www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 28 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3382 คน
49196 คน
1741640 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

บทที่ 9
การวิเคราะห์ข่าวในภาวะวิกฤต


การวิเคราะห์ข่าว News Analysis
การวิเคราะห์ข่าว News Analysis คือ นำข้อเท็จจริงจากข้อมูลของข่าวมาสรุปหาใจความสำคัญ เพื่อนำไปสู่การแก้ไข โดยการนำเสนอ หรือการใช้ความคิดใคร่ครวญโดยแยกแยะเป็นส่วน ๆ การวิเคราะห์ (Analysis) ยังเป็นการแยกแยะเนื้อหาของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่มีลักษณะซับซ้อนให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นในช่วงระยะเวลาอันสั้น ชี้ให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดปัญหา ผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือ
1.การนำข่าวสารที่สำคัญมาแยกแยะ
2.ให้ความกระจ่าง เผยถึงเงื่อนงำ หรือความสลับซับซ้อน
3. ให้ได้ทราบถึงรายละเอียดมากยิ่งขึ้น
4.พิจารณาด้วยเหตุผลในทุกด้าน ทั้งด้านดีและด้านเสีย โดยมิใช่ความเห็นส่วนตัวของผู้วิเคราะห์
5.ประเมินผล และสรุปถึงแนวโน้มในอนาคต

การฝึก วิเคราะห์ข่าว
วิธีการฝึกฝน การวิเคราะห์ข่าว อาจทำได้ดังนี้คือ
1.อ่านบทบรรณาธิการ หรือบทความในหนังสือพิมพ์หรือในวารสาร แล้วแยกข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นออกจากกัน
2.เปรียบเทียบข่าว จากหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับ โดยตัดข่าวเรื่องเดียวกันออกจากหนังสือพิมพ์ประมาณ ๒-๓ ฉบับ จับใจความสำคัญหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น วิเคราะห์การเสนอข่าวของแต่ละฉบับว่าแตกต่างกันอย่างไร ทั้งหัวข่าว เนื้อหา ตลอดจนภาษาที่ใช้ บางครั้งจะพบว่าชื่อของบุคคล อายุ ยศ ตลอดจนสถานที่เกิดเหตุอาจแตกต่างกันออกไป ทำให้ทราบว่าเวลาอ่านข่าวนั้นไม่ควรเชื่อถืออะไรง่ายๆ
3.วิเคราะห์การพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ โดยนำหนังสือพิมพ์คุณภาพกับหนังสือพิมพ์เน้นการขายข่าวมาเปรียบเทียบกันและวิจารณ์การพาดหัวข่าวนั้นๆ
4.วิเคราะห์การใช้สำนวนภาษาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ว่าฉบับใดใช้สำนวนภาษาถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอย่างไร
5.รวบรวมคำที่มักจะสะกดผิด ใช้คำผิด และรูปประโยคผิดจากหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการใช้คำไม่สุภาพ ตลอดจนการใช้คำที่ชักจูง ไปในทางที่ผิดศีลธรรมและกระทบกระเทือนต่อระบบคุณธรรมของส่วนรวม
6.ตัดข่าวจากหนังสือพิมพ์แล้ววิเคราะห์การเสนอข่าวนั้น ว่าเป็นการเสนอข้อเท็จจริง ล้วนๆ หรือใส่ความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ของผู้เขียนเอง
7.หาบทความหรือบทวิเคราะห์ข่าวที่มีผู้ทำขึ้น รวมทั้งการวิเคราะห์ข่าวจากวิทยุหรือโทรทัศน์มาพิจารณา เช่น การวิเคราะห์ข่าวการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ นำมาเป็นแนวในการฝึกวิเคราะห์ของตนเอง

การเลือกเรื่องในการวิเคราะห์ข่าว
1.เรื่องที่มีผลกระทบต่อคนหมู่มาก เช่นเรื่องความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.เรื่องที่มีความใหม่ หรือมีความสดอยู่
3.เรื่องที่มีปัญหาข้อขัดแย้งอยู่ และยังไม่มีการชี้ชัดไปในทางใดทางหนึ่ง หรือเรื่องที่ยังมีความเครือบคลุม ไม่กระจ่างเช่น ใครเป็นผู้ก่อเหตุการณ์ความไม่สงบ

หลักการวิเคราะห์ข่าว
1.ต้องเขียนหรือบรรยาย ถึงที่มาของเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดข่าวนั้น ๆ โดยให้มีความเข้าใจ ปะติดปะต่อไม่วกวน และมีการลำดับเหตุการณ์
2.ชี้ให้เห็นถึงเงื่อนงำ ความสลับซับซ้อนหรือเบื้องหน้าเบื้องหลังให้กระจ่างชัด
3.ชี้ข้อเปรียบเทียบจากเหตุการณ์เกิดขึ้นมีผลอย่างไร ผลเสียอย่างไร ผลที่เกิดกระทบต่อบุคคลต่อส่วนรวมแค่ไหน เพียงใด
4.มีการคาดหมายถึงแนวโน้มในอนาคต ในแนวทางที่ถูกต้อง

รูปแบบบทวิเคราะห์
1.คำนำ หรือ อารัมภบท
2.มูลเหตุที่มาของข่าวสาร
3.การขยายตัวของเหตุการณ์
4.ความสลับซับซ้อนเบื้องหน้าเบื้องหลัง
5.ผลจากเหตุ ชี้ข้อดี ข้อเสีย โดยอ้างอิงประกอบ
6.คาดหมายแนวโน้มในอนาคต หรือ ทิศทางข้างหน้า

หลักการสำคัญ การเขียนวิเคราะห์ข่าว
1.มีความเที่ยงตรง ความยุติธรรมและรักษาข้อเท็จจริง ใช้ภาษาที่กระทัดรัด อ่านเข้าใจ
2.ดำเนินเรื่องราวตรงไปตรงมา ใช้สำนวนข้อความที่ง่าย
3.ให้สีสรร ของเรื่องพอสมควร

วัตถุดิบ การวิเคราะห์ข่าว
1.ข้อมูล ประวัติ สถิติ สะสมรวบรวมเก็บไว้เป็นหมวดหมู่
2.มีข่าวสารจากแหล่งอื่น ๆ ทั้งข่าวเปิดเผยและข่าวซ่อนเร้น
3.เป็นผู้อ่านอยู่เสมอ จากสิ่งพิมพ์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เอกสารต่าง ๆ บทนำ บทบรรณาธิการ บทความที่สำคัญ ทั้งไทยและต่างประเทศ
4.ควรสนใจ รายการวิทยุ โทรทัศน์ การอภิปราย การสัมมนา การบรรยาย การโต้วาที
5.มีสังคมที่ดี โดยเฉพาะกลุ่มที่เราต้องการวัตถุดิบเพื่อการเขียน
6.ศึกษาประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ในอดีต

ประโยชน์การวิเคาะห์ข่าว
1.ช่วยให้ผู้รับสาร มีความรู้ที่ถูกต้อง ฉลาดขึ้น มีคุณภาพ
2.ผู้เขียนได้รับประโยชน์จากการค้นคว้าหาข้อมูลที่นำมาเขียน
3.ช่วยระงับข่าวลือ
4.ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างสื่อมวลชน ทำให้มีการเปรียบเทียบ ว่าสื่อมวลชนใดมีมาตรฐานดีกว่ากัน

คุณสมบัติ ผู้ทำงานการวิเคราะห์ข่าว
ผู้สามารถทำงาน วิเคราะห์ข่าวสารได้ คือผู้ที่ทำงานด้านประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน
เป็นผู้ที่สามารถทำได้ทั้งสิ้น แต่ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 ร.ดังนี้
1.รับผิดชอบ ต่อตนเองในวิชาชีพและต่อสังคม
2.ริเริ่มอยู่เสมอ ฟังแล้วอ่านแล้วคิดใคร่ครวญ โต้แย้ง ไม่เชื่อง่าย เป็นการลับสองทางปัญญา
3.รวดเร็ว ในการทำงาน ไม่เฉื่อยชา
4.รู้รอบตัว อ่านมาก เก็บมาก รอบรู้มาก ช่างซักถาม สนใจ ชอบสัมมนา
5.รู้จักเรียบเรียง

การวิจารณ์ข่าว News Critic
การวิจารณ์ หมายถึงการใช้ความคิดใคร่ครวญและติชม

การวิจารณ์ข่าว News Critic คือ
1.การนำข่าวสารที่สำคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มาชี้แนะ
2.เป็นการแสดงความเห็น ส่วนตัวของผู้วิจารณ์
3.เป็นการโน้มน้าวในลักษณะ ที่ทำให้เกิดความเห็นในด้านคล้อยตาม หรือในด้านความขัดแย้ง มุ่งเสนอเพื่อการจูง
ใจโดยเล็งผลเลิศเพียงด้านเดียวเท่านั้น

การฝึกวิจารณ์ข่าว
การฝึกวิพากษ์วิจารณ์นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง การฝึกวิจารณ์ข่าวอาจทำได้ดังนี้
1.จับกลุ่มกับเพื่อนๆ 2-3 คน วิพากษ์วิจารณ์การพาดหัวข่าว การเสนอหัวข่าวย่อย วิธีการเสนอข่าว ตลอดจนการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ
2.อภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion) หรืออภิปรายแบบ ปาฐกถาหมู่ (Symposium) เกี่ยวกับการสร้างเสริมหรือการทำลายคุณธรรมในสังคม ที่อาจเกิดขึ้นจากการพาดหัวข่าว และการเสนอภาพในหนังสือพิมพ์
3.วิจารณ์ภาพที่ใช้โฆษณาในหนังสือพิมพ์
4.วิจารณ์การเสนอข่าวต่างๆ เช่น การเสนอข่าวอาชญากรรม การเมือง สังคม ธุรกิจ ข่าวกีฬา บทความ บทบันเทิง มีสัดส่วนกันอย่างไร

* * * * * * * * * * * * * *


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com