www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 3 คน
 สถิติเมื่อวาน 28 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3381 คน
49195 คน
1741639 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

บทที่ 2
ประเภทภาวะวิกฤต
CRISIS TYPOLOGY


1.ประเภทภาวะวิกฤต CRISIS TYPOLOGY

ประเภทภาวะวิกฤต CRISIS TYPOLOGY แบ่งตามความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางกายภาพ ดังนี้

ความรุนแรง ความรุนแรงทางกายภาพ ไม่รุนแรงในทางกายภาพแหล่งที่มาของเหตุวิกฤต ภัยพิบัติ สิ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง มีการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมายในทันที เกิดความวุ่นวานสับสนและเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันแต่ความเสียหายยังมิได้เกิดขึ้นในทันที

1.เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ *สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.47 ตลอดแนว 6 จังหวัดชายฝั่งตะวันตกของไทย *น้ำท่วม อ.หาดใหญ่ เมื่อ19 ธ.ค.48
และน้ำท่วม อ.สงขลา เมื่อ23 พ.ย.48

2.เกิดขึ้นจากมนุษย์โดยเจตนา

* การก่อการร้าย เผาทำลายอาคารที่ทำการปกครอง
* การระเบิดรถยนต์ในที่ทำการของทางราชการ
* การวางระเบิดที่ใช้รถจักรยานยนต์ ในที่ชุมชน
* การชุมนุมประท้วงที่ สภ.อ.ตากใบ เมื่อ25 ต.ค.47
* การบุกยึดมัสยิดกรือเซะ เมื่อ 28 เม.ย.47
* การระเบิดเสาไฟฟ้าเมื่อ 16 ก.ค.48 ทำให้ไฟฟ้าใน
อ.เมืองยะลา ดับทั้งเมือง
*กรณีคนร้ายจับ 2 นาวิกโยธิน ที่ตันหยงลิมอ 20 ก.ย.48

3.เกิดจากมนุษย์ที่ไม่เจตนา * ไฟไหม้
* รถไฟชนรถบรรทุกนักเรียน เสียชีวิตหลายคน
* การรั่วไหลของสารเคมี
* โรงงานระเบิด * ก๊าซแอมโมเนีย ในโรงน้ำแข็งรั่วไหล


2.สัญญาณเตือนภัย ภาวะวิกฤต
2.1 มีการปล่อยข่าวลือ เช่น มีการปล่อยข่าวว่าทุกวันศุกร์ ให้ทุกคนหยุดทำมาหากิน และให้ไปมัสยิด หรือการปล่อยข่าวว่าการก่อเหต ุทุกครั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นฝีมือของทหาร เป็นต้น

2.2 สื่อมวลชน เผยแพร่ข่าวสาร ที่ไม่มีแหล่งที่มาของข่าว โดยอ้างแหล่งข่าวเปิดเผย เป็นสัญญาณอันตรายอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้รับสารเข้าใจผิดได้ เช่น แหล่งข่าว เปิดเผยว่า ในช่วงก่อนถือศีลอด จะมีเหตุรุนแรง หรือ แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ในวันก่อตั้งขบวนการBersatu ในวันที่ 15 มิ.ย. จะมีเหตุร้าย หรือวันครบรอบวันยึดมัสยิดกรือเซะ 28 เม.ย. จะมีเหตุรุนแรง เหล่านี้เป็นต้น ข่าวเหล่านี้จะเป็นข่าวที่สร้างความแตกตื่น ต่อการรับรู้ข่าวสารของผู้ฟัง เพราะไม่มีการยืนยันที่มาของแหล่งข่าว ซึ่งเป็นสัญญาณนำไปสู่ภาวะวิกฤตได้

3.ระยะภาวะวิกฤต
ระยะที่ 1 SCANNING : จับสัญญาณเตือนและเตรียมรับความเสียหาย
ระยะที่ 2 PRE-IMPACT : เตรียมตัวล่วงหน้ารับภาวะวิกฤต
ระยะที่ 3 IMPACT : ภาวะวิกฤตเกิดขึ้น
ระยะที่ 4 READJUSTMENT : ปรับตัวทำงานสื่อข่าวในภาวะวิกฤต

4.การคาดการณ์ภาวะวิกฤต
การคาดการณ์ ภาวะวิกฤต คือ การบริหารการสื่อสาร ที่ชาญฉลาด โดยการหาคำตอบของ 3 คำถาม สำคัญ คือ
Q1 จะเกิดอะไรขึ้น
Q2 จะเกิดผลเสียหายอะไร
Q3 สิ่งเลวร้ายที่สุดคืออะไร

5.ข้อควรระวังในการสื่อข่าว ภาวะวิกฤต
5.1 หากประเมินว่าข้อมูลข่าวสารที่จะเผยแพร่ จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ไม่ควรนำเสนอ เช่น ข่าวที่มีผลกระทบต่อความเชื่อทางศาสนา ข่าวที่ไม่มีความสมดุลโดยมีการออกข่าวแต่ฝ่ายเดียว เป็นต้น
5.2 กรณีที่มีคนร้ายจับตัวประกัน อย่าเผยแพร่ข่าวสารที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ก่อการร้าย เช่นรูปพรรณสัณฐาน สัญชาติ อาชีพ ตำแหน่งที่อยู่สำคัญของตัวประกัน เพราะจะเป็นการสื่อ ไปถึงคนร้ายที่อยู่ภายนอก และภายใน ทำให้มีการเคลื่อนย้ายตัวประกันหน ีไปจากจุดที่ทางการจะเข้าชิงตัวประกัน
5.3 เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้สื่อข่าวไม่ควรสรุปข่าวในตอนท้ายว่า คาดว่าเกิดจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ถ้ามีแหล่งข่าวที่ชัดเจน ก็สามารถระบุว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากความไม่สงบ ผู้สื่อข่าวจึงจะสามารถสรุปได้ โดยอ้างแหล่งข่าวที่เป็นผู้ให้ข่าว ด้วย
5.4 ก่อนการเผยแพร่ข่าว ควรตรวจสอบเนื้อข่าว อย่างละเอียด ว่ามีผลกระทบกับใครบ้าง ชื่อบุคคลให้ข่าวถูกต้องหรือไม่ รายละเอียดของข่าวถูกต้องหรือไม่

6.การบริหารสื่อในภาวะวิกฤต CRISIS COMMUNICATION MANAGEMENT
การบริหารการสื่อสารในภาวะวิกฤต มีความหมายครอบคลุมเรื่องการบริหารจัดการ ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบริหารภาวะวิกฤต แต่ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่มีผลต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ และความเชื่อถือศรัทธาขององค์กร เนื่องจากเมื่อมีภาวะวิกฤตเกิดขึ้นสถานะของความวิกฤตไม่ได้อยู่ที่ตัวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่อยู่ในความคิดของผู้คนที่คิดว่าเกิดอะไรขึ้น
(For a crisis is not what has happened , it is what people think has happened ) ผู้สื่อข่าวจะต้อง สื่อข่าวที่จะต้องมีข้อเท็จจริงให้มากที่สุด เพื่อนำเสนอความจริงต่อประชาชน ให้รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้น และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางการสามารถระงับเหตุการณ์ได ้แล้วหรือยัง เช่น กรณีที่ กลุ่มก่อการร้ายเข้าโจมตีทหารและทำลายเสาไฟฟ้าแรงสูงที่จังหวัดยะลา ฝ่ายรัฐเข้าควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรายงานข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบ และให้คลายความกังวล

สิ่งเหล่านี้สื่อต้องเข้าไปติดตามอย่างใกล้ชิด กับแหล่งข่าวระดับสูง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ในข่าวสารที่สื่อออกไป โดยการสัมภาษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด โฆษกกองทัพบก โฆษก กอ.สสส.จชต. นายอำเภอ ผู้เห็นเหตุการณ์ที่สามารถเป็นแหล่งข่าวได้ เพื่อให้กลุ่มผู้ฟังเป้าหมายได้เกิดการรับรู้อย่างถูกต้อง ในภาวะวิกฤตที่ว่า Perception is reality เพื่อให้กลุ่มผู้ฟังเป้าหมายได้คลายความกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

 

* * * * * * *


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com