www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 3 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2529 คน
52316 คน
1744760 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

Podcast..รายการหนึ่งถ้วยกาแฟ ..สัญญาปางโหลง

 

#ความเป็นมาของหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง)


       เมื่อวันที่ 19 พ.ย 2428 กษัตริย์ สี่ปอมิน ( ธีบอ) กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าถูกกองทัพอังกฤษบุกเข้าจับกุมตัวและในวันที่ 1 ม.ค 2429 กองทัพอังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของแผ่นดินพม่าไว้หมดแล้วซึ่งใน เวลานั้น รัฐฉานของชาวไทยใหญ่ยังไม่ได้ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดิน จวบจน กระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ 2430 อังกฤษจึงเดินทางมายึดรัฐฉาน และประกาศให้รัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งในรัฐอารักขาของอังกฤษ ( Protectorate Country)


      ในช่วงที่รัฐฉานอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ได้มีการแบ่งแยกการปกครอง และงบประมาณของรัฐฉานกับพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน โดยในสมัยนั้น พม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อต้านอังกฤษมาโดยตลอด ขณะที่เจ้าฟ้าและประชาชนไทยใหญ่ ได้ให้ ความร่วมมือกับอังกฤษ รวมทั้งให้การช่วยเหลืออังกฤษในการสู้รบสมัยสงครามโลกครั้งที่  1 และ  2 เป็นอย่างดี


        หลังจากที่แผ่นดินพม่าและไทยใหญ่ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ นานกว่าครึ่งศตวรรษ วันที่15 ส.ค 2482 อองซานจึงจัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ใต้ดินขึ้น เพื่อให้พม่าหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยที่อองซาน ทำหน้าที่เลขาธิการของกลุ่ม อองซาน พยายามหาทางติดต่อกลุ่มกับคอมมิวนิสต์กลุ่มต่าง ๆ โดยหลังจากเดินทางกลับจากอินเดียมายังกรุงย่างกุ้ง เขาได้แอบเดินทางไปประเทศจีน แต่เนื่องจากลงเรือผิดลำจึงไปถึงเกาะ  อมอย ( Amoy ) ของญี่ปุ่นแทน ทางญี่ปุ่นจึงเรียกตัว อองซานไปยังเมืองโตเกียว หลังจากอองซานกลับจากญี่ปุ่น จึงได้รวบรวมสมัครพรรค พวกจำนวน 30 คนเดินทาง ไปฝึกการรบที่ญี่ปุ่น


        ต่อมา วันที่ 26 ธ.ค 2484 อองซานจึงจัดตั้งกองทัพอิสระภาพแห่งพม่า ( B.I.A=Burma Independence Army ) ขึ้นที่กรุงเทพฯ และในปี พ.ศ 2485 เริ่มนำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่น โจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฤษ โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาในแผ่นดินพม่าและรัฐ ฉาน และในเวลาเดียวกันนี้ ทางเจ้าฟ้ารัฐฉาน ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษ ไปยังอินเดียและพม่า ต่อมา ญี่ปุ่นได้ทำการ ทารุณกรรมประชาชนในรัฐฉาน เช่นเดียวกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่างๆในเอเชีย จวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2สงบลง ญี่ปุ่นจึงถอยทัพกลับไป


         เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2  เดือน สิงหาคม  พ.ศ  2484   รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษ ได้จัดทำหนังสือข้อตกลง  ที่ชื่อว่า "เตหะราน" (Teheran-Agreement) ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า "หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จะคืนเอกราชให้แก่ดินแดนอาณานิคมของ ทั้ง 2 ประเทศทั้งหมด " เมื่อสงครามสิ้นสุดลงอองซานจึง พยายามติดต่อเข้าพบผูนำรัฐบาลอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืน


ในช่วงเวลาที่อังกฤษปกครองพม่าและรัฐฉานอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉาน (ที่ไม่ใช่ ชาวไทยใหญ่ )เดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้ง และซึมซับรับเอา แนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงเริ่มมีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน โดยนักศึกษากลุ่มนี้ ได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่ม  "ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช"  ของอองซาน และตกลงรับเอาภาระหน้าที่บ่อนทำลาย การปกครองระบอบเจ้าฟ้าของรัฐฉาน และหันมาเข้าร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของอองซาน โดยอาศัยรัฐฉานเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ


เนื่องจากเจ้าฟ้ารัฐฉาน  เป็นมิตรกับอังกฤษมาโดยตลอด  โดยในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่   2 สิ้นสุดลงอังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่า  " ขอให้รัฐฉาน อยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อน และอังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา , การเมือง , การปกครอง  , การติดต่อต่างประเทศ - ในประเทศ  , การเศรษฐกิจ    และการคมนาคมในรัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วอังกฤษ จะคืนเอกราชให้ภายหลัง"
สำหรับอองซาน ในตอนแรก เป็นผู้มีบทบาทชักจูงทหารญี่ปุ่น ให้เข้ามาในพม่าและรัฐฉาน แต่ในตอนสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 มี.ค 2488 กลับนำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น และพม่าได้ถือเอาวันนี้ เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


ทางด้านเจ้าฟ้าไทยใหญ่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และในดือนสิงหาคม พ.ศ 2488 สองเดือนถัดมา เจ้าหญิงเมืองป๋อน ได้ทรงสิ้นพระชนม์ บรรดาเจ้าฟ้าจากเมืองต่างๆ จึงเดินทางมาร่วมงานพระศพ ทำ ให้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกันว่า   "น่าจะจัดให้มีการประชุม ของเจ้าฟ้าทั้งหมด เพื่อปรึกษาหารือ เกี่ยวกับอนาคตของรัฐฉาน"


 และต่อมาวันที่ 31 ม.ค 2489 การประชุมของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ จึงเกิดขึ้นที่ เมืองกึ๋ง โดยที่ประชุม มีมติจัดตั้ง "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" ขึ้น เพื่อให้มีสถาบันที่จะปกครองรัฐฉาน  ในแนวทางระบอบประชาธิปไตย และเพื่อทำให้รัฐฉาน ซึ่งมีดิน แดนอยู่ระหว่างจีนแดงและพม่า สามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคง


นอกจากนี้ ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ยังมีแนวความคิดที่จะร่วมสร้างบ้านสร้างเมือง กับรัฐคะฉิ่น และรัฐชินซึ่งเป็นรัฐใกล้เคียง ดังนั้น จึงตกลงเห็นควรเชิญรัฐคะฉิ่นและรัฐชิน มาเข้าร่วมเป็นสหพันธรัฐ โดยในเวลาต่อมาเมื่อวันที่  20 – 28 มี.ค 2489   ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่  , รัฐคะฉิ่นและรัฐชิน ได้จัดประชุมร่วมกันขึ้นที่เมืองปางหลวง( ป๋างโหลง ) 

 
โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะทำการจัดตั้ง   " สหพันธรัฐเทือกเขา  และสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา( Supereme Council of the United Hill People = S.C.O.U.H. ) "  ขึ้น และกำหนดให้ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภา รัฐละ  6  คน รวม 18 คน โดยเริ่มจัดตั้งภายในปี  พ.ศ  2490 และให้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งที่เมืองปางหลวง ( ป๋างโหลง ) ภายในปีเดียวกัน   (พ.ศ  2490) การประชุมในครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการอยู่ร่วมกัน แบบสหพันธรัฐในดินแดนแห่งนี้


แต่เนื่องจากนักศึกษาที่เป็นแนวร่วมของพม่า ได้ทำการแจ้งข่าวการประชุมร่วม 3 รัฐ ครั้งนี้ ให้ทางพม่าทราบ   ทางการพม่าซึ่งนำโดย  นายอูนุและนายอูจ่อ จึงเดินทางมาเข้าร่วมประชุมด้วย แม้ว่าการประชุมครั้งนี้ตัวแทนจากพม่าจะเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ในที่ประชุม ก็ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ เนื่องจากเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้พูดในที่ประชุมอย่างชัดเจนว่า


 "ต้องการจัดตั้งสหพันธรัฐที่ไม่มีพม่ารวมอยู่ด้วย"  ดังนั้น ตัวแทนชาวพม่าที่เข้าร่วมประชุม จึงเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ ไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นหรือลงมติใดๆทั้งสิ้น


ต่อมา วันที่ 27ก.ค 2489 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้ร่วมกันจัดตั้ง  "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" ( EX-ective Committee of the Council of Shan State Saophas ) ขึ้น ตามมติที่ตกลงกันไว้ในการประชุมที่เมืองกึ๋งขณะที่ทางฝ่ายพม่า ต้องการให้ไทยใหญ่ร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯไม่เห็นด้วย พม่าจึงทำการยุยงให้นักศึกษาในรัฐฉานบางกลุ่ม ซึ่งเป็นแนวร่วมของพวกเขา ทำการจัดตั้งกลุ่ม " เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน " ขึ้นเมื่อวันที่  20 ก.ย 2489 โดยกลุ่มนี้เ ป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดที่จะเรียกร้องเอกราชร่วม กับพม่า และล้มล้างการปกครอง ระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน


 "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ" ได้พยายามเรียกร้องว่า  " หากมีการให้เอกราชแก่รัฐฉาน ก็ไม่เห็นด้วยที่จะเข้าร่วมกับพม่า " โดยได้ทำหนังสือแสดงจุดยืนดังกล่าวต่อข้าหลวงอังกฤษมาโดยตลอด ซึ่งในขณะเดียวกันอองซานก็ได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษ และกลับมาชักชวนให้รัฐคะยาเข้า ร่วมกับพม่าด้วย  ในระหว่างการเดินทางไปรัฐคะยา อองซานได้แวะกล่าวปราศรัยต่อประชาชนชาวไทยใหญ่ 


เมื่อวันที่ 23ธ.ค2489ในสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง  ในเมืองตองจี ผู้ที่เข้าฟังการปราศรัย ส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและคนหนุ่มสาว โดยอองซานพยายามเรียกร้องให้ชาวไทยใหญ่ให้ความร่วม มือกับชาวพม่า และในวันที่   25  ธ.ค  2489 อองซานได้ติดต่อขอเข้าพบกลุ่มเจ้าฟ้า ที่ปกครองทางภาคใต้ของรัฐฉาน โดยพยายามพูดจาหว่านล้อมให้เจ้าฟ้า เหล่านั้น เห็นด้วยกับการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษร่วมกับพม่า แต่การเจรจาไม่ เป็นผล


วันที่  26  ธ.ค  2489 อองซานจึงเดินทางกลับไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปพบปะพูดคุย กับนายแอตลี(Attlee) นายกรัฐ - มนตรีของอังกฤษที่ลอนดอนเกี่ยวกับเรื่องเอกราชของพม่า


ต่อมาในวันที่ 30 ธ.ค 2489 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้จัดประชุมขึ้นที่แสนหวี และจัดส่งโทรเลขจาก เมืองล่าเสี้ยวถึง นายแอตลี มีใจความว่า "อองซานไม่ใช่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ เรื่องของทางไทยใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการเจ้าฟ้าฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง" โดยนายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวในวันที่2 ม.ค 2490


วันที่ 9 ม.ค 2490 อองซานเดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เข้าพบกับนายแอตลี ตั้งแต่วันที่ 16 – 26 ม.ค 2490 เพื่อเจรจาให้อังกฤษมอบเอกราชคืนให้แก่พม่าและรัฐฉานร่วมกัน แต่นายแอตลีได้ตอบปฏิเสธ เนื่องจากได้รับโทรเลขแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทยใหญ่ จากคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้า ฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอกราชร่วมกับพม่า


เมื่อนายอูนุทราบว่า ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้ส่งโทรเลขถึงนายแอตลี มีใจความไม่เห็นด้วยกับพม่า ในวันที่ 22 ม.ค 2490  นายอูนุจึงสั่งให้คนของเขา ไปทำการยุยงให้นักศึกษากลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน " ส่งโทรเลขสนับสนุนให้อองซาน  เป็นตัวแทนของชาวไทยใหญ่ ถึงนายแอตลี บ้าง โดยนายแอตลีได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่  26 ม.ค 2490


ต่อมาในวันที่  27 ม.ค 2490 จึงได้มีการทำหนังสือข้อตกลง อองซาน-แอตลี ( Aungsan  Attlee  Agreement) ขึ้น ซึ่งในหนังสือข้อตกลงฉบับนี้ ในวรรคที่  8    ได้กล่าวเกี่ยวกับรัฐฉานไว้ว่า " ให้อองซานทำการเจรจากับผู้นำของชาวไทยใหญ่ ที่กำลังจะจัดประชุมกันขึ้นที่ปางหลวง ( ป๋างโหลง ) ในเดือน ก.พ ที่จะถึงนี้"   และนายแอตลีได้ส่งโทรเลขถึงคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ , ตัวแทนรัฐคะฉิ่น, ตัวแทนรัฐชิน  ให้ได้รับทราบ เพื่อที่จะได้คิดแนวทางที่จะพูดคุยกับอองซาน  ในการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขา ที่กำลังจะจัดขึ้นที่เมืองปางหลวง(ป๋างโหลง)


การประชุมที่เมืองปางหลวง ( ป๋างโหลง ) เป็นมติที่ตกลงจากการประชุมครั้งก่อน เมื่อปี  2489   โดยที่ประชุม ได้ตกลงให้จัดการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาอีกครั้งในปีต่อมา คือวันที่ 3ก.พ 2490   ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ จึงได้จัดปรชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นที่ เมืองปางหลวง(ป๋างโหลง)อีกครั้งหนึ่ง โดยงบประมาณค่า ใช้จ่ายในการจัดประชุมในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ เป็นผู้ออกเองทั้งหมด
และในวันที่ 8 ก.พ 2490 เวลา 18.00 น. อองซานได้เดินทางมาถึงเมืองปางหลวง( ป๋างโหลง ) ก่อนหน้านี้ อองซานไม่ได้มา และเพิ่งเดินทางมาถึง โดยไม่มีการเตรียมตัวเพื่อที่จะมาเข้าร่วมประชุมเลย อองซานมาในครั้ง นี้ เหมือนเป็นการเสี่ยงดวง ว่าทางไทยใหญ่จะให้ความร่วมมือในการเรียกร้องเอกราชหรือไม่เท่านั้น  ดังนั้น ที่มีการพูดว่า “อองซานเป็นผู้จัดการประชุมสัญญาปางหลวง ( ป๋างโหลง ) “ นั้น จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด


วันที่  9 ก.พ  2490 เวลา 10.00 น. ตัวแทนไทยใหญ่ , ชินและคะฉิ่น ได้จัดตั้ง    "สภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา"   ( S.C.O.U.H.P )  ขึ้น ตามมติกา รประชุมร่วมกันเมื่อเดือน มี.ค 2489  โดยมีสมาชิกสภาซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากรัฐฉาน(ไทยใหญ่) , รัฐชิน และรัฐคะฉิ่น รัฐละ 6 คนรวมเป็น 18 คน และให้เป็นสภาปกครองสูงสุดของ สหพันธ์รัฐเทือกเขา


วันที่ 9 ก.พ 2490 เวลา 11.30 น. อองซาน ได้กล่าวในที่ประชุม เรียกร้องให้ไทยใหญ่ร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตัว แทนของชาวไทยใหญ่ได้คัดค้านอย่างหนักแน่นเช่นเดิม และในขณะที่กำลังดำเนินการประชุมอยู่นั้น ได้เกิดการกระทบกระทั่งชกต่อยกันขึ้น ระหว่างทหารชุดรักษาความปลอดภัยของอองซาน กับทหารชุดรักษาความปลอดภัยของเจ้าฟ้าส่วยแต๊ก แห่งเมืองหยองห้วย ซึ่งเป็นผู้นำของเหล่าเจ้าฟ้าไทใหญทั้งหลาย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น


บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้กล่าวในที่ประชุม ครั้งนี้ว่า " ถ้าไม่มีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ก็จะไม่ร่วมมือกับพม่าอย่างเด็ดขาด "   ส่วนตัวแทนของรัฐคะฉิ่น ก็ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดดินแดนของรัฐคะฉิ่นให้ชัด เจน (แต่เดิม ดินแดนของรัฐคะฉิ่น เป็นดินแดนของรัฐฉาน  แต่ต่อมา อังกฤษได้แยกเมืองกอง , เมืองยาง ออกไปเป็นรัฐคะฉิ่น เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง เป็นการชั่วคราวเท่านั้น )


ซึ่งอองซานได้แสดงอาการโกรธ และจะไม่อยู่ร่วมประชุมต่อ แต่ทางฝ่ายนักศึกษาของกลุ่ม“ เพื่อเอกราชรัฐฉาน “ ซึ่งเป็นแนวร่วม กับทางอองซาน ได้เรียกร้องให้อยู่ร่วมประชุมต่อ


ต่อมาวันที่  11 ก.พ. 2490 ที่ประชุมได้มีมติตกลงที่จะร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่จะร่วมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชเท่านั้น  หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระในการตัดสินใจทุกอย่าง ดังนั้น เป้าหมายที่ต้องร่วมกันครั้งนี้ จึงเพื่อให้เกิดพลังในการเจรจาต่อรองขอเอกราช จากอังกฤษเท่านั้น


และในวันที่ 12 ก.พ 2490 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ และตัวแทนจากรัฐต่าง ๆ จึงได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง ( ป๋างโหลง : Panglong Agreement ) ซึ่งอองซานเป็นผู้ร่างขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ 2490   มีเนื้อหาสาระทั้งหมด  9  ข้อ  แต่ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระ     บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่จึงได้ท้วงถาม


ซึ่งอองซานได้ตอบว่า " เรื่องสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระนั้น น่าจะนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของสหภาพ  จะมีผลดีมากกว่า เขียนไว้ในหนังสือสัญญา ปางหลวง ( ป๋างโหลง ) " ด้วย เหตุนี้  สิทธิการแยกตัวของรัฐต่างๆ ที่ร่วมลงนามจึงไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญาปางโหลง แต่มีปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศพม่า


หนังสือสัญญาปางหลวง ( ป๋างโหลง ) ปี พ.ศ 2490


1. ให้ตัวแทนของสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา ( Supereme Council of the United Hill People ) เข้าร่วมในคณะรัฐบาลจำนวน1 คนโดยให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่ปรึกษา


2. รัฐมนตรี ผู้นั้นจะไม่สังกัดกระทรวงใดสำหรับการทหารและการต่างประเทศของสหพันธรัฐ เทือกเขา ( United  Hill People )จะต้องมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนซึ่งจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะ รัฐมนตรีในรัฐบาล


3. ตัวแทนของสหพันธรัฐเทือกเขา( United Hill People )สามารถเลือกรัฐมนตรีช่วยได้อีก 2 ตำแหน่งซึ่งในจำนวน 2 ตำแหน่งนี้จะต้องมิใช่ชนชาติเดียวกันและต้องมิใช่ชนชาติเดียวกับกับรัฐมนตรี ด้วย


4. รัฐมนตรี ช่วยทั้ง2คนมีสิทธิเข้าร่วมการประชุมก็ต่อเมื่อมีการประชุมเกี่ยวกับสหพันธ รัฐเทือกเขา ( ไทยใหญ่,ชิน และคะฉิ่น )เท่านั้นนอกเหนือจากนี้รัฐมนตรีเท่านั้นที่จะมีสิทธิเข้าร่วมในการประชุม สภา ฯ


5. สหพันธรัฐเทือเขา( United Hill People )มีสิทธิปกครองตนเองโดยอิสระเหมือนดังเช่นที่เคยปฏิบัติ


6. ในหลักการให้การรับรองว่าให้รัฐคะฉิ่น เป็นรัฐ ๆหนึ่งแต่ในการณ์นี้จะต้องนำเข้าสู่วาระการประชุมร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง


7. ตามหลักการระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดไว้สหพันธรัฐเทือกเขา ( United Hill People )ต้องได้รับสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับพม่าทุกประการ


8. รัฐฉานมีสิทธิในการใช้จ่ายเงินทองเหมือนเดิม(เหมือนสมัยอยู่ในอารักขาของอังกฤษ )


9. ต้อง นำเงินส่วนกลางจากทางรัฐบาลไปช่วยเหลือแก่รัฐชินและคะฉิ่นส่วนหนี้สิน ระหว่างพม่าและไทยใหญ่นั้นให้รัฐมนตรีและ รัฐมนตรีช่วยของสหพันธรัฐเทือกเขา ( United Hill People )ทำการตรวจสอบและเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป


รายชื่อผู้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญา ปางหลวง ( ป๋างโหลง )
• ฝ่ายพม่า  อองซาน


• ฝ่ายคะฉิ่น
1. สะมาตูวาสิ่นวาหน่อง(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )
2. ตูวาจ่อริด(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )
3. เต่งระต่าน(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )
4. ตูวาเจ๊าะลุน(ตัวแทนจากเมือง บ้านหม้อ )
5. ละป่านกะหร่อง(ตัวแทนจากเมือง บ้านหม้อ )


• ฝ่ายชิน
1. ลัวะมง(ตัวแทนจากเมือง กะลาน )
2. อ่องจ่าคบ(ตัวแทนจากเมือง ต๊ะเต่ง )
3. กี่โหย่มาน(ตัวแทนจากเมือง ฮาคา )


• ฝ่ายไทยใหญ่
1. เจ้าขุนปานจิ่ง(เจ้าฟ้า น้ำสั่น )
2. เจ้าส่วยแต๊ก( เจ้าฟ้า ย่องฮ่วย )
3. เจ้าห่มฟ้า( เจ้าฟ้า แสนหวีเหนือ )
4. เจ้าหนุ่ม( เจ้าฟ้า ลายค่า )
5. เจ้าจ่ามทุน( เจ้าฟ้า เมืองป๋อน )
6. เจ้าทุนเอ( เจ้าฟ้า ส่าเมืองคำ )
7. อูผิ่ว( ตัวแทนจากเมือง สี่แส่ง )
8. ขุนพง( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
9. ติ่นเอ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
10. เกี่ยปุ๊( ตัวแทนนักศึกษากลุ่ม เพื่อเอกราชรัฐฉาน )
11. เจ้าเหยียบฟ้า ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
12. ทุนมิ้น ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
13. ขุนจอ ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
14. ขุนที ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน


ไทยใหญ่ 14 คน คะฉิ่น 5 และชิน 3 คน พม่า1 คน รวม 23 คน ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง ( ป๋างโหลง : Panglong Agreement )

เป็นการเริ่มหยั่งรากการรวมเมืองในรูปแบบสหภาพเป็นครั้งแรก ซึ่งในหนังสือสัญญาปางหลวง( ป๋างโหลง ) มีชนชาติร่วมลงนามเพียง 4 ชนชาติเท่านั้น เนื่องจากสิทธิสำคัญส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับไทยใหญ่เสียเป็นส่วนใหญ่ และไทยใหญ่ก็เป็นผู้ริเริ่มสร้างความเป็นปึกแผ่นระหว่างชนชาติ จำนวนชาวไทยใหญ่ที่เข้าร่วมลงนามจึงมากกว่าชนชาติอื่น การรวมกันเป็นสหภาพนี้ มิได้เกิดขึ้นจากความคิดของ อองซาน แต่เกิดขึ้นจากการริเริ่มของเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ที่พยายามก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ 2488 ซึ่งในขณะนั้น อองซานเองก็ยังไม่ได้มีความคิดที่จะรวมเอา สหพันธรัฐเทือกเขาเป็นสหภาพ ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ เป็นผู้เตรียมการดำเนินการไว้ทั้งหมดแล้ว

แต่ภายหลัง อองซานได้เข้ามาฉวยโอกาสชุบมือเปิบ ถือเอาการก่อตั้งตั้งสหภาพ เป็นการริเริ่มของพม่า เนื่องจากหนังสือสัญญาปางหลวง(ป๋างโหลง: Panglong Agreement ) ซึ่งตกลงร่วมกันเรียกร้องเอกราช และจัดตั้งคณะรัฐบาลในการปกครองประเทศต่อไปในอนาคต  (หลังจากรับเอกราชแล้ว)จำเป็นที่จะต้องมีรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศ ดังนั้น ในเดือน  พ.ค  2490  –  พ.ย  2490 จึงได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาและในบทบัญญัติที่   10   บรรทัดที่   202 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระเอาไว้อย่างชัดเจน

ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง : Panglong Agreement)  นั้น มิได้มีการกำหนดระยะเวลาในการอยู่ร่วมกันเจ้าฟ้าและผู้นำของชาวไทยใหญ่มีความคิดแต่เพียงว่าอยู่ร่วมกัน จึงได้เสนอให้อยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลา 10 ปี เมื่อ 19 เม.ย 2490 ณ เมืองเม่เมี้ยว ( MAY MYO ) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อังกฤษได้เข้ามาพบปะ และถามความคิดเห็นของประชาชนสหพันรัฐเทือกเขา ผลจากการร่วมลงนามใน

หนังสือสัญญาปางหลวง   (ป๋างโหลง : Panglong Agreement)  และร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้น อังกฤษจึงมอบเอกราชให้ชนชาติต่างๆ ในพม่า เมื่อวันที่ 4 ม.ค 2491 โดยทุกชนชาติ จะต้องมีสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการ เนื่องจากประเทศไทยใหญ่และพม่า มิได้เป็นประเทศเดียวกัน อองซานจึงได้เรียกร้องต่ออังกฤษ เพื่อให้ไทยใหญ่และพม่า ได้รับเอกราชในเวลาเดียวกัน และตัวอองซานเอง ได้เดินทางขึ้นมาพบปะพูดคุยกับเจ้าฟ้าในที่ประชุมปางหลวง (ป๋างโหลง ) ซึ่งถ้าหากว่าไทยใหญ่และพม่า  

 เป็นประเทศเดียวกันแล้ว อองซานคงไม่ต้องเสียเวลามาเจรจากับเจ้าฟ้าในการประชุมปางหลวง(ป๋างโหลง)และหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง : Panglong Agreement) ก็คงไม่เกิดขึ้น และใน รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ 2490 ก็คงไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระ ดังนั้น ประเทศไทยใหญ่และพม่า จึงมาเกี่ยว พันเริ่มตั้งแต่การลงนามร่วมกันในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง : Panglong Agreement) เป็นต้นมาเท่านั้นเอง

แต่หลังจากนายพลเนวิน นำทหารเข้ายึดอำนาจจากอองซาน เมื่อวันที่ 2 มี.ค 2505 และฉีกหนังสือสัญญาปางหลวง   ( ป๋างโหลง : Panglong Agreement ) ทิ้ง และยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ได้ร่วมกันร่างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2490  เป็นโมฆะ ความ เกี่ยวพันระหว่างไทยใหญ่กับพม่า จึงเป็นอันสิ้นสุดลง กลายเป็นคนละประเทศตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมาพม่าได้นำกำลังทหาร เข้ามารุกรานดินแดนของประเทศไทยใหญ่ เข้ามาทำการข่มเหงกดขี่ประชาชนในแผ่นดิน ไทยใหญ่ เป็นลักษณะของพวกล่าอาณา นิคม โหดเหี้ยมอำมหิต ไร้มนุษยธรรม ถือเอาว่าดินแดนทั้งหมดของรัฐฉานเป็นของพม่า โดยกล่าวหาเจ้าของประเทศเว่าป็นชนกลุ่มน้อย ทั้ง ๆ ที่แผ่นดินของรัฐฉานทั้งหมดมีเจ้าของโดยชอบธรรม       
       
ผู้เขียนได้ศึกษา รวบรวมข้อมูล โดยการสอบถามจากผู้ที่มีช่วงชีวิตอยู่ในสมัยนั้น  รวมทั้งผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์สมัยนั้น จึงได้รับทราบข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ส่วนของพม่าได้พยายามปกปิดข้อเท็จจริง โดยการเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ อันเป็นเท็จ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถศึกษาข้อมูลจากประวัติศาสตร์ของพม่าได้แม้แต่น้อยนิด เพื่อให้ผู้ สืบสายเลือดไทยใหญ่ ได้รับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด จึงได้ ใช้เวลาอันยาวนาน ทำการค้นคว้า หาความจริงออกเผยแพร่ เพื่อให้ได้รับรู้โดยทั่วกันว่า ความจริงแล้ว ไทยใหญ่เป็นประเทศที่ถูกปล้นเอกราชโดยพม่า
สัญญาปางโหลง  "ลิ๊กกวามหมายป๋างโหลง  "


  "   เมืองแห่งอิสรภาพของชาวไทยใหญ่ตามข้อตกลงป๋างโหลง
มอบให้สัญญากันไว้เป็นมั่นเหมาะ
แล้วกลับคำกันได้หรือไร

Referenc
rakmeuxngtiy shan state

 
คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com