เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564 มีการระดม กองกำลังทหาร กะเหรี่ยง KNU กะเหรี่ยง DKBA และกะเหรี่ยง BGF เพื่อร่วมรบกับกองทัพพม่า..ณ สถานที่แห่งหนึ่ง คาดว่า เป็นเขตอิทธิพลของ กะเหรี่ยง KNU กะเหรี่ยง, กาเรน, กะยีน, หรือ คนยาง (พม่า: ออกเสียง: [kəjɪ̀ɴ lù mjó]; ไทย: กะเหรี่ยง) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต อาศัยอยู่มากในรัฐกะเหรี่ยง ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า กะเหรี่ยงมีประชากรประมาณร้อยละ 7 ของประชากรชาวพม่าทั้งหมด หรือประมาณ 5 ล้านคน ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากอพยพไปอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยตามแนวชายแดนไทยพม่า
กลุ่มกะเหรี่ยงมักจะสับสนกับกะยัน ชาติพันธุ์ที่รู้จักกันดีสำหรับแหวนคอสวมใส่โดยผู้หญิงของพวกเขา แต่พวกเขาเป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงแดง (คะเรนนี) ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธุ์คะยาในรัฐกะยาของพม่า
บางส่วนของชาวกะเหรี่ยงนำโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ได้เข้าร่วมสงครามต่อต้านรัฐบาลพม่าตั้งแต่ต้นปี 1949 จุดมุ่งหมายของเคเอ็นยูครั้งแรกเพื่อแยกเป็นอิสระ ตั้งแต่ปี 1976 กลุ่มติดอาวุธได้เรียกร้องรัฐบาลกลางในการปกครองตนเองมากกว่าการที่จะแยกเป็นอิสระ
กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA คือหน่วยงานทางทหารของกะเหรี่ยง KNU เกิดขึ้นในปี 2492 หลังจากที่รัฐบาลเมียนมาปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้านด้วยความรุนแรง ชาวกะเหรี่ยงจึงรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเพื่อสู้กับรัฐบาลและเรียกร้องเอกราช
กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (DKBA) นำโดยพระภิกษุ U Thuzanaเป็นกลุ่มของชาวกะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาพุทธซึ่งแยกตัวออกมาจากกะเหรี่ยง KNU เมื่อปี 2538 เนื่องจากความขัดแย้งทางศาสนาโดยมองว่าพวกเขาถูกเอาเปรียบ เหลื่อมล้ำ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากชาวกะเหรี่ยง KNU ที่นับถือศาสนาคริสต์
กะเหรี่ยง BGF คือหน่วยพิทักษ์ชายแดน (BGF) ในลักษณะตำรวจชายแดน เพื่อทำหน้า คือ 1. ความมั่นคงปลอดภัย และความสงบร่มเย็นของบ้านเมือง , 2. ความสงบร่มเย็นและเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, 3. สนับสนุนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และทำงานเพื่อการพัฒนา , 4. เพื่อส่งเสริมระดับความเป็นอยู่ของชนเผ่าตัวเอง , 5. ส่งเสริมการศึกษา และแนวคิดสำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ และ 6. เพื่ออนุรักษ์ปกป้องประเพณี วัฒนธรรม ภาษาของชาติพันธุ์ประจำท้องถิ่นของตนเองไม่ให้สูญหาย
Referenc วิกีพีเดีย Post Today siamrath.co.th กองกำลังรัฐฉาน RCSS SSA |