www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 60 คน
 สถิติเมื่อวาน 59 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4169 คน
4169 คน
1749437 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

บทที่ 7
ยุทธศาสตร์การผลิตข่าวและรายการ



การเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา บางส่วน มีต้นตอของปัญหาหลายอย่างที่เป็นสาเหตุของความไม่สงบ คือ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจน ปัญหาการศึกษา ปัญหาภาษาและการสื่อสารปัญหาวัฒนธรรม ปัญหาวิถีชีวิต ปัญหาสังคม ปัญหาการแบ่งแยกดินแดน ปัญหาการไม่ยอมรับ จากปัญหาที่มีอยู่อย่างมากมาย แต่ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับไม่มีปัญหาความขัดแย้งทางศาสนา แต่อย่างใด ทั้งนี้ องค์การ OIC หรือ Organization islamic Conference ได้นำเสนอข้อมูลว่า ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนา แต่อย่างใด ตรงกันข้าม OIC ระบุว่ารัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนและทำนุบำรุงศาสนา เป็นอย่างดี การแก้ปัญหาในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ ผู้สื่อข่าวและผู้จัดรายการจะต้องรู้ปัญหาที่มีอยู่มากมาย เพื่อหาข้อมูลและสาเหตุ ที่จะนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหา ที่ถูกต้อง และตรงกับข้อเท็จจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น

ปัญหาเศรษฐกิจ
ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีพรมแดนติดประเทศมาเลเซีย มีการติดต่อค้าขายมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล โดยมีการค้าขายตามแนวชายแดนทั้งในเรื่องน้ำมัน ที่มาเลเซีย มีราคาถูกกว่าไทย ทำให้มีการลักลอบน้ำมันเข้ามาขายยังฝั่งไทย รวมทั้งสินค้าลักลอบหนีภาษี การอพยพไปใช้แรงงานของคนไทยในมาเลเซีย เพราะโดยภาพรวมเศรษฐกิจของมาเลเซียดีกว่าฝั่งไทย ทำให้ประชากรไทยที่อยู่ตามแนวชายแดนมีความรู้สึกว่า รัฐบาลไทยไม่ให้การดูแล ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เช่น การทำประมงที่จังหวัดปัตตานี มีโรงงานปลากระป๋อง ผลิตแล้วส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ทำให้คนในท้องถิ่นมีความรู้สึกว่าไม่ได้ประโยชน์จากทรัพยากร ที่เป็นของท้องถิ่น ซึ่งผู้จัดรายการและผู้สื่อข่าวต้องสะท้อนข้อเท็จจริงของการให้ประโยชน์ของบริษัทที่เข้ามาทำการประมงในพื้นที่ เป็นต้น

ปัญหาความยากจน
ปัญหาความยากจน ในพื้นที่มีสาเหตุมาจาก ประชากรส่วนใหญ่ มีลูกมาก เมื่อมีลูกมากก็ดูแลไม่ทั่วถึง การมีรายได้เข้ามาสู่ครอบครัวก็ไม่พอกิน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำเกษตรกรรม ทำให้มีรายได้น้อย และพื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ถูกทิ้งร้างเนื่องจากเกิดความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ปัญหาดินเค็ม ปัญหาแหล่งน้ำที่ไม่เพียงพอ กับการทำเกษตรกรรม

ปัญหาการศึกษา
การจัดการศึกษาที่ไม่เป็นเอกภาพ เพราะ มี โรงเรียนตาดีกา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนสามัญ สถานศึกษาปอเนาะ ซึ่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แต่การเรียนการสอนในโรงเรียนสามัญไม่มีการการสอนภาษามลายูท้องถิ่น ทำให้การศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามปัญหานี้กำลังได้รับการแก้ไข โดยจัดให้มีการเรียนการสอนด้วยระบบสองภาษา คือภาษาไทยกับภาษามลายูท้องถิ่น

ปัญหาภาษาและการสื่อสาร
ประชากรใน 3 จังหวัดภาคใต้ ส่วนใหญ่ ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ติดต่อสื่อสาร การที่จะสร้างความเข้าใจให้คนในพื้นที่รับทราบข้อมูลข่าวสาร และสื่อให้ถึงประชาชนก็จะต้องใช้ภาษามลายูท้องถิ่นควบคู่กับภาษาไทย จึงจะสามารถสื่อถึงผู้ฟังและผู้ชมเป้าหมายได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในการสื่อสารที่จะใช้ในการสร้างความเข้าใจ

ปัญหาวัฒนธรรม
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์กับศาสนา อย่างเหนียวแน่น ทำให้คนนอกพื้นที่ไม่เข้าใจในวัฒนธรรมและศาสนา เช่นการละหมาด วันละ 5 ครั้ง การห้ามนำสุนัขเข้าไปในหมู่บ้านชาวมุสลิม การคลุมผมที่ใช้ผ้าฮิญาญ การจับต้องคัมภีร์อัลกุรอ่าน ที่ต้องให้ความเคารพ


ปัญหาวิถีชีวิต

วิถีชีวิตของประชากรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะอยู่อย่างเรียบง่าย คือ การเลี้ยงนกเขา การดื่มน้ำชา ทำให้มีการมองว่าคนในพื้นที่ไม่ยอมทำมาหากิน เอาแต่ละหมาด เลี้ยงนกเขา เข้าร้านน้ำชา แต่วัฒนธรรมเหล่านี้เป็นวิถีชีวิต ที่ผู้คนในภาคใต้ได้ปฏิบัติมาอย่างยาวนาน

ปัญหาสังคม
จากการที่ ประชากรส่วนใหญ่มีลูกมาก ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่สามารถ ดูแลลูกหลานได้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดปัญหาสังคม โดยยาเสพติดได้มีการแทรกตัวเข้ามากับปัญหาการขาดความอบอุ่นของครอบครัว เยาวชนจึงถูกชักนำได้ง่าย

ปัญหาการแบ่งแยกดินแดน
จากการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ให้มีการจัดตั้งรูปแบบการปกครองเป็นมณฑล ส่งผลให้เจ้าเมืองในพื้นที่ ปัตตานี ยะหริ่ง หนองจิก สายบุรี ยะหา ระแงะ ยะลา ไม่พอใจที่ถูกลดทอนความสำคัญ และทำให้หมดอำนาจที่จะปกครองเมืองเหมือนดั่งแต่ก่อน ลูกหลานจึงมีการปลุกระดม ให้คนในพื้นที่ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล เพื่อปกครองตนเอง เกิดปัญหาความไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการลอบยิงทหาร ตำรวจ ครู อส. ชรบ การลอบเผาโรงเรียน โดยคณะผู้ก่อการได้มีการจัดขบวนการก่อการร้ายที่เป็นระบบ มีรูปแบบในการต่อสู้กับรัฐบาล อย่างชัดเจน

ปัญหาการไม่ยอมรับ
ปัญหาการไม่ยอมรับเป็นปัญหาของความไม่เข้าใจในวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ภาษาสื่อสาร ศาสนา เป็นปัญหาที่จับต้องไม่ได้ เพราะเมื่อไม่เข้าใจ จะนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ดีนำไปสู่ความรุนแรง ถึงขั้นห้ำหั่น ไล่ฆ่าฟัน กัน

ความแตกต่าง
-3 จังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม
-คนท้องถิ่นพูดภาษามลายูท้องถิ่น เป็นภาษาที่สื่อกันเข้าใจกับชาวมาเลเซีย
-ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ประเพณี
-วิถีชีวิต ยึดเหนี่ยวโดยศาสนา ที่มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่น

แนวทางการแก้ไขปัญหาการไม่ยอมรับ
-นำเอาความแตกต่างที่น่าสนใจมาเผยแพร่ ผ่านสื่อ
-ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ชี้รายละเอียด
-เผยแพร่วิถีของชาวไทยมุสลิม
-การเผยแพร่ จะต้องผ่านสื่อเพื่อกระจายไปทั่วประเทศ
-ดำเนินการประชาสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่อง

รูปแบบการนำเสนอข่าวและรายการ
-นำเสนอนาฏดนตรี ดีเกฮูลู เพลงมลายูท้องถิ่น
-นำเสนอเพลงพื้นบ้าน
-นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา ที่เป็นข้อสงสัย โดยผู้ที่เป็นปราชญ์หรือ อุรูมา
-นำเสนอภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
-นำเสนอบุคคลสำคัญ ที่ทำคุณประโยชน์
-นำเสนอแนวความคิดของเยาวชนที่กลับใจ มาเผยแพร่ ผ่านสื่อ และการสัมมนา
-นำเสนอผลการดำเนินงานของราชการที่เข้าไปช่วยเหลือ
-นำเสนอรายงานข่าว กิจกรรม ที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์
-การนำเสนอที่ไม่ก่อให้เกิดการรับรู้ (Perception) ที่ขัดแย้ง

สื่อวิทยุ และโทรทัศน์
-ผลิตรายการ รูปแบบ สนทนา เปิดสาย (Phone In ) ให้มีการแสดงความคิดเห็น
-รูปแบบรายการ สัมภาษณ์บุคคลสำคัญ
-มีสาระสำคัญที่เป็นความแตกต่าง ใน 3 จังหวัดชายแดน
-ความสำเร็จ อยู่ที่ความยอมรับบนพื้นฐานของความแตกต่าง
-การผลิตข่าวและรายการ จะต้องกระทำด้วยความจริงใจ นำเสนอข้อเท็จจริง ต่อกลุ่มผู้ฟัง ข้อมูลต้องชัดเจน ไม่มีการชี้นำ หรือมีการถามนำ
-ไม่ตอกย้ำ ซ้ำเติมสถานการณ์ ให้เลวลง
-ผู้ผลิตข่าวและรายการ จะต้องรับฟังข้อมูล ด้วยความตั้งใจและต้องพยายามเข้าใจ วิถีชีวิต จากนั้นให้นำเสนอด้วยความเข้าใจว่าวิถีชีวิต ที่เป็นมุสลิม ได้ปฏิบัติตามหลักศาสนา ที่ได้กำหนดไว้
-ผลที่จะได้รับ จะเกิดการยอมรับบนความแตกต่าง

* * * * * * * *


 


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com