สถิติวันนี้ |
3 คน |
สถิติเมื่อวาน |
45 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
2529 คน 52316 คน 1744760 คน |
เริ่มเมื่อ 2010-01-13 | |
| | #จุดจบแทนทาลัมEP7 By..ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
การวิ่งเต้น..เร่งให้เปิด..โรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ที่ภูเก็ต..ยังคงต่อสายตรงนักการเมือง..เจ้ากระทรวง..โดยมีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ..ฉบับวันที่12-18มีนาคม 2527..ว่า
มีชาวต่างชาติ..ไม่ทราบสัญชาติ..เข้าพบ..นายอบ วสุรัตน์..รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม..โดยยื่นข้อเสนอเม็ดงาม..พร้อมจะจ่ายให้ทันที..100 ล้านบาท..หาก..นายอบ..ยอมเซ็นใบอนุญาตตั้งโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ที่ภูเก็ต
แต่เงินก้อนโต..ที่กองอยู่ตรงหน้า..นายอบ..กลับได้รับการปฏิเสธ..อย่างไร้เยื่อใย..และไมตรี
ภายหลัง..นายอบ..ออกมาเปิดเผยกับสื่อว่า..เรื่องมันจบไปแล้ว..เพราะการวิ่งเต้นไม่เป็นผล..เขามาขอให้ออกใบอนุญาต..ตั้งโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ที่จะต้องใช้เงินทุน..สูงถึง 2,000 ล้านบาท
พลันที่..นายอบ..เจ้ากระทรวงอุตสาหกรรม..ปฏิเสธที่จะรับเงิน..ใต้โต๊ะ..เพื่อให้เปิดโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..
กระทรวงอุตสาหกรรม..ก็ออกมารับลูกในทันที..โดยออกประกาศ เกี่ยวกับนโยบายอุตสาหกรรมถลุงแร่แทนทาลัม..ลงวันที่ 27 เมษายน 2527..เห็นควรระงับ..การอนุมัติ..โรงงานถลุง..แร่แทนทาลัม..ไว้เป็นการชั่วคราว..เพื่อความเหมาะสมกับสภาวการณ์..และเพื่อป้องกันการขาดแคลน..วัตถุดิบ..คือขี้ตะกรัน..ที่จะนำมาถลุง..
2ปีต่อมา..เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529..นายประพาส ธนะกุล..ผู้อำนวยการกองสิ่งแวดล้อมโรงงาน..กรมโรงงานอุตสาหกรรม.. กระทรวงอุตสาหกรรม..ออกมาให้ข่าวกับสื่อว่า..
กรม ฯ ได้เรียกเอกสาร..จากโรงงานมาศึกษาดูว่า..มีมาตรการอย่างไร..ในการป้องกัน..เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย..จากไอระเหยของกรดไฮโดรฟูออริก..หรือชาวบ้าน..เรียกว่า..กรดกัดแก้ว..และฝุ่นกัมมันตภาพรังสี..การศึกษาจากเอกสารเบื้องต้น..พบว่า..โรงงานมีการป้องกัน..ไม่ไห้เกิดอันตราย..ซึ่งมีความเป็นไปได้..เพราะการถลุงแร่แทนทาลัม..เป็นระบบปิด..
ต่อมา..สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต..กระโดดรับลูก..กำหนดให้มีการอภิปราย..เกี่ยวกับปัญหาการสร้าง..โรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ซึ่งจะจัดขึ้น..ในวันที่ 22 มีนาคม 2529
โดยจะมีการเชิญ..เลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ...เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน..ประธานชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม..อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม..เลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติ..อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย..และกรรมการผู้จัดการบริษัทไทยแลนด์ แทนทาลัม..
แต่ต้องถูกเบรค..หัวปัก..หัวปำ..งดงานนี้ชั่วคราว..โดยอ้างว่า..เมื่อหัวหน้าอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต..ได้ปรึกษากับผู้ใหญ่แล้วเห็นว่า..ยังไม่พร้อม..และไม่ควรจัดในช่วงนี้..อาจจะเกิดความไม่เหมาะสม..เพราะมีเสียงประชาชนคนภูเก็ต..ร้องตะเบ็ง..เซ็งแซ่..ให้ปิดโรงงาน..หากขืนจัด..คงต้องกระเจิงแน่..
ก่อนหน้า..เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2529..นายสนอง รอดโพธิ์ทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต..ได้พูดถึงการจัดตั้งโรงงาน..ด้วยท่าที..ที่ไม่ค่อยมั่นใจว่า..โรงงาน..ไม่น่าจะควบคุมมลพิษได้..นักวิชาการของ..กระทรวงอุตสาหกรรม..บางคน..ก็มีความเห็นว่า..น่าจะได้มีการศึกษา..ผลกระทบก่อนการสร้างโรงงานว่า..มีความปลอดภัยต่อประชาชนที่เพียงพอหรือไม่..
แต่ทางฝ่ายโรงงานก่อนหน้านั้น..ไม่เห็นด้วย..โดยอ้างว่า..โรงงานติดต่อกู้เงินได้แล้ว..ถ้ารอให้มีการวิจัย..ต้องใช้เวลานาน..โรงงานต้องเสียดอกเบี้ย..ในระหว่างการโต้แย้งนี้..มีการอนุมัติ..ให้สร้างโรงงาน..โดยมีความเห็นว่า..ทำวิจัยไม่ได้..ถ้าไม่มีเทคโนโลยี..ซึ่งหมายถึง..การสร้างโรงงานมาก่อนแล้วค่อยวิจัย..เรื่องนี้ต้องมีอะไรลึกลับแน่นอน ...
ผู้ว่าสนอง..ให้ความเห็น..ไปในแนวทาง..ที่ไม่ค่อยเห็นด้วย..ต่อการเปิดโรงงาน..เพราะไม่มีหลักประกัน..ทางวิชาการที่จะมายืนยัน..ถึงความปลอดภัย..เมื่อมีการเปิดถลุงแร่แทนทาลัม..
ความร้อนแรง..ของการไม่เห็นด้วยของการเปิดโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ส่งแรงผลักดัน..ให้สภาจังหวัดภูเก็ต..เปิดการประชุมสภาสมัยวิสามัญ..ในวันที่ 6 มิถุนายน 2529 โดยมีประชาชนคนภูเก็จ..สนใจ..ร่วมฟังการประชุมประมาณ 1,000 คน..ที่ประชุมสภาในวันนั้น..ลงมติให้..รัฐบาลเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานแทนทาลัม..
ส่งผลให้..โก้อุ่น..นายอาทร ต้องวัฒนา ประธานสภาจังหวัดภูเก็ต..ในเวลานั้น..และเขาก็มีหุ้นส่วนอยู่ในบริษัท..ต้องประกาศกลางที่ประชุมสภาจังหวัดภูเก็ต..ขอถอนหุ้นทั้งหมด..เนื่องจาก..มีแรงกดดัน..ถาโถม..โก้อุ่น..ทุกทาง..โดยเฉพาะสภาจังหวัดภูเก็ต..ที่เขาเป็นประธานสภาในขณะนั้น..ที่ลงมติไม่เห็นด้วยต่อการเปิดโรงงาน.. มีมติเป็นเอกฉันท์..
รุ่งขึ้น วันที่ 7 มิถุนายน 2529 มีการประชุม..กลุ่มประสานงานเพื่อต่อต้านมลพิษจังหวัดภูเภ็ต..ลงมติออกแถลงการณ์..ไม่ยอมรับคณะกรรมการพิเศษที่..นายจิรายุ อิศรางกูล ณ อยุธยา..ลงนาม..ตั้งคณะกรรมการชุดนี้..
ไล่เลี่ยกัน..วันที่ 9 มิถุนายน 2529..มีการประชุมสภาเทศบาลเมืองภูเก็ต..(ปัจจุบัน.ยกฐานะเป็น..เทศบาลนครภูเก็ต )..ที่ประชุม..มีมติเป็นเอกฉันท์คัดค้านการเปิดโรงงานแทนทาลัม..ตามกระแสกดดัน..จากประชาชนชาวภูเก็ต..ที่ออกมาเดินขบวน..แสดงประชามติ..ไม่เอาโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..
แรงบีบคั้น..เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย..ความร้อนแรง..ใกล้สุกงอม..
ย้อนกลับ..ไปที่ทำเนียบรัฐบาล..เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2529 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้พูดถึงปัญหาการจัดตั้งโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ว่า..
ได้มอบหมายให้..นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม..เป็นผู้พิจารณาว่า..การเปิดโรงงาน..มีความถูกต้องเหมาะสมเพียงไร..ประชาชนชาวภูเก็ต..อย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้..ว่าผู้ใหญ่ไม่เหลียวแล..เป็นคำพูดสั้นๆ..ที่นายกรัฐมนตรีท่านนี้..ไม่ค่อยจะพูด..อะไรง่ายๆ..กับสื่อ..ที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้
ขณะที่..โก้โฉ่ง..นายจรูญ เสรีถวัลย์ ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า..ในวันที่ 15 มีนาคม 2529..เขาจะยื่นญัตติ..ต่อคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม..ของสภาผู้แทนราษฎร..ภายในเดือนเมษายน 2529..แต่สถานการณ์ของ..สภาผู้แทนราษฎร..ในเวลานั้น..ดูสั่นคลอน..และมีแนวทางว่า..สภาจะถูกยุบ..ในเวลาอันใกล้..
และก็จริง..วันที่ 1 พฤษภาคม 2529..พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี..ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภา..
ความร้อนแรง..ที่จะทำให้โรงงานถลุงแร่แทนทาลัม..ต้องปิดอย่างถาวร..ใกล้ความจริง..มาทุกขณะ
แหมหน้าหมดพอดี..โปรดติดตามตอนที่ 8 นะคร้าบ..ใกล้จะได้เผา..โรงงานแล้วจ้าา..อดใจรอนิด | |