www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 5 คน
 สถิติเมื่อวาน 28 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3383 คน
49197 คน
1741641 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

บทที่ 5
การสื่อข่าวในภาวะวิกฤต


พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก และ รองผอ.ศปชส.กอ.สสส.จชต. ได้บรรยายให้ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ ยะลา ตรัง ณสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ได้รับฟังถึงแนวทางการ สื่อข่าว ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (6 มี.ค.49) การทำงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องใช้การประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือและศรัทธา โดยผู้บริหารระดับสูงของกองทัพ เริ่มสร้างภาพลักษณ์ด้วยการประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยงานการทหารจะนำมาใช้เพียง 1 % และจะนำงานด้านมวลชนและการประชาสัมพันธ์มาใช้ 99 %

กองทัพจะนำเทคนิคงานด้านมวลชน 3 แนวทางคือ
1.ทำให้ประชาชาชน ชอบ เช่นให้ทหารลงพื้นที่เพื่อสร้างงานมวลชน แก้ไขปัญหาความแร้นแค้น ความลำบาก และยากจน
2.ทำให้ประชาชน เชื่อ เช่น เรื่องสุขภาพอนามัย นำแพทย์ทหารเข้าไปตรวจรักษาประชาชนในพื้นที่ การเข้าไปเพื่อให้การศึกษา
3.ทำให้ประชาชน ช่วย เช่น ทำให้ประชาชนมีความรักสามัคคี โดยการมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส และร่วมกันรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

ด้านสื่อมวลชน ต้องมองว่า สื่อของเราจะต้องให้ข่าวสารที่มีความแตกต่างจากสื่ออื่น แต่ต้องมีคุณค่า สื่อต้องไม่สื่อให้คนหนึ่งได้ประโยชน์แล้วคนอื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งจะต้องมองรอบด้าน สื่อต้องออกข่าวสารที่จะต้องถนอมน้ำใจผู้ฟังหรือผู้ที่ได้รับฟังข้อมูลข่าวสาร ผู้สื่อข่าว จะต้องสื่อข่าวที่ไม่สร้างความหวาดกลัว โดยบางถ้อยคำ เป็นคำที่สะเทือนขวัญ เช่น ฆ่าโหด บึ้มยะลา ฆ่าตัดคอ ควรเลี่ยงไปใช้คำอื่น เช่น ฆ่าตัดคอ เขียนใหม่คือ ทำทารุณศพโดยการตัดคอ เป็นต้น

ประเด็นข่าว
การคิดประเด็นข่าวของผู้สื่อข่าวจะต้องมั่นหาข้อมูลสร้างเสริมประสบการณ์มีแนวความคิดที่จะต้องฉีกประเด็น ซึ่งจะทำให้มีประเด็นใหม่ ๆเกิดขึ้น โดยธรรมชาติของกลุ่มก่อการร้าย กลัวการเปิดเผย สภาพการทำงาน ทางสื่อสารมวลชน และพฤติกรรมการบริโภคสื่อของประชาชนเริ่มเอือมระอากับข่าวร้าย แต่อยากจะดูหรือฟังข่าวที่สร้างสรรค์ หรือข่าวที่ออกมาในแนวทางสมานฉันท์ ข่าวสาร เป็นผู้ที่มีอิทธิพลอย่างแท้จริง สามารถที่จะเขียนให้ใครเป็นคนดีหรือคนเลวได้ หรือข่าวสารอาจจะทำให้หลุดจากตำแหน่งได้เช่นกันผู้สื่อข่าว จะต้องรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม และวิถีชีวิต สื่อจึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ และสื่อจะต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน


* * * * * * * * * * * * * *

นางสาวนาถยา แวววีรคุปต์ หัวหน้าทีมรายงานพิเศษ สทท.11 กทม. ได้บรรยายให้ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ ยะลา ตรัง ณ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ได้รับฟังถึงแนวทางการ ทำรายงานพิเศษ เพื่อความสมานฉันท์ ตอนดอกไม้หลายสี ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (6 มี.ค.49)

วิธีการทำรายงานพิเศษ
1.ผู้สื่อข่าวจะต้องหาข้อมูลข่าว ที่เกิดขึ้นในพื้นที่
2.ผู้สื่อข่าวต้องมีความมั่นใจ ในข้อมูล และต้องมีความกล้าหาญในการลงพื้นที่
3.การมองภาพของการทำรายงานพิเศษ จะต้องมองภาพทั้งหมด มีการกำหนดแนวทางหรือทิศทางของสารคดี
4.วิธีการนำเสนอจะต้องนำเสนออย่างละมุนละม่อม โดยการนำเสนอที่มีความหลายหลาย มีการเล่าเรื่องผ่านตัวละคร ก่อให้เกิดประโยชน ์
เข้าใจง่าย มีตัวอย่างในชีวิตจริงและเป็นข่าวได้ ซึ่งจะทำให้การรายงานพิเศษมีความง่าย

กลวิธีการนำเสนอ
1.นำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา หมายถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงจะต้องนำเสนอตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่บิดเบือนหรือลำเอียงตามกระแส เพราะการลำเอียงของข้อมูลจะทำให้ผู้รับสารไม่เชื่อถือในข้อมูล ที่ถูกนำเสนอ
2.การนำเสนอจะต้องเป็นรูปแบบละครชีวิต (DRAMA) โดยใช้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์จริงเป็นผู้เดินเรื่อง โดยการใช้บทที่เป็นไปตามข้อเท็จจริง
3.ส่วนประกอบในรายงานพิเศษ ต้องได้รับการปรุงแต่งให้เกิดสีสัน แต่ให้อยู่ในข้อเท็จจริงของเนื้อหา

ประเด็น
1.มีการจัดแบ่งประเด็นออกเป็นหมวดหมู่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เป็นการหลงประเด็น
2.ประเด็นจะต้องไม่มีความยืดเยื้อ กระชับ ชัดเจน
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจความเป็นอยู่การทำมาหากินของชาวบ้านในพื้นที่
4.ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต
5.การศึกษา ที่มีเรื่อง ความแตกต่างด้านภาษา ศาสนา
6.ประเด็นความแตกต่างด้านศาสนา

การเขียนบท
1.กระชับ รัดกุม ไม่เยิ่นเย้อ
2.ไม่พรรณนา แต่จะเน้นการใช้ภาพเป็นสื่อ
3.เล่าเรื่องด้วยภาพ เพราะภาพสามารถที่จะสื่อความหมายโดยไม่ต้องบรรยาย
4.เสริมข้อมูลด้วยภาษาแทน

การเตรียมตัวลงพื้นที่
1.ต้องคิดและวางแผนเพื่อเตรียมข้อมูล จัดหาแหล่งข่าว สถานที่ที่จะลงไปทำรายงานพิเศษ
2.ต้องทำงานเป็นทีม ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจะต้องทำงานร่วมกันได้ ไม่มีความขัดแย้งกัน เพราะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เพียงแต่ผู้สื่อข่าวจะต้องเป็นผู้กำหนดมุมภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับบทที่จะเขียน
3.การเขียนบท จะต้องไม่ซ้ำเติมสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น
4.ภาษาที่ใช้เขียนบท จะต้องมีความงดงามของภาษา เช่น คำว่า ความสัมพันธ์ที่แนบแน่น , บาดแผลที่ทิ้งรอยไว้ , สานสัมพันธ์อย่างยั่งยืน

การอ่านบทรายงานพิเศษ
1.จะต้องอ่านชัดถ้อยชัดคำ
2.ออกเสียง ร , ล ให้ชัด คำควบกล้ำ
3.การอ่านต้องมีลีลา ไม่อ่านแบบเสียงเรียบเฉย แต่ก็ไม่อ่อนหวาน เกินความจำเป็น

การเลือกเพลงไตเติ้ล
1.ต้องเป็นเพลงบรรเลง
2.เพลงบรรเลงจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหาของรายงานพิเศษ เช่น เรื่องเกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพลงบรรเลงจะต้องเป็นแนวเพลง รองแง็ง เพลงมลายู
3.เพลงไตเติ้ล จะต้องสั้นกะทัดรัด และจังหวะของเพลงช่วงที่จะต่อกับเนื้อข่าว ลงจังหวะพอดี

การเลือกภาพทำไตเติ้ล
1.ภาพจะต้องมีความสอดคล้อง กับเนื้อหาที่นำเสนอ เช่นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาพไตเติ้ล จะต้องมี ภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา
2.ภาพจะต้องสื่อให้เห็นถึงเนื้อหา ที่จะนำเสนอ


* * * * * * * * * * * * * *


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com