www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 28 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3382 คน
49196 คน
1741640 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

บทที่ 10
หน้าที่ผู้สื่อข่าว และจรรยาบรรณผู้สื่อข่าว


หน้าที่ผู้สื่อข่าว คือ ผู้เสาะหาความจริง เพื่อรายงานให้สังคมได้รับรู้
1.ความจำ (Recognition of a Story) อาชีพผู้สื่อข่าว มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา ทำให้ผู้สื่อข่าวต้องมีความจำดี ถ้าขาดความจำอาจก่อให้เกิดความผิดพลาด และอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้

2.ความแม่นยำ (Handling a Story) ผู้สื่อข่าวจะต้องเก็บรายชื่อบุคคลในข่าวทั้งหมด และถูกต้อง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีรายละเอียดอย่างไร และข้อมูลที่จะหาอยู่ที่ไหน

3.สร้างมนุษย์สัมพันธ์ (Pleasing Personality) หน้าที่สำคัญ คือ ความสามารถในการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้พบเห็นและแหล่งข่าว ตลอดจนเพื่อนร่วมอาชีพ

4.การปรับตัวเอง (Adjusting Approach) การทำงานของผู้สื่อข่าวในแต่ละวัยจะต้องมีการพบปะบุคคลแปลกหน้าหลากหลายอาชีพ ตลอดเวลา ผู้สื่อข่าวต้องพร้อมที่จะปรับตัวเข้าบุคคลเหล่านั้น

5.ความรวดเร็ว (Speed) ผู้สื่อข่าวต้องมีความคล่องตัว พร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา แม้นจะดำเนินการอย่างรวดเร็วเพียงใด ผู้สื่อข่าวต้องมีความระมัดระวังรอบคอบเสมอ

6.ความคิดริเริ่ม (Ingenuity) ผู้สื่อข่าวต้องเตรียมข้อมูลหรือแนวทางข่าวให้พร้อมในแต่ละวัน เว้นแต่เป็นเรื่องที่ได้รับมอบหมายเป็นกรณีพิเศษ ผู้สื่อข่าวจะต้องมีความคิดริเริ่มเป็นสำคัญ

7.รู้จักแหล่งข่าว (Knowing News Sources) การรู้จักแหล่งข่าว และมีความสนิทสนม จะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้สื่อข่าวเป็นอย่างดี ผู้สื่อข่าวจะได้รับเบาะแสของข่าวที่ถูกปิดบัง

8.การรักษาคำมั่นสัญญา (Respecting Promise) การรักษาคำมั่นสัญญาเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้สื่อข่าวควรมี เพราะแหล่งข่าวบางคนเมื่อให้ข่าวไปแล้ว ต้องการไม่เปิดเผยชื่อ หรือต้องการ Off Record

9.ต้องเข้าใจพื้นฐานของสังคม ผู้สื่อข่าวต้องเข้าในพื้นฐานปัญหาของสังคม ตลอดจนมีความรอบรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา การเมืองการปกครอง และต้องเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อจะนำไปสู่การพิจารณาประเด็นข่าว

คุณลักษณะพิเศษของผู้สื่อข่าว
1.มีมโนคติ (Imagination) สิ่งที่เกิดขึ้นในตัวผู้สื่อข่าว ทั้งในจิตใจและความคิดมีความเข้าใจในเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นรวมถึงความเคลื่อนไหว การกระทำของบุคคลในข่าวถูกนำมารายงานได้อย่างละเอียดถูกต้อง ทำให้ผู้รับข่าวจากสื่อเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น ต้องระลึกเสมอว่า ข่าวแตกต่างจากนวนิยายตรงที่ว่าข่าวถูกจำกัดด้วยข้อเท็จจริง ผู้สื่อข่าวต้องไม่มีมโนคติอิสระเสรี ในการสร้างจินตนาการณ์ เหมือนนักประพันธ์หรือนิยาย แต่ต้องรายงานข่าวโดยยึดพื้นฐานคติของความจริงสูงสุด

2.มีความสนเท่ห์เป็นนิสัย (Curiousity) ผู้สื่อข่าวต้องมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความยากรู้ยากเห็น น่าสนใจ และต้องตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเวลา เช่น ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น จากการที่ผู้สื่อข่าว มีความสนเทห์อยู่ตลอด ก็จะนำไปสู่การหาคำตอบ ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

3.จมูกต้องได้กลิ่นข่าวอยู่เสมอ (Nose for News ) เป็นลักษณะพิเศษของผู้สื่อข่าวที่จะต้องเป็นผู้มีความไวต่อทุกเรื่องทุกข่าว ซึ่งหมายถึง จมูกไวต่อข่าว Nose for News หรืออีกนัยก็คือ "มองเห็นเรื่องราวที่อยู่ในหิน และมองเห็นข่าว ที่อยู่ในลำธารอันไหลเชี่ยว"

4.คิดอย่างมีเหตุผล (Think Logically) ผู้สื่อข่าวต้องคิดอย่างมีเหตุมีผลด้วยความรวดเร็ว รอบด้าน แยกแยะข้อเท็จจริง

5.มีความรู้กว้างขวาง (Wide Range Of Knowledge) เป็นภารกิจของผู้สื่อข่าวที่ต้องเข้าใจทุกเรื่องที่เกิดขึ้น และสามารถเรียบเรียงเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ในเนื้อหาของข่าวได้ครบถ้วน

จรรยาบรรณผู้สื่อข่าว ว่าด้วยหลัก ความจริง ที่แท้จริง (Objectivity )
ผู้สื่อข่าว ย่อมได้รับความคาดหวังจากผู้รับสาร คือ ผู้อ่านและผู้ฟังทั้วไปว่า ข่าวสารที่รายงานจะครบถ้วน ไม่ลำเอียงไม่ว่าจะเป็นแง่ใดของข่าว และคาดหวังว่าผู้สื่อข่าวจะไม่สอดแทรกทรรศนะส่วนตัว หรือความรักความชังส่วนตัวลงไปในเนื้อข่าวนั้น ๆ โดยผู้สื่อข่าวต้องมีหลักการที่สำคัญคือ ความจริงที่แท้จริง 5 ประการคือ

1.ความไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย (Impartiality) เมื่อผู้สื่อข่าวรายงานข่าวที่เกี่ยวกับข้อพิพาท หรือความขัดแย้งของฝ่ายต่าง ๆไม่ว่าจะพิพาทที่ปรากฎชัด ๆ หรือซ่อนเร้นอำพราง ผู้สื่อข่าวต้องเสาะหาทรรศนะของทุกฝ่ายมานำเสนอ และต้องนำเสนอด้วยความสมดุลอย่างมีเหตุมีผล

2.ปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือความสนใจ (Absence of Conflict of Interest ) การที่ผู้สื่อข่าวมีส่วนพัวพันอยู่กับองค์กรแห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมทำให้ถูกสงสัยว่าผู้สื่อข่าวอาจจะอยู่ในฝ่ายตรงข้าม เช่นผู้สื่อข่าวของกรมประชาสัมพันธ์ ข่าวที่นำเสนอ อาจจะมีผู้ฟังไม่เชื่อถือเพราะเป็นเครื่องมือของรัฐบาล

3.โอกาสของการปฏิเสธ (Opportunity Of Denial) ผู้สื่อข่าว จะทำงานภายใต้เวลาอันจำกัด จึงเป็นโอกาสที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เมื่อเผยแพร่ข่าวที่ไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้ถูกฟ้องร้อง กรณีหมิ่นประมาทได้

4.ความลำเอียงที่มาจากคนใกล้ชิด (Avoidance Of Cronyism) ผู้สื่อข่าว เมื่อทำข่าวนาน ๆ จะมีแหล่งข่าวมาใกล้ชิด เช่น กรณีผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรม ที่ทำงานร่วมกับตำรวจ มักจะได้เบาะแสก่อนผู้สื่อข่าวสายอื่น และความใกล้ชิด ก็จะทำให้มีการสื่อข่าวมีแนวโน้มเอียงไม่เป็นกลาง ซึ่งได้ข้อมูลจากผู้ใกล้ชิด

5.ละเว้นความเคียดแค้น (Avoidance Of Vengeance ) ผู้สื่อข่าวไม่ควรชิงชังเคียดแค้น แหล่งข่าวเป็นการเฉพาะ
ถึงแม้นว่าจะเป็นความรู้สึกของมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ที่มีอารมณ์


* * * * * * * * * * * * * * * * * *


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com