www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 7 คน
 สถิติเมื่อวาน 28 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3385 คน
49199 คน
1741643 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

  
คู่มือศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤต
 
คำนำ
 
          ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่ความเข้าใจต่อสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้ โดยศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ มีขั้นตอนในการปฏิบัติงาน อย่างชัดเจน เพื่อที่จะนำไปสู่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ตรงตามข้อเท็จจริง โดยศูนย์ ฯ จะดำเนินการในทุกกรณีที่เกิดเหตุการณ์ในภาวะวิกฤติ ทั้งเรื่องความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เรื่องการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนย่า เรื่องความแตกแยกทางความคิดของคนในสังคมไทย 

          ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ ยังมีหน้าที่ในการจัดการข้อมูลข่าวสาร ให้มีประสิทธิภาพ และสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องเที่ยงตรง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ จะเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการที่จะสร้างความสันติสุข และความสงบสุข มาสู่ประเทศไทยได้ 

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
ผู้อำนวยการส่วนข่าวและรายการ
ประธานศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ
24 ธันวาคม2552
 
 
 
บทที่ 1
แต่งตั้งคณะทำงาน
         คำสั่ง สปข.6
          สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ได้มี คำสั่ง สปข.6 ที่ 37/2552 ลงวันที่ 11 เมษายน 2552 แต่งตั้งคณะทำงาน ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ เพื่อให้มีหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังการเคลื่อนไหวกลุ่มชนที่แสดงออกความคิดเห็นทางการเมืองในพื้นที่ และมีหน้าที่รายงานข่าวสถานการณ์ไปยังศูนย์ประชาสัมพันธ์ข่าวสารเฉพาะกิจกรมประชาสัมพันธ์ 
         
คณะทำงาน
          คณะทำงานประกอบด้วย นายณรงค์ ชื่นนิรันดร์ ประธานคณะทำงาน นางสุพัตรา บุญชีพ รองประธานคณะทำงาน นายธีรพงศ์ เพชรรัตน์ รองประธานคณะทำงาน นายเสถียร ปิ่นสวัสดิ์ คณะทำงาน นายยุคล หมัดยะมา คณะทำงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรล่วงเวลาประจำวัน คณะทำงาน นางอัจฉราวรรณ ผะดุง คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีนายสุพจน์ อารักษาโรจน์ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ ซึ่งคณะทำงานทั้งหมด คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในส่วนข่าวและรายการภูมิภาค สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6   เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านข้อมูลข่าวสารในพื้นที่มากที่สุด 
         
หน้าที่รับผิดชอบ
          ศูนย์ ฯ มีหน้าที่ ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร ที่อยู่ในขั้นวิกฤติ อาทิ การลอบทำร้ายผู้บริสุทธิ์ในมัสยิด การลอบทำร้ายพระสงฆ์จนมรณภาพ การระบาดของโรคชิคุนกุนย่า การเฝ้าติดตามสถานการณ์การระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และเฝ้าติดตามสังคมด้านความแตกต่างทางความคิด 
          การติดตามความเคลื่อนไหว ของข้อมูลข่าวสาร จะทำให้คณะทำงาน มีความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ที่ถูกต้อง และจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ 
         
          ภาวะวิกฤติ(CRISIS)
          ภาวะวิกฤติ สำนักสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา  ให้คำจำกัดความว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยมากเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันและต้องการตอบสนองอย่างรวดเร็ว เหตุวิกฤติรบกวนการดำเนินชีวิตตามปกติ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่แน่นอน มีความตรึงเครียด ภาวะวิกฤติอาจเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว การเกิดสึนามิ เมื่อ 26 ธ.ค.2547    ภาวะวิกฤติ ยังเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้



บทที่ 2
การวิเคราะห์สถานการณ์
การวิเคราะห์ ภาวะวิกฤติ  
การวิเคราะห์ภาวะวิกฤติ    หมายถึง การแยกแยะ ข้อมูลอย่างมีเหตุมีผล เพื่อเปิดเผยความมีเงื่อนงำ ให้ความจริงปรากฏ อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง 
 
การวิเคราะห์สถานการณ์
          คณะทำงาน มีหน้าที่ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ที่เกิดขึ้น ในภาวะวิกฤติ เพื่อจำแนกแยกแยะ ประเด็นของสาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลในการที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเที่ยงตรง แต่การวิเคราะห์ข้อมูลก็จะต้องมีแหล่งข้อมูลที่ ครบถ้วน ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง และนำเสนอข้อมูลอย่างสมดุล ชัดเจน ปราศจากอคติ ต่อข้อมูลที่ได้มา โดยใช้การพิจารณาอย่างรอบคอบ รอบด้าน  

          มิติการวิเคราะห์ 
          1.มิติ วัน เวลา การเกิดเหตุการณ์ในภาวะวิกฤติ จะมีปัจจัยเรื่องเวลา มาเป็นตัวกำหนด และมักจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน เช่น 
*เหตุการณ์เผาโรงเรียน ปล้นปืน  
จะเกิดเวลาประมาณ 03.00 น. เวลา 12.00 น. และเวลา 19.00 น  ซึ่งเป็นเวลาที่ ประชาชนในพื้นที่ ไปละหมาดที่มัสยิด จึงเป็นช่องว่างที่จะให้คนร้าย เข้าไปเผา และปล้นปืน ได้อย่างง่ายดาย   
*เหตุการณ์ระเบิดหาด ใหญ่ 
การระเบิดในพื้นที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2548 ปี 2549 และปี 2550     จะเกิดในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ช่วงเวลาประมาณ 20.30-21.00 น.
2.มิติ สถานที่   การเกิดเหตุการณ์ สถานที่ที่เป็นเป้าหมาย ส่วนใหญ่ จะเป็นโรงเรียน สถานีอนามัย สถานที่ราชการ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ จะเป็นสถานที่ ที่จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน โดยส่วนใหญ่จะถูกวางเพลิงเผา 
3.มิติ บุคคล  บุคคลที่เป็นเป้าหมายที่ถูกทำร้าย จะเป็น ครู ตำรวจ ทหาร อาสาสมัคร พนักงานไฟฟ้า และคนชรา   
4.มิติ การตอบโต้ เมื่อมีการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ เช่น มีการจับกุมหรือมีการสังหาร อุสตาซ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ จะตอบโต้โดยการ ยิงครู ที่เป็นชาวไทยพุทธ โดยไม่เลือกว่า จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย  
5.มิติ บรรยากาศ ก่อนเกิดเหตุการณ์จะมีสัญญาณบอกเหตุคือ สภาพโดยทั่วไปจะมีความเงียบผิดปกติ ไม่มีผู้คนพรุกพล่าน ชาวบ้านปิดประตูเฝ้านอนอยู่กับบ้าน การใช้บริการของสถานที่ราชการ หรือ ธนาคาร มีคนน้อยผิดปกติ   เช่น กรณีเหตุการณ์ระเบิด ธนาคารในจังหวัดยะลา 22 จุด เมื่อ ปี 2549 มีผู้มาใช้บริการที่ธนาคาร อิสลาม ที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองยะลา ก่อนเกิดเหตุระเบิดมีผู้มาใช้บริการเพียง 3 คน เท่านั้น 
6.มิติ ข่าวลือ  ก่อนการณ์เกิดเหตุการณ์ภาวะวิกฤติ จะมีกระแสข่าวลือ แพร่กระจายแบบปากต่อปาก เช่น ให้หยุดทำมาหากินในวันศุกร์ ใครฝ่าฝืนตาย และให้ไปมัสยิด
7.มิติ ข่าวจากสื่อมวลชน สื่อมวลชนจะเผยแพร่ข่าวที่ไม่มีที่มาของข่าว เป็นอันตรายอย่างยิ่งที่ทำให้มีการเข้าใจผิด เช่น แหล่งข่าวเปิดเผยว่า วันที่ 15 มิ.ย. วันก่อตั้งขบวนการ Bersatu จะมีเหตุร้าย หรือ วันครบรอบเหตุการณ์กรือเซะ 28 เม.ย. จะมีเหตุรุนแรง ข่าวเหล่านี้เป็นการคาดการณ์ที่จะสร้างความแตกตื่น เป็นสัญญาณนำไปสู่ภาวะวิกฤติ
เมื่อได้ มิติ ด้าน วันเวลา สถานที่ บุคคล การตอบโต้ บรรยากาศ ข่าวลือ ให้นำมาประเมินความเป็นไปได้ ที่จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งจะทำให้ผู้วิเคราะห์สามารถที่จะคาดการณ์ได้ว่า เหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใด 

          การรายงานผลการวิเคราะห์
          เมื่อมีการวิเคราะห์ เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว จะต้องส่งรายงานการวิเคราะห์ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ตามลำดับชั้น เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาตามที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลไว้ ซึ่งการวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะไม่ถึงมือ รัฐมนตรีที่มีสายการบังคับบัญชาโดยตรง

          วิธีการส่งรายงานการวิเคราะห์ให้ถึงมือรัฐมนตรี
          ให้จัดทำหนังสือราชการ บันทึกข้อความ ส่งถึง รองอธิบดี ที่รับผิดชอบหน่วยงานโดยตรง ในคำลงท้าย ให้ใช้คำว่า จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และกรุณานำเรียน อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เสนอรายงานต่อ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทราบต่อไป จะขอบคุณยิ่ง จากนั้นจึงจะลงนาม ของ ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานนั้น วิธีการดังกล่าว เป็นการทำหนังสือ ที่ให้เกียรติ รองอธิบดี ที่คุมสายบังคับบัญชาโดยตรง บางหน่วยงาน ทำหนังสือ เรียน อธิบดี ผ่าน รองอธิบดี การทำหนังสือในลักษณะนี้ จะทำให้ รองอธิบดี สามารถที่จะใช้ดุลพินิจในการนำเสนอรายงานได้อย่างเต็มที่ และยังเป็นการใช้อำนาจให้เป็นไปตามภารหน้าที่ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ    ขอให้ทำหนังหนังสือตามที่ แนะนำ รายงานการวิเคราะห์จะถึงมือ อธิบดี และรัฐมนตรี อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามหนังสือฉบับนี้ ก็จะต้องผ่านสำนักปลัด ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของเราแล้ว แต่จะเป็นหน้าที่ของ เลขานุการกรม ที่จะมีหน้าที่ในการทำหนังสือถึงสำนักปลัด ฯ ต่อไป นี่เป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะละเลยไปไม่ได้

           
 
 
บทที่ 3
การแลกเปลี่ยนข่าวสาร
หน่วยงานความมั่นคง
          ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีหน่วยงานด้านความมั่นคง ปฏิบัติอยู่หลายหน่วยงาน คือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) และ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และทั้งสองหน่วยงาน มีข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์ มาปฏิบัติงานประจำ ซึ่งสำนักนายรัฐมนตรีมี คำสั่ง ที่ 206/2549 ลงวันที่30 ตุลาคม 2549  เรื่องนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้   โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยสงบสันติ ปราศจากเงื่อนไขที่เอื้อต่อการใช้ความรุนแรง และมีบรรยากาศที่เกื้อกูลต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาค ส่วนในการสร้างความสมานฉันท์ ความเป็นธรรมที่เกื้อกูลต่อการพัฒนา   และการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน ในส่วนที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ มี 2 ข้อ คือ 

 ข้อ3.4 สร้างความเข้าใจด้วยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องทันเวลาเพื่อสร้างและรักษาความปรองดอง และสมานฉันท์ระหว่างประชาชนทุกหมู่เหล่า รวมทั้งป้องกันและต่อต้านข่าวลือและข่าวสารที่บิดเบือนความเป็นจริงอันจะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในแนวนโยบายของรัฐและการดำเนินการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเพื่อลดความน่าเชื่อถือของกลุ่มก่อความไม่สงบ

ข้อ 3.10 ใช้งานมวลชนสัมพันธ์ ผ่านสื่อของรัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันทางศาสนา ตลอดจนเวทีสาธารณะเพื่อเผยแพร่การจัดการกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา รวมทั้งตามแนวทางสันติวิธี เพื่อให้ความรู้กับสังคมนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้าใจและมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 

นอกจากนี้ สำนักนายกรัฐมนตรียัง มีคำสั่งที่ 207/2549 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เรื่องการบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการตั้งหน่วยงานดังนี้ กอ.รมน. ผอ.กอ.รมน. ศอ.บต. ผอ.ศอ.บต. พตท. ผบ.พตท.  เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างมีระบบ มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ ทั้งเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์การบังคับบัญชา และการปฏิบัติอันจะทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสงบร่มเย็น


ข้อ10 ของคำสั่งที่ 207/2549  ให้ ผอ.กอ.รมน. ภาค 4 มีอำนาจดังนี้
1.)บังคับบัญชา ควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินงานของ ศอ.บต. และ พตท.
2.)สั่งการใช้กำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร ได้ตามความเหมาะสม ในการรักษาความสงบและความมั่นคง และป้องกันแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่
3.)การย้ายข้าราชการซึ่งต้นสังกัดโยกย้ายออกนอกพื้นที่เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ดังกล่าวกลับเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่อีกครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจาก ผอ.รมน.ภาค 4 ก่อน

ในขณะเดียวกัน สำนักนายกรัฐมนตรี มีหนังสือที่ นร 0101/ว 2597 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2549 ระบุว่าทุกส่วนราชการที่จะลงไปดำเนินงานใด ๆ ในพื้นที่จะต้อง มีการประสานกับ กอ.รมน.

และเมื่อลงไปในพื้นที่จะต้องประสานกับ ศอ.บต. และให้ทุกหน่วยงาน ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ตามหนังสือ ศอ.บตที่ นร 51020 (ศอ.บต.) /121 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549


ภารกิจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6
          สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 มีภารกิจที่จะต้องให้การสนับสนุน ภารกิจของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4    กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร และ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังให้การสนับสนุนภารกิจ ของจังหวัดร่วมกัน ปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ ด้านความมั่นคง อีกทั้งร่วมกันพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่ นอกจากนี้ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ยังมีการบริหารสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อบุคคล และสื่อไอที ให้ดำเนินการสนับสนุนการสร้างความมั่นคงในพื้นที่ให้เกิดความสันติสุข อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการวางแผนงานและทิศทางด้านการประชาสัมพันธ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ การบริหารประเด็นเพื่อการประชาสัมพันธ์ การบูรณาการประสานงานกับสื่อมวลชน รวมทั้งการประเมินผลการประชาสัมพันธ์ ที่ปฏิบัติการในพื้นที่ว่าได้ผลสัมฤทธิ์ ตามที่ตั้งเป้าหมายการปฏิบัติงานไว้หรือไม่  และภารกิจที่สำคัญที่สุดของสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 คือ การประชาสัมพันธ์เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าใจ เข้าถึง ในสถาบัน โดยเฉพาะโครงการพระราชดำริ ที่มีอยู่หลายโครงการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สร้างความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้ดีขึ้น 

         
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
          ในโครงสร้าง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะมี ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (ศป.ชส.กอ.รมน.ภาค 4 สน) มีหน้าที่ในการปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสาร โดยศูนย์ ฯ จะเป็นผู้ผลิตข่าวสาร ส่งไปให้สื่อมวลชน ได้เผยแพร่ผ่านสื่อ ซึ่งเป็นการปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง (Information Operation : IO) โดยข่าวสารส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปยัง ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 เพื่อนำไปเผยแพร่ผ่านสื่อในสังกัด สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ในรายการใต้สันติสุข รายการรอบรั้วชายแดนใต้ และรายการสีสันก่อนวันใหม่  

          การปฏิบัติการสื่อ ของกรมประชาสัมพันธ์ 
1.)สื่อภาครัฐและสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ ต้องเป็นหลักในการประชาสัมพันธ์เพื่อความมั่นคง เพราะสื่อของทางการจะมีความน่าเชื่อถือ มากกว่าสื่อภาคเอกชน  

2.)สื่อของกรมประชาสัมพันธ์ ต้องมีเอกภาพ และเป็นผู้นำในการตอบโต้ข่าวลืออย่างทันท่วงที ย้ำเตือน และสร้างความเข้าใจกับประชาชน เช่น กรณี ผู้ไม่หวังดี ยิงปืนใส่ผู้ชุมนุม ผู้ก่อการไม่สงบสวมชุดทหารเพื่อใส่ร้ายเจ้าหน้าที่  ซึ่งสื่อของรัฐจะต้องหาข้อมูลหลักฐานจากทุกภาคส่วนเพื่อสื่อข่าวให้ประชาชนในพื้นที่ ได้เข้าใจในสถานการณ์มากที่สุด 

3.)สื่อของกรมประชาสัมพันธ์  เป็นหลักในการสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่ โดยการนำเสนอที่สร้างสรรค์ คำนึงถึงอัตลักษณ์   ของประชาชนในพื้นที่ ที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี ไม่ดูหมิ่น   และที่สำคัญต้องเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 

4.)เชื่อมโยงนโยบายจากส่วนกลาง  เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลที่มีโครงการและแผนงานสำคัญ ที่ปฏิบัติในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา โดยการปฏิบัติการด้านประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าใจต่อนโยบายของรัฐบาล
 
5.)สื่อของกรมประชาสัมพันธ์  ต้องไม่นำเสนอภาพความสูญเสีย หรือภาพไม่เหมาะสม ไปขยายผล โดยจรรยาบรรณของ สื่อที่ดี จะต้องไม่นำภาพที่หวาดเสียว หรือภาพที่ไม่เคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์ ไปเผยแพร่ อย่างเด็ดขาด แต่สื่อที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ มักจะนำภาพที่ไม่เหมาะสมไปเผยแพร่ ซึ่งเป็นการสร้างปัญหาต่อการประชาสัมพันธ์ โดยสื่อเหล่านั้นคำนึงแต่เรื่องการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขาย เป็นหลัก                             


บทที่ 4
 
การประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ
          การปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ
          เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นในพื้นที่   ทั้งเรื่องความรุนแรง การแพร่ระบาดของโรค การแตกแยกทางความคิด และเป็นประเด็นในภาวะวิกฤติ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติจะมีการวิเคราะห์สถานการณ์ ความหนักเบาของสถานการณ์ จากนั้นจึงรายงานให้ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ได้รับทราบข้อมูล ในเบื้องต้น จากนั้น ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 จะรายงานข้อมูลข่าวสารให้ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับทราบ เพื่อรายให้ผู้บังคับบัญชาในระดับสูงต่อไป 

          เมื่อผู้บังคับบัญชา รับทราบข้อมูล แล้ว จึงจะมีการสั่งการลงมาเพื่อปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อ ในสังกัด และสื่อนอกสังกัด โดยผ่านช่องทางของการให้ข่าวผ่าน ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า 

ประสานสื่อมวลชน 
          เมื่อได้รับการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชา ในการปฏิบัติด้านการประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ จากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนในการประสานสื่อมวลชน เพื่อจะให้เป็นช่องทางในการสื่อสารไปถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยการสื่อสารให้ไปถึงสื่อมวลชน ที่ด่วน รวดเร็ว สั้น เข้าใจง่าย คือการใช้ระบบการส่งข้อความ SMS (Short Massage Service)  โดยผู้มิอำนาจในการอนุมัติข้อความคือ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 และ ผู้อำนวยการส่วนข่าวและรายการภูมิภาค เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ ในการให้ข่าวกับสื่อมวลชน และไม่ให้เกิดความสับสนต่อข่าวสารที่จะเผยแพร่ 

ประสานประชาสัมพันธ์จังหวัด    
            ประชาสัมพันธ์จังหวัด มีความสำคัญ คือ จะมีเครือข่ายสื่อมวลชนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทั้งผู้สื่อข่าว ผู้จัดรายการ และนักประชาสัมพันธ์ หากศูนย์มีความต้องการที่จะเชิญสื่อในจำนวนมาก สามารถทำหนังสือถึงประชาสัมพันธ์จังหวัด ให้เชิญสื่อมวลชน ไปร่วมงาน เช่น งานแถลงข่าว การทำข่าว เป็นต้น โดยวิธีการ ให้ทำเป็นหนังสือราชการภายนอก โดยเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัด นั้น ๆ โดยในเนื้อหา จะต้องบอกว่า เป็นการให้ประชาสัมพันธ์จังหวัด ให้ความร่วมมือในการเชิญสื่อมวลชน ดังตัวอย่างดังนี้

ตรวจสอบรายการเครือข่ายวิทยุ
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ ตั้งคณะทำงาน ในการเฝ้าฟังรายการเครือข่ายทางวิทยุกระจายเสียง เพื่อตรวจสอบการเผยแพร่ออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงในสังกัด สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 จำนวน 3 รายการ ถึงการออกอากาศ ที่กำหนดให้จากศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ เป็นไปตามกำหนด หรือไม่    และเพื่อนำมาสรุป กำหนดประเด็นการปฏิบัติงาน ให้ตรงตามแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤติ   ให้บรรลุความสำเร็จ   ต่อไป
 
1.รายการใต้สันติสุข เป็นรายการวิทยุกระจายเสียงเครือข่าย เพื่อความมั่นคง มีสถานีวิทยุกระจายเสียงในสังกัดสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 เป็นแม่ข่ายจำนวน 7 สถานี คือ สวท.ยะลา สวท.นราธิวาส สวท.สงขลา สวท.เบตง สวท.สตูล สวท.ปัตตานี สวท.สุไหงโกลก โดยมี สถานีวิทยุกระจายเสียงที่เป็นสถานีลูกข่ายในสังกัดอื่น ๆ อีก 40 สถานี 42 คลื่นความถี่ รับสัญญาณการถ่ายทอดเสียง 2 ช่วงเวลาคือ เวลา 14.30-15.00 น . และเวลา 19.30 – 20.00 น. ทุกวัน รูปแบบสาระข่าวสาร มีการเปิดสายให้ผู้ฟังได้แสดงความคิดเห็น และให้มีผู้ร่วมรายการ 
 
2.รายรอบรั้วชายแดนใต้ เป็นรายการวิทยุกระจายเสียงเครือข่าย เพื่อความมั่นคง มีสถานีวิทยุกระจายเสียงในสังกัดสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 เป็นแม่ข่าย 5 สถานี คือ สวท.ปัตตานี สวท.ยะลา สวท.เบตง สวท.สุไหงโกลก และสวท.นราธิวาส   ออกอากาศในช่วงเวลา 15.00-16.00 น.ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ รูปแบบรายการสาระบันเทิง และการรายงานข่าว ในพื้นที่ มีเป้าหมายที่ประชาชนผู้มีงานทำ
 
3.รายการสีสันก่อวันใหม่ เป็นรายการวิทยุกระจายเสียงเครือข่าย เพื่อความมั่นคง มีสถานีวิทยุกระจายเสียงในสังกัดสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 เป็นแม่ข่าย 9 สถานี คือ สวท.สงขลา สวท.พัทลุง สวท.ตรัง สวท.สตูล สวท.ปัตตานี สวท.เบตง สวท.สุไหงโกลก สวท.นราธิวาส สวท.ยะลา  รูปแบบรายการสาระและบันเทิง มีเป้าหมายที่กลุ่มคนนอนดึก เช่น นักศึกษา ทหารที่เข้าเวรยาม ผู้ปฏิบัติงานกลางคืน   เป็นต้น
 
ศูนย์ ฯ ประชุมทุกจันทร์
        ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤติ มีการประชุมทุกวันจันทร์ โดยมี ผู้อำนวยการสำนัก
ประชาสัมพันธ์เขต 6 เป็นประธาน การประชุม ประเมินสถานการณ์เพื่อนำไปสู่การกำหนด
ประเด็นเพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยประเด็นที่กำหนดจะจัดส่งไปให้ สวท. สทท. และ ส.ปชส. ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อนำไปปฏิบัติด้านการประชาสัมพันธ์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและยังมีการสำเนาให้ผอ.ศอ.บต.ทราบแนวทางการประชาสัมพันธ์ของ ศูนย์ประชาสัมพันธ์
ภาวะวิกฤติ และเพื่อให้เกิดการบูรณาการ การประชาสัมพันธ์ ในแนวทางเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ 

 
บทที่ 5
การจัดข้อมูลข่าวสาร
 
การจัดข้อมูลข่าวสาร ทาง FTP
          การจัดส่งข้อมูลข่าวสาร ของผู้สื่อข่าวในพื้นที่ 7 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ใช้ระบบการส่งข่าว File Transfer Protocol หรือ FTP โดยใช้ IP Address 172.16.18.190 ใช้ส่งภาพข่าว จาก ส.ปชส. สวท. สทท.ยะลา และ สคท.ตรัง ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ไปยัง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา  ซึ่งทำให้การส่งภาพข่าว เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สื่อของ กรมประชาสัมพันธ์ ได้ภาพข่าวและสามารถเผยแพร่ข่าวได้ทันที ในขณะเดียวกัน   ผู้สื่อข่าว ยังสามารถส่งภาพข่าวไปยัง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรุงเทพ ได้ที่     IP Address : 172.16.76.107  ซึ่งทาง กรุงเทพ ก็จะได้ภาพข่าว ในทันที พร้อมกับ สงขลา เช่นกัน 

          การส่งข้อมูลทาง Short Massage Service (SMS) 
SMS เป็นการส่งข้อความสั้น สำคัญ และด่วน ไปถึง สื่อมวลชน ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อต่อสู้ กับสงครามข้อมูลข่าวสาร และเป็นการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง  การส่งข้อความสั้น SMS สามารถส่งข้อความในครั้งเดียวสามารถที่จะส่งข้อความ ถึงโทรศัพท์มือถือ ของสื่อมวลชนได้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก เพียงแต่ป้อนข้อมูลเพียงครั้งเดียว
 
 
3.การส่งข้อมูลทาง Email Address 
Email Address เป็นการส่งข่าวประชาสัมพันธ์ไปยังสื่อมวลชน ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ที่เป็นเอกสารข้อมูล และมีจำนวนมาก    ซึ่งเป็นความทันสมัย ที่ศูนย์ ฯ สามารถส่งข่าวสารไปให้สื่อได้รวดเร็ว และมีต้นทุนการส่งที่ต่ำ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายต่อการส่งข้อความทางสื่ออื่น
 
 
4.การส่ง-รับ ข้อมูลทาง โทรศัพท์ โทรสาร  FAX
ในกรณีที่ สื่อทั้งสองไม่สามารถเข้าถึง สื่อมวลชน ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง การส่งข้อมูลผ่านทางโทรสาร เป็นความสะดวกรวดเร็วต่อการส่งข้อความที่เป็นเอกสารที่ต้องการให้ถึงสื่อมวลอย่างรวดเร็ว และเป็นหลักฐาน ที่ชัดเจน เช่น การส่งหนังสือเชิญสื่อมวลชน ที่ต้องการความเร่งด่วนและถึงสื่อโดยตรง
 
5.การส่งข่าว ผ่าน NEWS DATA CENTER (NDC) ผู้สื่อข่าว สวท. สทท. และ ส.ปชส. ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีการส่งข่าว ผ่าน ถังข่าว NDC เฉลี่ยวันละ 10 ข่าว
 
* * * * * * * * * * * *

คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com