ดูงาน...โครงการน้ำเทิน 2 ประเทศลาว
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
3 ธันวาคม 2552
เช้าวันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2552 คณะสื่อมวลชนจากจังหวัดสงขลา เดินทางออกจากโรงแรม ริเวอร์วิว นครพนม เพื่อลงเรือข้ามฟากไปยังเมืองท่าแขก สปป.ลาว คณะของเราเมื่อผ่านพิธีการออกประเทศแล้วก็เดินลงบันไดประมาณ เกือบ50 ขั้น เพื่อไปยังท่าเทียบเรือที่อยู่ด้านล่าง เพื่อข้ามแม่น้ำโขง ที่ถือว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตของผมที่จะได้ข้ามโขง ผมเลือกที่จะยืนอยู่ที่ห้องนายท้ายเรือ ที่ตั้งอยู่หน้าของเรือ ซึ่งขับเรือโดยกับตันวัยชรา ผมเริ่มเก็บภาพทันที พลันก็เหลือบไปเห็น กระป๋องเบียร์ หลายกระป๋องตกอยู่บริเวณใต้คันเร่งของเรือ ผมเริ่มแซวว่า กระป๋องเบียร์เยอะจังน่ะ สงสัยไม่เมาไม่ขับ นะเนี่ย บ่ แมน เป็นของนักท่องเที่ยว ข่อยบ่ ได้กิน เด้ เอ้า ไม่กินก็ไม่ได้ว่าอะไร เมื่อกัปตันเรือ เบี่ยงหัวเรือเพื่อมุ่งหน้า ไป ประเทศลาว ที่อยู่ลิบ ๆ ผมก็เริ่มจับเวลา เรือข้ามฟากแม่น้ำโขงใช้เวลาเพียง 5 นาที ก็เดินทางมาถึงท่าเรือเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ประเทศลาว และเราก็ทำพิธีการเข้าเมืองซึ่งก็ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ที่นี่ค่อนข้างเข็มงวด เขาห้ามถ่ายภาพบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง และห้ามถ่ายภาพกับทหารลาว โดยเด็ดขาด ระวังหน่อยก็แล้วกัน แต่ผมก็กดไปหลายภาพ ก็อ่านภาษาลาวไม่ออกนี่ ก้เลยได้ภาพมาให้ดูไง
เมื่อเดินเข้าโรงแรมRiveria ก็ได้รับการต้อนรับจากพนักงานชาย กล่าวทักทายว่า ซำบายดี ซึ่งเป็นคำทักทาย ที่เหมือนกับคำว่า สวัสดี ในคำไทย ผมเดินขึ้นชั้นสอง ที่เป็นห้องประชุม ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของโครงการน้ำเทิน 2 ที่เป็นคนลาว ได้กล่าวสรุป เป็นภาษาลาว ถึงความเป็นมา และความสำเร็จ ของโครงการน้ำเทิน 2 ที่จะได้รับ โดยความตอนหนึ่งระบุว่า
.(เอ้า ฟังเด้อ )
ภูมิประเทศของลาว มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา ไม่มีทางออกทะเล ตั้งอยู่ใจกลางของแหลมอินโดจีน อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแม่น้ำและป่าไม้ ลาวมีประชากรประมาณ 6 ล้านคน การส่งออกกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะการขายให้ประเทศไทยเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างรายได้สำหรับการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแบบยั่งยืน ของ ลาว
โครงการน้ำเทิน 2 มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของลาว เนื่องจากประมาณการรายได้ที่จะได้รับจาก บริษัท ไฟฟ้า น้ำเทิน 2 ตลอดเวลา 25 ปี แรกของการผลิตกระแสไฟฟ้าที่สูงถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โครงการนี้ได้เป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในปัจจุบัน และจะยังคงเป็นต่อไปอีกในอนาคต รายได้ที่ไปสู่รัฐบาลจะเป็นแหล่งเงินทุนมั่นคงที่จะช่วยให้ลาวบรรลุเป้าหมายในงานบรรเทาความยากจนของลาว
ยิ่งกว่านั้นโครงการน้ำเทิน 2 ยังเป็นโครงการนำร่องให้แก่โครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญอื่น ๆ ใน ลาว ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศ
โครงการน้ำเทิน 2 เป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาใน ลาว จนถึงปัจจุบัน ลักษณะการให้สัมปทาน Build-Operate-Transer (BOT) นับเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับสำหรับรัฐบาลไทยในการดำเนินโครงการ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบต่อการลงทุนเพียงฝ่ายเดียว การออกแบบและวิจัยอย่างรอบคอบและครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้ทำให้โครงการน้ำเทิน 2 ประสบผลสำเร็จในการจัดหาเงินลงทุน และได้ลงมือก่อสร้างอย่างเต็มระบบในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2005 หรือ พ.ศ. 2548 (เสร็จสิ้น ในปลายปี พศ.2552 โดยจะส่งกระแสไฟฟ้าให้ไทยประมาณเดือน มีนาคม 2553) นับแต่นั้นมา บรรดากิจกรรมการก่อสร้างพร้อมกับการปฏิบัติงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีความคืบหน้าตามกำหนดเวลา ซึ่งจะให้บริษัทไฟฟ้าน้ำเทิน 2 สามารถเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบไฟฟ้าของลาวและไทยได้ในช่วงปลายปี ค.ศ.2009 (หลังทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าในช่วงปลายปี เกิดขัดข้องทางเทคนิค จึงต้องเลื่อนการจ่ายกระแสไฟฟ้า ออกไปประมาณ เดือนมีนาคม 2553 )
ผลการตอบแทนการลงทุนอยู่บนพื้นฐานของราคาขายไฟฟ้า ในระดับต่ำไปให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำเทิน 2 จะช่วยให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และจะช่วยสร้างความสมดุลของแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าของไทย การผลิตไฟฟ้าโดยใช้น้ำก่อให้เกิดปริมาณคาร์บอนไดซ์ออกไซด์น้อยที่สุด
โครงการน้ำเทิน 2 ดำเนินงานโดยบริษัท ไฟฟ้าน้ำเทิน 2 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียน ภายใต้กฎหมายของ สปป.ลาว ในกรอบสัญญาสัมปทานที่บริษัท ฯ ได้รับจากรัฐบาลลาว บริษัทไฟฟ้าน้ำเทิน 2 เป็นผู้ก่อสร้างและดำเนินกิจการเป็นเวลา 25 ปี หลังจากนั้นจะโอนกรรมสิทธิ์โครงการให้กับรัฐบาลลาวโดยไม่คิดมูลค่า
บริษัท ไฟฟ้าน้ำเทิน 2 มีผู้ถือหุ้นดังนี้
1.) EDFI (EDF International) คิดเป็น 35 % EDFI ถือหุ้นทั้งหมด โดยบริษัท ไฟฟ้าฝรั่งเศส (Electricite de France EDF ) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำของตลาดพลังงานในยุโรป กลุ่มบริษัทไฟฟ้าฝรั่งเศส มีการดำเนินธุรกิจ ในอุตสาหกรรมพลังงาน ได้แก่การผลิตสายส่งการจำหน่ายซื้อขายพลังงาน กลุ่มบริษัท ไฟฟ้าฝรั่งเศส เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป มีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 130 กิกะวัตต์รวมถึง 21,000 เมกะวัตต์ ของกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
2.) รัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาว (LHSE)(25%) รัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาวเป็นบริษัทของรัฐบาลลาว ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงการคลังของ สปป.ลาว
3.) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO Group)(25%) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่แห่งแรกของไทย ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าในรูปแบบครบวงจร ครอบคลุมธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า และธุรกิจผลิตไฟฟ้า ในรูปแบบครบวงจร ครอบคลุมธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า และธุรกิจให้บริการด้านพลังงาน ทั้งในส่วนของการเดินเครื่อง บำรุงรักษาวิศวกรรมและการก่อสร้างทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบัน เอ็กโก กรุ๊ป มีกำลังผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น รวมทั้งสิ้น 3,967.6 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลายมากที่สุดทั้งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมัน และพลังงานชีวมวล เอ็กโกกรุ๊ป มีนโยบายและแนวทางในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม เพื่อสร้างดุลยภาพของการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
4.) บริษัท อิตาเลี่ยน ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) (15%) บริษัท อิตาเลี่ยน เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
โครงการน้ำเทิน 2 มีเงินลงทุนทั้งหมด 1,582 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วยต้นทุนโครงการ 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่เหลือเป็นเงินสำรองและหนังสือค้ำประกันธนาคารประกอบด้วยส่วนของหนี้ ได้แก่ เงินกู้บุริมสิทธิ์ พร้อมการค้ำประกันความเสี่ยงทางการเมือง (PRG , PRI ) จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ธนาคารโลก (World Bank) และสถาบันประกันการลงทุนพหุพาคี (MIGA) สินเชื่อเพื่อการส่งออก (Export Credit) จาก COFACE ของประเทศฝรั่งเศส EKN ของประเทศสวีเดน และ GIEK ของประเทศนอร์เวย์ สินเชื่อจากสถาบันเพื่อการพัฒนาทวิภาคีและพหุภาคีหลายแห่ง ได้แก่ ADB , ธนาคารนอร์ดิค อินเวสเมนท์(NIB) สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (AFD) , PROPARCO และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Thai-EXIM) การปล่อยสินเชื่อร่วมระยะยาวของธนาคารต่างประเทศ 9 แห่ง และธนาคารไทยอีก 7 แห่ง
ส่วนของทุน ได้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 4 ราย ซึ่งร่วมลงทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้เงินของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาว จำกัด (LHSE) ได้รับการสนับสนุนในรูปแบบเงินกู้และเงินให้เปล่าจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป
กล่าวโดยสรุป สถาบันการเงิน 26 แห่ง ร่วมกันปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการในรูปแบบต่าง ๆ 11 รูปแบบมีผลทำให้โครงการน้ำเทิน 2 เป็นแบบอย่างของการจัดหาเงินทุนโครงการที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายที่สุดเท่าที่เคยมีมาในเอเชีย
* * * * * * * * * * |