www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 113 คน
 สถิติเมื่อวาน 46 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2588 คน
14412 คน
1706856 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

9 ต.ค.49
วิเคราะห์การเจรจากับขบวนการเบอร์ซาตู จะเกิดขึ้นจริงหรือ
โดยณรงค์ ชื่นนิรันดร์ ผู้สื่อข่าว 8 ว.

บทนำ
ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีมาอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงมากที่สุดเมื่อมีเหตุการณ์ปล้นปืน กองพันทหารพัฒนาที่ 4 อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อการร้าย จากนั้นก็มาสู่เหตุการณ์ กรือเซะ ที่ผู้ก่อการมีความพยายามที่จะใช้เงื่อนไขด้านศาสนา มาเป็นเครื่องมือให้ชาวไทยมุสลิมหันมาให้ความร่วมมือ เหตุการณ์ยังไม่หยุดแค่นั้น กรณีตากใบ เป็นอีกจุดหนึ่งที่ขบวนการมีความพยายามที่จะก่อการใช้มวลชนบีบบังคับ ฝ่ายรัฐให้เข้าตาจน และลงมือเพื่อให้เกิดความรุนแรง ทางฝ่ายรัฐบาลมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหา และเปลี่ยนผู้บริหารด้านความมั่นคงหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ จนมีแนวความคิดที่จะมีการเจรจากับขบวนการ แต่ก็ถูกคัดค้านจากหลายฝ่าย ว่าจะเป็นการยกระดับความขัดแย้งขึ้นสู่เวทีการเมืองระดับสากล และจะเป็นการยากต่อการแก้ไขปัญหา อันจะเป็นหนทางนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนในที่สุด

พลโทพิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นคนแรกที่มีแนวคิดจะเจรจากับขบวนการ
วันที่ 26 มีนาคม 2547 ที่ห้องประชุมกองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า ค่ายอิงคยุทธบริหาร พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี รักษาการแม่ทัพภาคที่ 4 ได้รับมอบตัวนายมะรูยี มะเซ็ง อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 36 หมู่ 1 ต.ท่าน้ำ อ.ปะนาเระ      จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นสมาชิกขบวนการพูโล และมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี ซึ่งเป็นน้องชายของหะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ อดีต ผบ.กองกำลังขบวนการพูโลใหม่ ที่ถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำบางขวาง โดยนายมะรูยีมีชื่อจัดตั้งว่า รอยี หลังเกิดเหตุหนีไปอยู่กับญาติที่รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย ต่อมาได้รับการติดต่อให้มอบตัว

สำหรับการติดต่อมอบตัวของ นายมะรูยี มะเซ็ง เป็นการเข้าไปหารือกันระหว่างเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานของรัฐบาล ที่เข้าไปเจรจากับหะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ และหะยีสะมาแอ ท่าน้ำ ในเรือนจำ โดยให้คนทั้งสอง เขียนจดหมายถึงสมาชิกของตนเอง เพื่อให้ออกมามอบ ตัว โดยรับรองว่ารัฐบาลจะให้ความเป็นธรรมกับทุกคน

พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรนายกรัฐมนตรีเห็นด้วยที่จะมีการพูดคุยกับแกนนำป่วนใต้
เวลา 10.30 น. วันที่ 10 พ.ค.2547 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นและมีท่าทีที่จะพูดคุยกับนายมะแซ อุเซ็ง แกนนำป่วนใต้ ถึงกรณีที่ พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 ระบุว่านายมะแซ อุเซ็ง ผู้ต้องหาคดีปล้นปืน ติดต่อขอ มอบตัวและขอพบกับนายกรัฐมนตรี ว่า "วันนี้เราต้องการให้ทุกคนหันหน้าเข้าหาและพูดคุยกันด้วยดี เพื่อช่วยทำให้บ้านเมืองไปได้ เพราะมีประชาชน บางส่วนกำลังลำบากต้องการความช่วยเหลือ หากเราทุ่มเทกำลังสมอง และพลังช่วยเหลือคนยากจน ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งที่ทุกฝ่าย ปรารถนา เพราะฉะนั้นใครที่มีความคิด หรืออุดมการณ์ไม่ตรงกัน ก็ให้มาพูดคุยเพื่อหาแนวทาง ทำงานให้ประชาชน"
"ตนพร้อมคุยกับทุกคนแต่ที่สำคัญอย่าตั้งธง หรือมีทิฐิ แก้วใครน้ำไม่เต็มก็สามารถคุยกับตนได้ แต่ที่ไม่คุยกับใครบางคนเพราะเขามีลักษณะน้ำเต็มแก้วแล้วจนเติมไม่ได้ ปักธงไว้แล้วไม่ฟังอะไรทั้งสิ้น ก็เลยลำบาก ต่อข้อถามว่าตกลงว่ามะแซ อุเซ็ง ติดต่อเข้ามาแล้วใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่ได้ติดต่อมา แต่อาจจะติดต่อไปที่แม่ทัพภาคที่ 4 หากติดต่อมาพบเมื่อไหร่ก็พบได้ ไม่มีปัญหา"

รัฐบาลให้แกนนำพูโลออกมาชวนผู้ก่อการหันมาคุยแทนการใช้ความรุนแรง
เวลา 10.30 น.วันที่ 13 ธ.ค.2547 ที่เรือนจำกลางบางขวาง จ.นนทบุรี กรมราชทัณฑ์ได้จัดให้นายหะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ นักโทษคดีร่วมกันเป็นกบฏ ลอบวางระเบิดสถานีรถไฟหาดใหญ่ ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ออกมาพบปะพูดคุยกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ โดยนายหะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ บอกว่า นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในภาคใต้ ถือว่าทำมาถูกทางแล้ว ทั้งการแก้ไขปัญหาโรงเรียนปอเนาะ การพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา แต่ยังเข้าไม่ถึงระดับตัวการหรือผู้บงการซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน การจะเข้าไปถึงคนพวกนี้จะต้องมีคนกลางที่เขาเชื่อถือเป็นคนช่วยประสานให้ สำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ขณะนี้ ผิดกับยุคสมัยของตนที่เวลาจะทำอะไรต้องมีคำตอบหรือจุดเชื่อมโยง เช่นถูกเจ้าหน้าที่รัฐรังแก หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่ปัจจุบันฆ่ามั่วไปหมดไม่รู้ใครเป็นใคร ไม่มีจุดมุ่งหมาย มีการดึงเยาวชนเข้ามาร่วมทำผิดด้วย การแก้ปัญหาภาคใต้ ต้องใช้การเจรจาเพียงอย่างเดียวจึงจะได้ผล
ด้านนายหะยี สะมะแอ ท่าน้ำ นักโทษในคดีกบฏอีกราย กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ก่อนถูกจับเคยเสนอแนวทางให้กับรัฐบาลหลายชุดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางภาคใต้ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับคนภาคอื่นๆ และที่สำคัญต้องมีสภาพความเป็นอยู่และเศรษฐกิจที่ดีพอๆกับมาเลเซีย แต่ไม่มีใครสนใจ หลังถูกจับก็เคยเสนอแนวทาง ให้กับผู้นำรัฐบาลเช่นกัน แต่ก็เงียบหายไปเหมือนกันหมด สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ถือว่าคลำมาถูกทางแล้ว แต่การแก้ไขปัญหาให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดต้องใช้การเจรจาเข้ามาช่วย "การที่ตนกับนายหะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ ออกมาพูดในวันนี้ ไม่ใช่การเรียกร้อง ให้มีการปล่อยตัวหรือลดโทษ แต่เพราะต้องการเห็นความสงบสุขกลับคืนมาโดยเร็ว จึงต้องออกมาพูดในวันนี้"

ผบ.ทบ. จะเจรจา กับระดับล่าง ของขบวนการ
วันที่ 1 กันยายน 2549 ก่อนก่อรัฐประหาร 19 วัน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. แสดงความเห็นเรื่องการเจรจากับขบวนการ ว่า "ขณะนี้กำลังพยายามสั่งหน่วยงานบางหน่วยงานเดินไปแล้ว เพราะต้องการหัว เพราะถ้าไม่มีหัวในการเจรจาเราก็ไม่สามารถทำให้เกิดความสันติ ความสมานฉันท์ได้จาก เหตุการณ์ เมื่อวานนี้(31 ส.ค.49) ทำให้เราเห็นว่าวัตถุประสงค์ของเขา คือ วันสำคัญ 2 ส่วน หนึ่งวันชาติมาเลเซีย และ วันฉลองเบอร์ซาตู เหตุประสงค์จงใจเช่นนี้ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ระดับหนึ่ง"

"เราไม่ต้องนำระดับบนของเราไปเจรจา แต่เราใช้ระดับล่างของเราไปเจรจา เพราะตอนนี้ ผบ.ทบ.เป็นผู้ดูแลปัญหาพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เราไม่จำเป็นว่าจะต้องยกระดับเขา หรือลดระดับเรา เราต้องดูว่าควรเป็นตรงไหน สถานการณ์การสู้รบทั่วโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะไม่รู้ว่าส่วนหัวหน้าที่รบด้วยอยู่ไหน แม้กระทั่งอิรัก ยังไม่รู้ว่าอยู่ไหน และทางทหารยอมรับว่า ขณะนี้ที่เรากำลังสู้รบอยู่นั้น เป็นการสู้กับใคร"

ต้องเข้าใจวิวัฒนาการของอดีตที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น พูโล บีอาร์เอ็น จีเอ็มไอพี อดีตเป็นอย่างนั้น แต่การทำงานของกลุ่มเหล่านี้ล้มเหลว จึงพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาในรูปแบบที่เราเคยได้ยิน คือ เบอร์ซาตู เป็นแกนนำของทั้ง 3 กลุ่ม เป็นไปได้หรือไม่ตัวนี้คือหัวอันหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นหัวการเมือง หัวจริงหรือหัวหลอกเราก็ไม่รู้ แต่อย่างน้อยก็ยังมีอยู่พอที่จะให้เราลูบคลำว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร

พูโลตอบรับทันทีหลังผบ.ทบ.ออกมาพูดเพียงวันเดียว หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ฉบับวันที่ 2 กันยายน 2549 ได้ลงตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ในหัวข้อข่าว ความไม่สงบในภาคใต้ (SOUTHERN UNREST)และมีคำนำข่าวว่า สนธิต้องการเจรจากับ ผู้อยู่เบื้องหลัง ความไม่สงบ (Outlawed group backs Sonthi's call for dialogue) ในขณะที่ พูโล ต้องการพูดถึงรากเง้าของความขัดแย้ง จึงจะประสบความสำเร็จ( Pulo says talks must look at the roots of the conflict to be successful) โดย อ้างว่าได้รับข้อมูลจาก Mr. Kasturi Mahkota หัวหน้ากิจการต่างประเทศขบวนการพูโล ได้ส่งแถลงการณ์ มาจากประเทศสวีเดน ถึง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ความตอนหนึ่งว่า " ถ้ารัฐบาลไทย มีความซื่อสัตย์ และมีความปรารถนา ที่จะรักษาชีวิต ผู้ที่ตั้งถิ่นฐาน ที่เป็นชาวไทย หรือ ชาวมลายูในจังหวัดปัตตานี จะต้องยุติการต่อสู้และความขัดแย้ง ในทันทีทันใด โดยปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย บนผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย "If the Thai government is truly anxious to save lives, be they Thai settlers or Malays in the Pattani provinces, then it is obvious that the conflict must end immediately to secure the best interests of both," Kasturi said.

Mr. Kasturi Mahkota หัวหน้ากิจการต่างประเทศขบวนการพูโล ยังย้ำ อีกว่า ผู้บัญชาการฝ่ายไทยจะไม่ประสบความสำเร็จ หากมีการตอบโต้การกระทำกรณีระเบิดธนาคารที่ยะลา จำนวน 22 จุด ที่ปราศจากการพูดคุย ถึงรากเง้าของความขัดแย้ง"The Thai commander-in-chief's idea will not be successful if it is simply a reaction to the 22 Yala bank bombings, without taking into account the roots of the conflict," he added

รมว.มหาดไทยผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองและผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสไม่เจรจา ในท่าทีที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ มีแนวโน้มที่จะเปิดการพูดคุยกับผู้ก่อการร้ายในระดับล่าง แต่ไม่ได้รับการตอบรับจาก พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา รมว.มหาดไทย พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และนายประชา เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เพราะมีเหตุผลว่า ในขณะนี้ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ก่อการร้ายอาจจะเป็นไปได้ว่า ผู้ก่อการร้ายอาจจะเป็นผู้สูญเสียผลประโยชน์ ผู้ค้ายาเสพติด ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ การเมืองท้องถิ่น ซึ่งชี้ว่าการเจรจาจะเป็นการยกปัญหา ขึ้นสู่เวทีการเมืองระดับสากล ซึ่งจะเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข ยุ่งยากขึ้นไปอีก และถ้ามีการเจรจากับขบวนการพูโล ความสงบจะกลับมาจริงหรือ แต่ก็เห็นด้วยที่จะมีการพูดคุยกับแกนนำในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่ความต้องการของคนในพื้นที่ ซึ่งหมายถึงว่าเหตุการณ์น่าจะสงบลง

แม่ทัพ4ระบุยังไม่มีการเจรจาเป็นเพียงส่งสัญณาณผ่านเว็บไซท์เท่านั้น วันที่ 4 ต.ค.49 ที่ค่ายวชิราวุธ อ.เมืองนครศรีธรรมราช ได้มีพิธีรับส่งหน้าที่แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ระหว่าง พล.ท.องค์กร ทองประสม กับ พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ หลังเสร็จพิธี พล.ท.วิโรจน์ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการเจรจากับขบวนการ ความตอนหนึ่งว่า ยังไม่ได้เป็นการเจรจา แต่เป็นการส่งสัญญาณมาเท่านั้น ถ้าใครไปเปิดดูเว็บไซต์จะเห็นมีการส่งสัญญาณมาหลังเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ไม่ใช่ตนไปพูดคุยโดยตรงแต่มีผ่านคนกลางมาไม่ใช่ไปเจรจา หากมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบทันที

พล.อ.สุรยุทธ์นายกรัฐมนตรีระบุการเจรจาขอให้รอนโยบาย วันที่ 4 ต.ค.49 ที่กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงแนวโน้มในการเจรจากับแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบ ว่า ยังเป็นเรื่องที่ต้องรอ คิดว่าเร็วเกินไปที่จะพูดส่วนนี้ ต้องรอนโยบายก่อน เมื่อถามว่า ได้รับการประสานจากแกนนำในการขอเจรจาหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ตอบว่า ในส่วนของตนยังไม่มีเพราะยังไม่ได้ลงไปลึกขนาดนั้น เพียงแต่พูดคุยกับคนที่เคยรู้จักและร่วมงานกันเท่านั้น เมื่อถามอีกว่า หลายคนในพื้นที่แนะนำให้เปิดโต๊ะเจรจา พล.อ.สุรยุทธ์ตอบว่า เป็นเรื่องที่ต้องหารือกันก่อน ไม่ใช่เรื่องของตนคนเดียว

ในเรื่องการเจรจากับขบวนการ นายกรัฐมนตรีก็มีท่าที อย่างรอบคอบ และต้องสอบถามจากผู้รู้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การที่จะทำอะไรโดยพลการ อาจจะเกิดข้อผิดพลาดจนถึงขั้นเสียดินแดนก็เป็นได้

เบอร์ซาตูส่งสัญญาณผ่านสำนักข่าวเอพี
สำนักข่าวเอพีรายงานเมื่อ วันที่5 ต.ค.49 ว่า ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย กำลังเตรียมจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่ นายวัน กาแดร์ เจ๊ะ มาน ผู้นำกลุ่ม "เบอร์ซาตู" ซึ่งเชื่อว่าเป็นหนึ่งในขบวนการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ ได้ส่งอี-เมล์ ถึงสำนักข่าวเอพี ยืนยันว่า สมาชิกกลุ่มเบอร์ซาตูได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐบางคน เพื่อหารือเรื่องการเจรจาสันติภาพ "ผมหวังว่าการเจรจาจะเริ่มขึ้นทันทีที่สถานการณ์ในประเทศกลับสู่ภาวะปกติ เราในฐานะพลเมืองควรทำตามบทบาทของเราเพื่อยุติการเข่นฆ่าที่ดำเนินอยู่ ทุกฝ่ายต้องตระหนักว่าไม่มีใครสามารถชนะอย่างเด็ดขาด รัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะรู้แล้วว่า นโยบายเผชิญหน้าของรัฐบาลชุดที่แล้วคือความล้มเหลว"

ในขณะที่ นาย ลุกมัน บี. ลิมา ผู้นำองค์การปลดปล่อยสหรัฐปัตตานี (พูโล) ออกมาแสดงความเห็นโดยสำนักข่าวเอพี ระบุว่า ในอี-เมล์ จากประเทศสวีเดนของนายลุกมัน เรียกร้องให้ทางการไทยในปัจจุบันดำเนินการสอบสวน        พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณควรถูกดำเนินคดีในศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ ต่อข้อกล่าวหาว่ากระทำฆาตกรรมและก่อให้เกิดการหายตัวของผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบ "มือของทักษิณ ชินวัตร เต็มไปด้วยเลือด" นายลุกมันระบุไว้ในตอนหนึ่งของอี-เมล์ พร้อมกับเสริมด้วยว่า รัฐบาลใหม่ของไทยจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาความแตกแยกทางภาคใต้ได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าหากไม่นำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และนายทหารบางคนที่ภักดีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นสู่ศาลโลกที่กรุงเฮกประเทศเนเธอร์แลนด์

เบอร์ซาตูส่งสัญญาณเจรจาผ่าน สำนักข่าวเอพี
Thai Army, Muslim Rebels to Hold Talks
By RUNGRAWEE C. PINYORAT
Associated Press Writer

October 5, 2006, 3:14 PM EDT
BANGKOK, Thailand -- The military has agreed to hold talks with Muslim rebels involved in a bloody insurgency in southern Thailand, the powerful army chief said Thursday, reversing a policy of the elected government deposed in a coup last month.

Gen. Sondhi Boonyaratkalin, who led the bloodless Sept. 19 coup against former Prime Minister Thaksin Shinawatra, said that officials from certain rebel factions had contacted a top army officer and requested talks. He did not indicate if any date had been set.

"I have agreed to the talks," Sondhi said. "I stress that these will be talks, not negotiations."

Wan Kadir Che Man, a leader of the Bersatu rebel group -- believed to be an umbrella group of Muslim insurgents -- confirmed that members of his organization had been in contact with "certain Thai authorities" about holding peace talks.

However, he said in an e-mail to The Associated Press that Bersatu had not yet received an official request to hold talks.

"But if the coming government handles it correctly, there is no reason why an internal conflict among ourselves could not be resolved," he wrote.

The coup makers have appointed Surayud Chulanont, a former army commander, to serve as interim prime minister until an election promised for October 2007. Surayud is expected to name a Cabinet next week.

Sondhi's coup was welcomed by many Thais, who saw the ouster of Thaksin as a good chance to end the bloody Muslim insurgency that has killed more than 1,700 people.

Sondhi, one of the few Muslims in the country to rise to such a prominent position, has been seen as a potential healing force for the conflict. About 90 percent of Thailand's more than 63 million citizens are Buddhists. The country's three southernmost provinces are the only ones with Muslim majorities.

Another rebel leader, meanwhile, urged authorities to investigate Thaksin for crimes against humanity, saying the ousted leader should be tried at the International Court of Justice for alleged murders and disappearances of suspected insurgents.

"Thaksin Shinawatra's hands are full of blood," said exiled Muslim rebel leader Lukman B. Lima, head of the Pattani United Liberation Organization, one of several groups fighting for a separate Muslim state in southern Thailand.

In an e-mail from Sweden, Lukman said Thailand's incoming interim government will not be able to fully solve the divisions in the south unless they "bring Thaksin and some of his generals ... to the court of justice in the Hague."

Thaksin's government, which came under harsh criticism for its strong-arm approach to the violence, had repeatedly declined to hold any talks with Muslim insurgents -- a decision that had put him at odds with Sondhi, who had urged a peaceful approach.

Thaksin, who also was accused of widespread corruption and abuse of power, was widely detested among Muslims in the south, where an insurgency flared in January 2004.

He deployed thousands of troops to the region, and shifted commanders and tactics many times. He ordered all-out manhunts for militants, armed teachers and villagers, and imposed draconian laws.

Many moderate Muslims said the conflict could never be resolved as long as he remained in power.

The government's heavy-handed response also bred discontent in the army that was one of the factors driving the coup. Less than three weeks before the coup, Sondhi had proposed talks with insurgents, but Thaksin's government shot down the idea.

"They see that only talks can end the violence," Sondhi said of the insurgents. "If they are seeking cooperation with us, that kind of approach is OK with me."

Violence has waxed and waned for decades in Thailand's three southernmost provinces -- Yala, Pattani and Narathiwat -- which were annexed a century ago from what had been an Islamic sultanate.

Muslim southerners have long complained of being treated like second-class citizens, with fewer educational and job opportunities than Buddhists.

Subscribe to Newsday home delivery | Article licensing and reprint options

โฆษกกองทัพบกไม่มีการเจรจาเพราะไม่รู้ว่าใครคือหัวหน้า วันที่ 6 ต.ค.49 พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก ตอบคำถามผู้สื่อข่าว ในเรื่องการเจรจาว่า ผบ.ทบ. ท่านไม่ได้พูดถึง แต่ดูโดยรวมแล้วจากที่ท่านให้สัมภาษณ์ไปท่านไม่ให้ใช้คำว่าเจรจา ให้ใช้คำว่าพบปะพูดคุยซึ่งท่านก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนไปแล้วหลายครั้ง
เมื่อถามว่าเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปคุยกับผู้ก่อการร้ายนั้น ควรจะอยู่ในระดับไหน พ.อ.อัครกล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นหลัก เพราะเราไม่รู้ว่าใครเป็นหัวหน้าและ อยู่ที่ไหน จึงไม่มีการเจรจา ส่วนที่จะมีการพูดนั้นเราจะพูดคุยในพื้นที่ที่มีความเคลื่อนไหว เช่น อ.บันนังสตา บันนังคูแว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการเคลื่อนไหวก็จะเข้าไปพบโต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม กำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อหารือกันว่า ถ้าต้องการให้เกิดความสงบเราควรจะทำอย่างไร
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกับโต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม แต่ยังไม่เกิดผล พ.อ.อัครกล่าวว่า เราไม่ได้ทำทุกพื้นที่และไม่ได้ทำเป็นนโยบาย ซึ่งขณะนี้ที่เป็นรูปธรรมเป็นเชิงนโยบายออกมา คือให้มีการพูดคุยเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้นำเสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหาเป็นภาพรวม เน้นเรื่องความสงบสุข ปัญหาเศรษฐกิจ และการศึกษา


เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาเป็นเพราะทหารมีอำนาจไม่เต็มที่จึงแก้ปัญหาไม่ได้ใช่หรือไม่ พ.อ. อัครกล่าวว่า ที่ผ่านมาจะเห็นว่าภาพของพรรคการเมืองเวลาที่เราลงไปทำงานก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาล แต่ พื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่ภายใต้การชี้นำของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม เมื่อเจ้าหน้าที่ลงไปทำงานก็ได้รับการต่อต้าน แต่ในปัจจุบันไม่มีภาพนี้อยู่แล้ว ทุกคนเป็นประชาชนหมด และเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น
เมื่อถามว่า คาดว่าการพูดคุยจะได้ผลหรือไม่ เพราะยังไม่ทราบว่าคนที่ขอเจรจาเป็นใคร พ.อ.อัครกล่าวว่า อยากให้เห็นภาพเวลาที่ถูกจับหรือปะทะกับเจ้าหน้าที่และเสียชีวิต ทุกคนเป็นคนไทยมีบัตรประชาชน ดังนั้น เราจะรู้สึกได้เลยว่าคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุนั้น ใกล้ชิดกับประชาชน การคุยผ่านประชาชนจะเป็นเรื่องที่เข้าถึงข้อมูลได้ดีที่สุด เราสามารถแยกแยะหรือกำหนดได้ว่า ถ้าเขายังไม่ก่อเหตุใครเป็นคนดีใครเป็นคนไม่ดี บางครั้งเราก็นึกไม่ถึงเวลาที่เขาถูกจับ และหลายคนที่ประชาชนยังไม่เชื่อโดยเฉพาะพ่อแม่ เพราะตอนที่เด็กถูกชักชวนพ่อแม่ไม่รู้ ดังนั้นการที่ได้พบปะพูดคุยกันถึงแม้จะไม่หยุดทันที แต่ทำให้บรรยากาศที่อยู่ร่วมกันเกิดความสงบสุขขึ้น มีความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องมากขึ้น บรรยากาศหนึ่งที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนี้คือ ไม่มีพรรคการเมืองก็จะทำให้บรรยากาศที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนมีความชัดเจนมากขึ้น
มาเลเซียจะไม่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองของไทย วันที่ 7 ต.ค.49 สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่า นายนาจิบ ราซัค รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียให้สัมภาษณ์ผ่านทางสำนักข่าวเบอร์นามาว่า มาเลเซียจะไม่ขอเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองในประเทศไทย แต่ก็แสดงความหวังว่า รัฐบาลชุดใหม่ของไทยก็จะหาทางแก้ปัญหาความไม่สงบทางภาคใต้ และรัฐบาลมาเลเซียจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเจรจา


ส่วนสำนักข่าวเอพีรายงานด้วยว่า หนังสือพิมพ์เดอะสตาร์อ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียซึ่งกล่าวว่า ความคิดที่จะจัดการเจรจากับตัวแทนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทางภาคใต้นั้น เป็นข้อเสนอที่มีขึ้นหลังจากการหารือกับ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย นอกจากนั้น เดอะสตาร์ยังรายงานโดยอ้างจากหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นของไทยว่า การเจรจามีขึ้นที่เกาะลังกาวีของมาเลเซีย แต่ยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใด ๆ. โดยเรื่องที่มีการหารือคือเรื่องการศึกษา เรื่องความเป็นธรรม แต่ไม่มีการพูดถึงเรื่องการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งว่าเป็นเรื่องแปลกที่ไม่มีข้อเสนอนี้


รองนายกฯมาเลย์ยืนยันจัดพบหารือจริง
ในขณะเดียวกันสำนักข่าวเบอร์นามาของทางการมาเลเซียรายงานว่า ดะโต๊ะ ซรี นาจิบ ตุน ราซัก รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมให้สัมภาษณ์ยืนยันว่ามีการจัดการพบหารือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพไทยและแกนนำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทางภาคใต้ขึ้นจริง แต่ทั้งหมดเป็นการดำเนินของอดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ ในฐานะประธานขององค์การพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ชื่อ ยายาซาน เพอร์ดานา หรือมูลนิธิเพอร์ดานาโกลบอล พีซ ออร์แกไนเซชั่น (พีจีพีโอ) ที่ ดร.มหาธีร์ดำรงตำแหน่งประธานอยู่ ถือเป็นความริเริ่มเพื่อหาหนทางไปสู่สันติภาพในภาคใต้ของไทย โดยมีแกนนำของกลุ่มมุสลิมที่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทยเข้าร่วม อย่างไรก็ตามรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียไม่ได้ระบุว่ามีกลุ่มใดบ้างเข้าร่วมในการเจรจาดังกล่าว

ระบุความคิดเอ็นจีโอ-รบ.มาเลย์จะไม่เกี่ยวข้อง
"การเจรจาดังกล่าวดูเหมือนเป็นความคิดริเริ่มที่ดำเนินการโดยผู้ที่มีสถานะเป็นเอ็นจีโอ เพื่อหาทางดูว่าจะมีทางออกอะไรบ้าง สำหรับรัฐบาลมาเลเซียแล้ว เราไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้านได้ถ้าหากไม่มีการเชื้อเชิญอย่างเปิดเผยให้เข้าไปช่วยเหลือ ในกรณีนี้ก็ขึ้นอยู่กับทางไทยว่าจะตัดสินใจอย่างไรกับเรื่องนี้" รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าว และว่า "เท่าที่เรารู้กัน ตอนที่ยังอยู่ภายใต้รัฐบาลชุดเก่า เป็นเรื่องยากที่การพูดคุยกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ในความขัดแย้งครั้งนี้จะจัดให้มีขึ้นได้ หวังอย่างยิ่งว่าสันติภาพและสมานฉันท์จะเกิดขึ้นในภาคใต้ของไทยได้ภายใต้ผู้นำใหม่ของไทย"

Bernama October 07, 2006 16:07 PM
M'sia Won't Interfere In Thailand's Affairs, Says Najib


PEKAN, Oct 7 (Bernama) -- Deputy Prime Minister Datuk Seri Najib Tun Razak Saturday reiterated that Malaysia would not interfere in the internal affairs of Thailand and this included efforts to resolve the ongoing conflict in its south.

Responding to a foreign news agency report that former Prime Minister Tun Dr Mahathir Mohamad is helping to arrange a meeting between the conflicting parties to resolve the problem in the volatile region, Najib said it was done in Dr Mahathir's capacity as the leader of a non-governmental organisation (NGO).

"It appears to be an initiative taken by the Perdana Leadership Foundation whose status is that of an NGO to find ways to resolve the conflict there.

"As for the government, we cannot interfere in the affairs of a neighbour unless expressly invited to help out. In this case (the efforts to initiate a dialogue), it is up to Thailand determine its stand on the matter," he said.

Najib said this when approached by reporters after presenting alms provided by Bank Rakyat to 1,000 single mothers and the needy from here.

Najib, who is also the Defence Minister, however, hoped that country's new leadership, which appeared to favour talks with the Muslim insurgents in south Thailand, would be able to restore peace and stability there.

"As we know, under the old government it was difficult for talks to be held between the conflicting parties, hopefully peace and harmony can be attained in southern Thailand under the new leadership," he said.

-- BERNAMA

"มหาธีร์"เคยส่งแผนสันติภาพให้"ชิดชัย"
วันเดียวกัน หนังสือพิมพ์เดอะสตาร์ของมาเลเซีย ตีพิมพ์คำให้สัมภาษณ์ของ ดร.มหาธีร์ ยืนยันว่าในอดีตที่ผ่านมาได้เป็นตัวกลางจัดให้มีการพบหารือกันจริง แต่ถือว่าได้ทำหน้าที่ในส่วนของตนตามที่ได้รับการร้องขอเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ขึ้นอยู่กับทางฝ่ายไทยว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเปิดเผยด้วยว่าได้จัดทำแผนสันติภาพและการพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ภาคใต้ของไทย (Joint Peace and Development for South Thailand) โดยจัดทำสำเนาชุดหนึ่งส่งมอบให้กับ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ไปแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม2549 ที่ผ่านมา 10 เดือนหลังจากทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจาดังกล่าว

The star online Malasia Saturday October 7, 2006
FARIDAH BEGUM DPM: Peace talks on Southern Thailand was private initiative
PEKAN: The peace talks on Southern Thailand, which were held in Pulau Langkawi, was an initiative by Yayasan Perdana, headed by former Prime Minister Tun Dr Mahathir Mohamad.


"It is a private initiative by an non-governmental organisation and the government cannot interfere in this matter as we have not been invited by the Thai government to do so," said Deputy Prime Minister Datuk Seri Najib Tun Razak.
He said the initiative was on a basis of finding ways to achieve peace in the violence-stricken Southern Thai region, with talks being held with the various Muslim groups there.


Najib, who was asked to comment on an article that appeared in The Nation, an English daily in Thailand, said in the previous Malaysian administration, attempts were made to meet representatives of the Muslim groups in Southern Thailand "but they were difficult to carry out."


Najib said he felt that the new Thai administration was more amiable to resolving the problems in Southern Thailand and that a peace treaty could soon be signed to end the violence and sufferings of the Muslim community.
He was speaking after presenting monetary gifts to 1,000 single mothers and orphans at the Sultan Haji Ahmad Shah Convention Hall here on Saturday morning.


The news report from The Nation said that Dr Mahathir had engineered at least two meetings between Thai officials, including some generals, and the leaders of the Muslim groups, but there was no breakthrough.
For Another perspective from The Nation, a partner of Asia News Network, click here

เข้าร่วมตามคำแนะนำ"อานันท์"
ดร.มหาธีร์เปิดเผยว่า การทำหน้าที่ดังกล่าวมีที่มาจากการพบหารือกับนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติและกำลังศึกษาวิกฤตการณ์ในภาคใต้ของไทย อยู่ในเวลานั้น หลังจากนั้นอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

"ผมขอเข้าเฝ้าฯ พระองค์ ในเดือนตุลาคม 2548 หลังจากได้รับคำแนะนำจาก คุณอานันท์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นพ้องกับข้อเสนอแนะของคุณอานันท์ที่ว่าผมน่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการริเริ่ม เพื่อสันติในภาคใต้ของไทย" อดีตผู้นำมาเลเซียระบุถึงที่มาของการแสดงบทบาทดังกล่าว

พล.ท.ไวพจน์"เหมาะสมเจรจาสันติ
ดร.มหาธีร์ ระบุด้วยว่า พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ เป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุดในกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพต่อเนื่องต่อไปเพราะเป็นผู้เข้าใจสาเหตุที่เกิดความขัดแย้งขึ้นมาได้เป็นอย่างดี

"คุณไวพจน์กับผู้นำมุสลิมสามารถทำงานร่วมกันได้ และแสวงหาความช่วยเหลือจากทาง การมาเลเซียเพื่อให้ทำหน้าที่ตัวกลางของกระบวนการสันติภาพต่อไป" ดร.มหาธีร์กล่าว แต่เสริมด้วยว่า "เราต้องจำไว้ว่าการลงนามในข้อตกลง สันติภาพใดๆ ไม่แน่ว่าจะยุติความรุนแรงในภาคใต้ของไทยลงได้ เพราะสถานการณ์ที่ผันผวนที่นั่นมีเชื้อมาจากหลายๆ องค์ประกอบด้วยกัน ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมที่เป็นอาชญากรรมต่างๆด้วย"

กลุ่มต้านแค่ขอสันติ-ไม่คิดแยกอิสระ
อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียบอกกับเดอะสตาร์ว่า รู้สึกประหลาดใจอย่างมากที่ไม่มีผู้นำไทยมุสลิมคนไหนเรียกร้องที่จะแยกตัวออกเป็นอิสระ หรือแม้แต่การจัดตั้งเขตปกครองตนเองขึ้นเลย "พวกนี้แค่ต้องการสันติ, ต้องการนโยบายด้านการศึกษาที่ดีขึ้นกว่าเดิม, การพัฒนาที่เสมอภาคเท่าเทียมกับที่อื่นๆ และต้องการโอกาสที่ภาคใต้จะเจริญรุ่งเรืองเท่านั้นเอง" พร้อมกันนั้นอดีตผู้นำมาเลเซียยืนยันว่าข้อเรียกร้องของบรรดาแกนนำมุสลิมเหล่านั้นเป็นเพียงข้อเรียกร้องพื้นๆ และน่าจะง่ายต่อการดำเนินการ

The Star: Saturday October 7, 2006
Dr M: Ball's in Thai court


LANGKAWI: It is up to the Thai authorities to proceed with the Tun Dr Mahathir Mohamad-initiated roadmap to peace in southern Thailand.


"I have done my part. My mission is now complete. It is now up to the Thai authorities to proceed with follow-up action," Dr Mahathir said, adding that he was willing to render further help if required.


Within 10 months of seeking an audience with Thai King Bhumibol Adulyadej, Dr Mahathir had completed his mission to establish good cordial working relationship between the Thai authorities and the leaders of Thai Malay Muslim organisations.
The Perdana Global Peace Organisation (PGPO), together with Honorary Royal Thai Consul Datuk Shazryl Eskay Abdullah, prepared a draft of the Joint Peace and Development Plan for South Thailand and a copy was delivered to then Thai Deputy Prime Minister Chitchai Vanasatidya in August.


Dr Mahathir, who is PGPO chairman, was responding to an allegation in an English daily in Thailand recently that the peace initiative taken by him was heading nowhere.


He said the idea to initiate the peace talk was mooted after a discussion with former Thai prime minister Anand Panyarachun, who was given the task to study the southern crisis.


"I sought an audience with the King in October following Anand's advice. The King agreed with Anand's suggestion that I be involved in the peace initiative for southern Thailand," he said.


Dr Mahathir said Thai National Intelligence Agency director Lt-Gen Vaipot Srinual was the best person to mediate the peace process further because he understood very well the causes of disputes that had led to the conflict.
"Vaipot and the Thai Muslim leaders can get together and seek the help of the Malaysian authorities to mediate the peace process," he added.


"But we must remember that signing a peace treaty will not end the violence in the south because the volatile situation is fuelled by various factors, including criminal activities."


Dr Mahathir was surprised that none of the Thai Malay Muslim leaders are calling for independence or autonomy.
"They merely want peace, better education policy, equitable development, and better economic prospects for the South," he said, adding that the requests made by the community leaders were very basic and should be easily fulfilled.


PGPO executive director Datuk Mukhriz Mahathir said the Thai Malay Muslims also hoped that the authorities would declare a blanket amnesty "so that people could start their lives anew".
Related stories:
Dr M helped arrange talks
::::::::::::::::::::::::::::::::


The Star / AFP (Agence France-Presse )Sun, October 8, 2006
Mahathir confirms talks between Thai govt, Muslim groups

KUALA LUMPUR - Malaysia's ex-premier Mahathir Mohamad brokered talks between Thai officials and Muslim groups from Thailand's south to help resolve the conflict there, his office confirmed for the first time Sunday.

The revelation came amid indications from Thailand's new government that authorities want to hold peace talks with insurgent groups from the country's Muslim-majority southern provinces.
A spokesman from Mahathir's office confirmed the ex-premier had arranged meetings between Thai officials and Muslim leaders from Thailand's south in the last quarter of 2005.


"Yes he did try to broker a ceasefire, that started off some time last year and there have been about two meetings so far," he told AFP.


The meetings were on Malaysia's northern holiday island of Langkawi, which is close to the countries' shared border and where Mahathir has business interests, he said.
Mahathir, 81, was quoted as saying in a report Saturday that he had initiated a peace plan and that it was up to Thai authorities to continue the efforts.


"My mission is now complete. It is now up to the Thai authorities to proceed with follow-up action," Mahathir was quoted as saying in the Star newspaper.


The elder statesman said he initiated peace talks after discussions with former Thai premier Anand Panyarachun and had also consulted with His Majesty the King of Thailand.
"I sought an audience with the king in October following Anand's advice. The King agreed with Anand's suggestion that I be involved in the peace initiative for southern Thailand," said Mahathir.


Several insurgent groups, including Bersatu and the Patani United Liberation Organisation, attended the meetings, while the Thai government was represented by Lieutenant-General Vaipot Srinual, Mahathir's spokesman said.
Malaysian deputy premier Najib Razak said Mahathir had brokered the talks as the head of a non-government organisation and that Malaysia would not interfere in Thailand's internal politics, reports said Sunday.
Mahathir, currently in a stand-off with the Malaysian government for criticizing its policies, has spent his time since retiring as premier in 2003 lobbying for world peace.


Thailand's coup leader Sonthi Boonyaratglin last week confirmed that authorities want to hold peace talks with insurgent and a Thai official said discussions would start early next month.
Separatist violence and other unrest in southern Thailand has killed more than 1,500 since January 2004.
Agence France-Presse

บทสรุป

การดำเนินการเจรจากับผู้ก่อการร้าย ทางการไทยมีความเห็นว่า จะไม่เรียกว่าเป็นการเจรจา แต่จะเป็นการพูดคุยเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยแนวคิดมีขึ้นในสมัย พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ที่ต้องการแนวทางการพูดคุยมาแก้ไขปัญหา โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็มีความเห็นว่า การพูดคุย ทางการไทยก็มีความพร้อม ในเบื้องต้นได้ให้แกนนำพูโล ที่ถูกจำคุกออกมาพูด กับผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ผ่านสื่อ แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจากแกนนำเท่าใดนัก ต่อมาได้ให้          ดร.มหาธีร์ ช่วยพูดคุยอย่าง ลับ ๆ แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะผู้ร่วมพูดคุยในครั้งนั้นไม่รู้ว่าเป็นกลุ่มขบวนการใด อย่างไรก็ตาม เมื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.ก็มีแนวคิดการพูดคุยกับแกนนำ อีกครั้งหนึ่ง แต่ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผอ.สำนักข่าวกรอง และผวจ.นราธิวาส ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเจรจา เพราะมองต่างมุมที่ว่า จะเป็นการยกระดับของขบวนการ อีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ก่อการร้ายมีอยู่หลายกลุ่ม อีกทั้งยังมีกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ และยังไม่แน่ใจว่า หากมีการเจรจาแล้วเหตุการณ์จะสงบจริง


ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะนี้ได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศและสื่อในประเทศมาเลเซีย ก็ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ และมีการนำเสนออย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นกระแส จนอาจจะนำขึ้นสู่เวทีการเมืองระดับสากล /////////////////////////////////////

                    1
คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com