สถิติวันนี้ |
177 คน |
สถิติเมื่อวาน |
118 คน |
สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด |
4346 คน 9035 คน 1754303 คน |
เริ่มเมื่อ 2010-01-13 | |

สาคร ชนะไพฑูรย์ |

ดร.เจษฎ์ โทณะวณิช |

ผู้ร่วมสัมมนา |
ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทรัพย์สินทางปัญญา ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ /ข่าว 5 มี.ค.52
สหรัฐ ฯ จับตาประเทศไทย เป็นพิเศษ ที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ในระดับสูง (PWL)
นายสาคร ชนะไพฑูรย์ ประธานนักศึกษาหลักสูตร "นักบริหารงานประชาสัมพันธ์" รุ่นที่ 49 สถาบันการประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.2550 สหรัฐอเมริกา จัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List - PWL) ซึ่งสหรัฐฯ ถือว่าไทยเป็นประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในระดับสูง โดยอ้างว่าไทยยังไม่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ อย่างเพียงพอ โดย สหรัฐได้ตั้งข้อสังเกต ว่า ไทยไม่มีความพยายามในการปราบปรามการละเมิด ที่ยังไม่ส่งผลมากเพียงพอ โดยอัตราการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญายังคงมีอยู่ในระดับสูง ในเรื่องพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2548 ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะปราบปรามการละเมิดผลิตภัณฑ์ซีดีได้ การละเมิดหนังสือ การขโมยสัญญาณรายการโทรทัศน์และสัญญาณเคเบิล รวมทั้งการละเมิดซอฟท์แวร์ทั้งด้านการบันเทิงและธุรกิจยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ในเรื่องการผลิตและจำหน่ายสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้า เช่น เครื่องแต่งกายและรองเท้า ยังคงมีอยู่ทั่วไป สำหรับบทกำหนดโทษการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญายังไม่เพียงพอ ทำให้ปัญหาการละเมิดยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
นายสาคร ชนะไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า เพื่อให้นักศึกษาและผู้สนใจเข้าใจ ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ของไทย จึงได้เชิญ ดร.เจษฏ์ โทณะวณิก ประธานสถาบันเพื่อความเป็นเลิศด้านทรัพย์สินทางปัญญา บรรยายพิเศษ เรื่อง "ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทรัพย์สินทางปัญญา" โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญาที่คนอาจมองข้าม เรื่องภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทรัพย์สินทางปัญญาในสายตาชาวโลก คำแนะนำในการดูแลภาพลักษณ์ประเทศไทยในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และเรื่องแนวทางการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์และความเข้าใจที่ดีต่อทรัพย์สินทางปัญญา โดยการบรรยายจะจัดขึ้นที่ ห้องสะอาด ตัณศุภผล สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ กรุงเทพ ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 13.00-16.00 น. ผู้สนใจสามารถเข้ารับฟังได้ตลอดรายการ และสามารถรับฟังการถ่ายทอดเสียงทาง สวท.ระบบเอเอ็มความถี่ 819 Khz * * * * * * * * * *
|
|