สถิติวันนี้
7 คน
สถิติเมื่อวาน
28 คน
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด
3385 คน 49199 คน 1741643 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13
#จุดจบแทนทาลัมEP5 โดย.ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ และแล้วครับ..นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม..ก็ออกมาเคลื่อนไหว..เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2529 โดยมีกลุ่มนักศึกษา 24 สถาบัน..และกลุ่มชมรมอนุรักษ์ 15 สถาบัน..เป็นแกนนำ..ประชาชนคนภูเก็ต..ทั้ง 3 อำเภอ..ทั่วทุกตำบล..มาร่วมเดินขบวน..ประมาณ 60,000 คน โดยผู้เดินขบวน..รวมตัวกันที่บริเวณตัวเมืองภูเก็ต..มุ่งหน้าเดินไปยังบริเวณ..สวนสาธารณะสะพานหิน..เมืองภูเก็ต..เพื่อแสดงพลังประชามติ..คัดค้านการเปิดโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..โดยแต่ละคนต่างถือป้ายประท้วง..พร้อมทั้งเดินตระโกน..โห่ร้อง..ให้ปิดโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ไปตลอดทาง..ที่เดินผ่านย่านชุมชนในเมืองภูเก็ต ขณะเดียวกัน..นายสุรพล สุดาราประธานชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม..และตัวแทนนักศึกษาประชาชน..ได้กล่าวปราศรัย..ความตอนหนึ่ง..ระบุว่า.. "ผมจะยืนหยัด..อยู่กับประชาชนชาวภูเก็ตทุกคน..ถ้ารัฐบาลยังดื้อรั้น..ที่จะออกใบอนุญาตประกอบการ..ให้โรงงานแห่งนี้ในเดือนสิงหาคม 2529 แล้ว.. เราจะพบกันในลักษณะนี้อีกครั้งหนึ่ง..ที่บริเวณหน้าโรงงาน" ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529..นายสุรพล สุดารา ประธานชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม.. ให้สัมภาษณ์ว่า..ทางชมรม.ฯ..ได้ติดตามศึกษาปัญหามลพิษ..ที่อาจจะเกิดขึ้น..จากโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..อย่างใกล้ชิดว่า..บริษัทจะมีมาตรการป้องกันอันตราย..ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร นายสุรพล นับว่าเป็นแกนนำ..สำคัญคนหนึ่งที่ออกมาเคลื่อนไหว..คัดค้านการเปิดโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม.. ท่ามกลางความไม่พอใจ..ของผู้ถือหุ้น..เพราะหากไม่ได้เปิดโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ผู้ถือหุ้นย่อมขาดทุนย่อยยับ..ถึงขั้นต้องล้มละลาย..นายสุรพล..จึงเป็นแกะดำ..ในสายตาของนักลงทุน..ทั้งไทยและต่างประเทศ..ที่ร่วมถือหุ้น..มูลค่านับ..พันล้านบาท นายสุรพล สุดารา..อีกสถานะหนึ่ง..เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์..มีดีกรีเป็นด๊อกเตอร์..และเขาเกษียณอายุราชการ..ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสุรพล..ประวัติไม่ธรรมดา..เมื่อเขา..เรียนจบปริญาโทชีววิทยา..จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2514 เขาได้ทุนไปศึกษาต่อ..ปริญญาเอกสาขาชีววิทยาทางทะเล..จากมหาวิทยาลัย..University of Hawaii U.S.A...เมื่อจบแล้ว..ทำงานต่อที่สหรัฐอเมริกาอีก 7 ปี..เมื่อกลับประเทศไทย..จึงได้ทำหน้าที่อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสุรพล สุดารา..เป็นนักสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของไทย..ได้ก่อตั้ง..ชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม..ในคณะวิทยาศาสตร์ทางทะเล..ดูแลสิ่งแวดล้อมของประเทศ..ในทุกมิติ..เหตุการณ์ แทนทาลั่ม ที่ภูเก็ต..ทำให้นายสุรพล..เป็นที่รู้จัก..และเขาได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อปี 19 กรกฎาคม 2546 ด้านนักสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นในภูเก็ต..ได้ออกมาเคลื่อนไหว..เหมือนกัน..เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2529 นายชวลิต ณ นคร และ..นายเสริมศักดิ์ ปิยะธรรม..ตัวแทนกลุ่มประสานงานเพื่อต่อต้านมลพิษภูเก็ต.. เข้าพบ..นายวิโรจน์ บำรุงวงศ์ ประธานสภาเทศบาลเมืองภูเก็ต..และนายปราโมทย์ แก่เมือง รองประธานสภาจังหวัดภูเก็ต..เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการเปิดโรงงานแทนทาลัม.. ต่อมา นายปราโมทย์ แก่เมือง..ได้ยื่นหนังสือด่วนต่อ..นายสนอง รอดโพธิ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต..ให้นายอาทร ต้องวัฒนา ประธานสภาจังหวัดภูเก็ต..เปิดการประชุม..สมัยวิสามัญพิจารณาญัตติด่วน..ในเรื่องนี้ การเคลื่อนไหวของนายเสริมศักดิ์ ปิยะธรรม..ในอีกบทบาทหนึ่ง..ของเขาคือ..ยุวประชาธิปัตย์..ซึ่งในเวลานั้น..พรรคประชาธิปัตย์..เป็นพรรคร่วมรัฐบาล..และลึกๆ นายเสริมศักดิ์..คาดหวังว่า..หากโก้โฉ่ง..นายจรูญ เสรีถวัลย์..วางมือจากการเมือง..เขาคือผู้สมัคร..ส.ส.ภูเก็ต.คนต่อไป..แต่การเมือง..ก็คือ..การเมือง.. เขาพลาดโอกาสที่จะได้ลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคประชาธิปัตย์..เพียงเพราะ..นายเสริมศักดิ์..ไม่อยู่ในสถานะที่จะอู้มชูพรรคได้..แม้นเขาจะเป็นคนหนุ่มไฟแรง..และร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์..มาก่อนก็ตาม.. ความตื่นตระหนก..และความกังวลระบาด..ไปทั่ว..ทุกวงการในภูเก็ต.. วันที่ 4 มิถุนายน เวลา 16.00 น.ที่สนามฟุตบอล..หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต กลุ่มรณรงค์ต่อต้าน ฯ ..ขอให้ลบชื่อสะพานสารสิน..ซึ่งเชื่อมระหว่างภูเก็ต-พังงา..โดยกลุ่ม ฯ นี้.มีข้อมูลว่า..มีคนในตระกูลสารสิน..ถือหุ้นในโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..เขาคนนั้นคือนายพงส์ สารสิน วันที่ 10 มิถุนายน 2529 มีองค์กรไม่เปิดเผยชื่อ..ออกโปสเตอร์..เชิญชวนประชาชน..ชาวภูเก็ต..ให้ไปร่วมกันชุมนุมคัดค้าน..โรงงานถลุงแร่แทนทาลัม.. วันที่ 13 มิถุนายน 2529 กลุ่มประชาชนจังหวัดภูเก็ต..ประมาณ 25 คน..เดินทาง..ไปที่ทำเนียบรัฐบาล..ยื่นรายชื่อชาวภูเก็ต..ที่คัดค้านการเปิดโรงงานแทนทาลัมประมาณ 70,000 คน ต่อนายกรัฐมนตรี โดยนายจิรายุ อิศรางกูร รักษาการรัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม..ออกมารับรายชื่อ..และชี้แจงด้วยตนเอง..ที่ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 14 มิถุนายน 2529 ชาวภูเก็ต ประมาณ 10,000 คน รวมตัวชุมนุมกัน..ที่หาดป่าตอง..คัดค้านการเปิดโรงงานแทนทาลัม อีกครั้ง ในที่สุดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2529 สมาคมพ่อค้าภูเก็ต..และหอการค้าจังหวัดภูเก็ต..ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาประชามติ ชาวภูเก็ต..ที่ไม่ให้เปิดโรงงานแทนทาลัม.. ดูเหมือนว่า..ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง ส.ส.ความร้อนยิ่งทวี..มากขึ้น..ความหวาดกลัว..ที่มีต่อชาวภูเก็ต..ได้แพร่กระจายไปทุกหย่อมหญ้า ทุกฝ่ายดาหน้าออกมาคัดค้าน..การเปิดโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ไม่เว้นกลุ่มกำนัน..ผู้ใหญ่บ้าน..และกลุ่ม ส.จ.ภูเก็ต..ตอนที่6 จะพูดถึงกลุ่มนี้ โปรดติดตาม