www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 6 คน
 สถิติเมื่อวาน 28 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3384 คน
49198 คน
1741642 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

ดื่มเบียร์ดำ...ที่เมืองเรแกนส์เบิร์ก(Regensburg)
20 กุมภาพันธ์ 2552
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์

ถ้าไปเยอรมันที่สำคัญก็ต้อง ดื่มเบียร์ จึงจะถึงเยอรมัน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ผมและคณะได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศเยอรมัน ผมเดินทางด้วยรถโค้ช จากเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ไป เมือง เรแกนส์เบิร์ก(Regensburg) ระยะทาง 329 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญเมืองหนึ่งของแค้นบาวาเรีย และเมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงของแค้นนี้มาก่อนและเป็นเมืองในยุคกลางที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศเยอรมัน ซึ่งจักรพรรดิแมกซิมิเลียน ได้ตรัสชมเมื่อปี ค.ศ.1517 ว่า "เรแกนส์เบิร์กเด่นเหนือเมืองทุกเมืองในเยอรมันนี เพราะมีตึกรามที่ใหญ่โตและสวยงาม " ทุกวันนี้ยังมีความงดงามอยู่ และมีอาคารเก่ากว่า 1,300 แห่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำดานูบ คุมการคมนาคมทางน้ำด้านเหนือและเป็นเมืองท่าปากแม่น้ำที่สำคัญ ในช่วงที่โรมันเข้ามาในศตวรรษที่ 7 นอกจากนี้ ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำดานูบ ซึ่งสร้างด้วยหินและมีอายุมากว่า 800 ปี โดยมีซุ้มโค้งใต้สะพานถึง 16 ซุ้ม มีประโยชน์คือเป็นทางผ่านของน้ำ พูดให้เข้าใจก็คือ เสาสะพานนั่นเอง โดยถูกออกแบบให้เป็นแบบโค้ง

ผมเดินทางถึงเมืองเรแกนส์เบิร์ก(Regensburg) เวลา ประมาณ 13.30 น(20ก.พ.52)ตามเวลาในเยอรมัน ถ้าเป็นเวลาในไทยก็ประมาณ 19.00 น. มาถึงก็หิวพอดีหล่ะครับ เราแวะทานอาหารตามแบบบาวาเรีย ที่ร้านอาหารพื้นเมือง Brauerigaststatte Kneitinger (ภาษาเยอรมัน) ร้านอาหารแห่งนี้อยู่ในย่านการค้า พวกเราเดินเข้าไปในร้านที่มี ชาวเยอรมันสูงวัย กำลังนั่งดื่มเบียร์กันอย่างสบายอารมณ์ หลายคนทำท่าว่าจะทักทายพวกเรา ที่นาน ๆ จะเห็น คนต่างชาติที่หน้าตาเด๋อด๋า มาเยือนถิ่นเมืองเบียร์

พวกเรานั่งอยู่สักพัก พนักงานสาวสวยท่าทีคล่องแคล่ว มาถามทีละโต๊ะว่าใครจะดื่มเบียร์ประเภทไหน ตั้งแต่ เบียร์ดำ หรือ ดาร์กเบียร์ (อังกฤษ: dark beer) หรือ ดุงเคนเบียร์ (อังกฤษ: dunken beer) คือเบียร์ที่มีสีน้ำตาลเข้มจนดำ หรือมีสีคล้ายน้ำโคล่าเพราะใช้มอลต์ที่คั่วจนเกรียมให้กลิ่นหอมเป็นรสนำ เบียร์ดำจะมีรสอ่อนกว่าลาเกอร์เบียร์ ออกหวานและขมจางๆและมีแอลกอฮอล์ต่ำกว่า ผมเลือกที่จะดื่ม เบียร์ดำ เพราะอยู่เมืองไทยก็ไม่ค่อยได้ดื่มเบียร์ประเภทนี้เท่าไร มาเป็นแก้วขนาดใหญ่เลยครับ จิบแรกที่ดื่ม มีรสขม กลิ่นออกไหม้ ๆ ซึ่งเป็นผลของการคั่วมอลต์จนเกรียม ผมซัดไปหลายแก้ว เพราะเขาบอกว่าดื่มไม่อั้นครับ ส่วนลาเกอร์เบียร์ ผมก็ดื่มเหมือนกัน เพราะบางคนไม่ดื่ม ก็ต้องผมอีกนั่นแหล่ะครับ เอ้า...พี่แก้วช่วยหน่อย ผมประเภทที่ไม่ขัดใจใคร จึงซัดไปหลายแก้ว ทำเอาเดินออกจากร้านไปไม่รอด


เมื่อดื่มเบียร์ จนได้ที่แล้ว พนักงานคนสวย ก็เสิร์ฟอาหาร ซึ่งประกอบด้วย ไส้กรอกขนาดเท่านิ้วชี้ จำนวน 6 ชิ้น เคียงด้วย กะหล่ำดองเค็ม และมัสตาร์ด ไส้กรอกค่อนข้างเค็ม ครับ กะหล่ำดองเค็ม ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าเค็ม ก็พยายามกินหล่ะครับ เสียดายของ มัสตาร์ดเป็นเครื่องเคียงที่พบบ่อยที่สุดเวลาชาวเยอรมันทานไส้กรอก มัสตาร์ดทางตอนใต้จะมีรสชาติหวานทานคู่กับไส้กรอกที่เป็นอาหารประจำแคว้นบาวาเรีย เช่น ไส้กรอกสีขาว (Weisswurst) ชาวเยอรมันมองกระเทียมว่าเป็น "สารก่อกลิ่นเหม็น" จึงไม่ค่อยมีบทบาทมากเท่าไรกับอาหารเยอรมัน แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้คนหันมาทานกระเทียมกันมากขึ้น สืบเนื่องจากอิทธิพลของอาหารฝรั่งเศสและอิตาลี นั่นเป็นเรื่องของมัสตาร์ด เสร็จแล้ว พนักงานจึงเสริฟ ของหวานเป็นถ้วยคล้ายแก้วแชมเปญ ภายในเป็นเหมือนกับเยลสะตอบอรี่ อิ่มครับ ทานไม่ลงเพราะซัดเบียร์ไปหลายแก้ว

ดื่มกินเสร็จ จึงพากันไปชมสะพานหินเก่า อายุ 800 ปี เพื่อให้อาหารย่อย ก็ดีครับ เมื่อมาถึงร้านอาหาร ทุกคนต่างมุ่งหน้าเข้าห้องน้ำทุกคนเพราะอั้นไม่อยู่ เพราะซัดเบียร์ ไปหลายจอก อ้อ...ก่อนที่ จะกลับเข้าร้านอาหาร เราได้ทักทายกับชาวเยอรมันรูปหล่อคนหนึ่งที่เราถ่ายภาพด้วยก่อนที่จะไปดูสะพาน หนุ่มเยอรมันคนนี้เมื่อเห็นผม ก็ตรงรี่เข้ามา และชักชวนเป็นภาษาเยอรมันพร้อมทั้งส่งภาษาใบ้ ให้ผมอยู่ต่อ เพื่อจะได้เลี้ยงเบียร์ผม เห็นทีจะชอบผมและติดใจผม แต่ผมก็ตอบปฏิเสธไปว่า พวกเรามาจากไทยแลนด์ และกำลังจะเดินทางต่อไปยังประเทศเช็ก ไม่มีเวลาดื่มเบียร์ เอาไว้ชาติหน้า ...อ้อ..โอกาสหน้า ก็แล้วกัน เพราะผมคงไม่มีโอกาสได้เห็นเขาอีก

จากนั้น พวกจึงออกเดินทางจากเมืองเรแกนส์เบิร์ก(Regensburg) ไปกรุงปราก (Prague )ระยะทางประมาณ 264 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศเช็ก เมืองที่สวยงามอีกเมืองหนึ่ง ที่น่าเที่ยวชม

* * * * * * * * * * * * * * *

หมายเหตุ ข้อมูลเพิ่มเติมจาก วิกิพีเดีย
เบียร์คืออะไร

เบียร์ จัดเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เรียกว่า สุราแช่ หมายถึง มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมโดยที่แอลกอฮอล์นั้นได้มาจากการหมักบ่ม มิใช่โดยการกลั่น เบียร์ต่างจากไวน์ตรง ที่การหมัก เบียร์เกิดจากการหมักน้ำตาล ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงแป้งของเมล็ดธัญพืช หรือธัญชาติประเภทข้าวมอลต์ ส่วนไวน์จะเป็นการหมักน้ำตาลที่ได้จากผลองุ่น ที่เรียกว่า ไวน์องุ่นหรือการหมักน้ำตาลที่ได้จากน้ำผลไม้ ที่เรียกว่า ไวน์ผลไม้ ส่วนสุราประเภทเหล้า วิสกี้ บรั่นดีนั้นจะต้องนำแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักน้ำตาลจากเมล็ดธัญชาติ หรือผลองุ่น หรือผลไม้อื่น มาทำการกลั่นแยกเอาแอลกอฮอล์ออกมาอีกครั้งหนึ่ง จึงเรียกสุราประเภทนี้ว่า สุรากลั่น ดังนั้น เบียร์จึงเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับไวน์ และเหล้าวิสกี้ หรือบรั่นดี

การจำแนกชนิดของเบียร์มีอะไรบ้าง

เบียร์จำแนกออกได้หลายชนิดตามลักษณะการหมัก คือ จำแนกตามชนิดของเชื้อยีสต์ที่ใช้ในการหมัก ซึ่งแบ่งออกเป็น การหมักโดยใช้ยีสต์ที่ลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำเบียร์เมื่อเสร็จสิ้นการหมักเรียกยีสต์ชนิดนี้ว่า ท็อปยีสต์ (Top yeast) เบียร์ที่ได้จากการหมักโดยใช้ยีสต์ประเภทนี้เป็นพวกวีทเบียร์ (Wheat beer) ไวท์เบียร์ (White beer) อัลท์เบียร์ (Alt beer) เคิลช์ (Koelsch) เอล (Ale) พอร์ทเทอร์ (Porter) และสเตาท์ (Stout)

การหมักเบียร์โดยใช้ยีสต์ที่จมลงสู่ก้นถังหมักเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมัก เรียกยีสต์ชนิดนี้ว่า บ็อททอมยีสต์ (Bottom yeast) เบียร์ที่ได้จากการหมักโดยใช้ยีสต์ประเภทนี้ เป็น พวกลาเกอร์เบียร์ (Lager beer) พิลเซ่นเบียร์ (Pilsen beer) เบียร์ดำ (dark beer) บ๊อคเบียร์ (Bock beer) ไอซ์เบียร์ (Ice beer) เบียร์ที่ ปราศจากแอลกอฮอล์ (Alcohol free beer) ไดเอ็ทเบียร์ (Diet beer)

นอกจากนี้ ยังจำแนกตามสีและรสชาติของเบียร์ เช่น เบียร์ดำ ซึ่งทำมาจาก มอลต์ดำ หรือ คาราเมลมอลต์ ซึ่งทำให้เบียร์มีสีดำที่เรียกกันว่าเบียร์ดำ (Dark beer) เช่น เบียร์สเตาท์ และมีรสชาติ ตลอดจนกลิ่นหอมของน้ำตาลไหม้ บางชนิดมีรสชาติเฉพาะตัว เช่น วีทเบียร์ ซึ่งจะมีกลิ่นหอมของข้าวสาลี และมีคาร์บอนไดออกไซด์สูง บางครั้งแยกตามความหวาน ของน้ำตาลเมื่อเริ่มต้นการหมัก เช่น ลาเกอร์เบียร์ โดยทั่วไปจะมีน้ำตาลเริ่มต้นประมาณ 11เปอร์เซ็นต์ พิลเซ่นเบียร์ มีน้ำตาลเริ่มต้นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ พวกเบียร์ที่มีปริมาณ แอลกอฮอล์สูงๆ เช่น บ๊อคเบียร์ หรือสตรองเบียร์ (Strong beer) จะมีน้ำตาลเริ่มต้นประมาณ 13-16 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

ประวัติการผลิตเบียร์เป็นอย่างไร

ในเรื่องประวัติความเป็นมาของเบียร์นั้นพบว่า มีการผลิตเบียร์เป็นเครื่องดื่มมาเป็นเวลานานเกือบ 5,000 ปีแล้ว โดยมีการค้นพบบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับแคว้นเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ราว 2,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่พูดถึงการแบ่งปันเบียร์และขนมปังให้กับผู้ใช้แรงงานในสมัยนั้น การทำเบียร์และบริโภคในสมัยนั้นพบว่า ใกล้เคียงกับข้อบัญญัติที่บังคับใช้ในสมัยของกษัตริย์ฮัมมูราบี (Hammurabi, 1728 ถึง 1686 ( ก่อนคริสต์ศักราช) แห่งแคว้นบาบิโลเนีย (Babylonia)

สมัยอียิปต์โบราณก็พบว่า มีการผลิตเบียร์และนิยมดื่มเบียร์กันอย่างกว้างขวาง โดยการพบหลักฐานที่เป็นภาพเขียนและภาพสลักเกี่ยวกับเรื่องราวของการผลิตเบียร์บนแผ่นหิน เบียร์ของอียิปต์ผลิตขึ้นโดยเอาขนมปังที่ทำจากแป้งข้าวบาร์เลย์ที่เอาเมล็ดข้าวบาร์เลย์มาเพาะให้รากงอกแล้วเอามาป่นหยาบๆ ผสมกับน้ำปั้นเป็นก้อน ต่อจากนั้นจึงเอาไปปิ้งไม่ต้องให้สุกดีแล้วเอาไปแช่น้ำหมักทิ้งค้างคืนไว้ ขนมปังจะเริ่มบูดโดยเชื้อยีสต์ในอากาศและเกิดแอลกอฮอล์ขึ้น เมื่อเอาไปกรองจะได้น้ำเบียร์สีขาวมีฟองรสเปรี้ยว ใช้เป็นเครื่องดื่ม บางครั้งอาจมีการเติมสมุนไพรลงไปเพื่อทำให้มีกลิ่นหอม

ในดินแดนของชาวอินเดียนแดง ทวีปอเมริกาใต้ ก่อนที่ชาวฝรั่งผิวขาวจะยึดครองพบว่า ชาวอินเดียนแดงรู้จักผลิตสุราโดยใช้แป้งข้าวโพดมาทำเป็นส่าหมัก


ในทวีปยุโรป เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันในชนชาติเยอรมัน ซึ่งในสมัยก่อนจะผลิตกันภายในครอบครัวเหมือนการเตรียมอาหารประจำวัน โดยสตรีจะมีหน้าที่ผลิตด้วยวิธีการง่ายๆ ต่อมาการผลิตเบียร์ได้กระจายเข้าไปมีบทบาทในศาสนาคริสต์ โดยมีการผลิตในปริมาณมากขึ้น เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้มาร่วมงานทางศาสนา

ชาวเยอรมันในสมัยโบราณรู้จักผลิตเบียร์ขึ้นก่อนประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป และตั้งชื่อของสุราประเภทที่ผลิตด้วยแป้งจากข้าวบารเลย์ที่เพาะให้รากงอกแล้วนำมาคั่ว บด ต้ม และนำไปหมักว่า บิเออร์ (Bior) เครื่องดื่มบิเออร์นี้ มีรสเปรี้ยวอมหวานและใช้บริโภคเป็นอาหารประจำวันหลักฐานทางโบราณคดียังพบว่า เมื่อนำกากแห้งที่ติดอยู่ในภาชนะดินเผาซึ่งขุดพบในซากเมืองโบราณมาวิเคราะห์จะพบว่า มีเบียร์ดีกรีสูงที่ผลิตจากข้าวสาลีผสมน้ำผึ้ง เบียร์ชนิดนี้ เรียกว่า อโล (Alo) ซึ่งน่าจะเพี้ยนมาเป็น เอล (Ale) ในยุคต่อมา


ในสมัยก่อนมีการนำพืชชนิดต่างๆ ที่มีกลิ่นหอม เช่น เครื่องเทศ และดอกไม้แห้งมาผสมเข้าด้วยกัน แล้วใส่ลงไปเพื่อให้เบียร์มีกลิ่นหอม ต่อมาในศตวรรษที่14 มีการนำดอกฮ็อพมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของการทำเบียร์เพื่อให้มีกลิ่นหอมดังกล่าว รสและกลิ่นหอมของดอกฮ็อพเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค จึงนิยมกันอย่างแพร่หลายมาก จนดอกฮ็อพกลายเป็นของมีค่ามีราคาสูง และนิยมปลูกกันมาก

ในศตวรรษที่ 15 พบว่า วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตเบียร์มีปริมาณน้อยลง เนื่องจากผลกระทบจากสภาพธรรมชาติทำให้เก็บเกี่ยวข้าวบาร์เลย์และฮ็อพได้น้อย จึงมีการนำพืชชนิดอื่นมาใช้แทนฮ็อพ ขณะเดียวกันก็มีการนำธัญชาติอื่นที่ใช้สำหรับทำขนมปังมาใช้แทนข้าวบาร์เลย์ ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1516 จึงมีการตั้งกฎแห่งความบริสุทธิ์ (Purity law) ในประเทศเยอรมนี เพื่อกำหนดให้ผู้ผลิตเบียร์ต้องใช้เฉพาะข้าวมอลต์ฮ็อพ และน้ำ เท่านั้นสำหรับการผลิตเบียร์เหตุผลก็คือ ต้องการให้ผู้บริโภคได้รับความยุติธรรมในเรื่องของราคาและคุณภาพเมื่อใช้วัตถุดิบที่เหมือนกัน และยังใช้กฎนี้มาจนทุกวันนี้ กฎดังกล่าวมิได้กำหนดบังคับใช้ในประเทศอื่น ดังนั้นจึงมีการนำเอาข้าวเจ้า ข้าวโพด มัน หรือน้ำตาลมาใช้เป็นส่วนผสมปนกับข้าวมอลต์ในการผลิตเบียร์


ดื่มแค่ไหนถึงพอดี

สุราหนึ่งหน่วยหมายถึง เบียร์ 360 cc ไวน์150 cc บรั่นดี 45 cc วิสกี้ผสม1แก้ว
ถ้าถามคนที่ติดเหล้าว่าดื่มมากหรือน้อยส่วนใหญ่จะตอบว่าน้อย ปัญหาว่าดื่มแค่ไหนถึงพอดีมีคำแนะนำดังนี้

ผู้ชายดื่มสุราน้อยกว่า 1-2 หน่วยต่อวัน
ผู้หญิงดื่มน้อยกว่า 1 หน่วยต่อวัน
ผู้ที่ดื่มมากกว่า 3 หน่วย จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

เส้นทางเดินของแอลกอฮอล์ในร่างกาย

เมื่อเราดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ เช่น เบียร์ ไวน์ สุรา เครื่องดื่มนี้จะผ่านจากปากไปยังกระเพาะอาหารและสู่ลำไส้เล็ก แอลกอฮอล์ส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึมผ่าน soft mucous lining ที่ปากและกระเพาะอาหาร ส่วนที่เหลือจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก (duodenum) เนื่องจากโมเลกุลของแอลกอฮอล์มี ขนาดเล็กและไม่ต้องการน้ำย่อย (enzyme) ในการย่อยก่อน ฉะนั้น แอลกอฮอล์ จึงถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วเข้าสู่เลือด ถ้าหากกระเพาะอาหารว่าง แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมหมดภายใน 30 นาทีหลังการดื่ม แต่ถ้าในกระเพาะอาหารมีอาหารอยู่ อาจจะต้องใช้เวลานานถึง 90 นาทีหรือนานกว่า แอลกอฮอล์ไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าร่างกายโดยการหายใจเอาไอ และไม่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้

เมื่อ แอลกอฮอล์เข้าสู่เลือดแล้ว แอลกอฮอล์จะเคลื่อนที่ตามทิศทางเดินของเลือด จากลำไส้เล็กสู่ตับ จากที่นี่ แอลกอฮอล์บางส่วนจะถูกทำลายโดยตับ จากนั้นเลือดจะผ่านไปทางหัวใจด้านขวา และเลือดถูกสูบฉีดไปปอด เพื่อรับออกซิเจน แล้วเลือดจะถูกส่งไปทางหัวใจด้านซ้าย และถูกสูบฉีดไป สู่ส่วนต่างๆของร่างกาย ผ่าน aorta จึงทำให้ แอลกอฮอล์ถูกส่งไปตามเนื้อเยื่อต่างๆที่มีน้ำอยู่ เมื่อ แอลกอฮอล์เข้าสู่สมอง จะทำให้การสั่งงานของสมองช้าลง เมื่อ แอลกอฮอล์ผ่านปอด แอลกอฮอล์บางส่วนจะแพร่ออกสู่อากาศ(ลมหายใจ)

ผลของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพ

ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
ผู้ที่ดื่มมากกว่า 3 หน่วยสุราทุกวันจะมีโอกาสความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะผู้สูงอายุหากดื่มมากความดันก็จะสูง ยิ่งดื่มมากยิ่งสูงมาก เมื่อความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่ดื่มครั้งละมากกว่า 8 หน่วยสุราต่อครั้งจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 2 เท่า ผู้ดื่มสุราเป็นปริมาณมากและเรื้อรังจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจวาย

ผลของสุราต่อการทำงานของสมอง
ผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องความจำและความคิดอ่าน หากดื่มสุราจะทำให้สมองฝ่อก่อนวัยโดยเฉพาะสมองส่วนหน้า frontal lobes ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดอ่าน ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาเรื่องการทรงตัว การดื่มสุราก็จะทำให้การทรงตัวเสียมากขึ้นจึงหกล้มมากขึ้น

น้ำหนักเกิน
สุราก็มีพลังงาน เช่นเบียร์หนึ่งแก้วจะให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี หากคุณอ้วนคุณก็จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อุบัติเหตุ
คนที่ดื่มสุรามักจะเกิดอุบัติเหตุทั้งที่บ้าน ที่ทำงานและบนท้องถนนและเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมากกว่าครึ่ง เมื่อคุณดื่มสุรามากกว่า 2 หน่วยก็ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง ผู้ที่ดื่มสุราหนึ่งหน่วยจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่า ผู้ที่ดื่ม 4 หน่วยสุราจะเพิ่มความเสี่ยง 7 เท่า นอกจากนั้นผู้ที่ดื่มสุราอาจจะทำให้เกิดความรุนแรงภายในบ้าน

โรคตับ
สุราทำให้เกิดโรคตับได้หลายอย่าง เช่นไขมันจับที่ตับ Fatty liver พบได้บ่อยเมื่อเลิกสุราก็จะกลับมาปกติ ตับอักเสบ พบว่าร้อยละ 10-35 ของผู้ดื่มสุรามากจะเป็นตับอักเสบ ร้อยละ 10-20 จะเป็นตับแข็ง ผู้ที่ดื่มสุราและไม่ค่อยรับประทานอาหารจะมีโอกาสเป็นตับแข็งสูงและมะเร็งตับ การรักษาที่ดีที่สุดคือการอดสุรา ผู้ที่มีไขมันเกาะที่ตับหรือตับอักเสบจะกลับสู่ปกติ ส่านผู้ที่ตับแข็งคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นหลังจากอดสุรา มีรายงานว่าต้องให้สารอาหารคาร์โบไฮเดตร์ให้พอ ให้สาร polyunsaturated lecithin (PUL)(ซึ่งสกัดจากถั่วเหลือง)ให้เพียงพอเพราะสารนี้จะไปลด scar นอกจากนั้นควรจะได้สาร S-adenosyl-l-methionine (SAM) ซึ่งกล่าวว่าจะลดการอักเสบของตับ

มะเร็งระบบอื่น
ได้แก่มะเร็งปาก ปอด หลอดอาหาร ตับอ่อน และคอหากสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ระบบทางเดินอาหาร
หากดื่มเกินขนาดอาจจะทำให้ปวดท้อง เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

ผลของสุรากับการทำงานของสมองและการนอนหลับ
สุราจะมีผลต่อสมองทุกส่วน ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า สับสน บางรายอาจจะทำให้เกิดโรคจิต และหลอดเลือดสมองแตก การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต ผลของสุราต่อการนอนหลับแบ่งออกเป็น

ผลของสุราต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอนจะทำให้หลับง่ายเนื่องฤทธิ์กดประสาทของสุรา หลังจากนอนไปหนึ่งชั่วโมงก็จะมีการตื่นบ่อยและหลับยากโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเกิดอาการได้ง่ายและมากกว่าคนหนุ่ม และเมื่อตื่นมาการทรงตัวจะไม่ดีทำให้ล้มลงกระดูกหักได้ง่าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเพลียและง่วงในตอนกลางวัน สำหรับผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอน 6 ชั่วโมงผู้ป่วยจะตื่นได้ง่ายและหลับยาก


ผลของสุราต่อผู้ที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนมาก นอนหลับยาก ตื่นบ่อย คุณภาพของการนอนไม่ดีทำให้อ่อนเพลียในเวลากลางวัน หากผู้ป่วยลดสุรามากเกินไปจะเกิดอาการลงแดง alcohol withdrawal syndrome จะนอนไม่หลับ หรือช่วงสั้นๆ เกิดภาพหลอน
ผลต่อฮอร์โมน

* * * * * * * * * * * *


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com