www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 5 คน
 สถิติเมื่อวาน 28 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3383 คน
49197 คน
1741641 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

       
       
       
 
 
ชีวิตนักข่าว...ตั้ง ทีวีดาวเทียม PRDTV NEWS ต้องคิดเชิงกลยุทธ์
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
5 ต.ค.53
การตั้ง สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม PRDTV NEWS ที่ออกอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง นับว่าเป็นครั้งแรกของกรมประชาสัมพันธ์ ที่มีมติให้ (มติ คบส.ที่6/2553 ลง.29ก.ค.53) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรี ส่งสัญญาณออกอากาศ ผ่านดาวเทียมอย่างเต็มรูปแบบ ความจริง เรื่องการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม  ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินการ    แต่มีมานานมากแล้ว โดยในอดีต  ใช้ประโยชน์ในการส่งข่าวผ่านดาวเทียม จากสถานีโทรทัศน์ในภูมิภาค ให้กับสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรุงเทพซึ่งการส่งข่าวของแต่ละสถานี จะใช้ส่งข่าวเป็นช่วงเวลา ไม่แน่นอน เสร็จข่าวเมื่อไหร่ก็ส่งสัญญาณกันเมื่อนั้น    จึงเป็นการใช้งานไม่เต็มที่    และไม่คุ้มกับการลงทุน  เป็นอย่างนี้มานานหลายสิบปีแล้ว 
 
ผมขอเล่าเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูล ถึงสาเหตุที่ กรมประชาสัมพันธ์ เริ่มใช้ดาวเทียม มีเหตุผลคือ เมื่อปี พ.ศ.2532 ได้เกิดพายุใต้ฝุ่นเกย์ พัดกระหน่ำภาคใต้ แถบจังหวัดชุมพร และ ประจวบคีรีขันธ์  ทำให้ระบบโทรคมนาคม ได้รับความเสียหายตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป โดยในครั้งนั้นการส่งโทรทัศน์ จะเป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านทางระบบไมค์โครเวฟ   ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจาก จุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง เป็นทอด ๆ ไป เมื่อจุดต้นทางเสียหาย จากพายุเกย์   การส่งสัญญาณก็ต้องถูกตัดขาด ไปเกือบทั้งระบบ   ในสมัยนั้นผมจำได้ว่า  คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์   เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี    ที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์   มีนโยบายว่า    ให้มีการการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม เพราะการส่งระบบนี้ เป็นการยิงสัญญาณขึ้นไปสู่ดาวเทียม   ที่โคจรอยู่นอกโลก เมื่อเกิดพายุหรือลมพัดกระหน่ำอย่างพายุเกย์   การส่งสัญญาณจะไม่กระทบ และจะไม่ทำให้ระบบโทรคมนาคมล่ม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงตัดสินใจ เช่าดาวเทียมปาราปา ของประเทศอินโดนีเซีย ส่งสัญญาณโทรทัศน์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 
 
ทีนี้ผมขอกลับมาที่ การที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จ.กาญจนบุรี ส่งรายการอย่างเต็มรูปแบบ ออกอากาศ 24 ชั่วโมง ผ่านดาวเทียม จึงทำให้เกิดความอิสระทางด้านการเผยแพร่รายการ หลังจากที่สถานีภูมิภาค มีเวลาเผยแพร่ออกอากาศเพียง วันละ 3 ชั่วโมง แต่เมื่อทางสถานีได้เวลาออกอากาศ ที่มากกว่าเดิมประมาณ 8 เท่า ก็ย่อมมีปัญหาที่ตามมาคือ รายการที่จะนำมาออก ให้ครบเวลา 24 ชั่วโมง จะทำอย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องคิดอย่างหนัก   เพราะมติที่ประชุม คบส. ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จ.กาญจนบุรี ออกอากาศเป็นช่องข่าวสาร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 นั่นหมายความว่า ตั้งแต่วันที่มีมติจนถึงวันที่จะเริ่มต้นออกอากาศ เรามีเวลาเตรียมการ เพียง 63 วัน หรือ 2 เดือน กับอีก 3 วัน  ซึ่งน้อยมากกับการเตรียมการหารายการมาออกอากาศ สิ่งที่ทำได้คือ ส่งหนังสือขอความร่วมมือจาก หน่วยงานภายนอก ที่พอจะมีความสัมพันธ์ส่วนตัว เพื่อขอรายการ อาทิ ปปส. กรมอนามัย   ปตท. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ กรมทางหลวง กระทรวงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี รวมทั้ง หน่วยงานในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์  ซึ่งก็ได้รายการมาส่วนหนึ่งไม่มากนัก ถ้านำมาออกอากาศจะใช้เวลาเพียง 2 วัน รายการก็จะหมด ชนิดที่เรียกว่าหมดใส้หมดพุง หรือหมดหน้าตัก แน่นอนนั่นหมายถึง จอต้องดำ ไม่มีภาพออกอากาศ แล้วจะทำอย่างไรหละ ถึงจะมีรายการมาออกอากาศ 
ผมต้อง พูดคุยกับคีย์แมน ที่เป็นหัวหน้าฝ่าย คือ คุณอเนก อิสระทะ หัวหน้าช่างเทคนิค คุณเฉลียว แก้วอาษา หัวหน้าฝ่ายข่าวและรายการ คุณอภิชาต อบอาย หัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ผมเริ่มเล่าปัญหาให้ฟังว่า
 
 “เรื่องการดึงข่าว จากถังข่าวผมไม่ค่อยซีเรียส เท่าไหร่ แต่ผมกังวลเรื่องรายการ ที่มีช่วงฟันหลอ หลายชั่วโมง ” หัวหน้าฝ่ายทั้งสาม ต่างเงียบงัน เพราะเป็นเรื่องใหญ่ และจะต้องช่วยคิด “ไหนผมขอดูผังรายการหน่อยซิ ” ผมหันไปถามคุณอภิชาต ซึ่งได้ทำผังให้ผมอย่างเรียบร้อย สวยงาม ผมเพ่งพิศ พินิจดู ในผังกลับว่างเปล่า ไม่มีรายการ ผมเริ่มเครียดหนัก
 
“แล้วพวกเราจะทำอย่างไรดี เอารายการเก่ามาดู ซิว่า พอจะออกได้ไหม ”    ผมเริ่มซัก 
 
คุณเฉลียวบอกว่า “ผอ.รายการเดิมที่ออกอากาศไปแล้ว ผมว่านำมาออกไม่ได้หรอกครับ เพราะจะติดปัญหาเรื่องเวลา เพราะเป็นเทปตั้งแต่ปี 2552 ”
 
“ผมว่าถ้าไม่มีรายการมาออก ก็ต้องยอม เพราะใกล้เวลาออกอากาศแล้ว ที่ขอไปก็ได้มาน้อยมาก ไม่พอแน่ ”  
 
ผมเริ่ม มืดมน กับการแก้ปัญหา ด้านรายการที่ไม่พอ ที่พวกเราเรียกกันตามภาษา ในกลุ่มของเรา ที่ไม่ใช่ ศัพท์ทางนิเทศศาสตร์ ว่า “รายการฟันหลอ” ซึ่งมีความหมายว่า เวลาว่างที่ไม่มีรายการที่จะออกอากาศ เหมือนกับฟันที่ขึ้นไม่เต็มปาก หรือเรียกว่าฟันหลอ นั่นเอง ทุกคนเงียบ งัน ไม่มีทางออก ว่าจะหารายการอะไรมาลง และจะต้องใช้เวลาเพียงไม่กี่วันเราก็จะต้อง ออกอากาศแล้ว คืนนั้นเรานั่งคุยกัน จนถึง เที่ยงคืน ก็ไม่มีอะไรใหม่ แต่ผมก็พยายามให้กำลังใจทุกคนว่าเราทำได้แน่ แต่เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดของเราใหม่ โดยให้คิดแบบเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะให้คำตอบทางเดียวคือ  เราต้องทำได้ ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ เราจะต้องเกิดอย่างเดียว เราไม่เลือกที่จะตาย 
 
ผมยกตัวอย่าง การคิดเชิงกลยุทธ์ ให้คีย์แมนผมฟังว่า ในประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก  เป็นเรื่องที่สอนแนวคิดเชิงกลยุทธ์ที่ดีมาก คือตอนที่ จิวยี่   ให้ ขงเบ้ง ไปหาเกาทัณฑ์ ประมาณ พันดอก ขงเบ้งตกปากรับคำทันที และ ขงเบ้ง ยังบอกว่า จะหาให้มากกว่านั้น สร้างความงุนงงสงสัยแก่จิวยี่ เป็นยิ่งนัก ว่า ขงเบ้ง จะหามาได้อย่างไร ภายในคืนเดียว แม้แต่จะหาไม้ไผ่มาทำลูกเกาทัณฑ์   ก็ยังหายากแล้ว  ต้องบอกว่า ขงเบ้ง นี่แหล่ะที่เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ ที่เยี่ยมยอดที่สุด เพราะขงเบ้ง มีความสามารถหยั่งรู้ฟ้าดิน ถ้าขงเบ้งอยู่ในยุคนี้  ก็จะเป็นผู้ที่มีข้อมูลมาก และเป็นผู้หยั่งรู้อย่างลึกซึ้ง ขงเบ้ง รู้แม้นกระทั่งว่าคืนนี้จะมีหมอกลงจัด จึงได้จัดทำหุ่นทหารฟางหลายพันตัว บรรทุกลงเรือรบ หลายลำ จากนั้นจึง นำเรือที่บรรทุกทหารหุ่นฟาง บุกกองทัพโจโฉ ท่ามกลางหมอกที่ลงจัด เมื่อทหารฝ่าย    โจโฉ เห็นเรือบุกเข้ามา จึงเร่งระดมยิงเกาทัณฑ์ ใส่เรื่อทหารหุ่นฟางอย่างไม่ยั้ง โดยไม่รู้ว่า นั่นคือทหารหุ่นฟาง  เพราะ หมอก เป็นม่านบดบัง  เกาทัณฑ์ที่ยิงไปจึงไปปักที่หุ่นฟาง  ไม่ได้สร้างเสียหาย แก่ทหารของขงเบ้ง เมื่อขงเบ้งได้ลูกเกาทัณฑ์ ตามที่ต้องการ จึงนำมาให้ จิวยี่ ซึ่ง จิวยี่ ถึงกับ ประหลาดใจ ว่า ขงเบ้งทำได้อย่างไร
นี่คือ การคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ขงเบ้ง นำมาใช้หาเกาทัณฑ์   คือ ขงเบ้งรู้ว่า มีหมอกลงในวันนั้น จึงมีการเคลื่อนทัพทหารหุ่นฟาง ถ้าเป็นเราคงจะมืดมน อนทะการณ์  หาทางออกไม่เจอว่าจะไปหา ลูกธนู เป็นพันดอกมาได้อย่างไร แค่ดอกเดียวเราก็หืดขึ้นคอแล้ว 
 
อีกกลยุทธ์หนึ่งที่ผมได้เล่าให้ คีย์แมน ฟังในคืนนั้น ก็คือ การขนส่ง สุนัข แมว และปลา ข้ามฟาก โดยหญิงชรา กับเรือพาย ซึ่งการขนจะต้องไม่ให้มีการกระทบกระทั่งกัน หมายความว่า ถ้าพาปลา ข้ามฟากไปก่อน ปล่อยให้ หมา กับ แมว อยู่เพียงลำพัง ทั้งสองตัวก็จะกัดกัน แบบนี้ก็ไม่ได้ ถ้าขนเอาสุนัข ไปก่อน แมวก็จะอยู่กับปลา แน่นอนแมวต้องกินปลา แล้วเราจะทำอย่างไรหละ ไม่ให้มีการกระทบกัน ถ้าเป็นเราคงคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไร แต่นักคิดเชิงกลยุทธ์ จะคิดแก้ปัญหาได้ทุกอย่างแม้นว่าปัญหานั้นจะยากเย็นแสนเข็ญแค่ไหน   ทีนี้เรามาดูนักคิดเชิงกลยุทธ์ แก้ปัญหากัน 
 
นักคิดเชิงกลยุทธ์ จะเริ่มต้นให้แมว ข้ามฟากไปก่อน แล้วหญิงชรา ก็จะพายเรือเปล่ามารับ ปลา ข้ามฟาก ขากลับ หญิงชราจะต้องนำแมว ข้ามฟากกลับมาฝั่งเดิม หากปล่อยปลากับแมวอยู่ด้วยกันก็กินกันอย่างแน่นอน จากนั้น หญิงชรา ก็จะนำสุนัข พาข้ามฟาก ซึ่งมีปลา รออยู่ ก่อนแล้ว โดยสุนัข กับปลามิได้เป็นศัตรูกัน และหญิงชรา ต้องลงทุน พายเรือเปล่ากลับ ไปรับ แมว ข้ามฟาก  ซึ่งนักคิดเชิงกลยุทธ์ แก้ไขปัญหาได้เสมอ 
 
เห็นไหมครับ การคิดเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา   และผมก็เริ่มที่จะอธิบายการคิดเชิงกลยุทธ์ ที่จะนำมาแก้ปัญหา  รายการที่จะนำมาเผยแพร่โทรทัศน์ดาวเทียม PRDTV NEWS ที่ถูกกำหนดให้เป็นช่องข่าว  และนำมาแก้ปัญหารายการฟันหลอ เพื่อให้เป็นผลสำเร็จ  
 
โดยกลยุทธ์ที่ผมนำมาใช้คือ ถีบลงบ่อจระเข้   แนวความคิดนี้   ต้องย้อนไปเมื่อ 25 ปีที่แล้ว สมัยนั้นผมสอบบรรจุเป็นผู้จัดรายการ แต่อยู่ได้ไม่ถึงเดือน ผมถูกเปลี่ยนตำแหน่งเป็น ผู้สื่อข่าว โดยที่ผมไม่ได้ตั้งตัว และรู้สึกเคืองผู้ที่เปลี่ยนตำแหน่งผมอยู่ในใจ แต่ผมเป็นคนที่ค่อยยอมแพ้แก่โชคชะตา ผมจึงคิด กลยุทธ์ ที่เรียกว่า กลยุทธ์ถีบลงบ่อจระเข้ ซึ่งผมขออธิบายว่า
 
 “ พระราชาเมืองหนึ่ง ทรงให้มหาดเล็ก ตีฆ้องร้องป่าว บอกว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย พระราชาขอประการว่า จะมีการคัดเลือกพระราชบุตรเขย โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ที่เข้าแข่งขัน จะต้องว่ายน้ำในบ่อจระเข้ข้ามฟาก หากข้ามฟากโดยไม่รับอันตราย คนนั้นก็จะได้รับการอภิเษกสมรส กับพระราชธิดา แต่ผู้ที่เข้ารับการแข่งขันที่จะเป็นพระราชบุตรเขย ไม่มีใครสักคนทำได้เพราะเกิดหวาดกลัวจระเข้ ก็ขอถอนตัวหมดทุกคน เหลือแต่หนุ่มพเนจรอยู่ผู้เดียว หนุ่มคนนี้ ก็ยังยืนเก้ ๆ กัง ๆ ในใจหนุ่มคนนี้ก็ขลาดกลัวเหมือนกัน แต่เมื่อไม่มีใครแล้ว  พระราชธิดา ก็จะต้องครองโสด และจะไม่มีใครสืบทอดราชบัลลังก์ เมื่ออำมาตย์ เห็นอย่างนั้น จึงตกลงปลงใจ ถีบหนุ่มพเนจร คนนั้นลงบ่อจระเข้  หนุ่มพเนจรคนนั้น   ว่ายน้ำสุดชีวิต เพื่อให้หนีรอดจากการถูกจระเข้   รุมทำร้าย  ในที่สุดหนุ่มพเนจรก็ว่ายน้ำถึงฝั่งและรอดตายจากการถูกจระเข้กัด  และเขาก็ได้อภิเษกสมรสกับพระธิดา พร้อมทั้งได้ครองเมืองกึ่งนึ่ง ตามที่พระราชา ได้ให้สัญญาไว้     ตัวผมเองคือคนที่ถูกถีบลงบ่อจระเข้ ที่มีความดุร้าย ซึ่งผมจะต้องนำพาองค์กร ให้ผ่านพ้นไปให้ได้ และรายการที่จะออกอากาศในช่อง PRDTV NEWS จะต้องพอเพียง และมีคุณภาพ ”
 
นั่นคือกลยุทธ์ ที่ผมได้พูดคุยให้เพื่อร่วมงานของผมได้ฟัง ว่าความสำเร็จรอเราอยู่ข้างเสมอ พวกเราทำได้ โดยเฉพาะหนุ่มพเนจร คนนั้น เขาได้เป็นถึงราชบุตรเขย ครองบ้านครองเมือง   ทีนี้เรามาดูความเป็นจริงว่า เราต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ 
 
อันดับแรก เราต้องมีข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราก่อนว่า เรามีเครื่องมืออะไร เรามีข้อมูลด้านรายการจากที่ไหนบ้าง เรื่องบุคลากรมีความพร้อมแล้วหรือยัง เท่านี้ก็พอที่จะเป็นข้อมูล ในการที่จะมาดำเนินการ 
 
ในด้านข้อมูลด้านรายการ พบว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในภูมิภาค จำนวน 8 แห่งทั่วประเทศ มีการผลิตรายการสนทนาข่าว วันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งหมายความว่า เราจะได้รายการที่มีความยาวถึง วัน 8 ชั่วโมง ได้แค่นี้พวกเราก็ยิ้มได้แล้ว และมั่นใจว่ารายการฟันหลอ จะหมดไป เพราะจะมีรายการมาออกอากาศ ถึงวันละ 8 ชั่วโมง เพียงพอที่จะออกอากาศ ในวันแรก (วันที่ 1 ตุลาคม 2553)   ได้อย่างสบาย และผมยังมีข้อมูลอีกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ที่อยู่ในภูมิภาค ทั้ง 8 แห่ง ยังได้ผลิตรายการข่าวท้องถิ่น วันละ 30 นาที ถ้าผมดึงมาได้ เราก็จะมีรายการข่าวท้องถิ่น มีความถึงวันละ 4 ชั่วโมง ดังนั้นจึงทำให้ผมมีรายการอยู่ในมือ วันละ 12 ชั่วโมง และนำมาออกอากาศได้อย่างสบาย ๆ
 
ทีนี้เรามาดูข้อมูลด้านข่าว พบว่า วันธรรมดา หน่วยงานในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ ที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ อาทิ ประชาสัมพันธ์จังหวัด 75 จังหวัด สถานีวิทยุโทรทัศน์อีก 10 แห่ง และยังมีสถานีวิทยุกระจายเสียงอีก ประมาณ 200 สถานี มีการผลิตข่าวที่เป็นภาพ ตกวันละ 200 ข่าว และข่าวไม่มีภาพอีก วันละ 200 ข่าว  ถ้าเป็นวันเสาร์อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ จะมีข่าวประมาณวันละ 50 ข่าว  จำนวนข่าวที่ได้มา เพียงพอที่จะนำมาทำรายข่าว ได้อีก วันละ 6 ชั่วโมง ถ้าเรานำรายการทั้งสองมารวมกัน เราก็จะมีรายการออกที่  ช่อง PRDTV NEWS รวมแล้ววันละ 18 ชั่วโมง ที่เหลือเราก็นำรายการที่น่าสนใจมาออกซ้ำอีก (RERUN)  และผมต้องบอกท่านว่า รายการที่จะมาออกอากาศมีเพียงพอ กับเวลา
 
ดังนั้นขั้นตอนต่อไป คือจะทำอย่างไรที่จะนำรายการสนทนาข่าว จากสถานีวิทยุโทรทัศน์ อีก 8 แห่งมาออกอากาศที่ PRDTV NEWS  ผมต้องบอกว่า หัวหน้าฝ่ายเทคนิค คือ คุณอเนก อิสระทะ คนนี้ เข้มแข็งจริง ๆ บอกผมว่า
 
 “ผอ.ครับ เรื่องนี้ไม่ยาก เดี๋ยวผม จะดึงสัญญาณจากดาวเทียม ในช่วงเวลารายการสนทนา ของแต่ละสถานีที่ออกอากาศ มาบันทึกไว้ แล้วค่อยนำมา รีรัน  ” ผมตอบตกลง โอเค เพราะความเป็นไปได้ ที่จะมีรายการมาออกอากาศ เป็นได้สูงมาก ทุกคนเริ่มผ่อนคลาย เห็นรำไรว่า ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ที่จะไม่มีรายการมาออกอากาศ และก็ต้องบอกว่า รายการสนทนาข่าวของแต่ละสถานี ผลิต นั่นแหล่ะ คือรายการข่าว ที่จะมาเสริมทัพ ให้ช่อง PRDTV NEWS เป็นช่องข่าวได้อย่างสมบูรณ์แบบ และสถานีโทรทัศน์ในภูมิภาค ก็พอใจ ที่รายการได้มาออกซ้ำ ที่ช่องดาวเทียม PRDTV NEWS ซึ่งทำให้ผลผลิต และตัวชี้วัดเป็นไปตามเป้าหมายที่ส่วนแผนวางไว้ 
 
ด้านคุณอภิชาต พูดด้วยเสียงที่มองเห็นแสงสว่าง ว่า “ผอ.ครับ พวกเรารอดตายแล้วครับ  เดี๋ยวผมเอารายการบรรจุลงผังเลยนะครับ ผอ. ”  ผมบอกคุณอภิชาต ว่า “ดำเนินการตามเสนอ ครับ”
 
การสนทนาในวันนั้น จบลง ประมาณ เที่ยงคืน ซึ่งเราก็กลับมืดค่ำอย่างนี้ทุกวัน   เพราะต้องประชุมเชิงสนทนา หาข้อยุติ ที่ต้องใช้แนวคิดเชิงกลยุทธ์ มาแก้ไขปัญหา และพวกเราก็แก้ไขปัญหา ไปได้ทีละเปราะ จนในที่สุด เราสามารถออกอากาศอย่างเต็มรูปแบบได้ในเที่ยงวันที่ 1 ตุลาคม 2553  มาจนถึงทุกวันนี้  หมายความว่าสำเร็จในระดับหนึ่ง ครับ
 
8888888888888888
 
 
 

คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com