www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 23 คน
 สถิติเมื่อวาน 59 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4132 คน
4132 คน
1749400 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 คำนำ

สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และสื่อสารไปถึงผู้ฟังได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ผ่านผู้จัดรายการ ที่มีความรอบรู้ในการสื่อสาร โดยมีกระบวนการผลิตรายการที่เป็นระบบ เพื่อนำสารไปสู่ผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามประเภทรายการที่ตรงกับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย เช่น รายการเพลง รายการสนทนา รายการสารคดี รายการนิตยสารทางอากาศ รายการอภิปราย รายการกีฬา เป็นต้น กระบวนการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ เพื่อให้ผู้จัดรายการ สามารถสื่อสารไปสู่ผู้ฟังได้อย่างมีคุณค่า และสร้างการรับรู้อย่างสมานฉันท์ นำไปสู่การเสริมสร้างความเข้าใจของคนในสังคม ส่วนข่าวและรายการภูมิภาค สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 จึงได้จัดทำคู่มือ การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง เพื่อให้เป็นข้อมูลในวิธีการปฏิบัติงานด้านการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ให้เกิดประโยชน์ ต่อประชาชนที่รับฟังรายการ และให้เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจที่จะนำวิธีการผลิตรายการวิทยุ ไปเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
ผู้สื่อข่าว 8 ว.
ส่วนข่าวและรายการ ภูมิภาค
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6
27 เมษายน 2549

                                     
บทที่ 1
รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง

1.รูปแบบรายการ (Format) การจัดและผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงสามารถแบ่งรูปแบบ ของรายการออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 9 ประเภท
1.1 รายการข่าว (News Programme) หมายถึง รายการที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วให้ผู้ฟังได้รู้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร การรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เรียกว่า "News Reporting"
วิทยุกระจายเสียงเป็นเครื่องมือส่งข่าวสารได้ดีที่สุด เพราะมีความรวดเร็วกว่าสื่ออื่น สามารถส่งข่าวด่วน หรือรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปสู่ประชาชนอย่างรวดเร็วและกว้างไกล แม้นผู้รับจะอยู่ที่ไหนก็มีโอกาสรับข่าวสารนั้นได้ ฉะนั้นวิทยุกระจายเสียงจึงเป็นสื่อที่เหมาะสมกับการส่งส่งข่าวสารและรายงานเหตุการณ์อย่างยิ่ง เพราะผู้รับสามารถรับได้ทันที รวดเร็ว ทำให้ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา
รายการข่าวทางวิทยุกระจายเสียงควรมีลักษณะสั้น ๆ ชัดเจน เข้าใจง่าย มีหัวข้อนำให้รู้ว่าเป็นเรื่องอะไร และมีรายละเอียดครอบคลุมให้ชัดเจนว่า ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร
รายการข่าวอาจแยกย่อยลงได้หลายประเภท เช่น ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวต่างประเทศ ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสังคม ข่าวกีฬา ข่าวการศึกษา และบันเทิง เป็นต้น
รายการข่าว เป็นการ นำเสนอข่าวสาร เหตุการณ์สำคัญ มีการรายงานข่าวผ่านรายการ

รายการข่าวแยกเป็นรายการย่อยได้อีก คือ
1.1.1 รายการเล่าข่าว เช่น รายการคุยคุ้ยข่าว รายการเสียงนกเสียงกา
1.1.2 รายการข่าวจราจร เช่น ข่าวจราจร จส.100
1.2.3 รายการข่าวทางการ เช่น ข่าวของวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
1.2 รายการสนทนา (Talk) รายการสนทนาเป็นรายการพูดคุย แต่การพูดคุยโดยตรงกับผู้ฟัง หากแต่เป็นการสนทนาระหว่างผู้ร่วมรายการ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการ ทำหน้าที่ควบคุมให้การสนทนาให้อยู่ในขอบเขต และคอยนำการสนทนาจากเรื่องหนึ่งไปสู่เรื่องหนึ่ง อย่างมีระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน และผู้ดำเนินรายการสนทนาร่วมออกความคิดเห็นไปกับผู้ร่วมรายการด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เชื่อมโยงการสนทนา และพูดคุยโดยตรงกับผู้ฟังด้วย เช่นการขึ้นต้น การสรุปข้อความการสนทนา และรูปแบบจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ในรายการ เป็นต้น


รายการสนทนายังสามารถแยกย่อยเป็นรายการอื่นๆ ได้อีกคือ
1.2.1 รายการแพทย์ รายการตอบปัญหาสุขภาพ

1.2.2 รายการสตรี เช่นรายการ ผู้หญิงผู้หญิง

1.3 รายการสัมภาษณ์ (Interview) รายการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาซักถามเรื่องราว ปัญหา ข้อข้องใจให้ผู้รับฟัง โดยมีผู้สัมภาษณ์ 1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้ซีกถาม ส่วนผู้ให้คำสัมภาษณ์ที่เป็นผู้ตอบคำถามคือผู้ถูกสัมภาษณ์ สุดแล้วแต่ความเหมาะสมของเวลาในรายการและเนื้อหา ที่จะสัมภาษณ์ว่าควรจะเชิญใครมาสัมภาษณ์
รายการสัมภาษณ์จัดได้ว่าเป็นรายการพูดคุย แต่เป็นการพูดคุยทางอ้อมมิใช่พูดโดยตรงการพูดคุยกันระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์จะให้ประโยชน์แก่ผู้ฟังโดยตรง
รายการสัมภาษณ์มีข้อแตกต่างจากรายการสนทนา คือ ผู้สัมภาษณ์มีหน้าที่ในการป้อนคำถาม ถามอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ตอบคำถามเอง ไม่เหมือนกับผู้ดำเนินรายการสนทนาที่สามารถร่วมสนทนาด้วยในบางโอกาส หน้าที่ของผู้สัมภาษณ์คือพยายามป้อนคำถามที่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบ หรืออธิบายให้มากที่สุด สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะทำได้นอกจากนั้นคือ สรุปให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเพิ่มเติมเพื่อให้เข้า เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นเท่านั้น การสัมภาษณ์นั้นทำได้ทั้งในห้องส่งกระจายเสียงและนอกห้องส่ง


รายการสัมภาษณ์ เน้นเนื้อหาไปที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ เรื่องความเห็นส่วนตัว หรือเรื่องอื่น ๆ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลแต่ฝ่ายเดียว รายการสัมภาษณ์ แบ่งเป็น ดังนี้

1.3.1 การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Formal Interview ) เช่น การเชิญบุคคลสำคัญหรือผู้ที่มีชื่อเสียงมาสัมภาษณ์ โดยมีการนัดแนะวันเวลาและสถานที่ที่สัมภาษณ์ อย่างเป็นทางการ และมีจุดประสงค์ที่แน่นอน
1.3.2 การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview) เช่น สัมภาษณ์คนเดินถนนมักเป็นการถามคำถามโดยไม่ได้เตรียมมาก่อน ถามปัญหาเฉพาะหน้า ถามความคิดเห็น ความรู้สึก หรือสัมภาษณ์ผู้พบเห็นเหตุการณ์น่าตื่นเต้น เป็นต้น

1.4 รายการอภิปราย (Panel Discussion) เป็นรายการพูดคุยอีกลักษณะหนึ่ง คือ ไม่ใช่เป็นการพูดคุยกับผู้ฟังโดยตรง แต่เป็นการพูดคุยออกความคิดเห็น ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ผู้ร่วมอภิปรายต่างแสคงความคิดเห็นต่างทัศนะกัน โดยเป็นการแสดงความคิดเห็นไปทีละคน อย่างมีระเบียบ โดยมีผู้ที่ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้ควบคุมให้รายการดำเนินไปตามแนวและขอบเขตที่ได้วางไว้ ผู้ดำเนินการอภิปรายจะทำหน้าที่เพียงนำอภิปราย และที่หน้าที่สรุปความคิดเห็นของผู้ร่วมอภิปราย แต่ไม่ร่วมอภิปรายเหมือนรายการสนทนา ส่วนใหญ่แล้ววัตถุประสงค์ของการอภิปราย คือ ต้องการที่จะฟังความคิดเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลเหล่านั้นอาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน หรือมีความเห็นตรงกัน รายการอภิปรายในแต่ละครั้งไม่ควรเชิญผู้ร่วมอภิปรายมากเกินไป และไม่ควรเกิน 4 คน เพราะถ้าพูดเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไปผู้ฟังอาจเบื่อได้


การอภิปรายอาจทำได้หลายลักษณะ และมักเรียกชื่อรายการตามลักษณะการอภิปรายคือ อภิปรายโต๊ะกลม อภิปรายเป็นคณะ (Group Discussion) การอภิปรายเป็นแผง (Panel Discussion )
รายการอภิปรายอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ "Talk Show" หมายถึงการเชิญผู้ร่วมรายการมาพูดคุยในรายการ โดยมีผู้ดำเนินรายการ ทำหน้าที่พูดคุยคล้ายกับการอภิปราย แต่เนื้อหาสาระในรายการ จะเป็นเรื่องเบา ๆ สนุก ไม่เป็นวิชาการ บางครั้งอาจคุยกันในเรื่องตลก ส่วนใหญ่จะอยู่ในรายการของโทรทัศน์มากกว่า

1.5 รายการสารคดี (Feature หรือ Documentary ) รูปแบบรายการเป็นการนำเสนอเพียงเนื้อหาเพียงเนื้อหาเดียว เช่น การนำเสนอเรื่องสัตว์ ก็จะมีแต่เรื่องสัตว์ หากเป็นเพลงที่จะเปิดในรายการก็จะต้องเป็นเพลงที่เกี่ยวกับสัตว์ การสัมภาษณ์ต้องพูดเรื่องสัตว์ การสนทนาก็ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสัตว์ จึงเรียกรูปแบบรายการนี้ว่า รายการสารคดี

1.6 รายการนิตยสารทางอากาศ ( Magazine) รูปแบบรายการเป็นการนำเสนอ ที่มีความหลายหลาย ทั้งเนื้อหา และรูปแบบ ในรายการอาจจะมีทั้งเพลง บทสัมภาษณ์ ข่าว Phone in การตอบคำถาม ฯลฯ รายการนิตยสารทางอากาศยังสามารถแยกย่อยเป็นรายการอื่น ๆ ได้อีกหลายรายการคือ
1.6.1 รายการเด็ก
1.6.2 รายการผู้หญิง
1.6.3 รายการเศรษฐกิจ การเงิน

1.7 รายการละคร (Drama) รูปแบบรายการจะเป็นละครวิทยุ มีรูปแบบเหมือนกับละครโทรทัศน์ เป็นเรื่องราวที่จะให้ความบันเทิง สาระ ข่าวสาร มีตัวละครแสดง โดยการนำเสนอจะเป็นบทสนทนา ที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริง เช่น การนำเสนอเรื่องไข้หวัดนก ในบทก็จะมีการพูดถึงเรื่องไข้หวัดนก ในบทอาจจะมีการกำหนดให้มีสัตว์แพทย์ เป็นตัวแทนให้ข้อมูล โดยตัวละครจะถูกสมมุติขึ้น เป็นต้น

1.8 รายการเพลงหรือรายการบันเทิง ( Light Entertainment) รูปแบบรายการจะเน้นการให้ความบันเทิง เป็นหลัก โดยในรายการจะมีการเปิดเพลงสลับการให้ข้อมูลข่าวสาร การจัดรายการเพลงจะต้องคำนึกกลุ่มเป้าหมายด้วย การทำรายการให้กลุ่มผู้ฟังต้องคำนึงถึงอายุ การเลือกเพลงจะต้องให้เข้ากับอายุ ซึ่งเพลงที่จะเปิดต้องอยู่ในวัยที่ใกล้เคียงกับผู้ฟังกลุ่มเป้าหมาย สาระหรือข้อมูลข่าวสาร ก็จะต้องมีความน่าเชื่อถือ เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง และผู้ดำเนินรายการต้องอยู่ในวัยที่ใกล้เคียงกับคนฟัง ในรายการนอกจากจะมีเพลง ควรจะมีสปอร์ต ที่สร้างความหลากหลาย เพื่อเป็นการดึงดูดใจคนฟัง การ Phone In ให้ผู้ฟังทางบ้านโทรศัพท์เข้ามาของฟังเพลง หรือเล่นเกมส์ ตอบปัญหา โดยผู้จัดอาจจะมีรางวัลมอบให้กับผู้ชนะ ซึ่งจะเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นการดึงคนฟัง

1.9 รายการกีฬา (Sport) เป็นรายการที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา เป็นหลัก ทั้งการสัมภาษณ์ก็จะเกี่ยวข้องกับการกีฬา หรือแวดวงกีฬา

2. ลักษณะรายการวิทยุกระจายเสียงที่ดี

ี2.1 ต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด สามารถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารได้โดยตรงตามวัตถุประสงค์
2.2 ต้องมีความน่าสนใจที่จะติดตามฟังโดยตลอด
2.3 ต้องมีความต่อเนื่อง ไม่ขาดหายไป
2.4 ต้องอยู่ในเวลาที่กำหนดแน่นอน
2.5 ต้องมีความเหมาะสมกับกาลเทศะและตรงกับความต้องการของผู้ฟัง
2.6 ต้องมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมและผู้ฟัง


3. ช่วงเวลาที่ออกอากาศจะต้องคำนึงถึง
3.1 กลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย อาชีพ
3.2 อายุ วัย ของผู้ฟัง
3.3 เนื้อหาสาระของรายการ
3.4 เวลาออกอากาศที่เหมาะสม
3.5 รูปแบบรายการ


4.การวิเคราะห์ผู้ฟังรายการ
ผู้จัดรายการ จะต้องวิเคราะห์ทัศนคติของผู้ฟังรายการโดยอาศัยแนวทาง ดังนี้
4.1 ผู้ฟังประเภทมากด้วยราคะจริต ผู้ฟังที่พอใจในความงาม ความดี ความอ่อนโยน ผู้ฟังกลุ่มนี้ควรใช้คำสุภาพ ไพเราะ ถ้าจะตำหนิต้องสุภาพ
4.2 ผู้ฟังประเภทโมหะจริต เป็นผู้ฟังที่หลงเชื่อง่าย มีแต่ความขุ่นมัวในอารมณ์ ควรใช้ถ้อยคำที่มีเหตุผล ให้เข้าใจง่ายและชัดเจน
4.3 ผู้ฟังประเภทโทสะจริต มักโกรธง่ายควรใช้ถ้อยคำ ปลอบโยน ให้คำชมเชย ยกย่อง
4.4 ผู้ฟังประเภทวิตกจริต มีแต่ความกังวล ลังเลใจเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ควรใช้ถ้อยคำที่ช่วยให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจ และมั่นใจตัวเอง เชื่อหูตัวเองว่าฟังมาอย่างไร ก็จะเชื่ออย่างนั้น
4.5 ผู้ฟังประเภทศรัทธาจริต คือเป็นผู้ที่เชื่อง่าย ควรใช้ถ้อยคำประเภทที่สอน หรือแนะนำให้รูจักมีเหตุผล
4.6 ผู้ฟังประเภทพุทธจริต ผู้มีปัญญา มีความรู้ ควรใช้ถ้อยคำที่แสดงถึงความให้เกียรติผู้ติชมรายการ


5.คุณสมบัติของนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง
5.1 ผู้จัดรายการ (ผู้ส่งสาร)จะต้องมีจิตใจกว้างขวางและยอมรับในข้อผิดพลาดของตนเอง และเปิดใจกว้าง ที่จะรับการตอบโต้กลับ ด้วยการติชม วิจารณ์แนะนำ จากผู้ฟัง(ผู้รับสาร ) ตลอดเวลาและให้เกียรติ ผู้ที่ติชมรายการ
5.2 ผู้จัดรายการ (ผู้ส่งสาร) ต้องให้เกียรติผู้ฟัง (ผู้รับสาร) เสมอเพราะเราจะรอบรู้ไปทุกเรื่อง คงเป็นไปไม่ได้ เมื่อมีผู้ฟังเสนอแนะชี้แจง ผู้จัดรายการ จะต้องรับฟัง
5.3 ผู้จัดรายการ ต้องยอมรับในสถานภาพ และฐานะหน้าที่ของผู้จัดรายการ เช่นภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ประสบการณ์ เช่นผู้ชายไม่เคยคลอดลูก จะรู้ได้อย่างไรว่าเวลาคลอดมีความเจ็บปวดอย่างไร
5.4 มีความรับผิดชอบผลิตรายการอย่างต่อเนื่อง และต้องมีความรับผิดชอบต่อรายการและผู้ฟัง
5.5 เป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบดี รู้จักเลือกเรื่องที่จะนำเสนอ รวมทั้งการปรุงแต่งให้เหมาะสมและน่าสนใจ
5.6 เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถที่จะติดต่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทั่วไป
5.7 ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ให้คงที่
5.8 ผู้จัดรายการต้องไม่หลงระเริงต่อคำชม และต้องไม่หวั่นไหวหรือโต้ตอบ กับคำติชมของผู้ฟัง
5.9 ต้องมีความเสียสละ และทุ่มเทในการจัดและพัฒนารายการที่รับผิดชอบ
5.10 ต้องมีความตื่นตัว กระตือรือร้นอยู่เสมอ
5.11ต้องเป็นนักฟังที่ดี


6. บทวิทยุที่ดี
6.1 คิดเสียก่อนว่า กำลังเขียนบทวิทยุ เพื่อจัดให้ใครฟัง เช่น เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง
6.2 จงเขียนบทรายการ ให้เหมือนท่านพูด แล้วพูดตาม บทที่เขียนจะต้องเขียนให้เข้าใจง่าย ประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด
6.3 เขียนบทวิทยุให้เหมือนเขียนจดหมาย ถึงใครคนหนึ่ง
6.4 การใช้สรรพนามที่ฟังแล้ว ให้ผู้ฟังมีความรู้สึกใกล้ชิดและมีลักษณะเหมือนผู้ฟังเข้าไปร่วมรายการด้วย
6.5 มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ฟัง เคารพผู้ฟัง ให้เกียรติผู้ฟัง
6.6 อย่ายัดเยียด สาระให้มากเกินไปในเวลาอันจำกัด
6.7เน้นจุดสำคัญและซ้ำประโยคหรือคำที่สำคัญบ่อยๆสมเหตุสมผลตรงเป้าหมาย
6.8 ไม่ควรเล่น สำนวน อุทาหรณ์ โคลงกลอน มากเกินไป
6.9 ทุกประโยคทุกคำที่พูดที่เขียนจะต้องมีความหมายชัดเจน อย่าปล่อยให้ผู้ฟังคิดเป็นปริศนา
6.10 ไม่ใช้ตัวเลขที่ยุ่งยากในการจำ การฟัง เช่น การบอกเบอร์โทรศัพท์
6.11 อย่าใช้ศัพท์ทางวิชาการ หรือคำสูง ๆ มากเกินไปถ้าจำเป็นควรอธิบายให้ชัดเจน
6.12 การผูกตัวอย่าง หรือเปรียบเทียบ จะต้องเข้าเรื่องราวที่กำลังเขียน
6.13 การตั้งเป้าหมายของรายการจะต้องชัดเจนและก่อนจบรายการ จะต้องสรุปอีกครั้งหนึ่ง
6.14 ผู้เขียนบทวิทยุจะต้องมีเวลาเพียงพอและข้อมูล พร้อมที่จะเขียน

7.ศิลปะในการอ่านบทวิทยุกระจายเสียง
7.1 การอ่านบทวิทยุจะต้องมีลีลา และให้อ่านเหมือนพูด พูดให้เหมือนคุยกับผู้ฟัง เหมือนกับผู้ฟังอยู่ในห้องส่งด้วย เพื่อให้ผู้ฟังมีจินตนาการว่า เขากำลังคุยอยู่กับคนในครอบครัวหรือเพื่อร่วมงาน
7.2 การออกตัวด้วยคำว่า ขอโทษว่าเสียงไม่ดี เป็นหวัด หรือบ่นว่าเจ็บไข้ไม่สบาย หรือบ่นว่ามีอุปสรรคอย่างนั้นอย่างนี้ จะทำให้ผู้ฟังไม่มั่นใจ ในข้อมูลที่ผู้จัดรายนำเสนอ
7.3 ต้องรู้จักแบ่งเวลา หรือจัดเวลาให้ผู้ฟังได้ขบคิด หรือทำความเข้าใจ หรือย่อข้อความที่เราพูด
7.4 ทดลองอ่านบทวิทยุทบทวนเหมือนจัดรายการจริง ๆ แล้ววางตัวเป็นกลาง ถามตัวเองว่าเข้าท่าน่าฟังหรือไม่ ถ้าตนเองรู้สึกว่าไม่น่าฟังก็อย่าได้หวังเลยว่า เราจะจูงใจให้ผู้ฟังมองเห็นภาพด้วยหู
นักจัดรายการวิทยุ คือผู้ที่สามารถใช้คำพูด บรรยายให้ผู้ฟังมองเห็นภาพด้วยหู ผู้จัดรายการคือ ตา

* * * * * * * * * *

บทที่ 2
รายการนิตยสารทางอากาศ (Magazine Program )

ความหมาย นิตยสารทางอากาศคำว่านิตยสาร หรือ Magazine มาจากภาษาอาระบิค คือ "Makhazan" หมายความว่าที่ซึ่งเก็บรวบรวมสิ่งต่าง ๆ หลายอย่างหลายชนิดไว้ด้วยกัน หรือเรียกทับศัพท์ว่า "สโตร์" (Store) จากความหมายนี้ Magazine จึงมีความหมายรวมถึง "นิตยสาร"คือสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมเรื่องราวในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ โดยนักเขียนหลาย ๆ คน ดังนั้นความหมายของคำว่า "นิตยสารทางอากาศ" จึงหมายถึงรายการที่บรรจุเรื่องต่าง ๆ ไว้ในลักษณะต่าง ๆ ผสมกันไป เช่น ในรายการจะมีบทความสั้น ๆ ที่เป็นเรื่องที่สนใจ อาจจะมีโครงกลอน นิยาย เพลง บทสัมภาษณ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าในการทำรายการนิตยสารทางอากาศ จะบรรจุอะไรที่นักจัดรายการปรารถนา ใส่ลงไปให้เต็มในรายการ แต่การทำรายการที่ดี มีความจำเป็นที่จะต้องทำอย่างพิถีพิถัน และมีหลักเกณฑ์
คำว่า "Magazine Programme" ศัพทานุกรมสื่อสารมวลชนได้ให้ความหมายไว้ว่า "รายนิตยสาร คือรายการวิทยุที่ใช้รูปแบบในการเสนอแบบนิตยสาร นั่นคือ ในรายการเดียวกันจะประกอบด้วย เรื่องย่อย ต่าง ๆ หลายเรื่อง โดยเรื่องต่างต่าง จะเป็นแนวเดียวกันหรือต่างแนวกันก็ได้ ถ้าเป็นแนวเดียวมักเรียกว่า Specialized Magazine เช่น นิตยสารข่าว นิตยสารผู้หญิง ถ้าเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปเรียกว่า General Magazine จุดสำคัญคือความสามารถในการเชื่อมโยง ให้หัวข้อที่ต่างกันเข้ามาเป็นรายการเดียวได้อย่างสอดคล้องกัน "
รายการสารคดีกับรายการนิตยสารทางอากาศ มีลักษณะระแตกต่างกัน คือ รายการนิตยสารมีหลายเรื่องในรายการเดียวกัน Several Topic In One Programme แต่รายการสารคดีมีเพียงเรื่องเดียว One Topic in One Programme ซึ่งจะต้องทำให้มีความหลากหลายในรายการเดียว
การทำรายการนิตยสารทางอากาศเป็นรายการเบา ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อให้ทั้งความรู้ ความเพลิดเพลิน บางครั้งก็สอดแทรกข่าวสารน่ารู้ การที่ผู้จัดรายการจะบรรจุอะไรลงในรายการ จะต้องมีการวางแผนการทำรายการให้ดีเสียก่อน การวางแผนทำรายการต้องคำนึงถึงว่า รายการที่ผลิตออกอากาศจะให้อะไรกับผู้ฟัง และต้องคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย เมื่อมีการวางแผนรายการแล้ว ต้องคิดต่อไปว่าจะนำเสนอรายการในรูปแบบใดบ้าง ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องพิถีพิถัน ในการเลือกแนวเรื่อง หัวข้อเรื่อง เนื้อเรื่อง และวัตถุดิบที่จะนำมาทำรายการนั้น
การเก็บรวบรวมวัตถุดิบ ต้องมีการเก็บข้อมูลไว้ โดยการจดบันทึก โดยการแยกประเภทหัวข้อเรื่องไว้เพื่อไม่ให้สับสน หรือบางครั้งเมื่อฟังเพลงอะไรที่ตรงกับเนื้อหาของรายการก็บันทึกไว้เพื่อจะได้นมาใช้ในรายการ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นนี้ทุกวัน ซึ่งจะทำให้ผู้จัดรายการมีวัตถุดิบ มาทำรายการนิตยสารทางอากาศได้มาก
การจดบันทึกที่ได้อ่านมานั้น จะต้องบันทึกด้วยว่า ใครเป็นผู้เขียนหัวข้อเรื่อง อยู่ในหนังสือเล่มใด พิมพ์ที่สำนักไหน เมื่อไหร่ ใครเป็นผู้พิมพ์ สิ่งเหล่านี้เป็นมรรยาท ที่นักจัดรายการไม่ควรเพิกเฉย แม้ในเมืองไทยจะไม่เข้มงวดในเรื่องลิขสิทธิ์ แต่ตามมารยาทและเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของเรื่อง มีความจำเป็นต้องบอกให้ผู้ฟังทราบถึงที่มาด้วย
สาระที่อยู่ใน นิตยสารทางอากาศ


สิ่งที่จะนำมาบรรจุในรายการนิตยสารทางอากาศ สามารถที่จะนำรายการต่อไปนี้มาใช้ผสมกัน คือ .-
-การสัมภาษณ์บุคคลที่น่าสนใจ มีผลงานดีเด่น
-การสัมภาษณ์บุคคลที่จะให้ความรู้แปลก ๆ ใหม่ ๆ แก่ผู้ฟัง
-บางส่วนของคำกล่าวสุนทรพจน์ที่น่าสนใจของบุคคลที่มีชื่อเสียงโดยตัดตอนเฉพาะส่วนที่สำคัญจริง ๆ
-บทความสั้น ๆ ที่ผู้เขียน เขียนขึ้น บทความที่นำมาจากหนังสือพิมพ์ นิตยสารสิ่งพิมพ์ ต่าง ๆ อาจจะนำมาเพียงตอนใดตอนหนึ่ง
-โคลงกลอน
-เพลง ที่มีความหมายกับรายการที่ผลิต เช่นเรื่องไฟฟ้า ก็เปิดเพลงที่เกี่ยวกับไฟฟ้า
-เรื่องสั้น
-ละครสั้น
-การรายงานเรื่องต่าง ๆ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งคิดว่าผู้ฟังสนใจ หรือน่าจะได้รายงานให้ผู้ฟังได้ทราบ
-การบันทึกเสียงจริงจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือบันทึกเสียงบรรยากาศจากงานฉลองเทศกาลต่าง ๆ ที่น่าสน
กลุ่มเป้าหมาย นิตยสารทางอากาศ
การทำรายการนิตยสารทางอากาศ อันดับแรกต้องคำนึงถึง คือ ผู้ฟัง ต้องประเมินว่าผู้ฟังต้องการที่จะฟังรายการวิทยุอะไร ประเภทไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะได้มาจากการสังเกต หรือการวิจัย เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็มีการวางแผนจัดรูปแบบรายการให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ฟังส่วนใหญ่ ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้


เทคนิคการผลิต นิตยสารทางอากาศ
เทคนิคการผลิตรายการนิตยสารทางอากาศมีลักษณะเดียวกับรายการเพลง คือมีความหลากหลาย (Variety) และมีการนำเสนอที่มีเนื้อหาสารที่หลากหลายเพื่อไม่ให้ กลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย เบื่อรายการ เพราะการทำรายการที่มีแบบอย่างเดียว แนวเดียว ไม่ตื่น
เต้นเร้าใจผู้ฟังก็ไม่สนใจที่จะฟัง ดังนั้นการผลิตรายการนิตยสารทางอากาศ มีข้อแนะนำว่าต้องมีแนวทางของรายการก่อน คือเกิดแนวความคิด หรือ Idea ว่า จะให้รายการที่ผลิตไปในแนวทางไหน ต่อจากนั้นก็จะกำหนดหัวข้อออกมาหลายเรื่อง เพื่อที่จะให้แต่ละเรื่องมีการเกี่ยวโยงกัน ต่อเนื่องกัน เมื่อฟังรายการแล้วมีความรู้สึกว่าจับเอาเรื่องอะไรสักชุดหนึ่งกลุ่มหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีความผูกพันมารวมกันไว้ด้วยกัน แต่รูปแบบรายการทั้งหมดจะต้องมีความหลากหลาย
หลังจากที่ได้แนวของรายการแล้ว ให้ทำบัญชีรายการที่รวบรวมไว้ เมื่อได้บัญชีหัวข้อเรื่อง ให้เลือกมา 2-3 หัวข้อเรื่อง ที่ผู้จัดรายการเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จากนั้นให้เลือกเอาเรื่องที่สำคัญมาเผยแพร่ ผสมผสานกันกันไป
การผลิตรายการนิตยสารทางอากาศ หากมีการบันทึกรายการไว้จะเป็นวิธีที่ดี เพราะการผลิตรายการที่ดี จะต้องมีการตัดต่อที่ต้องใช้ความพิถีพิถัน เพราะจะมีการนำเทปเสียงสัมภาษณ์ บทความ สุนทรพจน์ เพลง เสียง Sound Effect มาใส่ไว้ในรายการ ซึ่งต้องใช้วิธีการตัดต่อ เพื่อให้รายการดำเนินไปอย่างราบรื่น ก่อนที่จะมีการตัดต่อรายการ ผู้จัดรายการจะต้องฟังรายการทั้งหมดเสียก่อน โดยฟังอย่างตั้งใจ แล้วจดบันทึกสิ่งที่สำคัญของแต่ละตอนเอาไว้ ต่อจากนั้นก็เขียนแนวความคิดหรือหาสาระที่ผู้จัดรายการเห็นว่ามีความเกี่ยวพัน แล้วลองอ่านเรื่องทั้งหมดอีกที ว่าเราเก็บความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องไว้ทั้งหมด แล้วจึงเริ่มตัดต่อรายการตามที่เราได้จดบันทึก หรือการทำ Out Line เอาไว้ ทั้งนี้เพื่อจะให้แน่ใจว่าจะได้ไม่ตัดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
การนำเรื่องมาจากเอกสารหรือหนังสือ ผู้จัดรายการควรนำมาทำบทใหม่ อย่าอ่านจากต้นฉบับ เพราะภาษาเขียนกับภาษาที่ใช้สำหรับผู้ฟังต่างกัน นอกจากนั้นในการทำรายการใด ๆ ก็ตาม ผู้จัดรายการควรทำขึ้นด้วยตัวเอง ด้วยความคิดของตนเอง สิ่งที่จดบันทึกไว้ผู้จัดรายการนำมาเป็น ข้อมูล ในการจัดรายการเท่านั้น


การทำ Out Line

เมื่อมีการเก็บหัวข้อเรื่องได้แล้ว ให้ทำโครง หรือ Out Line เช่นการเริ่มต้นเรื่องควรจะเริ่มต้นด้วยอะไร ที่คิดว่าเป็นการดึงความสนใจของผู้ฟังรายการ โดยปกติแล้วตอนต้นรายการควรเน้นเรื่องสั้น ที่ควรค่าแก่การสนใจ ทั้งนี้เพื่อดึงดูดใจให้ติดตามรายการต่อไป ส่วนการปิดท้ายรายการจะต้องสร้างความประทับใจพอที่จะให้ผู้ฟังฟังแล้วไม่อยากให้จบ หรือผู้ฟังอยากจะติดตามฟังใหม่ในคราวหน้า ส่วนตอนกลางของรายการไม่ต้องพิถีพิถันเท่ากับตอนเริ่มต้นรายการและท้ายรายการ แต่อะไรก็ตามที่หามาบรรจุให้เต็มในรายการต้องคำนึงถึงความหลากหลาย ทั้งด้านเนื้อหา วิธีการนำเสนอรายการ
การทำ Out Line ต้องคำนึงถึงความยาวของเรื่องที่นำเสนอในช่วงนั้น ๆ และต้องคิดตลอดเวลาว่าระยะเวลาความสนใจของผู้ฟัง อยู่ไม่นาน ดังนั้นอย่าให้แต่ละเรื่องนำเสนอนานเกินไป แต่ก็อย่าตัดมากเกินไปจนไม่เหลือความสำคัญ
ตัวอย่าง Out Line

ลำดับ เรื่อง หมายเหตุ
1. -เรื่องที่น่าสนใจ มากที่สุด
2. -เรื่องที่น่าสนใจ ลองลงมาไม่เด่น
3. -เรื่องที่น่าสนใจ ที่จะทำให้ ผู้ฟังอยากติดตามต่ออีก


การเชื่อมโยง ระหว่างตอนในรายการนิตยสารทางอากาศ
การเชื่อมโยงระหว่างแต่ละตอน ของรายการนิตยสารทางอากาศ เรียกว่า Continuity ซึ่งจะทำให้รายการฟังแล้วรื่นหู จากตอนหนึ่งไปสู่อีกตอนหนึ่ง โดยไม่มีความรู้สึกว่าการนำเสนอมีความขาดตอนเลย การทำ Continuity ผู้จัดรายการต้องแน่ใจว่าเขียนได้เหมาะสมกับเนื้อหาของรายการที่เลือดมาบรรจุไว้ Continuity จะช่วยโยงความรู้สึกของผู้ฟังจากเรื่องหนึ่งไปสู่เรื่องหนึ่ง บางครั้ง Continuity จะช่วยอธิบายอะไรบางอย่างเมื่อจำเป็น หรือเพิ่มเติมเนื้อหาสาระ การเชื่อรายการนั้น ใช้ดนตรีเชื่อมก็ได้ แต่ทุกครั้งที่จะใช้ดนตรีเชื่อม จะต้องมีจุดประสงค์ที่จริงจัง มิใช่จะใช้ดนตรีเชื่อมเมื่อใดก็ได้ หรือไม่ใช่จะใส่ดนตรีเชื่อมให้รายการเต็มครบตามเวลาที่กำหนดเท่านั้น การใช้ดนตรีให้ใช้ให้น้อยที่สุด
รายการนิตยสารทางอากาศ ถ้าใช้เสียงพูดหลายเสียง จะช่วยให้รายการน่าสนใจกว่าการใช้เสียงเดียว เพราะการเปลี่ยนเสียงย่อมตรึงความสนใจของผู้ฟังดีกว่า และทำให้รายการมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
* * * * * * * * * * * * * *


บทที่ 3
รายการสารคด

รายการสารคดี
รายการสารคดี Documentary หรือ Feature หนังสือศัพทานุกรมสื่อมวลชน ได้ให้ความหมายของสารคดีว่า "รายการสารคดี Documentary หมายถึง รายการที่ทำในลักษณะการเล่าเรื่องหรือบรรยายความรู้ การเล่าเรื่องประวัติวรรณคดี หรือบทประพันธ์ที่สร้างเป็นแบบละคร "
ส่วนรายการสารคดี คำนี้มักใช้สลับกับคำ Feature แต่ในบางแห่งได้กำหนดลักษณะต่างกันบ้าง แต่ลักษณะที่เด่นคล้ายกันของ Documentary และ Feature คือ 1.ต้องเป็นเรื่องจริงหรืออ้างอิง จากของจริง
เสนอหัวข้อเรื่องนั้นอย่างละเอียดในหลาย ๆ แง่มุมเท่าที่จะเสนอได้ ลักษณะบางประการที่จะแตกต่างกัน คือ
Documentary ต้องใช้เสียงจริง ๆ ของบุคคลจริง ๆ จากเหตุการณ์ในหัวข้อที่จะเสนอ
Feature สามารถใช้เสียงสมมุติของคนอื่นแสดงแทน เช่นการเสนอเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ออกมาในเชิงสารคดี เป็นต้น
รายการสารคดี นักวิทยุกระจายเสียงเรียกรายการประเภทสารคดี ว่า เป็นรายการวิทยุที่แท้จริง (Real Radio) เพราะรายการสารคดีเป็นรูปแบบของวิทยุกระจายเสียงที่ผลิตขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราว เรื่องใดเรื่องหนึ่ง (One Subject หรือ One Topic ) ที่ใช้เทคนิคของเสียงทางวิทยุอันเป็นการยุถึงความเป็นจริงของเหตุการณ์ โดยใช้เสียงประกอบและเสียงของผู้คนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ๆ จริง ๆ มารวมอยู่ในรายการสารคดี นั้น รายการสารคดี ทำให้มีความหลากหลายได้ (Variety) แต่ต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือ เป็นเอกภาพ (Unity) เช่น การสัมภาษณ์ก็จะต้องเป็นเรื่องเดียวกัน หากมีสปอต ก็จะต้องเป็นเนื้อหาเดียวกัน จึงจะเป็นเอกภาพที่เรียกว่ารายการสารคดี


รายการสารคดี สร้างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
รายการสารคดี วิจารณ์ต่อสภาพการณ์ทางสังคมต่าง ๆ
รายการสารคดี เสนอเรื่องราว ชีวประวัติบุคคล
รายการสารคดี ผสมผสานความคิดเห็นหลาย ๆ ความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
รายการสารคดี เสนอคำอธิบายที่เป็นข้อเท็จจริง ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
รายการสาคดี นำผู้ฟังไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ
รายการสารคดี สามารถใช้เทคนิคในการบอกเล่าแก่ผู้ฟังได้หลายแบบ เช่น วิธีการบอกเล่า บรรยาย สัมภาษณ์ อภิปราย การให้คำวิจารณ์ของผู้เชี่ยวชาญ คำวิจารณ์ของคนเดินถนน คำอธิบายของผู้เห็นเหตุการณ์ การแสดงในแบบละคร และการใช้เพลงและเสียงประกอบเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การใช้เทคนิคในการบอกเล่าแบบไหน ขึ้นอยู่กับ


1.เนื้อเรื่องที่จะเสนอต่อผู้ฟัง
2.วัตถุดิบที่มีอยู่
3.วัตถุประสงค์


รายการสารคดีที่ดีที่สุด
คือ รายการที่มีเสียงพูด หรือเสียงประกอบจากเหตุการณ์จริง ๆ มากที่สุดโดยมีคำบรรยายน้อยที่สุด รวมถึงการผสมผสานอย่างกลมกลืนและได้ส่วนสัด ระหว่างคะพูดกับเสียงเพลงหรือเสียงประกอบ


ขอบเขตของรายการสารคด
1.สารคดีที่มุ่งให้ข่าวสาร (Information Documentary) เป็นรายการสารคดีที่มุ่งหมายที่จะให้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นแบบฉบับของการได้ข่าวสารที่ดีกว่าแบบอื่น ๆ
2.สารคดีแบบหนังสือพิมพ์ (Journalism Documentary) รูปแบบรายการมุ่งหมายที่จะเจาะลึกไปถึงรูปแบบต่างๆ ของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหมือนกับเป็นบทความชิ้นหนึ่ง แต่เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นหนังสือพิมพ์ทางเสียงแทน นำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจจะเป็นเรื่องการเมือง เรื่องทางเศรษฐกิจ เรื่องทางสังคม การผลิตรายการสารคดีแบบนี้จะเป็นไปในแบบของการตอบคำถามในใจของผู้ฟัง เช่น ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร อย่างไร ซึ่งเป็นการนำเสนออย่างเป็นทางการ และสมดุลทั้งสองด้าน
3.สารคดีแบบเสนอชีวประวัติของบุคคล (Personal Fortran) เป็นรายการสารคดีที่นำเสนอชีวประวัติบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่น่าสนใจได้อย่างละเอียด มีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอ รายการสารคดีแบบนี้ เพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกที่เชื่อถือเห็นอกเห็นใจ หรือเพียงเป็นการสนองความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ เช่น โมฮัมหมัดอาลี เป็นต้น
4.สารคดีแบบเสนอข่าวจากผู้เห็นเหตุการณ์ (Eye-Witness Documentary) นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ คือ เรื่องของคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่ผิดปกติธรรมดาต่าง ๆ เช่น อยู่ในเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น น่าเห็นใจ เช่น เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ เหตุการณ์ตากใบ เป็นต้น
5.สารคดีแบบเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ (Historical Documentary) นำเสนอรูปแบบเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งวิธีนี้ทำได้แต่ต้องเป็นการวิจัยหาข้อมูลต่าง ๆ แล้วจึงนำมาเล่าใหม่ ในรูปของการบอกเล่าทางวิทยุกระจายเสียง
6.สารคดีแบบที่เล่าโดยใช้เสียง (Sound - Picture) รายการสารคดีแบบนี้เป็นการอธิบายถึง สถานที่ เหตุการณ์ หรือยุคสมัย โดยได้เนื้อเรื่องหรือความรู้สึก ไม่มีการแสดงออกมาโดยผ่านทางเสียงจริง ๆ และเสียงพูด ซึ่งโดยปกติแบบนี้จะไม่ใช้ผู้บรรยายประกอบ เป็นสารคดีที่ให้ผู้ฟังใช้มโนภาพเอาเอง
7.สารคดีแบบที่แต่งขึ้นมาเอง (Creative Feature) เป็นสารคดีที่มีรูปแบบที่คิดขึ้นมาเองตามความคิดฝัน ทั้งนี้ต้องมีการเขียนบทขึ้นมาเอง อาจจะเป็นรูปแบบของละคร โดยมีเพลงประกอบเสียงเข้าช่วย


การวางแผนจัดทำสารคดี
1.การวางแผนเกี่ยวกับเนื้อหาโดยสรุป พิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของผู้จัดรายการและพยายามทำให้เป็นไปตามนั้น โดยพิจารณาว่า ผู้ผลิตจะมีโอกาสครอบคลุมทุกอย่างที่ต้องการได้เพียงใด
2.ตัดสินใจเรื่องเนื้อหา พิจารณาเรื่องเนื้อหาและคำบรรยาย รวมทั้งสิ่งที่จะใช้ในรายการ เช่น เสียงสัมภาษณ์ วัตถุดิบ รวมทั้งเสียงประกอบต่าง ๆ ที่ต้องการ
3.การทำวิจัยค้นคว้า ได้แก่ข้อมูลที่ต้องการสำหรับสัมภาษณ์ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ บุคคลที่ควรขอคำปรึกษา บุคคลที่ควรสัมภาษณ์ รวมทั้งวิจัยเรื่องต่าง ๆ
4.เลือกผู้ที่จะเข้าร่วมในรายการ ควรเลือกผู้ที่รู้เรื่องในเรื่องนั้น ๆ และมีเวลาว่างที่จะมาให้สัมภาษณ์จริง ๆ
5.บันทึกเสียงลงเทป บันทึกเสียงโดยคำนึงถึงความต้องการของเราและเผื่อไว้สำหรับตัดต่อ ถ้าเรามีสิ่งนี้ไว้ในใจแล้ว การเรียบเรียงและการเชื่อมโยงก็จะทำได้ง่าย เสียงที่ต้องการ ควรมีการบันทึกเสียงที่ต้องการต่าง ๆ ลงเทปโดยบันทึกให้ได้คุณภาพดี และบันทึกเผื่อไว้ยาว ๆเพื่อการตัดต่อเสียงอีกครั้ง ซึ่งจะอยู่ในขั้นตอนการบันทึกเสียงทั้งรายการ ซึ่งรวมทั้งเสียงเพลงด้วย
6.การตัดต่อครั้งที่1ให้ตัดสิ่งที่รู้ว่าไม่ต้องการออกไปอย่าเสียดายจากนั้นตรวจสอบโดยการฟังอีกครั้ง เพื่อหาจุดที่ดีที่สุดที่จะเชื่อมโยงกันได้อย่างดีที่สุด ระหว่างวัตถุดิบกับบทบรรยายและพร้อมที่จะหาวัตถุดิบเพิ่มเติม หากจุดที่เชื่อมต่อระหว่างวัตถุกับบทบรรยายยังไม่เชื่อมโยงกันดีพอ ลอกวัตถุดิบทั้งหมดลงบนเทปตามลำดับ โดยเว้นช่วงหน้าช่วงหลังของแต่ละช่วงไว้ให้พอดี
7.เตรียมการเขียนบทที่จะใช้ ถึงขั้นนี้ควรมีการตกลงใจแล้วว่าจะใช้อะไรแทรกตรงไหน ขณะเดียวกันบทบรรยายต้องพร้อม และจะใช้วัตถุดิบกี่นาที ที่จะเฟรดตรงไหนเพลงจะเริ่มที่ตรงไหน จบตรงไหน ควรมีการจบเวลาให้แน่นอน
8.การเรียบเรียงเรื่อง หรือการบันทึกเสียง วัตถุดิบทั้งหมดจะได้มีการนำมาผสมผสานกันตามที่ได้วางแผนไว้ เพื่อให้รายการดำเนินไปด้วยความราบรื่น ลองซ้อมดูอีกครั้งว่าการเรียบเรียงอย่างนี้เป็นอย่างไร ถ้ายังไม่ดีพออาจใช้การตัดต่อแก้ไข เพิ่มเติมได้อีก


เทคนิคผลิตรายการสารคดี (Documentary Techniques)
รายการสารคดีมีโครงสร้าง 2 ประการ คือ
1.มีผู้บรรยาย เป็นผู้เล่าประกอบกับเทปแทรก ที่ได้มีการบันทึกไว้ก่อนแล้ว
2.โดยการเล่าเรื่อง ด้วยการใช้เทปแทรกต่อเนื่องกันไป ไม่ได้ใช้ผู้บรรยาย
2.1เทปแทรก ได้แก่ คำพูด หมายถึงข่าวสาร เรื่องราว ที่อาจจะติดต่อมาจากคำให้สัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารคดีที่ผลิต
2.2คำให้สัมภาษณ์ ต้องให้มีการเชื่อมโยงที่ดี และให้เหมาะสมกับการนำเสนอรายการในรูปแบบสารคดี คำสัมภาษณ์ไม่ควรยาวเพราะจะเป็นรายการสัมภาษณ์ได้
2.3คำอภิปราย เป็นเสียงของผู้อภิปรายตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือให้ความคิดเห็นที่โต้แย้งกัน
2.4เสียงประกอบจริง (Actuality Sounds) หมายถึงเสียงที่เกิดขึ้นจริง ๆ ขณะนั้นควรบันทึกจากสถานที่จริง ๆ
2.5เสียงประกอบ (Sound Effects) เป็นเสียงที่ผลิตจากอีเลกโทรนิกส์ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดการเชื่อมโยงกัน ระหว่างเนื้อหา
2.6ดนตรี (Music) เพื่อช่วยเชื่อมโยงเทปสัมภาษณ์ กับคำบรรยาย
2.7เสียงบุคคลที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ ใช้เสียงของบุคคลในเหตุการณ์จริง เช่น เสียงรายงานข่าวจากสถานที่จริง เสียงผู้ที่เห็นเหตุการณ์จริง เสียงนักบินอวกาศ


หลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง
1.ให้มีความน่าสนใจทั้งเนื้อหาและเทคนิค พึงระลึกว่า เนื้อหาคือหลักสำคัญอย่าคำนึงถึงแต่ด้านเทคนิค จนลืมความสำคัญของเนื้อ หรือทำให้ผู้ฟังหันเหความสนใจไปจากเนื้อหา
2.บทเชื่อมโยง ควรทำให้ราบเรียบและต่อเนื่อง
3.พยายามนำเรื่องน่าฟัง มีชีวิตชีวา แม้นจะเป็นเรื่องหนัก ๆ แต่ก็สามารถทำให้มีชีวิตชีวาน่าสนใจได้
4.ทำให้ผู้ฟังค่อยๆ เริ่มสนใจเรื่องที่เราเสนอจนต้องตั้งฟังจนจบ
การสัมภาษณ์เพื่อนำมาประกอบรายการสารคดี
การสัมภาษณ์เพื่อประกอบรายการสาคดีส่วนมากจะใช้แค่เสียงสัมภาษณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์มาประกอบเท่านั้น ดังนั้นการสัมภาษณ์เพื่อจะนำมาประกอบสารคดี ควรจะสัมภาษณ์โดยถามคำถามให้ตรงจุดที่เราต้องการเป็นเรื่อง ๆ ไป และคำตอบที่ได้ก็ควรจะเก็บทั้งหมด จนกว่าจะได้มีการตัดสินใจตัดต่อใช้เฉพาะส่วนที่ต้องการ


บทบรรยายสำหรับรายการสารคดี
บทบรรยายสำหรับรายการสารคดี ไม่ควรเน้นให้ละเอียดมากเกินไป ไม่ว่าจะด้านข่าวสาร ตัวเลข หรือสถิติใด ๆ ทั้งนี้เพราะเราสามารถจะนำวัตถุดิบ เช่นคำสัมภาษณ์ให้รายละเอียดที่ดีกว่า นอกจากนั้นบทบรรยายก็ควรใช้ให้น้อย และใช้เท่าที่จำเป็น
บทบรรยายไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงทุก ๆเทป อาจใช้ดนตรีหรือเสียงประกอบแทนบทบรรยายได้ หากเป็นการให้ความหมายได้อย่างชัดเจนแก่ผู้ฟัง
ชื่อหรือตำแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์ในรายการสารคดี เมื่อได้มีการพูดไปแล้วอย่างละเอียดในตอนแรก ก็ไม่จำเป็นต้องพูดโดยละเอียดทุกครั้ง เช่น อาจพูดถึงเฉพาะชื่อ หรือ ตำแหน่ง


ข้อควรทราบ
1.ไม่ควรใช้เทปแทรกยาวมากในแต่ละครั้ง ถ้าจำเป็นควรแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ช่วง โดยใช้คำบรรยายแทรกระหว่างช่วง
2.การเริ่มต้นรายการควรใช้ถ้อยคำที่ดึงดูดความสนใจ หรือใช้เสียงดนตรีที่ไพเราะ หรือแม้นแต่ใช้เสียงประกอบที่น่าสนใจ เพื่อดึงความสนใจผู้ฟังเป็นเรื่องแรก
3.ผู้บรรยาย ควรจะนั่งในห้องส่งตลอดเวลา ที่บันทึกเสียงหลังออกอากาศและฟังเทปแทรกทุกช่วงอย่างตั้งใจ เพื่อให้น้ำเสียงและจังหวะของคำพูดสอดคล้องกันกับเทปแทรกนั้น ๆ ทุกช่วงตอน
4.เรื่องระดับเสียง ควรระมัดระวังให้สม่ำเสมอทั้งเสียงบรรยายและเทปแทรก อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นเสียงดนตรี ควรให้เบากว่าเสียงบรรยาย เพราะถ้าดังเท่ากัน เวลาออกอากาศเสียงดนตรีจะดังกว่า
5.การเชื่อมต่อระหว่างเทปแทรกและคำบรรยาย ควรหยุดพักหายใจ ตามธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกว่าทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติอย่างแท้จริง
6.เสียงของผู้บรรยายควรให้สอดคล้องกับเนื้อหาและเทปแทรก เช่น ถ้าเทปแทรกจบลงด้วยความเศร้าโศก ก็ไม่ควรบรรยายต่อด้วยเสียงรื่นเริง หรือถ้าเทปแทรกจบลงด้วยถ้อยคำขำ ๆ ก็ควรยิ้ม แล้วก็บรรยายต่อด้วยเสียงยิ้ม ๆ ผู้ฟังจะรู้สึกได้เองว่าเราขำ ไม่ควรถึงกับหัวเราะออกมา ซึ่งจะเป็นการแสดงออกมากไป เป็นต้น

* * * * * * * * * * * * *


บทที่ 3
หลักการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
แนวคิด


เป็นการวางแผนการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดและวางแนวทาง การเขียนบทวิทยุแนวทางปฏิบัติ แม้นกระทั่งการหลอมความคิดเห็นของทีมงานให้ไปในจุดประสงค์เดียวกันซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จสู่เป้าหมาย คือ ผู้ฟังรายการ
การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง มีการกล่าวันว่า "เทคนิค คือ หัวใจ" "รายการคือ ใบหน้า" การส่งกระจายเสียงทุกครั้งจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพทั้งด้านเทคนิค คือคุณภาพของเสียงที่ออกอากาศและคุณภาพของรายการ ควบคู่กันไป หากขาดด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ผู้ฟังย่อมปฏิเสธที่จะรับฟัง ซึ่งหมายถึงว่า ความหมายของการกระจายเสียงจะหมดไปทันที เพราะขาดปัจจัยที่สำคัญของการสื่อสาร คือ ผู้รับ
การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง หากมองอย่างผิวเผินน่าจะเป็นเรื่องง่าย แต่ความจริงแล้ว การจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้เป็นที่นิยมของผู้ฟัง สามารถสื่อสารข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างตรงเป้าหมายและมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมและพัฒนาผู้ฟังด้วย เป็นสิ่งที่ยาก ซึ่งจะต้องมีการวางแผนและดำเนินการอย่างรัดกุม ต่อเนื่อง
รายการวิทยุกระจายเสียงแต่ละช่วงเวลาการออกอากาศนั้น จะต้องมีการวางแผนของผู้บริหารสถานี โดยมีการแบ่งช่วงเวลา ซึ่งนิยมแบ่งเป็นช่วงละครึ่งชั่วโมงหรือ หนึ่งชั่วโมง (คือแต่ละช่วงจะลงท้ายด้วย 00 หรือ 30 ) เพราะเป็นการสะดวกต่อผู้ฟัง จากนั้นก็จะพิจารณาว่าในแต่ละช่วงจะเสนอรายการประเภทใดให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังเป็นหลัก พร้อมทั้งมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายให้ผู้จัดรายการที่เหมาะสม รับผิดชอบไปดำเนินการ ซึ่งสิ่งที่ผู้จัดรายการจะต้องคำนึงถึงมีหลายประการด้วยกัน คือ
-ผู้ฟัง -แหล่งข้อมูลและการรวบรวมข้อมูล
-เนื้อหา -การมอบหมายและแบ่งงานกันทำ
-เวลาออกอากาศ -การประเมินผล
-รูปแบบรายการ -ชื่อเรื่อง และการตั้งชื่อรายการ
-เครื่องมือผลิตรายการ -วัตถุประสงค์ของรายการ

-การประสานงานและความร่วมมือ


-รายการวิทยุประด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1.บทพูด หรือ เนื้อหา (Content)
2.ดนตรีหรือเพลง (Music)
3.เสียงประกอบ (Sound Effect)


1.วัตถุประสงค์
1.1เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจวิธีการวางแผนการผลิต รายการวิทยุกระจายเสียงโดยนำความรู้พื้นฐานมาเป็นแนวทางสร้างสรรค์
1.2 เพื่อให้สามารถนำเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตรายการวิทยุ
1.3 เพื่อให้สามารถผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการพัฒนาการ ด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม


2. หลักการผลิตรายการวิทยุ
หลักการผลิตรายการวิทยุถ้าจะให้ได้ผลจะต้องยึดหลักต่อไปนี้
2.1 จะต้องมีวัตถุประสงค์ว่า จะทำรายเพื่อการอะไร
2.2 วัตถุประสงค์ของรายการ
2.3 ต้องรู้จักผู้ฟังว่าเป็นประเภทใด มีเป้าหมาย เช่น อายุ อาชีพ การศึกษา เพศ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ต้องตระหนักเสมอว่า วิทยุไม่ควรนำเสนอเรื่องราวที่สลับซับซ้อน
2.4 ตัวอย่างที่ยกมาประกอบ จะต้องให้ผู้ฟังหันมาฟังจะต้องเป็นเรื่องใกล้ตัว
2.5 การจัดรายการต้องยึดความถูกต้องเป็นเกณฑ์
2.6 การจัดรายการให้สอดคล้องกับธรรมชาติของประเภทรายการ


3. องค์ประกอบการผลิตรายการวิทยุ
3.1 กลุ่มผู้ฟัง เป้าหมาย ความเชื่อถือ ความสนใจระดับความรู้ ความสามารถ อาชีพ
3.2 วัตถุประสงค์ของรายการ ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน (กรมประชาสัมพันธ์ คือ การนำเสนอข้อเท็จจริง เชื่อถือได้) ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า ผู้ฟังได้เรียนรู้อะไรบ้าง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางไหน แต่ละรายการให้กำหนดวัตถุประสงค์เพียง 1 หรือ 2 วัตถุประสงค์เท่านั้น โดยมีการกำหนดข้อเท็จจริงมาเป็นแนวคิดเพื่อกำหนดเนื้อหาของรายการ
3.3 วิธีการนำเสนอ ทำอย่างไรให้คนสนใจ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเน้นเรื่องความรู้มากนัก
3.4 มีสื่อสนับสนุน เช่น เพลงหรือโฆษณา
3.5 การมีส่วนร่วมกับผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังมีปฏิกิริยาตอบสนอง
3.6 การประเมินผล ประเมินดูว่า รายการทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน โดยใช้แบบทดสอบ สัมภาษณ์หรือโทรศัพท์ จดหมาย เพื่อนำมาปรับปรุงรายการให้ดียิ่งขึ้น


4.การเตรียมผลิตรายการวิทยุ
4.1 ขั้นเตรียมการ โดยมีจุดประสงค์ว่า จะผลิตรายการประเภทใดรูปแบบของรายการ สรุปได้ดังนี้
4.1.1 รายการสนทนา ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
4.1.2 รายการสัมภาษณ์ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ผู้ถูกสัมภาษณ์อย่างน้อย 1 คน
4.1.3 รายการอภิปราย มีหลายคน
4.1.4 รายการสารคดี
4.1.5 รายการนิตยสารทางอากาศ มีข่าว -เพลง-สารคดี-สัมภาษณ์
4.1.6 รายการข่าว รายงานข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวดเร็ว สั้นชัดเจน
4.1.7 รายการบรรยายเหตุการณ์นอกสถานที่จากจุดที่เกิดเหตุ
4.1.8 รายการเพลง
4.1.9 รายการละคร
4.1.10 รายการปกิณกะ เกร็ดความรู้ ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกัน
4.2 การเตรียมการต้องมีการวางแนวการผลิตประชุมวางแผนว่าจะจัดอย่างไร
4.2.1 ขั้นศึกษาเนื้อหา ผู้เขียนบทจะต้องศึกษาอย่างถ่องแท้ เพื่อเตรียมตัวในการเขียนบท
4.2.2 ขั้นลงมือเขียนบท ตามที่วางแนวเอาไว้ มีการแก้ไขพิมพ์บทให้เพื่อนร่วมงานเตรียมวัสดุในการผลิตรายการตามบทที่เขียนไว้
4.2.3 จองห้องบันทึกเสียง มี 2 ขั้นตอน
-ขั้นซักซ้อม มีการซ้อมแห้งให้มีความคุ้นเคยก่อนที่จะซ้อมกับไมโครโฟน และซ้อมในห้องบันทึกเสียง
-ขั้นลงมือผลิต มีการบันทึกรายการ ผู้ร่วมงานต้องมาก่อนเวลา การตรวจสอบคิว เมื่อบันทึกรายการเสร็จแล้วจะต้องตรวจสอบดูก่อนว่า จะต้องแก้ไขอะไรบ้าง

* * * * * * * * * * * * *

บทที่ 4
หลักการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง

1.หลักการจัดวิทยุกระจายเสียง


การทำหน้าที่ต่อสื่อมวลชนที่ดี คือ การมีความรับผิดชอบต่อสังคม และถ้าหากต้องการเป็นนักจัดรายที่ดี ก่อนทีจะพูดเพื่อกระจายเสียงผ่านสื่อวิทยุทุกครั้งต้อง "ยิ้มกับไมโครโฟน"
สื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อที่สำคัญในกระบวนการสื่อสาร คือ
1.1 การให้ข่าวสาร
1.2 การทำหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางสังคม
1.3 การให้การศึกษา
1.4 การให้ความบันเทิง


2.การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง ต้องมี 3 ต้อง คือ
2.1 ต้องมีองค์ความรู้ (Body of know Ledge)
2.2 ต้องมีทักษะ (Skill)
2.3 ต้องมีศิลปะ (Art full)


3.หลักแห่งความสำเร็จ การจัดรายการคือ
3.1 ผู้รู้ ผู้จัดรายการต้องรู้เรื่องราวที่ตัวเองจะนำไปพูดในรายการอย่างละเอียด และต้องทำความเข้าใจเนื้อหาที่จะพูด อย่างลึกซึ้งสามารถที่จะพูดออกมาได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยไม่ต้องดูบทเป็นหลัก
3.2 ผู้ตื่น ผู้จัดรายการต้องมีความตื่นตัวตลอดเวลาที่เข้าไปจัดรายการ และต้องรู้ว่าตัวเองพูดอะไรออกไป และต้องคำนึงด้วยว่า คำพูดกับตัวเองมีผลกระทบกับใคร และต้องคิดเสมอว่าคำพูดนั้น ผู้ฟังรับรู้ (Perception) และได้อะไรบ้าง
3.3 ผู้เบิกบาน ผู้จัดรายการ เมื่อเข้าไปอยู่ในห้องส่งจะต้องเป็นผู้เบิกบาน แจ่มใส พูดแต่สิ่งที่ดี ๆ สร้างสรรค์ ไม่ตรึงเครียดกับผู้ฟัง แต่ไม่ถึงกับร่าเริงจนเกินเหตุ ไม่ควรพูด 2 แง่ 2 ง่าม

4.การจัดรายการวิทยุกระจายเสียงต้องทำงานด้วย หลัก 6T และ 3H
4.1 Topic คือ ต้องมีวัตถุประสงค์ หัวข้องเรื่องที่ชัดเจน แจ่มชัด ในการ ทำงาน
4.2Target คือ การจัดรายการวิทยุกระจายเสียงต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายของเรา
4.3 Team คือ การทำงานด้านสื่อสารมวลชน ต้องมี Team ซึ่งเหมือนกับงานอื่น ๆ เช่นกัน
4.4 Tactic คือ ต้องมีกลยุทธ์ ในการนำเสนอ ต้องมีกลยุทธ์ในการดึงดูดใจ
4.5 Time คือผู้จัดรายการวิทยุกระจายเสียงต้องรู้จัก "เวลา" "กาลเทศะ" รู้จักใช้ทรัพยากรของ เวลา ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด
4.6 Technology คือ นักจัดรายการวิทยุต้องรู้จักจักเทคโนโลยี เพื่อการเสาะหาแหล่งความรู้ รู้จักใช้เทคโนโลยี เพื่อการประหยัด เช่น Internet เป็นต้น


5. ปัจจัยที่การดึงดูดผู้ฟังให้ฟังรายการ 3H

5.1 Head คือ ต้องทำงานด้วยสมองสติปัญญาพิจารณาด้วยความรอบ คอบรอบรู้
5.2 Hand คือ ทำงานด้วยฝีมืออันประณีต บรรจง ละเอียด สวยงามน่าชื่นชม
5.3 Heart คือ การทำงานด้วยใจ ใฝ่ใจ ใจรัก มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เมตตา อดทน พากเพียร พยายาม
การทำงานด้านสื่อมวลชน ต้องรู้จักกับคำว่า จรรยาบรรณ คือ ข้อควรปฏิบัติในการประกอบอาชีพด้านสื่อมวลชน ที่ผู้จัดรายการจำเป็นต้องมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของตนเอง ต้องมีวินัย (Discipline) คือ ต้องรู้จักหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ นอกจากนั้นต้องมี ศีลธรรม เป็นข้อเตือนใจอยู่เสมอในกรอบของสังคม (Social Culture) อยู่ด้วย มีกรอบแห่งวัฒนธรรมยังไม่พอต้องรู้จักกรอบแห่งกฎหมาย (Law) ที่ทำหน้าที่เป็นข้อปฏิบัติของสื่อมวลชนที่ดี แต่ถ้าทำไม่ดีก็จะถูกลงโทษตามกฎหมายบ้านเมือง


6.ข้อควรปฏิบัติในการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง

การจัดรายการที่ดี จำเป็นต้องมีทั้งความรู้และศิลปะ นอกจากนั้นยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ดังนี้
6.1 กลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย หมายถึง กลุ่มผู้ฟังที่ผู้ผลติรายการต้องการจะส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไปถึงไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร ความรู้ความบันเทิง ผู้จัดรายการต้องทราบถึงภูมิหลัง ของผู้ฟังเช่น อายุ เพศ สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ แนวคิด ค่านิยม
6.2 การพูด มีความสัมพันธ์กับวัย และระดับการศึกษาของผู้ฟังอย่างมาก การใช้ภาษาให้เหมาะสมตลอดจนจังหวะจะโคน และศิลปะของการพูด ต้องเป็นสื่อในความหมายต่อกลุ่มแม้นความแตกต่างในสังคม ประเพณี ศาสนา ไม่ควรพูดศัพท์แสลงต่าง ๆ จะทำให้คนฟังได้ภาษาผิด ๆ จนติดปาก ในเรื่องของภาษานั้นต้องคำนึงถึงภาษาถิ่นต่าง ๆ ด้วย เพราะจะทำให้รายการประสบความสำเร็จมากขึ้น
6.3 ลีลา การพูด การพูดทางวิทยุกระจายเสียง ไม่ควรพูดเหมือนการอ่านหนังสือ แต่ควรพูดเหมือนกับการสนทนาในหมู่เพื่อนฝูง หรือไม่ใช่พูดเหมือนกับการปราศรัย ลีลาการพูดแต่ละคนมีลีลาเป็นแบบฉบับของตนเอง ข้อที่ต้องคำนึงถึงคือ นำเสียงจะต้องแสดงถึงความจริงใจไม่แสดงอาการดูถูกต่าง ๆ ออกมา
6.4 เพลง เพลงประจำรายการ ที่เรียกว่า "Title" หรือ Introduction หรือบางทีก็เรียกเพลงนำรายการ จะใช้เพลงบรรเลง หรือ เพลงที่มีเนื้อหาคล้ายกับรายการ ก็ได้
-เพลงคั่นรายการ เพลงคั่นรายการจะช่วยให้รายการที่มีเนื้อหาหนัก(รายการที่เน้นทางวิชาการ) จะทำให้รายการมีการผ่อนคลาย
-การสร้างบรรยากาศของรายการ จะช่วยทำให้บรรยากาศในการฟังดีขึ้น เพลงที่นำประกอบนั้นควรเลือกสรรให้ตรงกับเรื่องที่จะพูด เป็นการสร้างจินตนาการไปกับสิ่งที่พูดได้ดี
6.5 ความหลาก เป็นวิธีหรือเทคนิคในการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อท่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มผู้ฟังเพื่อแข่งขันกับสถานีวิทยุอื่น ๆ เพื่อให้กลุ่มผู้ฟังสนใจดังนั้นวิธีนำเสนอรายการ ต้องเสนอให้มีความหลากหลาย ในความหลากที่จะเกิดขึ้นมีทั้ง เรื่องภาษา การพูด ลีลาการพูด เพลงประกอบ ในความหลากไม่มีกฎตายตัว ผู้จัดรายการต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ


7.กระบวนการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง มีขั้นตอนต่าง ๆดังนี้
1 ขั้นการเตรียมการ
1.1 ขั้นการวางแผนการผลิต คือ การกำหนดหัวข้อว่าจะจัดรายการในเรื่องอะไรบ้าง มีเนื้อหาอย่างไร จะเสนอรายการในรูปแบบไหน ผู้ฟังคือใคร ออกอากาศเวลาไหน
1.2 การเขียนบท เป็นการนำเอาความคิด ในขั้นการวางแผนมาขยาย และเขียนรายละเอียดโดยอาศัยจินตนาการของผู้เขียน ประกอบกับการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มาเขียนในรูปของบทวิทยุกระจายเสียง
1.3 การเตรียมการด้านอุปกรณ์ทางเทคนิค เช่นการหาวัตถุดิบ เรื่องต่าง ๆ ตัวบุคคล สถานที่เสียงประกอบการเขียนบทวิทยุ เทปบันทึกเสียง แผ่นซีดี ไมโครโฟน


2.การซ้อมก่อนออกอากาศ
การซ้อมก่อนออกอากาศ เป็นการนำสิ่งต่าง ๆ มารวมกันและจัดลำดับตามบทที่เขียน แล้วทำการซักซ้อมจัดรายการทั้งหมด พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยการซ้อมให้กระทำเพียงคร่าว ๆ


3.ขั้นออกอากาศ

เป็นขั้นตอนที่ทุกสิ่งทุกอย่างผ่านการแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว รายการต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และนำออกอากาศ


4.ขั้นการประเมิน
หลังจากที่ราการได้ออกอากาศแล้ว กระบวนการผลิตจะเสร็จสิ้นลง ก็ต้องมีการประเมินผลรายการ ที่จัดทำไปนั้นประสบความสำเร็จเพียงใด ดูจากการที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ฟัง หากรายการได้รับการตอบสมนองจากผู้ฟังในลักษณะถูกใจผู้ฟัง นั่นคือความสำเร็จ วิธีการประเมิน วัดจาก จดหมาย ไปรษณียบัตร โทรศัพท์ หรือคำติชมจากเพื่อนร่วมงาน ที่มีโอกาสได้พูดคุย การประเมินแบบนี้เป็นการประเมินขั้นพื้นฐาน
หากเป็นการประเมินตามหลักวิชาการจะต้องมีการสำรวจการรับฟัง โดยให้หน่วยงานที่เชื่อถือได้เป็นผู้ดำเนินการ คือ สำนักงานสถิติจังหวัด มหาวิทยาลัยที่อยู่ในพื้นที่ การประเมินในลักษณะนี้ จะเป็นการสำรวจการรับฟัง ของรายการที่ออกอากาศทั้งหมด เพราะการสำรวจแต่ละครั้ง จะใช้งบประมาณมาก แต่ผลการประเมินจะมีความเชื่อถือมากกว่า การที่ได้รับจดหมาย หรือ โทรศัพท์ เพราะเป็นการประเมินผลทางวิชาการ
* * * * * * * * * * * * *

บทที่ 5
บทวิทยุกระจายเสียง


1.บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อความที่บอกความเป็นไปของรายการนั้น ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบรายการ เพื่อที่จะให้รายการดำเนินไปอย่างมีทิศทางในขอบเขตของรูปแบบที่วางไว้


2.บทวิทยุกระจายเสียง มีหน้าที่ดังนี้
1.1 บทวิทยุจะเป็นแนวทางให้ผู้ร่วมรายการ ทราบว่าใครมีหน้าที่อะไรจะต้องทำตอนไหน
1.2 บทวิทยุจะต้องชี้ถึงเนื้อหาสาระต่าง ๆ รายละเอียดและรูปแบบของรายการได้เป็นอย่างดี
1.3 บทวิทยุจะเป็นคู่มือในการเตรียมตัวล่วงหน้า สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
1.4บทวิทยุจะเป็นเครื่องกำหนด หน้าที่ในการประสานงานกับทุกฝ่ายของบุคคลที่ร่วมกันผลิตรายการ


3.ประเภทของบทวิทยุกระจายเสียง มี 3 ประเภท
3.1 บทวิทยุประเภทแสดงเค้าโครง มีลักษณะเป็นการร่าง ลำดับเนื้อหา หรือลำดับการทำงาน ให้ผู้ร่วมงานได้เข้าใจกัน แสดงไว้ในบทเฉพาะส่วน ที่สำคัญเท่านั้น
3.2 บทวิทยุประเภทกึ่งสมบูรณ์ มีรายละเอียดเนื้อหาขั้นตอนไว้ชัดเจน แต่จะมีบางตอน เว้นไว้เพื่อให้พูดเองตามความเหมาะสม
3.3 บทวิทยุ ประเภทเต็มรูปแบบ ทีมีรายละเอียดทุกอริยะบท ทุกคำพูดที่จะออกอากาศ


4.ลักษณะของบทวิทยุกระจายเสียงมี 4 ส่วนคือ
4.1 ส่วนหัวของรายการ
ชื่อรายการ.......................
ชื่อเรื่อง...........................
ชื่อสถานี.........................
วันเวลาที่ออกอากาศ.........
ความยาวของรายการ........

4.2 ส่วนที่บอกหน้าที่ผู้ร่วมงาน วัสดุในการประกอบการแสดง
ชื่อผู้ร่วมงาน...................
ผู้ให้เสียงประกอบ..........
เพลงที่ต้องใช้.................
ผู้ควบคุมรายการ............
ผู้ดำเนินรายการ.............
4.3 ส่วนของเนื้อหา จะบอกผู้เกี่ยวข้องและสิ่งที่กำหนดให้ทำ
4.4 ส่วนปิดท้าย เป็นส่วนที่แสดงสัญลักษณ์ว่า รายการจะจบ ประกาศขอบคุณ


5.จุดเริ่มต้นในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียง
5.1 ริเริ่มให้เกิดแนวคิด
5.2 นำเอาแนวคิดไปไตร่ตรองดูความเหมาะสม
5.3 พัฒนาแนวคิดให้มีความผสมกลมกลืน
5.4 เริ่มเขียนบท


6.ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียง มี 4 ส่วน
6.1ส่วนเริ่มรายการ เป็นการเร่งความสนใจให้คนฟัง ใช้เวลา 10 %
6.2 ส่วนของรูปแบบรายการ เป็นการนำผู้ฟังเข้าสู่รายการใช้เวลา 30 %
6.3 ส่วนประทับใจใช้เวลา 50 % ของเวลาทั้งหมด
6.4 ส่วนสรุป คือ สรุปเนื้อหาทั้ง 3 ส่วน ที่กล่าวมาแล้วใช้เวลา 10%


7.ลักษณะของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ดี
7.1 ต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดและสามารถถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารได้ตรง ตามวัตถุประสงค์
7.2 ต้องมีความน่าสนใจที่จะติดตามรับฟังโดยตลอด
7.3 ต้องมีความต่อเนื่องไม่ขาดสาย
7.4 ต้องอยู่ในเวลาที่กำหนด โดยปกติรายการที่จัดจะต้องเผื่อไว้สำหรับประกาศรายการ 1-2 นาที
7.5 ต้องมีความเหมาะสมกับกาลเทศะ ตรงกับความต้องการของผู้ฟัง
7.6 การออกเสียงภาษาไทยต้องชัดเจนถูกต้อง
7.7 ไม่ขัดต่อความเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของชาติ
7.8 ต้องมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมและผู้ฟัง


8.ลักษณะของนักจัดรายการที่ดี
8.1 มีความรับผิดชอบในการจัดรายการอย่างต่อเนื่อง และต้องมีความรับผิดชอบต่อรายการและผู้ฟัง
8.2 เป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบ รู้จักเลือกเรื่องที่จะนำเสนอ รวมทั้งการปรุงแต่งให้เหมาะสมและน่าสนใจ
8.3 เป็นผู้มีรสนิยมดี
8.4 เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี สามารถทำงานเป็นทีม สามารถติดต่อและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อบุคคลทั่วไป
8.5 ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองให้คงที่ เพราะต้องเผชิญทั้งชมและคำด่า ผู้จัดรายการที่ดีจะไม่หลงระเริงกับคำชม ต้องไม่หวั่นต่อคำติของผู้ฟัง
8.6ต้องมีความเสียสละ ทุ่มเทเวลา เพื่อการจัดและพัฒนารายการที่ตนรับผิดชอบอยู่ตลอดเวลา
8.7 ต้องมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นอยู่เสมอ
8.8 ต้องเป็นนักฟังที่ดี
8.9ต้องเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ค้นคว้าเรื่องราวต่าง ๆ และสนใจข่าวสารรอบด้าน


* * * * * * * * ** ** * * * *

ตัวอย่าง การเขียนบท วิทยุกระจายเสียง
บทรายการ "สมายเรดิโอ สร้างสุขด้วยด้วยรอยยิ้ม"
การประกวด ดีเจ เยาวชนต่อต้านยาเสพติดยอดเยี่ยมระดับเขต
จัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ประจำปี 2547
ดำเนินรายการ โดย 1.นายสุทธิพงษ์ รัตนะ (ใหม่) ม.5/1
2.นายอุทัย นุ่นดำ (จิ๋ว) ม.5/1
โรงเรียนพัทลุงพิทยาคม อำเภอเมือง จ.พัทลุง
สปอต "รวมเลือดเนื้อ" ซีดีแผ่นที่ 1 เวลา 30 วินาที
เพลงประกอบรายการ เพลงอมพระมาพูด เทป เพลงที่ 1 เวลา 3.15 นาที
ผู้ดำเนินรายการ (ใหม่): สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับท่านผู้ฟังเข้าสู่รายการ สมายเรดิโอ สร้างสุขด้วยรอยยิ้ม เพื่อใสวัยทีน ห่างไกลยาเสพติด ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง 98 Mz เราจะอยู่ด้วยกัน 30 นาทีเต็ม ตรงนี้ ตั้งแต่เวลา 13.30 -14.00 น. กับดีเจ อารมณ์ดี
ผม สุทธิพงษ์ รัตนะ ใหม่ครับ
และผม อุทัย นุ่นดำ จิ๋วครับ
ผู้ดำเนินรายการ (จิ๋ว) สมายเรดิโอ สร้างสุขด้วยรอยยิ้ม มอบสาระบันเทิงให้กับเยาวชนวัยแห่งการสร้างสรรค์ วัยที่พร้อมไปด้วยพลังกาย พลังใจและพลังความคิด ท่านผู้ฟังท่านใดต้องการพูดคุยกับเรา 2 คน โทรเข้ามาได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 074-635521 ย้ำอีกครั้งหนึ่งนะครับ 074-635521 วันนี้เรามีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายมานั่งพูดคุยกับท่านผู้ฟังในรายการ มีเรื่องอะไรบ้างครับ คุณใหม่
ผู้ดำเนินรายการ (ใหม่) ช่วงแรกของรายการ คือ ช่วงถามมาตอบไป ก็จะตอบคำถามของท่านผู้ฟังทั้งทางจดหมายและโทรศัพท์ ช่วงที่ 2 คือช่วงนานาสาระ มีบทสัมภาษณ์ดารายยอดนิยมเกี่ยวกับยาเสพติดในปัจจุบัน และช่วงสุดท้ายบอกข่าวเล่าต่อ มีข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติดพูดคุยกันด้วยนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ (จิ๋ว) ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วง ถามมาตอบไป ขอใช้เวลาตรงนี้ประกาศผลประกวดคำขวัญรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด วันที่ 26 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ ซึ่งรายการได้จัดให้มีการประกวดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อเป็นการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ครับ
เพลงประกอบรายการ เพลงเกิดมาเพื่อรักเธอ เทป เพลงที่ 2 เวลา 3.30 นาที
สปอต เรื่องยาเสพติด เวลา 30 วินาที
ตอน เราอยู่ไหน ห่างไกลยาเสพติด ซีดี แผ่นที่ 2 ข้อความที่ 1

ดำเนินรายการไปจนจบรายการ......ในเวลา 30 นาที..........................

* * * * * * * * * * * * * * * *


ตัวอย่างบทวิทยุกระจายเสียง
ของ โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง อ.เมืองยะลา
บทวิทยุ รายการวัยมันส์ พันธุ์ใหม่
ออกอากาศวันเสาร์ เวลา 10.35-11.00 น. ความยาว 29.31 นาที
ทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ยะลา
ระบบ FM.92.0 Mhz
ดำเนินรายการ โดย นางสาวปาลีรัฐ กาญจนภูมิ
นางสาวณหทัย วิชชุรัตน์
สัมภาษณ์ นายสมพิศ เพ็ชรประยูร
นางสาวนิชพัฒน์ พัฒนปรีชากุล
นายกฤษฎา เพชรรักษ์
ลำดับ เสียง เนื้อหา เวลา
1. เพลงไตเติ้ล เพลงพระจันทร์สีน้ำเงิน ซีดี ร่องที่ 1 3.40 นาที
2.

ผู้ดำเนินรายการ

สวัสดี คุณผู้ฟังพบกับรายการวัยมันส์พันธ์ใหม่ กับดิฉันปาลีรัฐ กาญจนภูมิ แป้งคะ และ ณหทัย วิชชุรัตน์ กู๊ดค่ะ เรา 2 คน กับรายการวัยมันส์ พันธุ์ใหม่ ที่มีความมันในตัวเอง มีความคิดแปลกใหม่ในการนำสิ่งดี ๆ และที่สำคัญต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดด้วยนะคะ และแน่นอนคะวันนี้รายการ วัยมันส์วันใหม่ ของเราก็นำเรื่องราวที่เกี่ยวกับยาเสพติดที่น่ารู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง และเพื่อน ๆมาฝากกันด้วย หลาย ๆ คนคงจะให้คำนิยาม คำจำกัดความยาเสพติดแตกต่างกันไปนะคะ ยาเสพติดสำหรับแป้ง หมายถึงยาหรือสารที่เสพเข้าสู่ร่างกายแล้วมีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ แป้งว่าหลาย ๆ คน คงคิดเช่นเดียวกันกับแป้งใช่ไหมคะ ว่าโทษของมันร้ายแรงค่าไหน


2. ผู้ดำเนินรายการ เนื้อหา เวลา


บทที่ 6
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับเสียง
เสียง

เสียงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในการสื่อสารโทรคมนาคม และเพื่อเป็นการติดต่อในชีวิตประจำวันของมวลมนุษยชาติ เพื่อที่จะให้เกิดสื่อความหมายในแง่ของเนื้อหาและในแง่ของอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ จึงมีการแบ่งเสียงออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
1. คำพูด
2. เสียงธรรมชาติ
3. เสียงดนตรี
4. เสียงพิเศษ


1.คำพูด เป็นสื่อโดยตรงที่ให้ความหมายในแง่ของเนื้อหาที่เกี่ยวกับความคิด หรือเรื่องราวต่าง ๆ คำพูดอาจจะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น คำสนทนา การบอกเล่า หรือคำบรรยาย เป็นบทร้องหรือบทเพลง
2. เสียงตามธรรมชาติ เสียงที่เกิดตามธรรมชาตินอกเหนือจากที่เป็นคำพูด เช่นเสียงนก เสียงน้ำไหล เสียงลม เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น
3.เสียงดนตรี เสียงเฉพาะอย่าง ซึ่งเกิดจากการประดิษฐ์ของมนุษย์ เพื่อทำให้เกิดผลทางอารมณ์ ความรู้สึกทางอารมณ์ ความรู้สึกสูง ๆ ต่ำ ๆ ของระดับเสียง จังหวะและลักษณะต่าง ๆ ของเสียงจากเครื่องดนตรีนานาชนิด
4. เสียงพิเศษ เป็นเสียงที่ไม่จัดอยู่ในลักษณะใดใน 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเสียงที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อสร้างความรู้สึกทางอารมณ์โดยเฉพาะเช่นเสียงเอ๊กโค่ เป็นต้น


ประเภทของเสียง
1.เสียงหลักตามเนื้อหา หมายถึง
เสียงใด ๆ ก็ตามที่นำเสนอเนื้อหาของเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม เช่น เสียงคนพูด
2.เสียงประกอบ เพื่อประกอบความสมจริง หมายถึง เสียงอันเกิดขึ้นตามธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆทำให้เกิดความรู้สึกที่สมจริง เช่น เมื่อเห็นภาพแก้วตกมาแตกก็จะต้องมีเสียงแก้วแตกให้ได้ยินด้วย
3.ดนตรีประกอบ หมายถึง เสียงดนตรีที่นำมาประกอบเพื่อให้เกิดความสมจริงและสร้างบรรยากาศทางอารมณ์คล้อยตาม เสียงประกอบมีอิทธิพลเชิงจิตวิทยาสูงมาก เป็นตัวลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของเนื้อหา
4.เสียงประกอบพิเศษ หมายถึงการสร้างเสียงที่จงใจเพื่อผลทางจิตวิทยาโดยตรง เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนบางสิ่งบางอย่าง เช่น เณรน้อยเจ้าปัญญา มีการเคาะไม้กะโหลก และพอคิดออกก็จะมีเสียง "ปิ้ง" ออกมา เป็นต้น


วัตถุประสงค์ของการใช้เสียง
เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการนำเสนอ ฉะนั้นการนำเสนอให้เกิดความสมบูรณ์ และเป็นการเสริมสร้างการดำเนินเรื่องราวต่าง ๆให้สมจริง การโน้มน้าวอารมณ์ ความรู้สึกไปในทิศทางที่ต้องการ โดยแบ่งการใช้เสียงออกเป็น 3 ประการ


1.การนำเสนอเนื้อหา หมายถึง การนำเสนอส่วนที่เป็นสาระ เช่น เหตุผล เหตุการณ์ เรื่องราว ความรู้ ความคิด การนำเสนอเนื้อหาด้วยเสียงนั้น มีรูปแบบหลัก ๆ อยู่ ได้แก่
1.1 การบรรยาย เช่น การบรรยายสารคดี
1.2 การสนทนา เช่น พิธีกรพูดกับผู้ฟัง
1.3 เสียงสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของเนื้อหาที่ไม่ใช่เสียงพูด เช่น เครื่องดนตรี
1.4 เสียงของบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมในขณะนั้นเช่น เสียงที่ช่วยบอกว่าในขณะนั้นตัวละครอยู่ที่ไหน คือ คลื่นทะเล เสียงน้ำตก เป็นต้น
2.การส่งเสริมอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการ คือการส่งเสริมเนื้อหาให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดการรับรู้ของมนุษย์ เช่น เมื่อ ฟังไพเราะ ก็จะทำให้อยากฟัง
3.การตกแต่งรายการ เป็นเรื่องของการดำเนินรายการโดยเฉพาะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเนื้อหา เช่น การประกอบเสียงเปิดรายการและปิดรายการ
องค์ประกอบของเสียงในเชิงจิตวิทยา
1. ความดัง
2. การเปลี่ยนแปลงความหนักเบาของเสียง
3. ท่วงทำนองของเสียงที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก
4. ความชัดเจนและการมีความหมาย
5. ลีลาและการนำเสนอ
6. ความกลมกลืนและการขัดแย้งกับองค์ประกอบต่าง ๆ
ความสัมพันธ์ของเสียงกับเนื้อหาและภาพ
ในแง่ของการนำเสนอถือได้ว่าภาพและเสียงเป็นองค์ประกอบหลักที่จะให้เนื้อหาสาระอารมณ์ ความรู้สึก สุนทรียภาพและจินตนาการ เสียงจึงเข้าไปมีบทบาทอยู่ทุกส่วนในลักษณะต่าง ๆ กันด้วยเสียงในหลาย ๆ ประเภท
ความสัมพันธ์ของเสียงกับเนื้อหา
นอกจากเสียงหลักแล้ว ยังมีในกรณีเสียงประกอบอื่น ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้เข้ากับเนื้อหาที่นำเสนอ มีจุดประสงค์และส่งเสริมให้สิ่งที่ขาดหาย เกิดความชัดเจนขึ้น เช่นเสียงประกอบพิเศษ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับภาพ
ในฐานะที่เสียงและภาพเป็นสื่อในการเสนอเนื้อหาสาระเพื่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก ข้อสำคัญในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับภาพคือ
1.เนื้อหาหลัก จะถ่ายทอดเป็นภาพหลัก
2.เสียงประกอบอื่น ๆ จะนำเข้ามาพิจารณาเป็นลำดับถัดไป ในลักษณะเติมส่วนที่ขาดให้ได้ 100 %


* * * * * * * * * * * * *


บทที่ 7
ศิลปะการพูดทางวิทยุกระจายเสียง
การพูดทางวิทยุกระจายเสียง

1.เสียง
การพูดทางวิทยุกระจายเสียงนับว่าเป็นศิลปะ อย่างหนึ่งที่จะต้องประกอบด้วยความรู้ความชำนาญ การพูดทางวิทยุกระจายเสียง เป็นการพูดระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังที่ไม่ได้เห็นหน้ากัน ไม่ได้เห็นแววตาหรือกิริยาอาการซึ่งกันและกัน ผู้พูดจึงมีแต่เสียงและคำพูดของตนเท่านั้นที่เป็นเครื่องมือ สื่อถึงและชักจูงผู้ฟังให้ติดตามรับฟังการพูดนั้น ๆ ไปโดยตลอดดังนั้นความจำเป็นในเบื้องต้นของผู้พูดวิทยุกระจายเสียงที่เอาชนะจิตใจของผู้ฟังจึงเป็นเรื่องของเสียง โดยมีข้อแนะนำว่า เสียงหรือน้ำเสียงที่เปล่งออกมาจะต้องเป็นเสียงที่แสดงความมั่นใจ มั่นคง ปราศจากอาการลังเล ไม่แน่ใจ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าหากผู้ฟังจับได้ว่า แม้นแต่ตัวผู้พูดเองก็ยังไม่แน่ใจ ขาดความเชื่อมั่นมีความลังเลในสิ่งที่พูดออกมา ผู้ฟังย่อมขาดความเลื่อมใส ที่จะฟังทันที


2.อารมณ์
ส่วนประกอบที่สำคัญประการหนึ่งในการพูดทางวิทยุกระจายเสียงก็คือ อารมณ์ โดยธรรมชาติแล้ว อารมณ์จะมีส่วนสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับเสียงหรือน้ำเสียงที่เปล่งออกมาเสมอ เช่น เวลาโกรธ เสียงหรือน้ำเสียงที่จะพูดออกมาจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง เวลาที่มีความเศร้าเสียใจก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง หรือยามที่มีอารมณ์ตื่นเต้นดีใจ น้ำเสียงที่เปล่งออกมาก็จะเป็นไปในอีกลักษณะหนึ่ง เป็นต้น จึงมีคำเปรียบเทียบเกี่ยวกับเสียงและอารมณ์ของผู้พูด ในด้านวิทยุกระจายเสียงว่า เสียงที่เปล่งออกมานั้นเป็นประดุจกระจกเงา ที่สะท้อนให้เห็นอารมณ์ของผู้พูด อย่าพูดในขณะที่กำลังเหนื่อย ก่อนพูดอย่างรับประทานอาหารให้อิ่มแปล้ เพราะจะทำให้อึดอัด หรือง่วงนอน ต้องทำตนให้กระฉับกระเฉง ปรับอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส เตรียมพร้อมที่จะพูดในเรื่องที่เตรียมไว้ แล้วรายการที่ผลิตเสียงและคำพูดที่พูดออกอากาศไปจะพลอยทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์แจ่มใสเบิกบาน และติดตามรับฟังการพูดของนักจัดรายการได้อย่างเพลิดเพลิน โดยให้คำนึกตลอดเวลาคือ "ยิ้มเสมอเมื่อพูด" หรือ "จงยิ้มกับไมค์เสมอ"


3.ภาษาพูดหรือคำพูด
การพูดทางวิทยุกระจายเสียงเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง และเป็นศิลปะที่จะต้องประกอบด้วยความรู้ความชำนาญ ที่เป็นจะส่วนสนับสนุนส่งเสริม และน้ำเสียงที่ใช้เป็นสิ่งดึงดูดใจผู้ฟังในเบื้องต้นแล้ว ภาษาที่ใช้หรือคำพูด ก็นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ถึงแม้นว่าผู้พูดจะเป็นคนที่มีเสียงไพเราะ และภาษาที่ใช้พูดด้วยว่าเหมาะสมกับการที่จะนำมาใช้สำหรับงานวิทยุกระจายเสียงหรือไม่เพียงใด
คำว่าภาษาที่ใช้พูดในที่นี้ก็มิได้หมายความว่าภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ภาษาท้องถิ่น หรือภาษากลางแต่อย่างใด หากหมายถึงคำพูดที่ใช้สื่อถึงกันระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังทางวิทยุกระจายเสียงเท่านั้น คือจะต้องคำนึงว่าจะพูดอย่างไร ใช้คำพูดอย่างไรคนฟังถึงจะชอบฟัง ฟังแล้วเข้าใจได้โดยง่ายหรือไม่ ภาษาที่เราใช้กันอยู่ตามปกติมีสองภาษา คือ

1.ภาษาเขียน
2.ภาษาพูด
ผู้พูดทางวิทยุกระจายเสียงที่ดีจะต้องมีความเข้าใจเรื่องนี้อย่างมาก เพราะต้องพยายามให้ภาษาที่นำมาใช้พูดทางวิทยุกระจายเสียงนั้น เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ฟังเป็นกันเอง แต่ได้ความหมาย ที่แจ่มชัดสำหรับผู้ฟังด้วย โดยมีหลักง่าย ๆ คือการใช้ภาษาที่ใช้กันเป็นปกติธรรมดาที่สุด ฟังเข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา ดังนี้
2.1 ใช้ภาษาที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ พยายามหาถ้อยคำหรือประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ฟังแล้วเข้าใจทันที
2.2 การพูดทุก ๆ ตอน จะต้องแสดงความหมายในแง่เดียว ไม่มีการขัดแย้งกันเองหรือลังเลใจ
2.3 ใช้ภาษาสุภาพน่าฟัง การพูดทางวิทยุกระจายเสียงต้องพูดอย่างให้เกียรติและยกย่องผู้ฟัง อย่าทำให้ผู้ฟังรูสึกว่า ผู้พูดดูถูก เห็นผู้ฟังเป็นคนโง่ ดังนั้นภาษาหรือถ้อยคำที่ใช้นอกจากจะฟังง่ายได้ใจความแล้ว ยังต้องเป็นคำสุภาพและไม่ยกตนอยู่เหนือผู้ฟังด้วย
2.4 ไม่พูดนอกเรื่องโดยไม่จำเป็น ความจริงการมีอารมณ์ขันนั้นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักกระจายเสียง หรือนักจัดรายการมาก เพราะเป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งของศิลปในการพูดแต่ต้องระมัดระวังไม่นำมาปะปนกับการพูดตลก
การพูดทางวิทยุกระจายเสียง จะต้องเริ่มต้นด้วยการเตรียมพร้อมทั้งกายและใจ คือก่อนพูดต้องไม่เหนื่อย ไม่ง่วงนอน ทำตัวให้กระฉับกระเฉง มีความกระตือรือร้นที่จะพูด ปรับอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส มีความเชื่อมั่น ความจริงใจ และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดเป็นอย่างดี และเมื่อนั่งต่อหน้าไมโครโฟนแล้วต้องนึกว่ากำลังพูดอยู่กับใครคนใดคนหนึ่ง
วิธีการพูดและน้ำเสียงจะต้องฟังเป็นกันเอง และนุ่มนวลมากกว่าจะนึกว่ากำลังพูดอยู่กับคนเป็นจำนวนมาก ๆ การพูดควรพูดให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด ใช้เสียงของผู้จัดโดยธรรมชาติ ประกอบกับ ภาษาหรือคำพูดที่ง่าย ๆ ได้ข้อความพยายามให้
กะทัดรัดที่สุด ใส่ความรู้สึกนึกคิดไปตามเรื่องราวที่พูดไว้ แล้วพยายามตะล่อมเข้าหาจุดโดยเร็วที่สุด โดยการยกตัวอย่างให้กระจ่างก่อน แล้วจึงพูดเรื่องอื่นต่อไป ไม่พูดนอกเรื่องหรือวกไปวนมา และข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ทุก ๆ ประโยค ทุก ๆ ถ้อยคำ ที่ได้พูดออกไปนั้นจะต้องแสดงถึงความรู้และความมั่นใจของผู้จัดรายการด้วย
การอ่านข่าวและบทความทางวิทยุกระจายเสียง
การอ่านข่าวและบทความทางวิทยุกระจายเสียง ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ หรืออักขรวิธี ถึงแม้นว่าจะเคยใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ก็ตาม แต่การที่จะเป็นนักพูดหรือผู้อ่านข่าวทางวิทยุกระจายเสียงที่ดีได้จะต้องไม่นิ่งเฉย ต้องหมั่นค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมอยู่เสมอ ควรมีคู่มือในการออกเสียงไว้ใช้ เช่น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และเอกสารอื่นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย โดยเฉพาะเรื่องการอ่านออกเสียงต่าง ๆ ประกอบกับวิธีการหรือที่เรียกว่า ลีลาการอ่าน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักวิทยุกระจายเสียงมาก ถึงแม้นจะอ่านหนังสือได้ถูกต้องตามอักขระวิธีทั้งหมดไม่ผิดพลาด แต่ลีลาการอ่านไม่ดี ผู้ฟังก็จะไม่เข้าใจ หรือฟังเพียงผ่าน ๆ ไม่ดึงดูดใจผู้ฟัง บางครั้งการอ่านลีลาไม่ดี ก็จะทำให้เรื่องที่อ่านขาดความสำคัญหรือขาดความไพเราะตามเนื้อหาไปได้ ลีลาการอ่านที่ดีจึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ที่อ่านหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านทางวิทยุกระจายเสียง ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือการอ่านข่าว หรือคำประพันธ์ใด ๆ ก็ตาม
ส่วนเรื่องการออกเสียงดังหรือไม่ดังเพียงใด ที่เรียกว่า ระดับเสียง ในการอ่านออกเสียงนั้น พระยาอุปกิตติศิลปะสาร อาจารย์ภาษาไทย เคยสอนว่า "ต้องอ่านให้ชัดและดังพอที่จะได้ยินทั่วถึงกัน แต่ก็ไม่ดังเกินไปจนเป็นร้องขายขนม "


ดังนั้น การอ่านข่าวและบทความทางวิทยุกระจายเสียงจึงประกอบด้วย 2 ประการ คือ
1.ความถูกต้องตามอักขระวิธี หรือ หลักการอ่านภาษาไทย
2.มีลีลาการอ่านที่ดี
ข้อแนะนำบางประการในการประกาศและการเสนอรายการ
1.หากท่านเป็นผู้ประกาศ จงคิดและเตรียมเรื่องที่ท่านกำลังจะพูด
2.พูด หรือ ประกาศด้วยเสียงที่จริงจังและจงเป็นผู้รอบรู้ จงอย่าแสดงความละเลยหรือเบื่อหน่ายต่อเหตุการณ์ใด ๆ
3.จงมีสมาธิอย่างเต็มที่ต่อสิ่งที่ท่านกำลังจะพูด
4.อย่าประกาศข้อความใด ๆ ที่ยาวเกินไป
5.ให้ตรวจสอบนาฬิกาต่าง ๆ ตรงดีแล้วหรือ เมื่อแจ้งเวลา จงตรวจสอบเวลาเหล่านั้นว่าเที่ยงตรงหรือไม่
6.อย่าขอโทษ ที่ยืดยาวเกินไป เพราะผู้ฟังลืมเร็ว
7.เตรียมเพลง 1 เพลง เพื่อเตรียมพร้อมตลอดเวลา และจงใช้เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การนำเสนอราบรื่น
8.อย่าใช้ภาษาพูดที่ไม่สุภาพในห้องส่ง หรือในบริเวณห้องบันทึกเสียง ท่านอาจจะพูดบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สุภาพขณะที่ไมโครโฟนเปิดอยู่
9.อย่าพูดเร็วนัก จงพูดด้วยความเร็วที่ต่างกัน หยุดระหว่างเรื่องและย่อหน้า
10.เตรียมบทที่จะอ่านไว้ให้พร้อม เช่นคำเตือนเรื่องแผ่นดินไหว หรือคำแถลงของรัฐบาล หรือประกาศภาวะฉุกเฉิน
11.ให้บันทึกเสียงของตนเองแล้วหาคนมาวิจารณ์
12.ต้องจริงใจ และเป็นตัวของตัวเอง อย่าพยายามเลียมแบบใคร เพราะจะไม่เป็นธรรมชาติ
13.ตรงต่อเวลาในการออกอากาศ (แต่ต้องมาเตรียมตัวก่อนออกอากาศ)
14.เมื่อไม่มีอะไรจะพูด จงเงียบ

* * * * * * * * * * * * *

บทที่ 8
ยุทธศาสตร์การผลิตข่าวและรายการ
ยุทธศาสตร์การผลิตข่าวและรายการบนพื้นฐานของความแตกต่าง

การเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา บางส่วน มีต้นตอของปัญหาหลายอย่างที่เป็นสาเหตุของความไม่สงบ คือ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจน ปัญหาการศึกษา ปัญหาภาษาและการสื่อสาร ปัญหาวัฒนธรรม ปัญหาวิถีชีวิต ปัญหาสังคม ปัญหาการแบ่งแยกดินแดน ปัญหาการไม่ยอมรับ จากปัญหาที่มีอยู่อย่างมากมาย แต่ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับไม่มีปัญหาความขัดแย้งทางศาสนา แต่อย่างใด ทั้งนี้ องค์การ OIC หรือ Organization islamic Conference ได้นำเสนอข้อมูลว่า ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนา แต่อย่างใด ตรงกันข้าม OIC ระบุว่ารัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนและทำนุบำรุงศาสนา เป็นอย่างดี
การแก้ปัญหาในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ ผู้สื่อข่าวและผู้จัดรายการจะต้องรู้ปัญหาที่มีอยู่มากมาย เพื่อหาข้อมูลและสาเหตุ ที่จะนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหา ที่ถูกต้อง และตรงกับข้อเท็จจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น
เหตุการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดจากปัญหาที่หลากหลาย และทุกปัญหาล้วนเป็นต้นเหตุ การที่ผู้สื่อข่าวหรือผู้ผลิตรายการ รับรู้ปัญหา จะทำให้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้อย่างตรงจุด และปัญหาที่เกิดขึ้นมีดังนี้คือ


ปัญหาเศรษฐกิจ
ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่พรมแดนติดประเทศมาเลเซีย มีการติดต่อค้าขายมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล โดยมีการค้าขายตามแนวชายแดนทั้งในเรื่องน้ำมัน ที่มาเลเซีย มีราคาถูกกว่าไทย ทำให้มีการลักลอบน้ำมันเข้ามาขายยังฝั่งไทย รวมทั้งสินค้าลักลอบหนีภาษี การอพยพไปใช้แรงงานของคนไทยในมาเลเซีย เพราะโดยภาพรวมเศรษฐกิจของมาเลเซียดีกว่าฝั่งไทย ทำให้ประชากรไทยที่อยู่ตามแนวชายแดนมีความรู้สึกว่า รัฐบาลไทยไม่ให้การดูแล ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เช่น การทำการประมงที่จังหวัดปัตตานี มีโรงงานปลากระป๋อง ผลิตแล้วส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ทำให้คนในท้องถิ่นมีความรู้สึกว่า ไม่ได้ประโยชน์จากทรัพยากร ที่เป็นของท้องถิ่น ซึ่งผู้จัดรายการและผู้สื่อข่าวต้องสะท้อนข้อเท็จจริงของการให้ประโยชน์ของบริษัทที่เข้ามาทำการประมงในพื้นที่ เป็นต้น
ปัญหาความยากจน
ปัญหาความยากจน ในพื้นที่มีสาเหตุมาจาก ประชากรส่วนใหญ่ มีลูกมาก เมื่อมีลูกมากก็ดูแลไม่ทั่วถึง การมีรายได้เข้ามาสู่ครอบครัวก็ไม่พอกิน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำเกษตรกรรม ทำให้มีรายได้น้อย และพื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ถูกทิ้งร้าง เนื่องจากเกิดความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ปัญหาดินเค็ม ปัญหาแหล่งน้ำที่ไม่เพียงพอ กับการทำเกษตรกรรม


ปัญหาการศึกษา

การจัดการศึกษาที่ไม่เป็นเอกภาพ เพราะ มี โรงเรียนตาดีกา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนสามัญ สถานศึกษาปอเนาะ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แต่การเรียนการสอนในโรงเรียนสามัญไม่มีการการสอนภาษามลายู ทำให้การศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามปัญหานี้กำลังได้รับการแก้ไข โดยจัดให้มีการเรียนการสอนด้วยระบบสองภาษา คือภาษาไทยกับภาษามลายูท้องถิ่น


ปัญหาภาษาและการสื่อสาร
ประชากรใน 3 จังหวัดภาคใต้ ส่วนใหญ่ ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ติดต่อสื่อสาร การที่จะสร้างความเข้าใจให้คนในพื้นที่รับทราบข้อมูลข่าวสาร และสื่อให้ถึงประชาชนก็จะต้องใช้ภาษามลายูท้องถิ่นควบคู่กับภาษาไทย จึงจะสามารถสื่อถึงผู้ฟังและผู้ชมเป้าหมายได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในการสื่อสารที่จะใช้ในการสร้างความเข้าใจ
ปัญหาวัฒนธรรม ศาสนา
ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากจะมีภาษาที่แตกต่างแล้ว เรื่องวัฒนธรรมยังมีความแตกต่างกันโดย วัฒนธรรมมีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นกับศาสนาอิสลาม เช่นการแต่งกายของผู้หญิงที่ต้องแต่งชุดฮิญาบ ผู้ชายสวมหมวกกปิเยาะฮ์ ทำให้คนนอกวัฒนธรรม มองถึงความแตกต่าง จนคิดว่า เป็นปัญหาเมื่อช่วงสมัยหนึ่ง ให้ผู้ชายสวมหมวก ในยุคสมัยมาลานำไทย และผู้หญิงห้ามแต่งชุดฮิญาบ ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในพื้นที่ และนำไปสู่กระแสความขัดแย้งของคนในสังคม

บรรณานุกรม
1.อัจฉรา หัสบำเรอ , ศิลปะการพูดทางวิทยุกระจายเสียง เอกสารประกอบการบรรยายของโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ , 2527
2.นภาภรณ์ อัจริยะกุล , นิตยสารทางอากาศ เอกสารประกอบคำบรรยายของโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ , 2527
3.สุรินทร์ แปลงประสบโชค , หลักการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง เอกสารประกอบคำบรรยายของโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ , 2527
4.ธานี แม้นญาติ รายการสารคดี , เอกสารประกอบคำบรรยายของโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ , 2527
5.อชัถยา ชื่นนิรันดร์ , หลักการผลิตรายการวิทยุ , เอกสารประกอบคำบรรยาย สถาบันราชภัฏภูเก็ต , 2540
6.นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์ , กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ , กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ อัลฟ่า พับลิชชิ่ง , 2545 จำนวน หน้า 216
7.พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช , วิ่งไปกับข่าว ก้าวไปกับโลก ,กรุงเทพมหานคร : อินฟอร์มีเดีย บุ๊คส์, 2546
8.สุโขทัยธรรมาธิราช , มหาวิทยาลัย . สาขาวิชานิเทศศาสตร์ . เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุและโทรทัศน์ (Introduction to Radio and Television) ,2537

* * * * * * * * * * *

 


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com