สถิติวันนี้ |
2 คน |
สถิติเมื่อวาน |
45 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
2528 คน 52315 คน 1744759 คน |
เริ่มเมื่อ 2010-01-13 | |
|
| เพลงลีกโฮมหมายปางโหลง
หนังสือสัญญาปางหลวง( ป๋างโหลง ) มีชนชาติร่วมลงนามเพียง 4 ชนชาติเท่านั้น เนื่องจากสิทธิสำคัญส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับไทยใหญ่เสียเป็นส่วนใหญ่ และไทยใหญ่ก็เป็นผู้ริเริ่มสร้างความเป็นปึกแผ่นระหว่างชนชาติ จำนวนชาวไทยใหญ่ที่เข้าร่วมลงนามจึงมากกว่าชนชาติอื่น
การรวมกันเป็นสหภาพนี้ มิได้เกิดขึ้นจากความคิดของ อองซาน แต่เกิดขึ้นจากการริเริ่มของเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ที่พยายามก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ 2488 ซึ่งในขณะนั้น อองซานเองก็ยังไม่ได้มีความคิดที่จะรวมเอา สหพันธรัฐเทือกเขาเป็นสหภาพ
ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ เป็นผู้เตรียมการดำเนินการไว้ทั้งหมดแล้ว แต่ภายหลัง อองซานได้เข้ามาฉวยโอกาสชุบมือเปิบ ถือเอาการก่อตั้งตั้งสหภาพ เป็นการริเริ่มของพม่า เนื่องจากหนังสือสัญญาปางหลวง(ป๋างโหลง: Panglong Agreement ) ซึ่งตกลงร่วมกันเรียกร้องเอกราช และจัดตั้งคณะรัฐบาลในการปกครองประเทศต่อไปในอนาคต (หลังจากรับเอกราชแล้ว)จำเป็นที่จะต้องมีรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศ
ดังนั้น ในเดือน พ.ค 2490 พ.ย 2490 จึงได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาและในบทบัญญัติที่ 10 บรรทัดที่ 202 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง : Panglong Agreement) นั้น มิได้มีการกำหนดระยะเวลาในการอยู่ร่วมกันเจ้าฟ้าและผู้นำของชาวไทยใหญ่มีความคิดแต่เพียงว่าอยู่ร่วมกัน
จึงได้เสนอให้อยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลา 10 ปี เมื่อ 19 เม.ย 2490 ณ เมืองเม่เมี้ยว ( MAY MYO ) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อังกฤษได้เข้ามาพบปะ และถามความคิดเห็นของประชาชนสหพันรัฐเทือกเขา ผลจากการร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง : Panglong Agreement) และร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้น อังกฤษจึงมอบเอกราชให้ชนชาติต่างๆ ในพม่า เมื่อวันที่ 4 ม.ค 2491 โดยทุกชนชาติ จะต้องมีสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการ
เนื่องจากประเทศไทยใหญ่และพม่า มิได้เป็นประเทศเดียวกัน อองซานจึงได้เรียกร้องต่ออังกฤษ เพื่อให้ไทยใหญ่และพม่า ได้รับเอกราชในเวลาเดียวกัน และตัวอองซานเอง ได้เดินทางขึ้นมาพบปะพูดคุยกับเจ้าฟ้าในที่ประชุมปางหลวง (ป๋างโหลง ) ซึ่งถ้าหากว่าไทยใหญ่และพม่า เป็นประเทศเดียวกันแล้ว อองซานคงไม่ต้องเสียเวลามาเจรจากับเจ้าฟ้าในการประชุมปางหลวง(ป๋างโหลง)และหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง : Panglong Agreement) ก็คงไม่เกิดขึ้น
และใน รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ 2490 ก็คงไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระ ดังนั้น ประเทศไทยใหญ่และพม่า จึงมาเกี่ยว พันเริ่มตั้งแต่การลงนามร่วมกันในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง : Panglong Agreement) เป็นต้นมาเท่านั้นเอง แต่หลังจากนายพลเนวิน นำทหารเข้ายึดอำนาจจากอองซาน เมื่อวันที่ 2 มี.ค 2505 และฉีกหนังสือสัญญาปางหลวง ( ป๋างโหลง : Panglong Agreement ) ทิ้ง
และยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ได้ร่วมกันร่างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2490 เป็นโมฆะ ความ เกี่ยวพันระหว่างไทยใหญ่กับพม่า จึงเป็นอันสิ้นสุดลง กลายเป็นคนละประเทศตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมาพม่าได้นำกำลังทหาร เข้ามารุกรานดินแดนของประเทศไทยใหญ่ เข้ามาทำการข่มเหงกดขี่ประชาชนในแผ่นดิน ไทยใหญ่ เป็นลักษณะของพวกล่าอาณา นิคม โหดเหี้ยมอำมหิต ไร้มนุษยธรรม ถือเอาว่าดินแดนทั้งหมดของรัฐฉานเป็นของพม่า
โดยกล่าวหาเจ้าของประเทศว่าป็นชนกลุ่มน้อย ทั้ง ๆ ที่แผ่นดินของรัฐฉานทั้งหมดมีเจ้าของโดยชอบธรรม
Referenc rakmeuxngtiy shan state |
|