www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 25 คน
 สถิติเมื่อวาน 33 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2682 คน
11712 คน
1704156 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 
เศรษฐกิจประเทศเช็ก

สถานการณ์เศรษฐกิจเช็ก

ภายหลังจาก Velvet Reform ในปี 2532 เช็กโกสโลวาเกียเริ่มดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ในขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างระแวดระวัง การปฏิรูปทางเศรษฐกิจดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว โดยปล่อยให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวอย่างเสรี การคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่เจ้าของเดิมในช่วงปี 2491 และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่อมา ภายหลังจาก Velvet Divorce ซึ่งแยกเช็กโกสโลวาเกียเป็นเช็กและสโลวัก ในปี 2546 สาธารณรัฐเช็กมีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่รวดเร็ว มีอัตราการว่างงานต่ำ และไม่มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไป

รัฐบาลเช็กประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ และบริษัทเปอร์โยต์ ซีตรอง โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ชื่อว่า Czech Invest เพื่อดึงดูดการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูง ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าจะสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปี 2548-2550 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงสูงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 3.7 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 3.8 ในปี 2547 และคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 4.4 ในปี 2548 ทำให้ค่าจ้างแรงงานมีการปรับตัวสูงขึ้นและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเป็นลำดับ

รัฐบาลเช็กยังคงให้ความสำคัญกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้ดำเนินการไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังคงมีอีกประมาณ 167 บริษัทที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการ ได้แกCzech Telecom CEZ Power Utility เป็นต้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงมีปัญหาการขาดดุลงบประมาณซึ่งสูงถึงร้อยละ 7 ของ GDP ในปี 2546 รัฐบาลจึงตั้งเป้าที่จะลดการขาดดุลให้เหลือเพียงร้อยละ 4 ในปี 2549 ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ EU เรียกร้องเพื่อรับเช็กเข้าเป็นสมาชิก EU นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กคงจะพยายามผลักดันเพื่อให้สามารถใช้เงินสกุลยูโรได้ภายในปี 2552-2553 นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กจะยังคงมุ่งมั่นปฏิรูประบบกฎหมาย กฎหมายการล้มละลาย และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

นโยบายต่างประเทศเช็ก สาธารณรัฐเช็กมีนโยบายส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและพัฒนาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรปตะวันตก โดยให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนระบบการเมืองและเศรษฐกิจของตนให้สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยุโรปได้ โดยได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ร่วมกับประเทศในยุโรปอื่นๆ อีกรวม 10 ประเทศ นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับโปแลนด์ ฮังการี และสโลวาเกียภายใต้กรอบ Visegrad Group ด้วย

'ในกรอบองค์การระหว่างประเทศ สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ ดังนี้'

NATO สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิก NATO เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2542 พร้อมกับโปแลนด์และฮังการี อย่างไรก็ดี ในปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของ NATO ต่อยูโกสลาเวียระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2542 เช็กไม่ได้สนับสนุนปฏิบัติการของ NATO อย่างจริงจัง ซึ่งต่างกับโปแลนด์และฮังการี ทำให้ NATO มีความเคลือบแคลงในพันธะสัญญาที่สาธารณรัฐเช็กมีต่อ NATO แต่ถึงกระนั้น ในปี 2545 กรุงปรากก็ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอด NATO ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งมีนัยยะสำคัญในทางสัญญลักษณ์ของการขยายสมาชิก NATO ให้รวมกลุ่ม Warsaw Pact และความร่วมมืออันดีระหว่าง NATO กับรัสเซีย

OSCE สาธารณรัฐเช็กเป็นสมาชิก Organisation on Security and Cooperation in Europe (OSCE) ซึ่งมีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ ณ กรุงปราก

UN ในปี 2537 สาธารณรัฐเช็กได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC จากการมีบทบาทในการเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงของยุโรป การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมรักษาสันติภาพของ UN

WEU สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกสมทบขององค์การ Western European Union (WEU) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 โดยสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ ตลอดจนส่งทหารเข้าร่วมในการรักษาสันติภาพได้ โดยยังไม่มีสิทธิในการออกเสียงยับยั้ง

OECD สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 26 ของ Organisation for Economic Cooperation and Development (OECD) โดยในด้านการเมือง จัดให้มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบพหุสังคม เคารพสิทธิมนุษยชน ด้านแศรษ ฐกิจให้มีการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด การปล่อยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายโดยเสรี การใช้เงินตราที่แลกเปลี่ยนได้โดยสมบูรณ์ การใช้ระบบภาษีที่มีมาตรฐาน และมีมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม

CEFTA สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย ฮังการี และโปแลนด์ ได้ร่วมกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีในกลุ่มประเทศยุโรปกลาง (CEFTA) ขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2536 โดยสโลวีเนีย โรมาเนีย และบัลแกเรียได้เข้าเป็นสมาชิกในลำดับต่อมา อันทำให้ CEFTA เป็นกลุ่มเขตการค้าเสรีที่มีประชากรประมาณ 100 ล้านคน กลุ่ม CEFTA มีเป้าหมายให้บรรลุผลภายในปี 2544 โดยเริ่มมีการลดค่าธรรมเนียมศุลกากรและอุปสรรคระหว่างกันแล้ว

สาธารณรัฐเช็กได้สถาปนาความสัมพันธ์กับประเทศทั้งสิ้น 85 ประเทศ ในจำนวนนี้ 80 ประเทศ มีตัวแทนทางการทูตอย่างถาวร ที่กรุงปราก

นโยบายต่างประเทศสมัยรัฐบาลนาย Jiri Paroubek

ในภาพรวม รัฐบาลของนาย Paroubek จะสานต่อนโยบายต่างประเทศของนาย Gross และให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. บทบาทของสาธารณรัฐเช็กใน EU และ NATO
2. การทูตพหุภาคีและการให้ความสนับสนุนบทบาทของ UN
3. การต่อต้านการก่อการร้าย การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการต่อต้านอาชญากรรมระหว่างประเทศ
4. การดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
5. บทบาทของสาธารณรัฐเช็กในกองกำลังรักษาสันติภาพในโคโซโว อิรัก และอาฟกานิสถาน
6. การดำเนินความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะต่อสโลวาเกีย
7. การดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยเฉพาะในกรอบระหว่าง EU และรัสเซีย
8. ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
9. ประเด็นระหว่างประเทศต่างๆ ได้แก่ การต่อสู้กับความยากจน การแพร่กระจายของ โรคระบาด การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เป็นผลจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติในเอเชียและแอฟริกา



คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com