www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 61 คน
 สถิติเมื่อวาน 59 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4170 คน
4170 คน
1749438 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

บทที่ 3
การบริหารประเด็นข่าวภาวะวิกฤต
1.ประเมินสถานการณ์ (SituationEvent)

1.1เมื่อได้รับแจ้งข่าวจาก แหล่งข่าวระดับสูงที่เชื่อถือได้ ว่าเกิดเหตุการณ์รุนแรงและมีความอ่อนไหวต่อความมั่นคง (Hot Issue) โต๊ะข่าว ส่วนข่าวและรายการภูมิภาค สปข.6 เร่งรีบประเมินสถานการณ์ความรุนแรง ที่จะเกิดผลกระทบต่อความมั่นคง โดยเทียบเคียงกรณี ตันหยงลิมอที่ประชาชนไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปในพื้นที่ และมีการทำร้ายเจ้าหน้าที่
1.2 รายงานผลสถานการณ์ และผลการประชุมโต๊ะข่าว ให้ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา ได้รับทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจสั่งการ และรายงานสถานการณ์ ต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้รับทราบการสั่งการ

2.ประชุมทางไกลวางแผนร่วมกัน Teleconference (การปฏิบัติงานก่อน SDU)
2.1 ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา ประชุมทางโทรศัพท์ทางไกล กับ ผ.สวท.ในพื้นที่เกิดเหตุให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ที่จะต้องมีการตัดสินใจ สั่งการร่วมกัน และร่วมวางแผน สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติ โดยการทำงานต้องมีการตัดสินใจที่รวดเร็ว แม่นยำในข้อมูล โดยให้ ส่วนข่าวและรายการภูมิภาค สปข.6 เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการประสาน แหล่งข่าวระดับสูง การสั่งการถ่ายทอด การบริหารประเด็นข่าวและรายการ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต

3.ประสานงาน Coordinate
3.1 ผอ.สปข.6 ประสานกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ เพื่อให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อในสังกัดของ สปข.6 และสื่อวิทยุกระจายเสียงที่สังกัดหน่วยงานอื่นในพื้นที่ โดยการกระทำเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเพื่อให้ข้อมูลถึงกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายอย่างทันท่วงที
3.2 ให้นำเทปบันทึกเสียง ของผู้ว่าราชการจังหวัด นำไปเผยแพร่ในหอกระจายเสียงในพื้นที่
3.3 หัวหน้ากลุ่มข่าว และหัวหน้ากลุ่มรายการ ประสานงานผู้สื่อข่าวและผู้จัดรายการ ของหน่วยงานในสังกัด สปข.6 พื้นที่เกิดเหตุ พื้นที่ของแหล่งข่าวทางทหารระดับสูงคือ กอ.สสส.จชต. เพื่อบริหารประเด็นข่าวและรายการ ที่ผู้สื่อข่าว และผู้จัดรายการได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าว โดยประเด็นข่าวจะตั้งอยู่บนพื้นฐานตามข้อเท็จจริง และต้องบอกความจริงต่อประประชาชนว่า เกิดอะไรขึ้นและทางการจะดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
3.4 หัวหน้ากลุ่มรายการและหัวหน้ากลุ่มข่าว ประสาน แหล่งข่าวระดับสูง ในพื้นที่ เกิดเหตุ และประสาน โฆษก กอ.สสส.จชต.ชี้แจงข้อเท็จจริง ผ่านระบบเครือข่าย ที่ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา ได้วางระบบไว้

4.การเผยแพร่ สื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio Broadcast)
4.1 สถานีวิทยุกระจายเสียง จัดทำข่าว Breaking News โดยบอกข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล และ การเผยแพร่ออกอากาศให้มีความถี่

5.การเผยแพร่ สื่อโทรทัศน์ (Television Broadcast)
5.1 ผู้สื่อข่าว รายงานข่าวด่วน ต้นชั่วโมง และข่าวภาคบังคับ เผยแพร่ทั้งสทท.สงขลา ,สทท.ยะลา ,และ สทท.กรุงเทพ
5.2 สทท.ยะลา นำเทปคำแถลงการณ์ของ แหล่งข่าวมาออกอากาศซ้ำ โดยจัดทำเป็น 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และ ภาษามลายูท้องถิ่น เพื่อให้ข้อมูลเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย ที่ประชาชนในพื้นที่ชนบท ส่วนใหญ่มีการใช้ภาษามลายูท้องถิ่น

6.การเผยแพร่สื่อ IT ( Website http://region6.prd.go.th)
6.1 ผู้สื่อข่าวส่วนข่าวและรายการภูมิภาค , ผู้สื่อข่าวในพื้นที่ ร่วมกันส่งข่าว เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา
6.2 ส่งกระจายเสียงวิทยุ On line ในเว็บไซต์ http://region6.prd.go.thเพื่อให้การกระจายเสียง การประชาสัมพันธ์ กว้างไกลครอบคลุมพื้นที่ และยังมี Link รายการใต้สันติสุข ในหน้าแรกของเว็บไซต์ของ กปส. www.prd.go.th

7.บริหารประเด็นข่าวและรายการ (Management News&Progarm Issue )
7.1 จัดให้มี ข่าวด่วน ในสื่อวิทยุกระจายเสียง(Breaking News) ที่จะสร้างความเข้าใจต่อประชาชน และแจ้งข้อเท็จจริง ซึ่งจะต้องจัดทำให้เป็น 2 ภาษาคือ ภาษาไทยและภาษามลายูท้องถิ่น โดยส่งกระจายเสียงผ่านระบบเครือข่าย สถานีวิทยุกระจายเสียงสวท. 9 สถานี 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ในสังกัด สปข.6 สงขลา และสถานีวิทยุในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ฟังทั้งในและนอกพื้นที่ รับทราบข้อมูล และเข้าใจสถานการณ์ ก่อนที่จะเกิดข่าวลือ และนำไปสู่ความเลวร้าย ของสถานการณ์
7.2 ทุกครั้งที่มี ข่าวด่วน หรือคำแถลงการณ์ สวท.ในพื้นที่เกิดเหตุ จะมีการบันทึกเทปข่าวด่วน เพื่อนำไปให้หอกระจายข่าวในพื้นที่ออกอากาศเพื่อขยายผล
7.3 กรณีที่มีความอ่อนไหวต่อความมั่นคง ให้นำข่าวด่วนและคำแถลงการณ์ออกซ้ำ หลายครั้ง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ที่ไม่มีโอกาสได้ฟังวิทยุ ได้รับทราบข้อมูล เพื่อให้ยุติกระแสความไม่พอใจภาครัฐ
7.4 ประสานงาน ผ.สทท.สงขลา และ ผ.สวท.ในพื้นที่ ส่งทีมข่าว โทรทัศน์ (สทท.11สงขลา) และ ทีมข่าววิทยุกระจายเสียง เข้าพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ชาวบ้านโดยเฉพาะผู้นำหมู่บ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน ให้พูดข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ที่เกิด
7.5 ประสาน หัวหน้าข่าววิทยุ และหัวหน้าข่าวโทรทัศน์ ส่วนกลาง เพื่อประสานการออกอากาศ ตามประเด็นข่าวที่มีการบริหารร่วมกันระหว่าง บก.ข่าว แหล่งข่าว และผู้ประสานงาน (หัวหน้ากลุ่มข่าว และหัวหน้ากลุ่มรายการ)

8.บริหารเครือข่าย (Network Management)
8.1 สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา ได้วางระบบเครือข่ายผ่านระบบ Frame Link ของ กสท. ที่เชื่อมโยงสัญญาณการกระจายเสียง หมุนเวียนกันออกอากาศ เป็นแม่ข่ายได้ทุกสถานี และสามารถที่จะออกอากาศในลักษณะ Hot On air ได้ตลอดเวลาที่ได้รับการประสานจากส่วนข่าวและรายการภูมิภาค สปข.6
8.2 การบริหารเครือข่าย มีการกำหนด วัน ที่ชัดเจนว่า สถานีใดจะเป็นแม่ข่าย และสถานีใดจะดึงสัญญาณจากสถานีไหน เพื่อไม่ให้ระบบเครือข่ายล่ม เพราะหากมีการดึงสัญญาณไม่เป็นไปตามระบบก็จะทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติงานได้

9.การปฏิบัติงานในภาวะวิกฤต (Performance Crisis)
9.1 ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ เปิดมือถือ ให้สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา ทุกคนตื่นตัว (On The Alert) พร้อมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นทุกรูปแบบ และติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เพื่อบริหารประเด็นร่วมกัน

* * * * * * * * * * * * * * * *


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com