www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 60 คน
 สถิติเมื่อวาน 59 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4169 คน
4169 คน
1749437 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

วิเคราะห์ จะเจรจากับเบอร์ซาตู จริงหรือ ตอน 2
โดย ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ ผู้สื่อข่าว 8 ว.

บทนำ
การเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้นว่าจะมีข่าวการพูดคุยกับแกนนำในประเทศมาเลเซีย แต่ฝ่ายไทยก็มีความกังวลในการพูดคุยที่อาจจะเป็นการยกระดับปัญหาขึ้นสู่เวทีการเมืองระหว่างประเทศ ที่มีโลกมุสลิม เป็นผู้เฝ้าจับตามองอย่างให้ความสนใจ โดยเฉพาะ องค์การการประชุมอิสลาม หรือ OIC ที่มีประเทศมาเลเซีย เป็นประธาน ปลายปี 2548 มีการพูดคุยกับแกนนำโดย นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เข้ามาเป็นคนกลางอย่างเงียบ ๆ ฝ่ายไทยมี พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล อดีตผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย(ศรภ) ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (ปี2549) เป็นผู้ที่มีส่วนรู้เห็นในการพูดคุยกับแกนนำหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีการเปิดเผย ข้อมูล การพูดคุยก็ไม่ได้รอดพ้นสายตาของพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม (ก่อน19 ก.ย.49) จนวันที่ 16 กันยายน 2549 มีการนัดชุมนุมกันของแกนนำประมาณ 30 คน ที่มัสยิดกลางยะลา โดยมีชาวมุสลิม ร่วมงานประมาณ 3,000 คน ทำให้สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศร่วมทำข่าวเป็นจำนวนมาก การชุมนุมวันนั้นก็มีความกังวลว่าอาจจะมีเหตุร้ายในการประกอบพิธี แต่เหตุการณ์ร้ายก็ไม่เกิดขึ้น กลับไปเกิดที่ย่านธุรกิจในหาดใหญ่แทน

เบอร์ซาตูยืนยันมีการติดต่อเจรจาตลอด
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 ดร.วัน คาเดร์ เจ๊ะมัน หัวหน้ากลุ่มเบอร์ซาตู ได้ให้สัมภาษณ์วิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทย ถึงเรื่องการเจรจากับรัฐบาลไทยว่า มีตลอด ครั้งสุดท้ายจำไม่ได้ว่าเมื่อไหร่ แต่คงจะเป็นเมื่อเดือนที่แล้ว(เมษายน 2547)เพื่อจะได้ทราบว่า ทางเราต้องการอะไร ทางเขาจะเอาอะไร คือคุยในฐานะเพื่อนที่อยากจะรู้ว่า เราต้องการอะไร ถ้ารัฐบาลสามารถให้อะไรบางอย่างที่เราต้องการทางรัฐบาลก็อาจจะทำได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าเบอร์ซาตูได้พูดคุยอะไรกับทางการไทยหรือไม่ ดร.วันตอบว่า ไม่ได้คุยกัน แค่ติดต่อว่าจะคุยกัน คุยแบบไม่ได้คุยกันอย่างเป็นทางการ แต่คุยแบบเป็นเพื่อนกัน ซึ่งเขาอาจจะแปลยังไงเราก็ไม่ทราบแต่เราไม่ได้คุยในฐานะเป็นทางการ ผู้สื่อข่าวบีบีซียังถามอีกว่า ดร.วันยังยืนยันหรือเปล่าว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งทางด้านการเมืองมากกว่าที่จะเป็นความขัดแย้งทางศาสนา เพราะขณะนี้ในกรุงเทพฯ ความกังวลก็คือว่า มันกำลังกลายเป็นความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นเรื่อยๆ ดร.วัน ตอบว่า ผมว่าการเมืองมากกว่า อาจจะมีศาสนาด้วย ศาสนานี่เป็นปัจจัยที่หนุนผลักดัน แต่จุดที่ทำให้เกิดระเบิดไม่ใช่ศาสนา มีแต่การเมือง และเรื่องของความไม่ยุติธรรม ไม่มีความเป็นธรรม แต่อันนี้เป็นความคิดของเรา ทางรัฐบาลไทยอาจจะบอกว่า เขาทำดีที่สุดแล้ว ยุติธรรมที่สุดแล้วทุกอย่าง แต่อันนี้ความคิดไม่เหมือนกัน ทางไทยบอกว่ายุติธรรม ทางเราบอกว่าไม่ อันนี้เราต้องหา เราต้องคุยกัน เพื่อทั้งสองกลุ่มจะได้เข้าใจกันว่าปัญหามันตรงกันหรือไม่ ที่คุณเอากับผมเอาเหมือนกันหรือไม่ นี่ไม่เหมือน

พล.อ.ธรรมรักษ์ รู้การเคลื่อนไหวที่มีการประชุมแกนนำที่ลังกาวี
วันที่ 9 กันยายน 2548 พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กรุงเทพ ว่า มีอดีตนักการเมืองมาเลเซีย กับ แกนนำก่อเหตุในภาคใต้ของไทย มักไปร่วมประชุมกันบ่อยๆที่ เกาะลังกาวี ของมาเลเซีย โดยมีนักการเมืองท้องถิ่นของไทยร่วมด้วย โดยกำลังส่ง ทหารหน่วย"การข่าว" ติดตามอยู่อย่างใกล้ชิด เตือน มาเลเซียอย่ายุ่งกับเรื่องภายในของเรามาก

"ความเคลื่อนไหวที่ผมสนใจ คือ ที่เกาะลังกาวี เพราะเขามีอดีตนักการเมืองของมาเลเซียอยู่ที่นั่น ผู้นำที่ก่อเหตุของเราก็ไปประชุมที่นั่นหลายหนแล้ว เป็นคนไทย ไอ้พวกที่ก่อเหตุทั้งหลายนั่นแหละ ในระดับแกนนำด้วย มันก็เข้าๆ ออก ๆ บางทีไม่ผิดกฎหมาย เรารู้ว่าไอ้นี้ไปประชุมจริง แต่ไม่ผิดกฎหมาย เราก็ต้องดูเขาต่อไป ความจริงไม่อยากพูด แต่เมื่อเขาพูด ผมก็พูดแล้ว คือเขาไปประชุมที่เกาะลังกาวีหลายหนแล้วในเรื่องการเคลื่อนไหวที่ไทย เพราะฉะนั้นต่อไปนี้เราต้องจับตาดูที่เกาะลังกาวี"

พลเอก ธรรมรักษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า การที่คนไทยต้องอพยพหนีไปอยู่มาเลเซีย เพราะความจริงที่ชาวบ้านเขาบอกกลัว เขากลัวใคร ก็แสดงว่าถ้าไปตรงโน้น ผู้ก่อความไม่สงบไม่ทำใช่ไหม คิดว่ากลัวผู้ก่อความไม่สงบ "แต่ปัญหามันเป็นการเมือง เดี๋ยวให้กระทรวงการต่างประเทศเขาพูด"

พลเอก ธรรมรักษ์ กล่าวว่า การประชุมที่เกาะลังกาวี มักจะประชุมเพื่อวางแผนแล้วมาก่อเหตุในภาคใต้ของไทยตอนนี้คนของตนกำลังเช็คความชัดเจนอยู่ไม่อยากพูด

เมื่อถามว่า แสดงว่ามาเลเซียไม่ได้มีความจริงใจกับไทย พลเอก ธรรมรักษ์ กล่าวว่า ก็เขาไม่ได้อยู่ในรัฐบาลแล้วเขาออกนอกรัฐบาลไปแล้ว

"มหาธีร์ เขาเป็นเจ้าของเกาะนี้" พลเอก ธรรมรักษ์ กล่าวเมื่อถูกถามว่า เป็นเรื่องเดียวกับที่ดร.มหาธีร์ ออกมาพูดหรือเปล่า พลเอก ธรรมรักษ์ กล่าวว่า ความจริงเป็นเรื่องภายในของเรา มาเลเซียเขาก็เป็นเพื่อนบ้านที่ดีแต่ว่าเราไม่อยากให้มายุ่งกับเรามาก

ส่วนการที่มาเลเซียพยายามจะตั้งศูนย์กักกันให้คนไทยอพยพอยู่ นั้นเป็นความพยายามแทรกแซงหรือไม่ รมว.กลาโหม กล่าวว่า เขาคงไม่ใช่ทั้งหมด มีเพียงบางคน แต่ที่ตนพยายามตามด้านการข่าวเขาประชุมที่ลังกาวีหลายหนแล้วซึ่งเราต้องค่อยๆแก้ไขไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีนักการเมืองท้องถิ่นของไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการประชุมเพื่อเตรียมก่อความไม่สงบ ที่ลังกาวีด้วยหรือไม่ พลเอก ธรรมรักษ์ กล่าวว่า มี แต่บอกไม่ได้ แต่การข่าวเรารู้หมด แต่เรายังทำอะไรกับเขาไม่ได้ เพราะเขาไปหารือกัน แต่เป็นการเคลื่อนไหว ซึ่งมันไม่ค่อยจะดีในเรื่องของความสัมพันธ์ถือเป็นเรื่องกระทรวงต่างประเทศ

พลเอก ธรรมรักษ์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาเรื่อ 131 คนไทยที่อพยพไปมาเลเซียนั้น พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผบ.สส. กับ ผบ.สส.มาเลเซีย ได้หารือกันแล้ว ก็คงจะร่วมมือกันต่อไปเพราะทหารคุยกันรู้เรื่อง เรื่องชายแดนเรามีคณะกรรมการอยู่

พล.อ.ธรรมรักษ์ ไม่สบายใจที่มหาธีร์พูดคุยกบแกนนำป่วนใต้
การให้สัมภาษณ์ ของพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นการยืนยันว่า ทางมาเลเซียได้มีการพบปะพูดคุยกับแกนนำกลุ่มที่ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จริง จากคำให้สัมภาษณ์ชี้ได้ว่า ทางการไทยรู้ทีหลังว่ามีการพูดคุยกันโดยมีความเข้าใจว่า เป็นการพูดคุยกันระหว่าง นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียกับแกนนำผู้ก่อความไม่สงบโดยใช้สถานที่บนเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งทางการไทยก็รู้ความเคลื่อนไหวมาตลอด ทำให้พลเอกธรรมรักษ์ รมว.กลาโหมของไทยไม่ค่อยสบายใจนักกับเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะแค่บอกว่าเป็นอดีตนักการเมืองและเป็นเจ้าของเกาะลังกาวีก็เป็นอันรู้กันว่าหมายถึง นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ซึ่งทางการไทยมีความหวาดระแวงต่อการกระทำของนายมหาธีร์ที่มีการหารือกับแกนนำอย่างลับๆ

ผบ.สูงสุดมาเลเซียพบผบ.สูงสุดไทย
เวลา 07.30 น. วันที่ 9 ก.ย.48 ที่ กองบัญชาการทหารสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ ADM.TAN SRI DATO SERI MOHAMMAD ANWA ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของมาเลเซีย ได้เข้าพบหารืออย่างไม่เป็นทางการกับ พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผบ.สส. และ พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ว่าที่ผบ.สส. และ พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เสนาธิการทหาร เพื่อปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับปัญหามุสลิมใน3 จังหวัดชายแดนของไทยข้ามไปพักพิงไปในประเทศมาเลเซีย แต่เป็นการหารือกันภายในโดยห้ามผู้สื่อข่าวเข้าทำข่าว

แหล่งข่าว กล่าวว่า พลเอก ชัยสิทธิ์ ได้ยืนยันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของไทยในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยหลักสันติวิธี พร้อมด้วย การขอความร่วมมือในการประสานข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มแกนนำที่มีส่วนในการก่อความไม่สงบในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

แหล่งข่าว กล่าวว่า พลเอก ชัยสิทธิ์ ยังชี้แจงเรื่องข่าวบางอย่าง หรือข้อมูลบางอย่างที่ออกไปเป็นเรื่องที่ไม่จริง บางอย่างเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เป็นการทำให้ข้อมูลตรงกันแต่อย่างไรก็ตาม พลเอก ชัยสิทธิ์ ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ โดยกล่าวว่า ไม่ขอพูดถึงหัวข้อในการเจรจาในวันนี้

"ไม่พูดๆ เดี๋ยวจะ burn หมด แต่แน่นอนว่าการหารือวันนี้ ต้องเป็นผลบวก ตอนนี้คงต้องขอให้ทำงานกันก่อน"
ในวันที่ 24-25 ก.ย.2548 พลเอก ชัยสิทธิ์ จะเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เพื่อเยี่ยมคารวะผู้นำด้านการทหาร และเพื่ออำลา เนื่องในโอกาสจะเกษียณอายุราชการในปลายเดือน ก.ย.2548 นี้

การเดินทางมาไทยของ ADM.TAN SRI DATO SERI MOHAMMAD ANWA ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของมาเลเซีย ทันทีที่มีข่าวออกไปว่า ทางการไทยไม่ค่อยพอใจที่ นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ที่มีการพบปะพูดคุยกับแกนนำผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการพบกันหลายครั้งเกิดขึ้นที่เกาะลังกาวี อันเป็นที่ตั้งบ้านพักของนายมหาธีร์ ก็เพื่อไม่ต้องการให้ทางการไทยเข้าใจผิดว่ารัฐบาลมาเลเซียให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย และการพูดคุยระหว่างผู้บัญชาการทหารสูงสุดของมาเลเซีย กับ นายทหารระดับสูงของไทยในครั้งนั้น คงจะมีข้อบรรลุในบางอย่างจนในระยะหลังมีข่าวว่า การพบปะกันระหว่างแกนนำผู้ก่อความไม่สงบกับ นายมหาธีร์มักจะมีฝ่ายไทยเข้าร่วมด้วย โดยตัวแทนที่เข้าร่วมพูดคุย ที่ทราบภายหลังก็คือ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง อดีตผู้อำนวยการศูนย์รักษาความปลอดภัย(ศรภ.)ในสมัยนั้น

การพูดคุยแกนนำไม่เกี่ยวกับกองทัพบก
วันที่ 9 ต.ค. 49 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) พูดถึงกรณีมีรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศว่าโฆษกสำนักงานของนายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ออกมายืนยันว่าเคยเป็นคนกลางเปิดเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าไม่เกี่ยวกับกองทัพบก เป็นการดำเนินการในส่วนของ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซึ่งเคยเป็นอดีตผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยมาก่อน สำหรับกองทัพบกกำลังหาช่องทางอยู่ ยังไม่ได้ทำอะไร และยังไม่รู้ตัวคนที่แจ้งความจำนงต้องการจะมาพูดคุยกับไทย

การออกมาปฏิเสธของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.หลายครั้งว่าไม่ได้เข้าร่วมเจรจากับผู้ก่อความไม่สงบก็เพื่อ เป็นการถ่วงดุลการพูดคุย เพราะไม่ต้องการยกระดับปัญหาความขัดแย้งขึ้นสู่เวทีการเมืองระหว่างประเทศ และเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาทางการไทยก็ไม่ต้องรับเงื่อนไขใด ๆ แต่การพูดคุยผบ.ทบ.ก็ยอมรับว่ามีนายทหารระดับสูงเข้าร่วมรับฟังการพูดคุยด้วย

ลูกชายมหาธีร์ ยืนยัน มีการพูดคุยกับแกนนำ
วันที่ 10 ต.ค. 49 นายมุกห์รีซ มหาธีร์ บุตรชายของนายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ ว่า ตั้งแต่กลางปี 2548 จนถึงเดือนสิงหาคม 2549ได้มีการหารือกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของกลุ่มซึ่งอยู่เบื้องหลังความไม่สงบในภาคใต้ของไทยไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ราย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่เป็นความคับข้องใจและรับฟังสิ่งที่พวกเขาบ่น ไปจนถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการจากรัฐบาลไทย

"เราพบว่าการแบ่งแยกดินแดนไม่ใช่สิ่งที่กลุ่มเหล่านี้ต้องการ แต่กลับเป็นความสนใจอย่างแท้จริงจากรัฐบาลต่อจังหวัดทางใต้ โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา" มุกห์รีซ กล่าว พร้อมกับระบุว่า กลุ่มต่างๆ เหล่านี้คือเบอร์ซาตู บีอาร์เอ็น พูโล และมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี

บุตรชายของอดีตผู้นำมาเลเซียเชื่อมั่นว่า องค์กรเพอร์นาดา โกลบอล พีซ ของนายมหาธีร์ซึ่งเริ่มกระบวนการเจรจาดังกล่าวได้พูดคุยกับประธานและรองประธานของกลุ่มเหล่านี้ ภายใต้การสนับสนุนอย่างเงียบๆ ของทางการมาเลเซีย โดยใช้ทั้งเกาะลังกาวีและเมืองปุตราจายา ซึ่งเป็นเมืองราชการของมาเลเซียเป็นสถานที่จัดประชุม

"เพอร์นาดาฯได้ส่งข้อมูลที่พบให้กับ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้บัญชาการสำนักข่าวกรองแห่งชาติแล้วหลังเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน 2549 และทราบว่า พล.ท.ไวพจน์ได้ติดต่อกับบุคคลที่เพอร์นาดาฯ ระบุถึงบางคนแล้ว เพอร์นาดาฯได้ทำในสิ่งที่สามารถทำได้อย่างเต็มที่แล้ว เราได้แนะนำให้เขาเดินหน้าต่อไปจากข้อมูลเหล่านั้น ขณะเดียวกันเราเสนอตัวที่จะให้ความช่วยเหลือในความพยายามขั้นต่อไป"

นายมุกห์รีซอ้างว่า การเข้ามามีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของนายมหาธีร์ได้รับความเห็นชอบจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากที่นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ได้ทาบทามเพื่อขอความช่วยเหลือจากนายมหาธีร์ จากนั้นเมื่อนายมหาธีร์ได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในระหว่างเดินทางเยือนไทยเป็นเวลา 2 วันเมื่อปี2548 พระองค์เห็นชอบกับความเห็นของนายอานันท์ว่านายมหาธีร์ควรจะมีบทบาทในการนำทั้งสองฝ่ายเข้ามาหากันได้

นายมุกห์รีซ กล่าวด้วยว่า ท่าทีล่าสุดของรัฐบาลไทยในเรื่องปัญหาภาคใต้มีแนวโน้มในทางที่ดี ผิดกับท่าทีของรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะในช่วง 4-5 เดือนสุดท้ายของรัฐบาล

ขบวนการพูโลยืนยันว่ายังไม่มีการเจรจาและข่าวที่ออกมาไม่มีมูลความจริง
ขณะที่สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายคัสตูรี มาห์โกตา เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการต่างประเทศของกลุ่มพูโล หนึ่งในกลุ่มที่เชื่อว่าอยู่เบื้องหลังเหตุก่อความไม่สงบที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายปี ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวส์สเตรทไทม์ส ว่ายังไม่ได้เตรียมการเจรจาระหว่างกลุ่มความไม่สงบกับตัวแทนของรัฐบาลไทย

"ข่าวดังกล่าวไม่มีมูลความจริงเพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการติดต่อประสานงานอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทยเพื่อเชิญให้ทางกลุ่มเข้าร่วมการหารืออย่างที่เป็นข่าวแต่อย่างใด แต่หากจะหารือเกิดขึ้นมาเลเซียควรจะเป็นเจ้าภาพเพราะมาเลเซียเป็นประธานองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) ในปัจจุบัน" ซึ่งเป็นความเห็นของนายมาห์โกตา

พล.อ.สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ทราบแต่ว่า นายมหาธีร์ ริเริ่มพูดคุย
เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 11 ต.ค.49 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความเป็นไปได้ในการเจรจากับแกนนำก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ยังไม่ทราบว่า พล.ท.ไวพจน์ไปพบกับใครบ้าง ทราบแต่ว่า นายมหาธีร์ เป็นผู้ริเริ่มในฝ่ายมาเลเซีย และฝ่ายไทยก็คือ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ส่วนกำหนดการลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น คงขอเวลาอีกเล็กน้อย เพราะจะดูเรื่องการปรับแนวทางและการจัดองค์กรใหม่ หากแล้วเสร็จก็จะลงพื้นที่ไปพบปะกับบุคคลสำคัญ ซึ่งขณะนี้ยังไม่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะลงไป เพราะลงไปก็ไม่สามารถจะทำอะไรให้กระจ่างชัดได้

นายอานันท์ให้สัมภาษณ์มติชนว่าก่อนการเจรจาต้องมีการพูดคุยก่อน
วันที่ 12 ต.ค. 49 นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ได้ให้สัมภาษณ์ "มติชน" ถึงการเดินทางไปพบกับนายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในตอนแรกเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะกรณีนายมหาธีร์ มาเป็นตัวกลางการเจรจากับแกนนำก่อความไม่สงบว่า หลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ขึ้นมาเมื่อเดือนมีนาคม 2548 ก็มีการพูดกันอย่างไม่เป็นทางการใน กอส.ว่า ถ้าเผื่อรัฐบาลรับไปปฏิบัติตามด้วยความจริงจังและจริงใจแล้ว ผลมันจะปรากฏออกมาก็คงไม่ทันการณ์ เพราะทั้งหมดมันเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาเป็นปี ๆ ฉะนั้น เราก็บอกว่าจริง ๆ แล้ว ถึงขั้นสุดท้าย สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับประเทศชาติ โดยเฉพาะสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ ต้องให้เกิดความสงบ หยุดการฆ่าฟัน หยุดยิง หยุดเผา หยุดทำร้าย และถ้าจะไปถึงจุดนั้นมันก็จำเป็นที่จะต้องมีการพูดคุยเพื่อนำไปสู่การพูดคุยกับบุคคลที่เป็นหัวหน้าของการก่อความไม่สงบ ไม่ใช่ใช้คำว่าเจรจาเพราะก่อนที่จะมีการเจรจานั้นต้องมีการพูดคุยกันก่อนหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาที่เราได้รับทราบจากทางรัฐบาล จากทางข่าวกรองของรัฐบาล หรือจากการประเมิน ก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ตอนนี้ที่มีการคุยกันก็ยังไม่มั่นใจว่าคนเหล่านั้นคุมความเคลื่อนไหวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยจริงหรือไม่

นายอานันท์ มีความเห็นว่า ตอนนั้นคิดกันว่าน่าจะไปคุยกับใครดี เพราะไม่รู้ว่าคนที่ทำในพื้นที่เป็นใคร แต่อย่างน้อยคนข้างนอกประเทศนั้นเราพอจะรู้อยู่บ้าง ในการดำเนินการ ตั้งข้อแม้ว่า ต้องทำโดยรัฐบาลรับรู้ หรืออย่างน้อย พ.ต.ท.ทักษิณต้องรับรู้ เพราะเราก็ไม่รู้ว่าตอนนี้รัฐบาลทำอยู่แล้วหรือไม่ หรือทำกันมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่บอกว่า ถ้าเราคิดว่าควรจะทำ ก็ต้องไม่เป็นไปในนามของ กอส. แต่อาจจะเป็นบุคคลหรือกรรมการแต่ได้รับมอบหมายจากผม แต่เรื่องนี้ได้ขอเวลาไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณก่อนไปถามว่ามองเรื่องนี้อย่างไรจะได้ไม่มาว่าเราจุ้นจ้าน

นายอานันท์บอกว่าเป็นไปไม่ได้ที่มหาธีร์จะสนับสนุนขบวนการ
นายอานันท์ ให้ความเห็นอีกว่า ตอนนั้นยังมีข่าวจากฝ่ายข่าวกรองของไทยบอกว่า มีการประชุมที่เกาะลังกาวี มีนายมหาธีร์เป็นประธาน แล้วบอกกับหัวหน้าที่มาประชุมว่า จะสนับสนุนกระบวนการก่อความไม่สงบในเมืองไทย ซึ่งเรื่องนี้ฟังปั๊บก็รู้ว่า มันเป็นจริงไปไม่ได้ สิ่งแรกคือ นายมหาธีร์นั้นเป็นนายกฯมา 22 ปี ก่อนที่จะพ้นตำแหน่ง ถ้าจะคิดมิดีมิร้ายกับคนไทย จะมาคอยทำไมถึง 22 ปี และตนเองก็รู้จักนายมหาธีร์ในฐานะอดีตนายกฯตอนสมัยที่ตนเป็นนายกฯ ก็พอจะเข้าใจวิธีคิดของเขา ว่าเขาไม่ได้เป็นคนงี่เง่าอย่างนั้น และผมก็เดินทางไปที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ในเดือน ต.ค.2548 ได้พบทั้งนายมหาธีร์ และนายอับดุลลาร์อาหมัด บาดาวี นายกฯมาเลเซีย ก่อนไปผมก็บอกให้ พ.ต.ท.ทักษิณทราบ เพราะไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณรู้สึกอึดอัดใจและสงสัยในตัวของตนพ.ต.ท.ทักษิณก็ส่งฝ่ายความมั่นคงมาด้วยเป็นคนที่ผมก็รู้จักดี

ผู้สื่อข่าวถามว่า ใช่ พล.อ.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติและผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติหรือไม่ นายอานันท์บอกว่า "คุณไปถามเอง เป็นข้าราชการฝ่ายความมั่นคง แต่ตอนที่พบกับนายมหาธีร์ คุยกันสองคน ไม่มีใครได้เข้าด้วยเลย ก็คุยกันไปอย่างเปิดอก หลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องภาคใต้ด้วย คุยกันไปมาก็รู้สึกว่าวิธีคิดของนายมหาธีร์ในเรื่องแก้ปัญหาภาคใต้ของไทยมีความขนานไปกับความคิดของตน ผมก็บอกแหม อยากให้นายมหาธีร์มาไทย แล้วจะจัดให้พบกับข้าราชการ นักการเมือง สถาบันต่างๆ คุยเสร็จ พอออกมาระหว่างที่ผมนั่งอยู่ในรถก็โทรศัพท์ถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ขอให้เชิญมาเป็นแขกของนายกฯและรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณตกลง ปลายเดือน พ.ย.2548 นายมหาธีร์ก็มา และได้พบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และได้เดินทางเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรับทราบพระราชดำรัสในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคใต้ จากนั้นก็เดินทางกลับไปมาเลเซีย

นายอานันท์กล่าวว่า จากนั้นทราบว่านายมหาธีร์ได้ดำเนินการเป็นตัวกลางในการพูดคุยกับอดีตแกนนำกลุ่มต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุมากแล้ว ประมาณ 2-3 ครั้ง ทุกครั้งนายมหาธีร์ก็อยู่ในการพูดคุยด้วย แต่ในขั้นตอนดังกล่าวนั้นผมไม่ได้รับรู้ด้วย กระทั่ง เดือน ก.พ.2549 นายมหาธีร์ก็เชิญผมไปพบอีกครั้ง ผมก็ไป นายมหาธีร์ก็มอบเอกสารสรุปข้อเสนอข้อเรียกร้องของกลุ่มก่อความไม่สงบให้ผมนำไปให้รัฐบาลไทย ผมคุยกับนายมหาธีร์ก็ยังแปลกใจกันเลยว่า ไม่มีข้อไหนที่กลุ่มก่อความไม่สงบต้องการแยกดินแดนเลย มีแต่ขอเรื่องความสงบ อิสรภาพ การศึกษา การพัฒนา เท่านั้น แต่บังเอิญผมกลับมา ยังไม่มีโอกาสนำไปให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณโดยตรง เพราะกำลังยุ่งอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง แต่ได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว แต่ไม่ทราบว่าได้มีการนำไปศึกษาหรือไม่

อดีตผู้ว่ายะลารู้มานานแล้วว่ามีการพูดคุยแต่เป็นเพียงบางกลุ่ม วันที่ 13 ต.ค.49 นายบุญยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ อดีต ผวจ.ยะลา พูดถึง กรณี นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นคนประสานการเจรจากับแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบ ว่า ทราบข่าวมานานแล้วว่ามีการเจรจากันแต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ในความคิดเห็นของตนไม่มั่นใจว่าการเจรจาจะตรงจุดตรงประเด็นและตรงกับกลุ่มที่ก่อเหตุหรือไม่ เนื่องจากการเจรจาต้องมาพูดคุยกันทุกกลุ่มทั้งเบอร์ซาตู พูโลใหม่ พูโลเก่า มูจาฮีดิน บีอาร์เอ็น และกลุ่มอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แต่ที่ทราบเป็นการพูดคุยกันแค่กลุ่มสองกลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ก่อเหตุนั้นจริง ๆ แล้วเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบสายศาสนา ดังนั้น หากการเจรจาไม่ถูกกลุ่มเหตุการณ์รุนแรงก็ยังคงเกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีการพูดคุยกันและพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะตอบตกลงกับข้อเสนอต่างๆ เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่ทราบเลยว่าใครเป็นคนบงการอยู่เบื้องหลัง จะต้องมีการพิสูจน์กันก่อน

พล.อ.สุรยุทธ์นายกรัฐมนตรีระบุมาเลย์มีท่าทีที่ดี
วันที่ 13 ต.ค.2549 ที่ ขส.ทบ. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนอีกครั้งหลังจากที่ให้สัมภาษณ์ไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2549 ถึงการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความคืบหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แสดงท่าทีเปิดกว้างในการพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบและ บอกว่า "คงต้องคุยกันก่อนว่าเขาพร้อมที่จะร่วมมืออะไรกับเราบ้าง แต่ผมไม่สามารถพูดได้ในขณะนี้ว่าเป็นเรื่องอะไร แต่ผมได้รับสัญญาณที่ดีจากเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยว่าพร้อมจะพบปะและพร้อมจะหารือ"

มาเลเซียพร้อมเป็นเจ้าภาพเจรจาสันติแต่ต้องได้รับการร้องขอจากไทย
วันที่ 13 ต.ค.49 สำนักข่าวเอพีและเอเอฟพี รายงานว่า นายนาจิบ ราซัก รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย พูดว่า มาเลเซียเตรียมพิจารณาที่จะเป็นเจ้าภาพในการเปิดเจรจาสันติภาพเพื่อยุติปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ของไทย แต่จะต้องได้รับการร้องขอจากทางการไทยก่อนเท่านั้น ครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่ดีของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะริเริ่มความจริงใจในการแก้ปัญหาภาคใต้ และหวังว่าจะเกิดสันติภาพขึ้น

"วันกาเดร์"ไม่มีอิทธิพลเพราะแกนนำไม่มีกองกำลังส่วนใหญ่อยุ่ในวัยชรา
การที่เจ้าหน้าที่ของไทยมีแผนจะพบปะพูดคุยกับแกนนำกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ โดยมีการติดต่อเพื่อพูดคุยกับ ดร.วัน กาเดร์ เจ๊ะมาน ประธานกลุ่มขบวนการเบอร์ซาตู จากการติดตามความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง พบว่า ดร.วันไม่ได้มีกองกำลังและสมาชิกที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากก่อนหน้านี้บางรายถูกจับกุม เข้ามอบตัวกับทางการและเสียชีวิต ทั้งจากการปะทะและโรคชราไปเป็นจำนวนมาก ส่วนแกนนำต่างๆ ที่ตรวจสอบล่าสุด พบว่าได้ยุติบทบาทโดยสิ้นเชิงแล้ว มีเพียงการเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซต์ของกลุ่มพูโลซึ่งนำโดย นายลุกมาน บินลีมา เท่านั้น ดังนั้น ควรเจรจากับกลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ และก่อเหตุความวุ่นวายในปัจจุบันเท่านั้น คือกลุ่มเยาวชนกู้ชาติปัตตานีหรือ "เปอร์มูดอ" (PERMUDO) ซึ่งมีนายสะแปอิง บาซอ อดีตครูใหญ่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อ.เมือง จ.ยะลา และนายมะแซ อุเซ็ง เจ้าของโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส แกนนำทั้งสองกลุ่ม เดิมเป็นกลุ่มอยู่ในขบวนการบีอาร์เอ็น-โคออร์ดิเนต และบีอาร์เอ็น-อูลามา ซึ่งเป็นสายที่เคร่งครัดในแนวทางศาสนา อีกทั้งผู้นำสองคนนี้เคยประกาศว่าต้องการให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นรัฐปัตตานี ส่วนการเจรจากับแกนนำจากกลุ่มอื่นๆ ไม่น่าจะมีอิทธิพลต่อกลุ่มเปอร์มูดอแต่อย่างใด

อดีตส.ส.ยะลาห่วงการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
วันที่ 13 ต.ค.49 นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณสิริ อดีต ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงการเจรจาเพื่อยุติสถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า การเจรจาเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าทุกคนหวังให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว มีสภาพเหมือนกับภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ

นอกจากนี้ การยุติการก่อความไม่สงบในต่างประเทศ ก็ใช้กระบวนการเจรจากันทั้งสิ้น อาทิ ในประเทศเลบานอนที่มีปัญหา แต่วิธีการเจรจาต้องละเอียดรอบคอบ ทว่าการเจรจาในครั้งนี้กลับมีบุคคลต่างชาติมาเป็นประธาน ในการเจรจาระหว่างผู้ก่อเหตุกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะ นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จึงเกรงว่าจะทำให้บุคคลดังกล่าวจะถือว่าตนเองมีอำนาจเหนือกว่ารัฐบาลไทย

"หากผลการเจรจาสำเร็จ อาจมีผลในการเจรจาต่อรอง ในเรื่องของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือเรื่องอื่นๆ ที่มีการต่อรองระหว่างบุคคลดังกล่าวกับรัฐบาลไทยในอนาคต แต่หากเจรจาแล้วไม่สำเร็จ อาจมีผลในการยกระดับความสำคัญของกลุ่มไปสู่ระดับสากลด้วย"

อดีตแม่ทัพภาคที่4ระบุว่ายังไม่มีการเจรจากับแกนนำ วันที่ 14ต.ค.49 ที่ จ.นราธิวาส พล.อ.องค์กร ทองประสม มีความเห็นว่า ในฐานะที่เคยเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ยังไม่เคยเปิดการเจรจากับกลุ่มขบวนการฯ แต่อย่างใด ทั้งนี้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้สลับซับซ้อน ยังไม่มีกลุ่มหรือขบวนการไหนออกมายอมรับว่าเป็นผู้บงการ ซึ่งยังคงควานหาผู้ที่จะมาพูดคุยและเจรจา แต่ขณะนี้ยังไม่มีตัวตนปรากฏเป็นสัญญาณชัดเจน จึงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ส่วน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปยัง ประเทศมาเลเซียในเร็ววันนี้ เชื่อว่านายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ไปเรื่องเดียว แต่เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีอีกด้วย

การที่พล.อ.องค์กร ทองประสม อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ว่า ยังไม่มีการเจรจากับแกนนำป่วนใต้ เพราะในสภาพความเป็นจริงแม้นว่าจะมีการพูดคุยกันอย่างลับ ๆ แต่นั่นไม่ใช่การพูดคุยที่เป็นทางการที่พอจะเรียกว่า เจรจา เพราะการเจรจา จะต้องมีกระบวนการที่น่าเชื่อถือ และมีคนกลางร่วมเจรจาด้วย โดยคนกลางที่ว่าก็จะต้องได้รับความเชื่อถือจากทั้งสองฝ่าย เช่นกรณี โจรจีนคอมมิวนิสต์ หรือ จคม. ที่ไทยเข้าไปเป็นคนกลาง จนกระทั่ง จคม.ยอมเจรจาสงบศึกและกลับมาร่วมพัฒนาชาติไทย

มาเลเซียมีความหวังให้ไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน จากกรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซียว่า นายไซเอ็ด ฮามิด อัลบาร์ รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์ผ่านทางสำนักข่าวเบอร์นามาว่า มาเลเซียหวังว่าเพื่อนบ้านคือไทยจะกลับสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว และแก้ปัญหาสถานการณ์ไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ของไทยได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้เพราะมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดกับไทย ส่วนการมาเยือนมาเลเซียของ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทยในวันพุธที่ 18 ต.ค.49 นี้ จะได้พบหารือกับนายอับดุลาห์อาหมัดบาดาวีนายกฯมาเลเซียด้วย

พล.อ.สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ไปมาเลเซีย
วันที่ 18 ต.ค. 49 เวลา 09.00 น. ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี นำคณะประกอบด้วย พล.อ. บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.หมาดไทย นายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.ต่างประเทศ นายประกิจ ประจนปัจจนึก เลขาธิการ สมช. พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เดินทางโดยเครื่องบินสายการบินไทย เที่ยวบินทีจี 415 ไปเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการ โดยเดินทางถึงท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เมื่อเวลา 12.10 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) มี ดาโต๊ะ ไซด์ ฮามิด อัลบาร์ รมว.ต่างประเทศของมาเลเซีย ให้การต้อนรับ จากนั้นคณะของนายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อหารือข้อราชการแบบสองต่อสอง กับดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาร์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ก่อนหารือทวิภาคีเต็มคณะ

นายกไทย-มาเลเซียร่วมแถลงผลการหารือ
นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้แถลงผลการหารือร่วมกัน โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวแสดงความยินดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ ในการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ได้มีการหารือในประเด็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ และยืนยันว่า ความร่วมมือไทย-มาเลเซีย เป็นไปอย่างฉันท์มิตรในผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสอง ประเทศ โดยจะมีการเยือนระหว่างกัน และกระชับความสัมพันธ์และร่วมมือกันในโอกาสต่อๆไป ส่วนสถานการณ์ ในภาคใต้ของไทยและมาเลเซียจะสานต่อความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยผู้นำของทั้งสองประเทศสามารถติดต่อกันทางโทรศัพท์เพื่อหารือและแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ตลอดเวลา และเชื่อว่าพื้นที่ภาคใต้ของไทยเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพื้นที่ที่ผู้คนอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ และไม่ใช่พื้นที่ที่มีปัญหา โดยหากฝ่ายไทยต้องการความร่วมมือ ฝ่ายมาเลเซียก็ยินดี และพร้อมจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ สำหรับกรณี 131 คนไทย สามารถอยู่ ในมาเลเซียได้อย่างสันติ หรือหากต้องการเดินทางกลับไปก็สามารถทำได้ทุกเมื่อ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเยือนมาเลเซียในครั้งนี้ ถือเป็นการเยือนครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านี้เคยเดินทางเยือนมาเลเซียหลายครั้งในฐานะ ผบ.ทบ. และขอยืนยันจะรักษาและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียในปัจจุบันและอนาคต พร้อมจะยึดมั่นต่อพันธกรณีต่างๆ ที่รัฐบาลทั้งสองเคยมีต่อกัน สำหรับการแก้ไขปัญหาภาคใต้นั้น จะใช้ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด และจะนำคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียไปปรับใช้ต่อไป และจะติดต่อหารือกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาต่อไป

ต่อมาช่วงบ่าย พล.อ.สุรยุทธ์ พร้อมคณะ เดินทางกลับไปยังโรงแรมแมริออต ปุตราจายา ซึ่งเป็นโรงแรมที่พัก โดยมี ดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ราซัก รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมมาเลเซีย เข้าเยี่ยมคารวะ จากนั้นช่วงเย็นวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ เพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะก่อนจะเดินทางกลับถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเวลา 22.40 น. ในเดียวกัน(18ต.ค.49)

สำนักข่าวต่างประเทศติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
วันที่ 18 ต.ค.49 สำนักข่าวเอพีและเอเอฟพีรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย เดินทางเยือนมาเลเซียและเข้าพบปะหารือกับนายอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และนายไซอิด ฮามิด อัลบาร์ รมว.ต่างประเทศ การเจรจามุ่งเน้นในเรื่องปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย หลังการหารือ พล.อ.สุรยุทธ์แถลงว่า จะหาทางแก้ปัญหาภาคใต้ด้วยวิถีทางสันติ จะขอความร่วมมือกับชาวมุสลิมซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยทั้งหมด ทั้งเหล่าผู้นำมุสลิมในภาคใต้ ไปจนถึงเด็กๆ ในโรงเรียน นั่นคือวิถีทางที่ตนพยายามแสดงตัวเองด้วยการเจรจาหารือ ซึ่งสำนักข่าวเอพีเผยว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวตรงกันข้ามกับรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ก่อนการประชุม นายไซอิดเผยว่า จนถึงขณะนี้ ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างรัฐบาลใหม่ของไทยกับมาเลเซียเป็นไปในทางที่ดี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ก่อนหน้านี้ นายไซอิดเผยว่า มาเลเซียยินดีที่จะมีบทบาทมากขึ้นในการช่วยแก้วิกฤติทางภาคใต้ของไทย หลังจากอดีตนายกฯ มหาธีร์ โมฮัมหมัด เคยเป็นคนกลางจัดการหารือระหว่างทางการไทยกับแกนนำกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มต่างๆ ที่เกาะลังกาวี
วันที่ 18 ต.ค.49 หนังสือพิมพ์ นิวสเตรทส์ไทมส์ รายงานว่า มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทยต้องการที่จะเปิดการเจรจาสันติภาพแต่ก็ยังคงรอคอยคำตอบจากฝ่ายรัฐบาลไทย ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่นี้มีท่าทีที่ต้องการจะประนีประนอมมากกว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นอกจากนั้น ตนก็จะยังทำหน้าที่เป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ย
เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ของไทย

พล.อ.สุรยุทธ์ได้รับแรงบันดาลใจจากอาเจะห์
วันที่ 21 ต.ค.49 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผ่านกรมประชาสัมพันธ์ ขณะเยือนประเทศอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการว่า ในการหารือแบบสองต่อสองกับนายสุศีโล บัมบัง ยุทโธโยโน ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย มีการชี้แจงถึงสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งที่ผ่านมาทางอินโดนีเซียได้เคยส่งผู้นำทางศาสนาและผู้บริหารระดับสูงเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งตนเองได้หารือเรื่องนี้ และขอให้การแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้นำศาสนา และองค์กรศาสนา ระหว่างกันยังคงดำเนินต่อไป เชื่อว่าทางอินโดนีเซียจะให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

ด้านนายฮัสซัน วิรายุดา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เปิดเผยผลการหารือระหว่าง พล.อ. สุรยุทธ์ และประธานาธิบดีสุศีโล บัมบัง ยุทโธโยโน ของอินโดนีเซีย ว่า ในระหว่างการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในภาคใต้ของไทย พล.อ.สุรยุทธ์ยืนยันว่าจะไม่ใช้นโยบายแข็งกร้าวเข้าปราบปรามกลุ่มก่อความวุ่นวายเช่นเดียวกับรัฐบาลที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีไทยระบุว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากการทำข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในอาเจะห์ เมื่อเดือนสิงหาคมปี2548

"ประธานาธิบดียุทโธโยโนยังบอกกับนายกรัฐ มนตรีไทยว่า การใช้กำลังทหารไม่ใช่ทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยยืนยันจากประสบการณ์ของอินโดนีเซีย ในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ ขณะที่นายกรัฐมนตรีไทยได้เสนอแนะให้ผู้นำศาสนาในอินโดนีเซียเข้ามามีส่วนช่วยยุติปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของไทยด้วย" ทั้งนี้ ผู้นำไทยและอินโดนีเซียได้หารือสองต่อสองก่อนที่จะมีการหารือเต็มคณะในเวลาต่อมา

พล.อ.สุรยุทธ์นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับวิธีเจรจาของผู้นำฟิลิปปินส์
วันที่ 23 ต.ค.49 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังเข้าหารือข้อราชการกับ นางกลอเรีย อาร์โรโย่ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ว่า ได้ชี้แจงถึงปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ว่ามีลักษณะเหมือนกับสถานการณ์ในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ที่ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับกลุ่มอาบูซาย์ยาฟ และจะมีการเจรจาหารือกันเพื่อสงบศึกในอนาคต

"ผมได้แสดงความชื่นชมในแนวทางที่ฟิลิปปินส์ดำเนินการ และบอกกับประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ว่า จะขอนำบทเรียนของฟิลิปปินส์ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาดังกล่าวไปศึกษา เพราะบางอย่างน่าจะนำไปใช้เป็นบทเรียนในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยได้ ขณะเดียวกัน ได้เรียนให้ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เข้าใจว่าสถานการณ์ภาคใต้ของไทยนั้นเป็นเรื่องภายในของไทย และก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ให้เข้าใจในสิ่งนี้ พร้อมขอความร่วมมือที่จะช่วยกันสร้างความเข้าใจกับกลุ่มประเทศมุสลิม"

พล.อ.สุรยุทธ์เห็นด้วยกับแนวทางอาเจ๊ะห์แต่ไม่ทั้งหมด
23 ต.ค.49 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงเรื่องการเจรจาตามแนวทางอาเจ๊ะ ว่า ตนเพียงบอกว่าเห็นด้วยในแนวทางการเจรจา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไปใช้แนวทางอาเจะห์ทั้งหมด เพราะอย่างคำกล่าวของทางทหารมีคำหนึ่งว่า ต่างภูมิประเทศก็ต่างวิธีรบ ไม่มีอะไรที่จะเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้น อยู่ที่ว่าจะปรับอย่างไรใช้แนวทางอย่างไร นี่คือความสามารถของผู้บริหารที่ต้องมีทั้งศิลปะและความรู้ เมื่อถามว่า เท่าที่ประเมินสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์กล่าวว่า เปลี่ยนไปแน่นอน แต่คงไม่ลงลึกถึงรายละเอียดซึ่งขณะนี้มีการใช้ความรุนแรงแบ่งแยกสังคมชัดเจน

เมื่อถามว่า การเปิดการเจรจามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง พล.อ.สุรยุทธ์ยังไม่มีอะไรคืบหน้า เพราะที่ผ่านมาเป็นการดำเนินการของรัฐบาลที่ผ่านมา หลังจากนั้นจึงยังไม่มีการเจรจาเพิ่มเติม ที่ผ่านมาก็มีเพียงการเสนอข่าวของสื่อมวลชนเท่านั้น

พูโลขอเจรจาที่แถบสแกนดิเนเวีย
วันที่ 24 ต.ค.49 สำนักข่าวเกียวโด รายงานโดยอ้างการให้สัมภาษณ์ของ นายคัสตูรี มาห์โคตะ ซึ่งระบุว่าเป็นหัวหน้าฝ่ายต่างประเทศของขบวนการพูโล แสดงความพร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการเจรจา เนื่องจากเห็นว่ารัฐบาลปัจจุบัน มีทัศนคติในทางบวก ที่ต้องการยุติปัญหาด้วยสันติวิธี นายมาห์โคตะ ย้ำว่า การเจรจาจะต้องมีขึ้นในประเทศที่เป็นกลาง โดยระบุว่าประเทศในแถบสแกนดิเนเวียมีความเหมาะสม เพราะมีประสบการณ์ในการจัดเจรจาในลักษณะเดียวกันมาก่อน

นายมาห์โคตะยังเสนอให้ประเทศในสแกนดิเนเวียเข้ามามีบทบาทในฐานะสื่อกลางเพื่อจัดการเจรจาดังกล่าวขึ้น


นอกจากนี้ นายมาห์โคตะ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องสิทธิของคนเชื้อสายมาเลย์ด้วย เนื่องจากท่าทีของรัฐบาลเพียงแต่ต้องการให้กลุ่มนักสู้วางอาวุธและเข้ามอบตัว โดยรัฐบาลจะอภัยโทษเพื่อให้กลับไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติ

"นั่นไม่ใช่เป้าหมายของเรา และเราไม่สามารถทรยศต่อการต่อสู้และความเป็นชาติของเราเช่นกัน เราต่อสู้เพื่อเกียรติและศักดิ์ศรี นั่นคือเหตุผลที่การเจรจาครั้งต่อไปควรยืนอยู่บนพื้นฐานของสิทธิในความเป็นคนมาเลย์และสิทธิในชาติพันธุ์ของเรา"นายมาห์โคตะกล่าว

ก่อนหน้านี้ อดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย ได้ช่วยเจรจาสันติภาพอย่างไม่เป็นทางการกับผู้นำกลุ่มก่อความวุ่นวายในไทยหลายกลุ่มซึ่งรวมถึงพูโลด้วย แต่นายมาห์โคตะกล่าวว่า การหารือที่ผ่านมาเป็นเพียงการพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการโดยความริเริ่มส่วนบุคคล ขณะที่ผู้เข้าร่วมในการหารือก็เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ระดับล่าง และไม่ได้รับมอบอำนาจอย่างเป็นทางการเท่านั้น การเจรจาครั้งนั้นถูกกำหนดให้ต้องประสบกับความล้มเหลว เพราะความไม่จริงใจ และการขาดการมีส่วนร่วมขององค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง

พล.อ.สนธิเปิดใจดับไฟใต้ใช้ 2 แนวทาง
วันที่ 26 ต.ค.49 เวลา 23.00 น. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ( คมช.)/ ให้สัมภาษณ์ นายสรยุทธ์ สุทัศนจินดา ผู้ดำเนินรายการถึงลูกถึงคน ทางช่อง 9 อสมท. โดยพิธีกรถาม ว่า เรื่องปัญหาภาคใต้ จะมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร พล.อ.สนธิ บอกว่า ที่ผ่านมาทหาร ตำรวจที่ลงไปทำงานภาคใต้ทั้งหนักและเหนื่อย ที่สำคัญเครียดพอสมควร เพราะว่าผู้ก่อความไม่สงบไม่เหมือนรูปแบบในตำรา ขอย้ำว่าไม่เหมือนในตำรา เป็นรูปแบบที่เขาพัฒนาจากสงครามประชาชนกับการก่อการร้ายเข้ามาสู่รูปแบบใหม่ ในการที่จะเข้าไปทำอะไรซักอย่างหนึ่งมันไม่ง่าย เพราะประชาชนกับผู้ก่อความไม่สงบอยู่ด้วยกัน เราแยกไม่ออก เรารู้ว่าผู้ก่อความไม่สงบเป็นเด็กเก่ง เด็กเรียน เด็กดีอยู่ในหลักศาสนา เวลาเราเดินทางเข้าไปในหมู่บ้านเราไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เรารู้แต่ว่าเป็นประชาชนไทยคนหนึ่ง การจะเข้าสู่การแก้ไขปัญหาด้วยการปราบปรามใช้ไม่ได้ ผู้ก่อความไม่สงบเดี๋ยวนี้องค์กรมันปิด ไม่เปิดเผยองค์กรนำ

"เราไม่รู้ว่าเป็นใคร เราจึงใช้วิธีการว่าเป็นแนวทางใหม่นอกจากจะมี ศอ.บต. พตท.43 ผมกำลังให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รวมตัวกัน ผู้ที่มีศักยภาพเป็นผู้นำจัดตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมาแล้วศึกษาว่า ในพื้นที่ 3 จังหวัด ต้องการอะไร ช่วยเหลือในรูปแบบไหนในการพัฒนาเพื่อให้เขาธำรงขึ้นด้วยความสุขสงบ ขณะนี้กองทัพภาคที่ 4 กำลังทำอยู่ "

พลเอกสนธิ บอกอีกว่า อีกอันหนึ่งคือการสร้างกลุ่มในลักษณะเดียวกัน ให้กลุ่มนี้เดินไปคุยกับกลุ่มตัวการ ให้เข้าไปคุยกันเอง ให้ชาวบ้านที่เขาเป็นแกนนำต่าง ๆ ลองคุยดู เขาจะเอาอะไรให้ว่ามา ซึ่งเป็นวิธีใหม่ ที่จะลองดู ศอ.บต.มีโครงสร้างเพื่อความเป็นธรรม ความสมาฉันท์ และพัฒนาซึ่งจะทำงานอีกมิติหนึ่งของการเข้าไปทำงานในพื้นที่ ที่อาจจะไม่เกี่ยวกับตรงนี้ ความเป็นธรรม ความสมานฉันท์ เป็นหัวใจของการแก้ไขปัญหาภาคใต้ เพราะที่ผ่านมามันขาดตรงนี้ เมื่อเห็นภาพตรงกันอาจจะมีการเจรจาด้วยก็ได้ วิธีการเดินทางไปสู่ความสงบเรียบร้อยจะดำเนินการในทุกวิถีทาง

"การเจรจาเราไม่รู้ว่าเราจะไปเจรจากับใคร เพราะจะไปคุยกับพูโลบทบาทก็จำกัด ตรงไหนที่พบปะพูดคุยได้ก็จะลองครอบคลุม แล้วจะรู้ว่าจุดไหนจะเป็นจุดที่จะพูดคุยได้อย่างแท้จริง เรายืนยันว่า 99 % เป็นคนไทยรักประเทศไทย อีก 1 % เป็นผู้ก่อความไม่สงบ เป็นขบวนการถือว่าเล็กน้อย เราต้อง 99 % กลับมา และต้องอดทนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น "

ข้อมูลข่าว จากสำนักข่าวต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับข่าวการเจรจากับแกนนำป่วนใต้
สำนักข่าว Bernama
Separatist Groups Willing To Talk With Thai Govt
By D. Arul Rajoo October 10, 2006 13:49 PM

BANGKOK, Oct 10 (Bernama) -- Bersatu, a coalition of Muslim separatist organisations in restive southern Thailand, is willing to open talks with the Thai government at any location or time to be decided by Bangkok after meeting military officials several months ago.

Its leader Dr Wan Kadir Che Man said the Thai side could choose any venue or natural ground that both sides could feel comfortable, but denied newspaper reports here that a meeting would be held in Singapore next month.

"I contacted a few groups yesterday and nobody knows about the talk, we just read in the newspapers. But for the first time, we have seen positive signs from Bangkok and we don't want to jeopardise that by putting conditions," he said when contacted at an undisclosed location where he has been living in exile.

Furthermore, he reiterated that no foreign countries, including Malaysia and Indonesia, were involved in the southern insurgency despite allegations by some Thai officials in the past.

Wan Kadir also confirmed that he had met former Malaysian Prime Minister Tun Dr Mahathir Mohamad and several Thai military officials several months ago, saying that he welcomed such talk as it would be a good start to bringing lasting peace to the restive southern provinces.

"Tun Mahathir is well respected in the region, and in Thailand too. I will certainly come personally if a talk with the Thai authority is arranged through him...I see him as an experienced and trusted man," said Wan Kadir.

Bersatu is made up of several organisations like the BRN (National Revolutionary Front), Pulo (Patani United Liberation Organisation), BIPP (Patani Islamic Liberation Front) and GIMP (Muslim Mujahideen Movement of Patani).

Some groups like Pulo emerged in the 1970s during the armed struggle by ethnic Malays in the southernmost provinces of Yala, Pattani and Narathiwat seeking independence from Thailand.

Peace was restored in the last decade but more than 1,700 people had died since separatists launched a campaign of bombings and shootings in January, 2004.

Last week, Mahathir confirmed that he had initiated a roadmap to peace in southern Thailand following his visit to Bangkok late last year where he met Thai King Bhumibol Adulyadej and then Prime Minister Thaksin Shinawatra.

He said the Perdana Global Peace Organisation (PGPO) and Honorary Royal Thai Consul Datuk Shazryl Eskay Abdullah had prepared a draft of the Joint Peace and Development Plan for South Thailand and a copy was delivered to then Thai Deputy Prime Minister Chitchai Vanasatidya in August.

Eskay had said last week that the Thai side was represented by the Armed Forces Security Centre chief Lt-General Vaipot Srinual during the meeting with separatists.

The prospect for talk with militants gained momentum after Army chief General Sonthi Boonyaratglin said that he would like to talk to separatist groups, a reversal from the policy of Thaksin whom he ousted in the Sept 19 coup.

Asked how many groups were involved in the southern problem or if he was in control of them, Wan Kadir, who went into exile in 1989, said it was difficult to say although older groups still existed.

"In the past, we had many groups with different names, like Pulo that fights and uphold their names to show their strength. But now, it involves different generations and they don't care for names, they just fight and go for the end result," he added.

On fear that any talk would not achieve peace due to the existence of new and unknown groups operating individually, Wan Kadir said the talk must start at some point with some known groups before moving to all players.

"You cannot go straight to every group...you have to go one by one. People on the ground, the ordinary people in the south will judge the progress and eventually support the peace talk when they see the sincerity of the authorities," he added.

Asked if Bersatu would press for independence for the three provinces during the talk, Wan Kadir said he would prefer to initiate the talk first and get the response from Bangkok before going into details.

But he said the objective of the meeting would certainly depend on who they were going to talk with in the first place.

"In the past, the Thai side never said they wanted to talk to us. Some lower ranking officials would come to talk and promote themselves to their superiors but nothing happened as most points were rejected by the superiors."

Wan Kadir, however, said there were new developments now as top people, including Sonthi, the first Thai Muslim army chief, had made the move to approach the separatist groups.

On the violence in the south, Wan Kadir said most were related to separatist groups although other elements like extra judicial killing and drug syndicates were involved.

"But separatists don't target civilians. When civilians are killed, some people put the blame on separatists," he said.

-- BERNAMA
We provide (subscription-based)
news coverage in our Newslink service
.
//////////////////////////
Reuters
Wednesday October 11, 2006
Thai king backed Dr M's peace talks
BANGKOK: Former prime minister Tun Dr Mahathir Mohamad held a series of talks with rebel leaders from Muslim-majority southern Thailand under a peace drive backed by Thai King Bhumibol Adulyadej.
Dr Mahathir's son Mukhriz said yesterday that the discussions with more than 50 senior members of various guerilla groups behind the unrest - in which more than 1,700 people have been killed - stretched from the middle of last year to August this year.
"This was a series of interviews to try to understand what their grievances and grouses really are and what they want from the Thai government," he said.
"We found that it was not secession they wanted, but really more attention from the Thai government for the south, in particular economic development and education."
The groups represented were all separatist guerilla groups active in the 1970s and 80s in the three southern-most provinces of Yala, Pattani and Narathiwat.
Mukhriz listed them as Bersatu, an umbrella grouping; the Pattani United Liberation Organisation, the Barasi Revolusi Nasional, or National Revolutionary Front and the Gerakan Mujahideen Islam Pattani, or Pattani Islamic Mujahideen Movement.
Mukhriz said he was confident his father's non-governmental Perdana Global Peace Organisation, which initiated the talks, was talking to "presidents and vice-presidents" of the groups and had the tacit backing of Kuala Lumpur.
The talks were held in Langkawi and Putrajaya, he said.
Perdana had passed its findings to Gen Vaipot Srinual, now head of Thailand's National Intelligence Agency following a Sept 19 coup against Prime Minister Thaksin Shinawatra. Gen Vaipot had subsequently made contact with the same people, Mukhriz said. - Reuters
//////////////////////////


         

1


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com