ได้ทุนเรียนต่อที่ออสเตรเลีย จบปริญญาเอกรัฐศาสตร์
-กลับมาสอนหนังสือที่ มหาวิทยาลัยอิสลามระหว่างประเทศ ที่ปีนัง

ขบวนการ "เปอร์มูดอ"
"เปอร์มูดอ" (PERMUDA) คือกลุ่มเยาวชนกู้ชาติปัตตานีหรือ "เปอร์มูดอ" (PERMUDA) ซึ่งมี นายสะแปอิง บาซอ อดีตครูใหญ่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อ.เมือง จ.ยะลา และนายมะแซ อุเซ็ง อดีตเจ้าของโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นแกนนำทั้งสองกลุ่ม เดิมเป็นกลุ่มอยู่ในขบวนการ BRN Congress และBRN ULAMA ซึ่งเป็นสายที่เคร่งครัดในแนวทางศาสนา อีกทั้งผู้นำสองคนนี้เคยประกาศว่าต้องการให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นรัฐปัตตานี

เปอมูดอ" แปลตรงตัวว่า "วัยรุ่นชาย" รวมตัวกันเป็นกลุ่มเยาวชนมุสลิมที่มีอุดมการณ์เพื่อกู้ชาติปัตตานี วัยรุ่นเหล่านี้จะผ่านการคัดเลือกเพื่อเฟ้นเอาแต่พวกเรียนดีระดับหัวกะทิ มีความประพฤติเรียบร้อย อายุระหว่าง 18-25 ปี มาฝึกฝนให้เป็น "นักรบเปอมูดอ" โดยมีแกนนำของกลุ่มที่เป็นระดับมันสมองเรียกตัวเองว่า "อุลามา" (Ulama) (ข้อมูลศูนย์ข่าวอิศรา 14 พ.ย.2548)

บันได 7 ขั้น
วันที่ 1 พ.ค.2546 หน่วยความมั่นคงพบ แผนบันได 7 ขั้นสู่ความสำเร็จ ภายในบ้านพักของนายมะแซ อุเซ็ง มีรายละเอียด ดังนี้
1.)สร้างจิตสำนึกของมวลชน ไม่ใช่คนไทยแต่เป็นคนมลายู ปัตตานีถูกยึดครอง
2.)จัดตั้งมวลชน เริ่มที่กลุ่มผู้สอนศาสนา ตาดีกา ปอเนาะ
3.)จัดตั้งองค์กร เพื่อบังหน้าขบวนการก่อการร้าย
4.)จัดตั้งกองกำลัง ทหาร หน่วยคอมมานโด แนวร่วม
5.)อุดมการณ์ชาติ ปลูกฝังความเป็นชาติมลายู
6.)ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นจุดดอกไม้ไฟ ลุกฮือ
7.)ขั้นการปฏิวัติ ใช้กำลังปฏิวัติ พลังการเมือง พลังมวลชน

ประวัติ
มะแซ อุเซ็ง

-นายมะแซ อุเซ็ง เกิดวันที่ 25 ตุลาคม 2502 ที่ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
-มีพี่น้อง 5 คน มีบุตร 4 คน
-จบ ป.4 ในบ้านเกิดที่ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง
-จบ ป.5 ที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
-ทหารเกณฑ์ระหว่าง ปี พ.ศ.2523-2525 สังกัด ร.5พัน 1 ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภารกิจปราบ ผกค.ที่
อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล อ.รัตภูมิ จ.สงขลาปราบ จคม. ที่อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.สะเดา จ.สงขลา
-ปี พ.ศ.2526 ศึกษาต่อที่โรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส จนจบชั้น 10 และใช้ชีวิตอยู่ที่โรงเรียนด้วยการเป็นครู จนถึงปี 2540
-ปี 2544 ลงสมัครเป็น อบต.และถูกคัดเลือกให้เป็นประธานสภา อบต.บูกิต
-เคยเป็นเลขามูลนิธิปูซากา (PUSAKA)
-วันที่ 1 พ.ค.2546 หน่วยความมั่นคงพบ แผนบันได 7 ขั้นสู่ความสำเร็จ ภายในบ้านพัก

ขบวนการ RKK
1.)ขบวนการ RKK : RUNDA KUMPULAN KECIL มีการนำมาพูดหลังเหตุการณ์ฆ่าพระวัดพรมประสิทธิ์ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2548 RKK มีสมาชิกในหมู่บ้านละ 6 คน ใน 500 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกประมาณ 3,000 คน ถ้าทุกกลุ่มปฏิบัติการ
ภายในหนึ่งปี จะทำให้เกิดเหตุการณ์ 6,000 ครั้งต่อปี
2.)ขบวนการ RKK : มีชื่อตรงกับ หลักสูตรการฝึกของทหารรบพิเศษอินโดนีเซีย

วันสำคัญของขบวนการ
-13 มี.ค.2503 : วันก่อตั้ง บีอาร์เอ็น
-22ม.ค.2511 : ก่อตั้งขบวนการพูโลเก่า
-31ส.ค.2532 : ก่อตั้งขบวนการเบอร์ซาตู
-12ต.ค.2532 : ก่อตั้งพูโลใหม่
-15มิ.ย.2540 : วันชาติรัฐมลายูอิสลามปัตตานี
-28 เม.ย.2547 : กรณีกรือเซะ
-25 ต.ค.2547 : กรณีตากใบ

ขบวนการในต่างประเทศ
ขบวนการ เคเอ็มเอ็ม

KMM (Kampulan Mujahideen Malasia)
1.) เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนของมาเลเซีย ได้ทำแผนที่โดยรวมรัฐกลันตัน กับ ตรังกานู ของมาเลเซียรวมกับ 4 จังหวัดชายแดนใต ้ประกอบด้วย ยะลา นราธิวาส สตูลและปัตตานี เป็นสาธารณรัฐปัตตานี มีการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่ ประเทศอิรัก

2.) นายอับดุล อัดลี นิก มัต บุตรชายคนที่ 3 ของนายอับดุล อา ซิส พรรคปาส หรือพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย ให้การสนับสนุน KMM ถูกจับ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2544 และปล่อยตัว วันที่ 18 ตุลาคม 2549 นายอับดุล อัดลี นิก มัต ก็ถูกรัฐบาลมาเลเซียปล่อยตัวซึ่งวันดังกล่าวตรงกับวันที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการพอดี

3.) นายอับดุล อัดลี นิก มัต มีภรรยาชื่อนางเซเลส โมนิกา ไซเลส เป็นชาวกัมพูชา ภูมิลำเนาเดิมอยู่แนวชายแดนติดกับประเทศไทย

ข้อมูลของทางการไทยพบว่าช่วงเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา มีชาวกัมพูชามุสลิมเดินทางลง ไปจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยโดยผ่านด่านชายแดน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีจำนวนเกือบ 2 หมื่นคน ปี 2548 จำนวน 8,488 คน ปี 2549 จำนวน 7,270 คน ปี 2550 จำนวน 2,524 คน รวมทั้งหมด 18,282 คน การเดินทางกลับ พบว่าในจำนวนดังกล่าวมี การเดินทางกลับเพียง 10% เท่านั้น

ขบวนการอาเจะห์(GAM)
1.)ขบวนการอาเจะห์ (GAM) เป็นมุสลิมแบ่งแยกดินแดนทางเหนือของสุมาตรา อินโดนีเซีย เป็นขบวนการที่ต้องการอาวุธจำนวนมาก

2.)เส้นทางการลำเลียงปืน ผ่านชายแดนไทยด้าน มาเลเซีย ผ่านแม่น้ำโกลก ด้านอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส เข้ารัฐกลันตัน รัฐเปรัค
ลงทะเลอันดามัน ไปจังหวัดอาเจะห์ประเทศอินโดนีเซีย

3.) ขบวนการอาเจะห์ ได้ยุติบทบาทภายหลังเกิดสึนามิ (26 ธ.ค.47) เพราะมีชาวอาเจะห์ ตายจำนวนมาก

หลังจากสู้รบมา 30 ปี วันที่ 15 สิงหาคม 2548 นายฮามิด อาวาลุดดิน รัฐมนตรียุติธรรมอินโดนีเซีย และ นายมาลิก มะห์มูด หัวหน้าขบวนการอาเจะห์เสรี ได้ร่วมลงนามข้อตกลงสันติภาพที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟิลแลนด์ สำหรับข้อตกลง อาเจะห์เสรี ยอมยกเลิกข้อเรียกร้องขอแยกตัวเป็นอิสระ และตกลงปลดอาวุธ ตลอดจนการเคลื่อนไหวทางทหาร โดยอินโดนีเซียยอม
ถอนทหารที่ไม่ใช่กองกำลังความมั่นคงออกจากอาเจะห์ และนิรโทษกรรมขบวนการอาเจะห์ภายใน 2 สัปดาห์หลังลงนามข้อตกลง

หลังลงนามได้มีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อเดือนเมษายน 2549 นายเออร์วันดี ยูซุฟ ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอาเจะห์ คนแรก อาเจะห์ มีธงประจำจังหวัด ที่ไม่ใช่ธงชาติมีเพลงประจำ อาเจะห์ ที่ไม่ใช่เพลงชาติ อาเจะห์ มีสิทธิออกกฎหมาย รัฐบาลกลางยังถือสิทธิด้านความมั่นคง การป้องกันประเทศ ด้านการเงิน การคลัง งานยุติธรรม งานตำรวจ และต่างประเทศ

ขบวนการอาบูไซยาฟ
ขบวนการ อาบูไซยาฟ (ก่อตั้ง2534) เป็นกบฏ แบ่งแยกดินแดนมุสลิม ในประเทศฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเจไอกลุ่มอัลเคดา ของบินลาดิน และยังมีการติดต่อกับ ขบวนการเบอร์ซาตู ที่มีการเคลื่อนไหว ใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ของไทย ด้วย

เมื่อ พ.ศ.2549 ฟิลิปปินส์ ที่ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับกลุ่มอาบูไซยาฟ และจะมีการเจรจาหารือกันเพื่อสงบศึกในอนาคตขบวนการแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร่ (MILF)นำโดย นายมูราด อิบรอฮิม อายุ 54 ปี (พ.ศ.2547) มีฐานปฏิบัติการอยู่ทางตอนใต้ของเกาะมินดาเนา มีการจับอาวุธขึ้นต่อสู้ประมาณ 30 ปี เดิมขบวนการโมโร่ ได้แยกตัวจาก แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร่ (NNLF) ซึ่งมีนายซาลามัต เป็นผู้นำขบวนการ

นายยาสเซอร์ อิกาซาน ผู้นำคนใหม่ของกลุ่มหัวรุนแรงอาบูซายาฟได้รับเลือกเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อนภายหลังการลงคะแนนของผู้บัญชาการภาคสนามที่ฐานแห่งหนึ่งของกลุ่มกบฏบนเกาะโฮโล ซึ่งทหารเชื่อว่า นายอิกาซานได้รับแต่งตั้งเนื่องจากพื้นฐานด้านศาสนาของเขาเพราะเขาไม่ใช่สมาชิกใหม่ขององค์นี้และเป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่อตั้งกลุ่มอาบูซายาฟ ในยุคแรก ทั้งนี้ นายอิกาซานจะทำหน้าที่แทนนายกัดดาฟี จันจาลานิ ที่เสียชีวิตจากการปะทะกับหน่วยนาวิกโยธินบริเวณเทือกเขาบนเกาะโฮโลเมื่อกันยายน2549 แต่การเสียชีวิตของนายกัดดาฟีได้รับการยืนยันเมื่อต้นปีนี้ หลังจากเจ้าหน้าที่สหรัฐตรวจสอบดีเอ็นเอแล้ว.

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2550 สหรัฐมอบ 10 ล้านดอลลาร์ให้ ฟิลิปปินส์จ่ายค่าหัว แก่ผู้ชี้เบาะแสนำไปสู่การสังหารแกนนำระดับสูง 2 คนของขบวนการอาบูไซยาฟ ที่สัมพันธ์กับอัลเคดา บนเกาะโจโล ภาคใต้ของฟิลิปปินส์

ขบวนการเจมาร์อิสลามมิยาห์( เจไอ) JI (Jemaah Islamiyah)
ขบวนการเจมาร์อิสลามมิยาห์ เป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ที่รวมอิสลาม ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และไทย สำหรับประเทศไทยในแผนที่ของขบวนการเจไอ ตัดลงมาตั้งแต่จังหวัดตาก ลงมา จัดตั้งเป็นประเทศใหม่ ภายในปี 2568 โดยขบวนการเจไอ ได้รับการสนับสนุน จากขบวนการอัลเคดาร์

ขบวนการเจไอ มี นายฮัมบาลี เป็นแกนนำคนสำคัญ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2549 ถูกตำรวจไทยจับได้ที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก่อนที่จะถูกนำตัวส่งให้กับสหรัฐอเมริกา คาดว่าถูกคุมขังที่ค่ายควนตานาโม่

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2549 นายแดร์ริลเอ็น.จอห์นสัน เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับการจับกุมนายฮัมบาลี ความว่า : ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีและชื่นชมต่อ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทยที่ประสบความสำเร็จในการจับกุมนายริดดวน บิน อิซามุดดินหรือที่รู้จักกันในนามของฮัมบาลี

นายฮัมบาลีเป็นผู้ก่อการร้ายซึ่งคร่าชีวิตผู้คนและสร้างความเสียหายทั้งในประเทศบ้านเกิดของตน คืออินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ นายฮัมบาลีเป็นตัวแทนและผู้วางแผนระดับสูงของอัลไคดาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้นายฮัมบาลียังเป็นหัวหน้ากลุ่มปฏิบัติการของกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ ซึ่งเป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่มีศูนย์บัญชาการใหญ่ในอินโดนีเซีย

การจับกุมนายฮัมบาลีโดยเจ้าหน้าที่ไทยแสดงถึงชัยชนะครั้งใหญ่ในการทำสงครามกับการก่อการร้าย และพิสูจน์ให้เห็นถึงบทบาทผู้นำไทยในกลุ่มประเทศที่รักความสงบสุขทั้งหลาย
สหรัฐอเมริกามีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนให้การสนับสนุนการจับกุมครั้งนี้ และมีไทยเป็นหนึ่งในมิตรประเทศและพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุด

เจไอขยายแนวรบใหม่
25มี.ค.50: นายโรหัน คุณรัตนะ หัวหน้าศูนย์วิจัยนานาชาติว่าด้วยความรุนแรงทางการเมืองและการก่อการร้าย ซึ่งตั้งอยู่ในสิงคโปร์ ให้ข้อมูลว่า กลุ่มก่อการร้ายเจมาห์ อิสลามิยาห์ (เจไอ) ยังคงเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นภัยคุกคามหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าขณะนี้เจไอจะถูกกวาดล้างในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ แต่โครงสร้างของเจไอยังคงไม่ได้รับความเสียหาย"กลุ่มเจไอในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์แสดงความสนใจอย่างมากที่จะส่งนักรบและผู้เชี่ยวชาญด้านระเบิดเข้ามาในตอนใต้ของไทย พวกเขาต้องการทำสงครามศาสนาในภูมิภาคนี้ และต้องการสร้างแนวรบใหม่ในไทย"

จับแกนนำขบวนการเจไอ
9 มิ.ย.50: หน่วยปฏิบัติการพิเศษ 88(ดิแทชมินต์ 88)ของอินโดนีเซีย จับกุม นาย อาบู ดูจานา อายุ 37 ปี แกนนำกองกำลังพิเศษของกลุ่มก่อการร้ายเจมาห์ อิสลามิยาห์ (เจไอ) นายอาบู ดูจานา หรือ นาย ยุสรอน มาห์มูดี และยังมีชื่อต่างๆ ถึง 6 ชื่อ ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มเจไอที่มีความสำคัญมากกว่า นายนอร์ดีน มูฮัมหมัด ท็อป หรือ อาซาฮารี ฮูซิน 2 แกนนำกลุ่มเจไอของมาเลเซีย โดยนายอาซาฮารี ถูก สังหารระหว่างการจับกุม เมื่อ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2548 ที่ประเทศอินโดนีเซีย

9 มิ.ย.50 : ซิดนีย์ โจนส์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ดูจานาเป็นแกนนำคนสำคัญของกลุ่มเจไอ ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่คือหนึ่งในแกนนำคนสำคัญที่ถูกจับกุมได้ในช่วงที่ผ่านมา

"แม้เขาจะไม่ใช่ผู้บัญชาการในภาพรวม แต่ก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม และเป็นสมาชิกคนสำคัญของศูนย์บัญชาการกลางซึ่งรู้ข้อมูลลับทั้งหมดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและเทคนิคต่างๆ ในเหตุโจมตีแต่ละครั้ง"

15 มิ.ย.50 : ซาร์กาซีฮ์ อายุ 45 ปี ควบคุมการปฏิบัติการของกลุ่มเจไอทั่วอินโดนีเซีย เขาเป็นผู้นำของกลุ่มเจไอ ปี พ.ศ.2547 เขามีตำแหน่งสูงกว่าอาบู ดูญานา และถูกจับกุมในวันเดียวกัน ซิดนีย์ โจนส์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกลุ่มเจไอและผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของกลุ่มศึกษาวิจัย International Crisis Group บอกกับเอเอฟพีว่า ถ้า ซาร์กาซีฮ์ เป็นคนเดียวกับที่คิดเขาก็เป็นคนจาการ์ตาที่เคยไปร่วมรบในศึกอัฟกานิสถาน เชื่อกันว่าเป็นบุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังเหตุวางระเบิดหลายครั้ง รวมไปถึงเหตุระเบิดที่บาหลีเมื่อปี 2548

ขบวนการสงครามศักดิสิทธิ์อิสลาม (เอชยูเจไอ) ข้อมูลโดย : สุฐา รามจันทราน ผู้สื่อข่าวอิสระและนักวิจัยในบังกลอร์ ภารกิจหลักของเอชยูเจไอในบังกลาเทศ คือสถาปนากฎหมายอิสลาม ตรงตามคำขวัญของขบวนการที่ว่า "อัมรา โซไบ โฮโบ ตาลีบัน, บังคลา โฮเบ อัฟกานิสถาน" (เราจะเป็นตาลีบัน และบังกลาเทศจะเป็นอัฟกานิสถาน) เอชยูเจไอก็เหมือนตาลีบัน คือไม่ชอบดนตรี ไม่ชอบการเต้นรำ และไม่ชอบภาพยนตร์ โดยถือว่ามันไม่ใช่อิสลาม และเป็นสิ่งเหลวแหลก เอชยูเจไอต่อต้านอิทธิพลอินเดียและโลกตะวันตก โดยถือว่าเป็นวัฒนธรรมฮินดู และคริสเตียน

ขบวนการโรฮินญามุสลิมในพม่า
แม้ภารกิจเดิมของขบวนการฮาร์กัต-อุล ญิฮาด อิสลามี (เอชยูเจไอ) คือก่อตั้งการปกครองแบบอิสลาม ขึ้นในบังกลาเทศ แต่ความทะเยอทะยานกับการขยายตัวออก ไปนอกประเทศ ที่นับวันเติบใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในระหว่างทศวรรษที่ 1990 เอชยูเจไอ เป็นผู้ฝึกอาวุธให้ขบวนการ โรฮินญา รัฐอารกัย ยะไข่ พม่าเพื่อส่งสมาชิกไปร่วมรบในอัฟกานิสถาน และรบกับฝ่ายรักษาความปลอดภัยอินเดียในแคว้นจามูแคชเมียร์ และให้ที่หลบซ่อนแก่พวกกองโจรมุสลิมอินเดียทางภาคอีสาน ขบวนการโรฮินญามี 2 กลุ่มคือ
1.)โรฮิงญาสามัคคี
2.)โรฮิงญาแห่งชาติอารากัน

ขบวนการพยัคฆ์ทมิฬอีแลม LTTE (ข้อมูลโดย : กระทรวงการต่างประเทศ )
ประเทศศรีลังกา มีปัญหากับกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (LTTE) ในตอนเหนือและตะวันออกของประเทศ ต้องการให้เป็นพื้นที่ปกครองตนเอง รัฐบาล และ LTTE มีการเจรจา สันติภาพเรื่อยมา ครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2546 พยัคฆ์ทมิฬอีแลม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู 15 %อิสลาม 15% ชาวศรีลังกานับถือพุทธ 70 % โดยกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลม เริ่มสู้รบตั้งแต่ปี 2526 ทำให้มีคนตาย 68,000 คน เมื่อ วันที่ 6มิถุนายน 2543 ตำรวจไทย จับนาย Christy Reginald Lawrence วิศวกรชาวศรีลังกา จาก อู่ต่อ เรือ Seacraft เกาะสิเหร่ อ.เมืองภูเก็ต ข้อหาต่อเรือดำน้ำ แต่กระทรวงต่างประเทศปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากเกรงจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันที่ 26 มีนาคม 2550 ขบวนการพยัคฆ์ทมิฬอีแลม ใช้เครื่องบินโจมตี เป็นครั้งแรก ถล่มฐานทัพอากาศคาทูนายาเกของศรีลังกา คนตาย 3 บาดเจ็บ 16 คนนายราเซียห์ อิลานธิไรยัน โฆษกกองกำลังพยัคฆ์ทมิฬ ให้สัมภาษณ์ ว่าการโจมตีประสบความสำเร็จ และการต่อสู้แบบพลีชีพขบวนการนำมาใช้เป็นครั้งแรก

ขบวนการอัล กออิดะห์หรือ อัลไคด้า ข้อมูลโดย : บี รามัน อดีตเลขาธิการพิเศษของกองเลขานุการคณะรัฐมนตรีของอินเดีย ขบวนการอัล กออิดะห์ มีนายบิน ลาดิน เป็นหัวหน้าขบวนการเหมือนซีอีโอสมัยใหม่ บริหารบริษัท ขบวนการอัล กออิดะห์ และองค์การก่อการร้ายจีฮัดทั้งหลาย ยังคงเป็นภยันตรายต่อเสรีภาพ และความปลอดภัย ของพลเรือนผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ หลายล้านคนทั่วโลก คนพวกนี้กักขฬะและพร้อมที่จะใช้ทุกวิถีทาง ข่มขู่ เข่นฆ่า และก่อกวนชีวิตตามปกติสุข

OIC เยือนไทย
ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2550 เลขาธิการองค์การประชุมมุสลิม เยือนไทยอย่างเป็นทางการ และรัฐบาลไทย โดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้ข้อมูลกับ OIC ในการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธี แต่ OICกังวลต่อสถานการณ์ที่มีความรุนแรง และความปลอดภัยของผู้บริสุทธิ์ OIC เชื่อว่า การแก้ปัญหาระยะยาว ควรให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนรับผิดชอบมากขึ้นในการบริหารกิจการในท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญไทย OIC ยินดีที่ไทยให้ความมั่นใจ การแก้ไขปัญหายังคงเป็นวาระแห่งชาติ ส่วนรัฐบาลไทยย้ำความสำคัญในการใช้แนวทางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนไทยมุสลิมทุกด้าน รัฐบาลไทยได้แจ้งกับ OIC เกี่ยวกับโครงการนำร่องด้านการศึกษา โดยมีสอนทั้งภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น และบรรจุวิชาด้านอิสลามไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนรัฐบาลในท้องถิ่นOIC แสดงความพอใจที่ชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศ รวมทั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสิทธิและเสรีภาพโดยสมบูรณ์ในการนับถือศาสนา OIC ย้ำว่า สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่ความขัดแย้งทางศาสนา แต่เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยวกับสิทธิทางการเมือง สิทธิพลเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งสองฝ่ายแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการสูญเสียชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวพุทธ ชาวมุสลิม และผู้ที่นับถือศาสนาอื่น พร้อมทั้ง ได้ประณามการใช้ความรุนแรงโดยไม่ละเว้นต่อผู้บริสุทธิ์OIC ยินดีที่ไทยได้ถอนฟ้องผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ตากใบจำนวน 58 คน OIC ชื่นชมความร่วมมืออันดีระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก OIC ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข อาหารฮาลาล ไทยและ OIC ได้แสดงความเสียใจที่ผู้เจตนาไม่บริสุทธิ์ ได้พยายามเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มอบปริญญา Grand Sheikh Of Al Azhar
วันที่ 26 มิถุนายน 2550 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ มอบปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอิสลามศึกษา แก่ ดร.โมฮาหมัด ซาอิด ตันตาวี(H.E.Prof.Dr.Muhammad Sayid Tantawy ) ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลาม หรือ Grand Sheikh Of Al Azhar ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ประเทศสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่เก่าแก่อายุ กว่า 1,000 ปี และมีชื่อเสียงมากที่สุด ดร.โมฮาหมัด ซาอิด ตันตาวี : กล่าวว่า "ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด จงเป็นพี่น้องที่มีความรักให้กันและกัน ไม่มีความแตก
ต่างระหว่างมุสลิมหรือมิใช่มุสลิม แต่คนควรจะมุ่งปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในการนำพาประเทศไทยสู่ความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า ทุกคนต้องทำงานด้วยใจอัน สัตย์ซื่อ ตั้งใจแน่วแน่ใช้ความสามารถ ที่ตนมีประชาชาติใดที่มีความร่วมมือในสังคม บนความหลากหลายของศาสนา ประชาชาตินั้นจะเปลี่ยมด้วยความสุข ความเจริญก้าวหน้า มั่งคั่ง และความสงบสุข"

เลขาธิการ สันนิบาตมุสลิมโลก:MWL เยือนไทย
นายอับดุลลอฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี : เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก Muslim World League : MWL เยือนไทยอย่างทางการ ระหว่างวันที่ 24-30 มิถุนายน 2550 เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงในการแก้ปัญหาของไทยในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยสันติวิธี และสมานฉันท์ ตามแนวทาง 3 Es คือ 1.)การศึกษา (Education) 2.)การจ้างงาน(Employment) 3.)การประกอบการ(Entrepreneurship)องค์การสันนิบาตมุสลิมโลก Muslim World League เป็นองค์กรที่ไม่เกี่ยวการเมือง และเป็นองค์เอกชนมุสลิม ที่ทรงอิทธิพล ต่อชาวมุสลิมทั่วโลก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 ที่มัสยิดกลางนราธิวาส นายอับดุลลอฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี : เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก กล่าวว่า ตนเชื่อว่า ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของไทย ไม่ใช่ความขัดแย้งทางศาสนา การเยือนไทยครั้งนี้ได้พบปะกับนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รัฐบาล พบว่า รัฐบาลไทยมีหัวใจเปิดกว้างในการแก้ปัญหา พยายามสร้างโอกาสต่างๆ
เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคมมุสลิมและคนที่ต่างศาสนาตนไม่เห็นด้วยกับการก่อเหตุรุนแรง เพราะอิสลามนั้นหมายถึงสันติภาพสันติสุขไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดการใช้ความรุนแรง เราไม่อาจจะยอมรับได้การแก้ปัญหาต่างๆ ควรแก้ด้วยการเจรจาทำความเข้าใจด้วยสันติวิธี ผู้นำมุสลิมจึงควรร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ หาวิธีแก้ปัญหาเพราะความรุนแรงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และจะส่งผลให้เกิดความอ่อนแอในอนาคต

* * * * * * * * * * * * *


บรรณานุกรม
1.)สุรินทร์ หิรัญบูรณะ,พ.อ.ผ่าลัทธิก่อการร้าย มหันตภัยของมนุษยชาติ, กรุงเทพ:มติชน,2547
2.)กิตติ รัตนฉายา ,พล.อ.จุดไฟใต้ตั้งรัฐปัตตานี ,นนทบุรี ,2547
3.)สุรชาติ บำรุงสุข ,วิกฤตใต้ สู้ด้วยยุทธศาสตร์และปัญญา ,2547

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
สำนักข่าว AFP
สำนักข่าว เบอร์นามา
สำนักข่าว AP


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com