บทที่ 4 การเตรียมพร้อมสื่อข่าวในภาวะวิกฤต เตรียมพร้อมด้านจิตใจ
เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในแต่ละวัน เป็นการบั่นทอนจิตใจผู้สื่อข่าวที่อยู่ในพื้นที่ และนอกพื้นที่ ทำให้เกิดความหวั่นไหว หวาดกลัวต่อสถานการณ์ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อผู้สื่อข่าว ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ หน่วยงานจะต้องสร้างขวัญและกำลังใจโดยการทำประกันชีวิตให้กับผู้สื่อข่าวที่ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ การให้รางวัลแก่ผู้สื่อข่าว การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าว การประเมินผลงานผู้สื่อข่าว การวัดผลงานผู้สื่อข่าวการให้ความดีความชอบ การให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและไม่แตกต่างจากหน่วยงานอื่น หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง จึงจะทำให้ผู้สื่อข่าวที่ลงพื้นที่ เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน ผู้สื่อข่าว ที่ลงพื้นที่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจที่จะปฏิบัติงานด้วยความกล้าหาญและเสียสละ กำหนดกรอบและทิศทางในการทำงานที่สร้างสรรค์
เตรียมอุปกรณ์ ผู้สื่อข่าววิทยุจะต้องเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ทำข่าวให้พร้อมที่จะทำงาน เช่น เทปบันทึกเสียง ม้วนเทป แบตเตอร์รี่ ไมโครโฟน กล้องดิจิตอล โทรศัพท์มือถือ สมุดจดข้อมูลที่กะทัดรัดเหมาะมือ และปากกา เป็นต้นผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ ก็ต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ที่มีความพร้อมที่จะใช้งาน เช่น กล้องบันทึกโทรทัศน์ ม้วนเทปบันทึกภาพ แบตเตอร์รี่ ไมโครโฟน คอมพิวเตอร์ สมุดจดข้อมูล ปากกา เป็นต้น
เตรียมประเด็นข่าว ผู้สื่อข่าว ต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ข่าวเหตุการณ์ เพื่อประเมินสถานการณ์ นำไปสู่การบริหารประเด็นข่าวที่จะติดตามสื่อข่าว เพื่อให้สอดคล้องต่อยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคง
เตรียมหาแหล่งข่าว ผู้สื่อข่าว ต้องเตรียมหาแหล่งข่าวที่จะให้ข่าว เช่น แหล่งข่าวทางทหาร ตำรวจ ปกครอง คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ผู้ได้รับผลกระทบ เป็นต้น ข้อมูลของแหล่งข่าว จะได้มาจาก ความสัมพันธ์ส่วนตัว ข้อมูลจากสมุดโทรศัพท์ที่เกี่ยวกับหน่วยงานนั้น ๆ การได้รับเชิญจากแหล่งข่าว และการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข่าวที่อยู่ข้างเคียง
เตรียมการลงพื้นที่ ผู้สื่อข่าว ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการพักค้างแรม เตรียมเงินเพื่อเป็นการค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง ค่าที่พัก ค่าน้ำมัน
* * * * * * * * * * * * * * |