www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 5 คน
 สถิติเมื่อวาน 28 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3383 คน
49197 คน
1741641 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

ประวัติศาสตร์วิกฤตเศรษฐกิจ
#The Great Depressio
18 Apirl 2020 By Nrong.net

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1918 ได้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยเเละได้กลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ธุรกิจต่างๆ เติบโตอย่างรวดเร็ว มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอเมริกาก็ดีขึ้นเรื่อยๆ

แม้สภาพเศรษฐกิจจะกำลังเฟื่องฟูแต่ สหรัฐอเมริกาก็มีปัญหาในประเทศแอบแฝงอยู่ นั่นคือการที่สหรัฐลดจำนวนกำลังพลในกองทัพของตนที่มีอยู่สี่ล้านคนลง ทำให้มีอดีตทหารหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดแรงงานในประเทศเป็นจำนวนมาก

ในช่วงเวลานั้น..เป็นช่วงเวลาที่การซื้อสินค้าแบบใหม่..เริ่มจะได้รับความนิยมนั่นคือ..การซื้อของเป็นเครดิต..หรือซื้อของเงินผ่อน..จึงเป็นยุคของ “ซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลัง (Buy now, pay later)

แต่ดูเหมือนว่า..การซื้อของเงินผ่อน..จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่สินค้า..ในชีวิตประจำวันเท่านั้น..ครับ ผู้คนยังซื้อหุ้นด้วยเงินกู้..และการบูมของตลาดหุ้นในยุคนั่น..คือจุดเริ่มต้นของ..หนึ่งในวิกฤตเศรรษฐกิจ..ครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา

การซื้อหุ้นด้วยมาร์จิ้นในปี 1929 นั้นสามารถทำได้โดยการวาง Margin 10%..นั่นคือ..วาง 1 แสน..แต่เทรดได้ 1 ล้าน..เเละในระหว่าง..เดือนเมษายน ถึงกันยายน 1929 ดัชนีดาวโจนส์ ได้พุ่งขึ้นจาก 300 จุด..ไปจนเกือบถึง 400 จุด..หรือเพิ่มขึ้น 25 % ในช่วงเวลาเพียง 6 เดือน

24 ตุลาคม ค.ศ.1929 หรือ “Black Thursday” เป็นวันที่ราคาหุ้นเริ่มตกลงอย่างรุนแรง..โดยราคาเปิดร่วงลงทันที 4.6 %..เเละร่วงลงต่ำสุด..ถึง 11 % ในระหว่างวัน

แต่วิกฤตินี้ยังไม่จบอยู่ๆ..ราคาก็เริ่มตกอีกครั้ง..และครั้งนี้ตกเร็ว..เเละเเรงกว่าเดิม..ในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม ค.ศ.1929..เป็นที่รู้จักในชื่อ “Black Tuesday”ซึ่งดาวโจนส์ได้ปรับลดลงถึง 30 % ในวันเดียว

Black Tuesday เป็นวันที่เลวร้ายที่สุดสำหรับระบบเศรษฐกิจ..ของสหรัฐอเมริกา..การลงที่รุนเเรงเเละรวดเร็วครั้งนี้..ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งตัวผู้ลงทุนเอง..ที่ถูก Force Sell จนหมด..เท่านั้นยังไม่พอ..ยังต้องหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ย..ของโบรคเกอร์อีก

ด้านโบรคเกอร์เอง..ก็เกิดหนี้สูญมากมาย..เพราะลูกค้าไม่ชำระ..เเละหลังเกิด Black Tuesday..ราคา Dow Jones..ก็ร่วงลงไปอีกกว่า 70 %

แม้แต่คนที่ไม่ได้ซื้อหุ้น ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับตลาดหุ้นเลยก็ไม่รอด..ธนาคารตกอยู่ในภาวะวิกฤติ..เพราะในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังบูม..ธนาคารก็ได้ปล่อยกู้..ให้ผู้คนที่กู้ยืมเงิน..ไปซื้อหุ้น..และ ธนาคารเอง..ก็เสี่ยงซื้อหุ้นด้วยเช่นกันและแน่นอน..การเจ๊งก็ไม่ต่างกัน

ก่อนหน้า..สหรัฐเฟื่องฟูได้..ก็เนื่องจากความเชื่อมั่น..ในตลาดหุ้น เเละเมื่อมันดิ่งลง..ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็หมดไป..ความพินาศของตลาดหุ้น..

ส่งผลให้..คนขาดความเชื่อมั่นในธนาคาร..มีคนจำนวนมากแห่กันไปถอนเงิน..ออกจากธนาคารพร้อมๆกัน..ซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่า Bank Run

ดังนั้น..การที่ธนาคาร..ซึ่งเป็นหัวใจหลักของทุนนิยม..สั่นคลอน..จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติ..ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

เมื่อเกิดการถอนเงินพร้อมกันมากๆ ธนาคารจึงไม่มีเงินสด..มากพอจ่าย

เราต้องเข้าใจ..โครงสร้างของธนาคารว่า..การที่เราฝากเงินกับธนาคาร..ธนาคารก็เอาเงินฝากของพวกเราปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่างๆ

เเถมปล่อยกู้ให้มากกว่าเงินที่เราฝากไปด้วย เช่นเราฝากเงิน 100,000 บาท ธนาคารอาจนำไปปล่อยกู้ได้ถึง 1,000,000 บาท (โดย Ratio นี้ขึ้นกับนโยบายการสำรองเงินของเเต่ละประเทศ)

ในช่วงเวลานั้น ธนาคารต่างเจ๊งกันเป็นแถว ในปี ค.ศ. 1932 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา..ก็ถดถอยลงถึง 31 % พร้อมๆ กับที่เงินสดกว่า 2,000 ล้านเหรียญในธนาคาร..หายไป

หลังจากธนาคาร 10,000 แห่งปิดตัวลง..คนที่ฝากเงินไว้กับธนาคารที่เจ๊งต้องสูญเงินทั้งหมดไปในทันที..

ตอนนี้ความกลัว..ได้ขยายเป็นวงกว้างไปทั่วสหรัฐอเมริกา..แม้แต่คนที่ไม่ได้สูญเงินต่างก็กลัวธนาคารเจ๊ง..ไม่กล้าฝากเงินไว้กับธนาคารอีก..ธนาคารที่ยังคงเปิดกิจการ..ต่างก็ประสบปัญหา ไม่มีใครมาฝากหรือกู้เงิน..ทำให้ไม่มีรายได้..เมื่อทุกคนขาดความเชื่อมั่นกับธนาคาร..การลงทุนทุกอย่าง..จึงเเทบดับวูบ

เศรษฐกิจอเมริกาในเวลานั้น..อยู่ในภาวะที่เลวร้ายอย่างหนัก ผู้คนตื่นตระหนก สินค้าต่างๆ เช่นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ..กลายเป็นสินค้าที่ขายไม่ออก..

เนื่องจากคนไม่มีเงิน คนที่มีเงินก็ไม่กล้าใช้เงิน..ทำให้โรงงานหลายแห่ง..ต้องปิดกิจการ
ค.ศ.1933 1 ใน 4 ของคนใน..สหรัฐอเมริกา..ว่างงานเเละคนผิวสี กว่าครึ่งไม่สามารถหางานได้

ในเวลานั้น..ผู้คนที่หมดตัวจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ..ต่างก็อดอยาก ไม่มีเงินแม้แต่จะซื้ออาหาร

สภานการณ์..ย่ำเเย่ลงเรื่อยๆ..เเละคนที่ถูกจับตามองที่สุด..ก็หนีไม่พ้นประธานาธิบดี..ในขณะนั้นซึ่งก็คือ Herbert Hoover

เนื่องจากยุคนั้นทฤษฎีของสายเคนเชี่ยนยังไม่ได้เผยเเพร่ออกมา..นักเศรษฐศาสตร์ในสมัยนั้น..หลายต่อหลายคนบอกว่า..รัฐบาลควรจะอยู่เฉยๆ..ให้ตลาดปรับตัว..เข้าสู่ดุลยภาพเอง

แต่ประธานาธิบดี..ก็ไม่ทนอีกต่อไป..ฮูเวอร์..ได้ขอให้นักธุรกิจรายใหญ่..ลงทุนในโครงการต่างๆ ที่จะช่วยกระตุ้นการจ้างงาน..เเละเศรษฐกิจของประเทศ

ซึ่งในที่สุด..ประธานาธิบดีจึงได้อนุมัติโครงการ เขื่อนฮูเวอร์..ลดภาษี..ปล่อยกู้ให้ธนาคาร..เเละสร้างทางรถไฟ..เพื่อหวังว่าจะมาช่วยเเก้ไขปัญหาได้บ้าง

แต่แม้นว่า ประธานาธิบดีฮูเวอร์..จะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร.. ประชาชนส่วนใหญ่..ต่างก็พูดกันว่าเขาเพียงแต่..ช่วยเหล่ามหาเศรษฐีที่ไม่ได้เดือดร้อน..หรือได้รับผลกระทบมากนัก

ดังนั้นจึงถึงเวลา..ที่พระเอกตัวจริง..ต้องออกโรง..เขาผู้นั้น.. คือ
Franklin Delano Roosevelt

วันที่ 4 มีนาคม 1993 รูสเวลท์ได้เข้ารับตำเเหน่งประธานาธิบดีเเทน..ฮูเวอร์..โดย Concept ที่รูสเวลท์เน้นในการเเก้ปัญหาครั้งนั้น..เรียกว่า 3R ได้เเก่

1.Relief Recovery Reform
โดยในส่วนของ R แรกคือ Relief เน้นไปที่การฟื้นฟู..เเบบเร่งด่วนโดยมีการให้เงินเเก่คนอดอยาก..พัฒนาทักษะให้กับคนที่ต้องการหางาน..เเละใช้ประโยชน์..จากพืชผลทางการเกษตรต่างๆ..

นอกจากนี้..ประธานนาธิบดีรูสเวลท์..ยังสั่งปิดธนาคาร..หลายเเห่งในประเทศ..โดยให้เปิดเฉพาะ..ธนาคารที่ยังมีเสถียรภาพเท่านั้น..นั่นคือการสร้างความเชื่อมั่น..ให้ประชาชนกลับมาใช้ธนาคารอีกครั้ง

2.Recovery รูสเวลท์..ได้ใช้มาตราการจัดตั้ง NRA..เพื่อให้ประชาชน..ได้รับค่าเเรงขั้นต่ำ..ซึ่งธุรกิจที่เข้าร่วม..จะได้รับสัญลักษณ์..เป็นการเพิ่มภาพลักษณ์..ให้ธุรกิจนั้นด้วย.เช่นกัน..

นอกจากนี้..ยังออกมาตราการ..ช่วยเหลือเกษตรกร..ในการรับซื้อผลผลิตส่วนเกินจากเกษตกร..เพื่อลดภาวะ Over Supply..ของสินค้าเกษตร..เเละยังมี..การสร้างเขื่อน..เพิ่มเติมอีกด้วย

3.สำหรับ R สุดท้ายคือ Reform นั้นคือตัวที่รูสเวลท์..คิดว่าจะไม่ทำให้สหรัฐอเมริกา..ต้องเจอวิกฤติเเบบนี้อีก..โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการความเสี่ยง..ของภาคธนาคาร..เเละ..บริษัทในตลาดหุ้น

ซึ่งมาตราการต่างๆ..ได้ถูกยกเลิกไปในปี 1999 โดยหลายฝ่าย..บอกว่านี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติปี 2008

จากปัจจัย..3R..นี้เอง..ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา..ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ

แต่วิกฤติของสหรัฐครั้งนั้น..มาจบลงจริงก็เมื่อเกิด..สงครามโลกครั้งที่ 2..การที่รูสเวลท์..สามารถสร้างงานให้ประชาชนเพิ่มขึ้นก็จริง..เเต่ก็ยังไม่เพียงพอ..ต่อประชากร..ทั้งหมด.

แต่เมื่อสหรัฐประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 คนว่างงานก็เเทบจะหายไปทั้งหมด..เนื่องจากไปทำสงครามนั่นเอง

เเละเมื่อสงครามจบลง..สหรัฐก็ได้กลายเป็น..มหาอำนาจเศรษฐกิจ..เเละการเมืองของโลก..ในเวลาต่อมา

หากย้อนมองวิกฤติ..ที่เกิดขึ้น ก็จะพบว่า..สาเหตุหลัก..ที่นำมาสู่..ความหายนะ..ทางเศรษฐกิจ..ครั้งใหญ่..ในปี ค.ศ.1929..คือการที่..มูลค่าของกิจการถูกเพิ่มขึ้น..จากการเก็งกำไร แทนที่..จะเพิ่มจากความสามารถ..ในการผลิตที่แท้จริง (Productivity)เเละ เมื่อวิกฤติลุกลาม..

จนทำให้ Bank ขาดความเชื่อมั่น..จึงเป็นชนวนที่ทำให้วิกฤติโหมอย่างรุนเเรง..เนื่องจาก Bank เป็นหัวใจของทุนนิยม

ดังนั้นตราบใด..ที่คนเรายังหลงติดกับความโลภ..จนละเลยการใช้ความสามารถในการผลิต (Productivity) หรือ ความเป็นจริง (Fact) ตราบนั้น วิกฤติก็จะยังคง..หมุนวนกลับมา

ดั่งเช่น..สหรัฐอเมริกาเอง..ก็เกิดวิกฤติครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 2008
 
คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com