ชีวิตนักข่าว...ประวัติหลวงปู่มั่น
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
2 ธ.ค.52
เมื่อปลายปี 2552 ผมได้เดินทางไปมนัสการหลวงปู่มั่น ที่วัดสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองไทย การไปครั้งนี้เป็นครั้งที่สองของผม หลังจากที่ได้ว่าเว้นไปประมาณ 40 ปี
เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ผมขอถ่ายทอดประวัติ หลวงปู่มั่น ตามที่ได้จดมาจากวัด ดังต่อไปนี้ ครับ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระเป็นอาจารย์ทางวิปัสสนาที่ได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูง ของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศและประเทศใกล้เคียง
ท่านถือกำเนิดในสกุล แก่นแก้ว โดยมีนายคำด้วง เป็นบิดา และนางจันทร์เป็นมารดา ในวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ. 2413 ณ บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ณ วัดบ้านคำบง ต่อมาภายหลังอีก 2 ปี ได้ลาสิกขาบทตามคำร้องขอของบิดา เพื่อให้ไปช่วยงานการที่บ้าน
เมื่ออายุได้ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2436 โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจา พระครูประจักษ์ อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ตลอดเวลาได้ศึกษาพระธรรม และปฏิบัติวิปัสสนาธรรมฐาน โดยอุตสาหะ วิริยะ เผยแผ่พระพุทธธรรม และสั่งสอนอบรมธรรม ปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกา ที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ด้วยความมุ่งมั่นจริงจัง และไม่ละกาล จนเป็นที่เคารพบูชาของเหล่าสานุศิษย์สืบมา
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ มรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2492 ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร แห่งนี้ เจริญชนมายุยืนยาว 80 ปี พรรษา 57 ล่วง
แม้นพระอาจารย์มั่น จะปฏิบัติธุดงกรรมฐาน และอยู่ตามป่าเขาต่าง ๆ แต่ท่านก็มิได้ละเว้น ที่จะศึกษาหนังสือธรรมอื่น ๆ เช่นพุทธศาสนิกชนทั้งหลายศึกษากัน อีกทั้งยังเก็บรักษาเอกสารสำคัญ ไว้ด้วยความเคาระพบูชาที่สูงยิ่ง หนังสือเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นหลักธรรมคำสอนต่าง ๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และบางส่วนเป็นนิทานอิงธรรมะ ซึ่งสำนักพิมพ์ต่าง ๆ พิมพ์ขึ้น
พระอาจารย์มั่น เคยอธิบายให้ สานุศิษย์ฟังเสมอว่า หนังสือใดก็ตาม สามารถจารึกคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทั้งนั้นจึงควรเคาระยำเกรง โวหารธรรมของท่าน อันสานุศิษย์พึงจดจำเป็น เนติแบบอย่างสืบต่อไป ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐได้เท่าตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิด แห่งสมบัติทั้งปวง
99999999999999999999999