www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2530 คน
52317 คน
1744761 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

ความรู้เรื่องภาษามาลายู

ความเป็นมา

          ภาษามาลายู เป็นภาษาที่ใช้ได้กว้างขวาง เป็นภาษาที่คนพูดมากภาษาหนึ่งของโลกและเป็นภาษาประจำชาติของหลายประเทศ แต่คงจะเป็นเพราะการเมืองเป็นเหตุ ทำให้ภาษามลายูถูกเรียกต่าง ๆ กันในมาเลเซีย ภาษามลายูถูกเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" หรือ "บาฮาซา มาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) ถ้าเรียกว่า "ภาษามลายู" อย่างสมัยก่อนทำให้คนเชื้อชาติต่าง ๆ ที่อยู่ในมาเลเซีย เช่น จีน อินเดีย ฯลฯ จะเข้าใจว่า ภาษามลายูคือ ภาษาของคนเชื้อชาติมลายูเท่านั้นในอินโดนีเซีย ถูกเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" หรือ "บาฮาซา อินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) ถ้าเรียกว่า "ภามลายู" ทำให้คนเชื้อชาติต่าง ๆ หลายเชื้อชาติและหลายเผ่าพันธุ์ที่อยู่ตามเกาะต่าง ๆ ซึ่งหลาย ๆ เผ่ามีภาษาของตนเอง จะเข้าใจว่า ภาษามลายูคือภาษาของชนเผ่าหนึ่งที่อยู่บนเกาะสุมาตราในประเทศไทยถูกเรียกว่า "ภาษายาวี" ( แปลว่า ภาของคน ยาวา หรือชวา ) ถ้าเรียกว่า "ภามลายู" ทำให้คนที่ไม่เข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าใจว่า ภาษามลายู คือ ภาษาของชาวมาเลเซีย

นอกจากในมาเลเซียและอินโดนีเซียแล้ว ภาษามลายูยังใช้ในบรูไน สิงคโปร์ บางท้องถิ่นในซาอุดิอารเบีย เขมร พม่า ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ รวมถึงภาคใต้ของไทย เป็นต้นความแตกต่างของสำเนียงต่าง ๆ ในภาษามลายูนั้นก็เช่นเดียวกับความแตกต่างระหว่างภาษาไทยภาคกลาง กับภาษาไทยภาคต่าง ๆ นั่นเอง

คำว่า "มาเลเซีย" แต่ก่อนเรียกว่า มลายู ซึ่งหมายถึง เชื้อสายของผู้ที่อพยพโยกย้ายข้ามทะเล ( ลายู ) มาจากเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย เมื่อประมาณ พ.ศ. 1024ภาษามลายู หรือมาเลย์ ดั้งเดิมเป็นเพียงภาษาพูดเท่านั้น ต่อมาศาสนาอิสลาม ซึ่งมีภาษาอาหรับเป็นสื่อได้แพร่ขยายเข้ามา ในบริเวณเกาะสุมาตรา เกาะชวา และคาบสมุทร/แหลมมาเลเซีย หลังจากประชาชนในมะละกาได้รับอิทธิพลเป็นพวกแรก เมื่อ พ.ศ. 1989หลังจากนั้นภาษามลายู ( หรือภาษามาเลเซีย ในปัจจุบัน ) จึงรวมเอาภาษาอาหรับเข้าไว้และกลายเป็นภาษาเขียนอย่างหนึ่ง เรียกว่า "ภาษายาวี" ซึ่งต้องอาศัยสระและพยัญชนะจากภาษาอาหรับ ถึงแม้จะมีการปรับปรุง,เปลี่ยนแปลงอักษรบางตัว แต่ยังคงยึดถือตามอักษรแม่ในภาษาอาหรับ ภาษายาวีก็เลยติดกับศาสนาอิสลามอย่างแยกไม่ออก ต่อมาได้มีการนำอักษรโรมัน หรืออักษรลาติน ( เช่น A,B,C….Z ) มาประยุกต์ใช้ในการเขียนของภาษามาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยเรียกอักษรดังกล่าวว่า อักษรรูมี หรือภาษารูมี หรือรูมาไนซ์ ซึ่งหมายถึง ภาษามาเลเซีย หรืออินโดนีเซียที่เขียนด้วยอักษรโรมัน ( บางคนเข้าใจหรือเรียกว่าเป็นอักษรอังกฤษ )

การเขียนภาษามลายู สามารถเขียนได้ 2 แบบ คือ
1. เขียนด้วยอักษรอาหรับ เรียกว่า "ภาษามลายูเขียนด้วยอักษรยาวี" ( Bahasa Melayu tulisan Jawi ) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในภาคใต้ของไทย ภาคเหนือของมาเลเซีย บรูไน เป็นต้น ตัวอย่างการเขียนอักษรยาวี ( อ่านตามสำเนียงมลายูกลางว่า "บาฮาซามลายู" อ่านตามสำเนียงมลายูท้องถิ่นชายแดนภาคใต้ว่า "บาฮาซอ นายู" แปลว่า "ภาษามลายู" )


2. เขียนด้วยอักษรโรมัน เรียกว่า "ภาษามลายูเขียนด้วยอักษรรูมี" ( Bahasa Melayu tulisan Rumi ) อ่านว่า "บาฮาซา มลายู ตูเลซัน   รูมี" เป็นภาษาเขียนหรือภาษาหนังสือที่รัฐบาลมาเลเซียและอินโดนีเซียใช้เป็นทางการ ซึ่งทางมาเลเซียเรียกว่า Bahasa Malaysia ( ภาษามาเลเซีย ) และทางอินโดนีเซียเรียกว่า Bahasa Indonesia ( บาฮาซา อินโดนีเซีย/ภาษาอินโดนีเซีย ) ตัวอย่างเช่น "Bahasa Melayu" ( อ่านตามสำเนียงมลายูกลางว่า "บาฮาซา มลายู" อ่านตามสำเนียงมลายูท้องถิ่นชายแดนภาคใต้ว่า "บาฮาซอ นายู" แปลว่า "ภาษามลายู" )

ยาวี ในทัศนะของชนมลายู
คำ "ยาวี" และ "ชวา" ทั้งสองคำนี้มีความเหมือนกันโดยทางรากศัพท์เท่านั้น ในด้านของการสื่อความหมายปรากฏว่า ทั้งสองคำนี้ยังมีความหมายแตกต่างกันอยู่มาก กล่าวคือ คำ "ยาวี" นั้นเป็นคำสมญานามที่ชาวอาหรับเรียกใช้เรียกชนทุกหมู่เหล่าที่ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในบริเวณหมู่เกาะมลายู แต่โดยทั่วไปแล้วคำนี้จะหมายถึง ชื่ออักษรมลายูชนิดหนึ่งที่ชาวมลายูยืมมาจากอักษรอาหรับ และพัฒนาบางตัวเพื่อใช้เขียนและถ่ายทอกเสียงที่มีอยู่ในภาษามลายูเดิม

เมื่อราวคริสตวรรษที่ 16-17 เคยมีนักเขียนชาวมลายูใช้คำ"ภาษายาวี" แทนคำว่า "ภาษามลายู" มาบ้างแล้ว และเรื่องนี้มีนักวิจัยบางท่านได้แสดงทัศนะของตนว่า คงเป็นเรื่องนโยบายทางการเมืองที่ต้องการเลี่ยงการใช้ คำว่า "มลายู" มากกว่า เพราะในสมัยนั้นภาษามลายูถือว่าเป็นภาษาแม่ของกลุ่มผู้ปกครองประเทศ โดยเฉพาะกษัตริย์ที่ปกครองในสมัยนั้นเป็นเชื้อสายมลายู ดังนั้นหากมีการใช้คำว่า "ภาษามลายู" อย่างชัดแจ้งคงทำให้เผ่าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เป็นชาวมลายูและไม่ได้เป็นเจ้าของภาษามลายู เกิดความไม่พอใจ ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในอันที่จะสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ในหมู่ชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์มลายูสมัยนั้น

สรุป ยาวี เป็นเพียงชื่อของตัวอักษรเท่านั้น มิใช่เป็นชื่อภาษาใดภาษาหนึ่งอย่างที่บางคนเข้าใจกัน อักษรยาวีมีรูปลักษณะที่แตกต่างจากอักษรชวาดั้งเดิมมาก

ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

J พจนานุกรมมาเลเซีย

ยาวี( Jawi ) หมายถึง มลายู ,อักษรยาวี คืออักษรอาหรับที่มีการนำมาใช้สำหรับการเขียน/ภาษาหนังสือในภาษามาเลย์/มลายู
รูมี ( Rumi ) อักษรรูมี หมายถึง อักษรของชาวโรมัน หรืออักษรลาติน ( เช่น A,B,C….Z ) ใช้เป็นภาษาเขียน/ภาษาหนังสือของมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เช่น เขาสามารถอ่านอักษร ยาวีแต่ไม่สามารถอ่านอักษรรูมี
มลายู ( Melayu ) หมายถึง ชนชาติ และภาษา ( โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานในแหลมมาเลเซีย/มลายู )

J พจนานุกรมไทย

มลายา ( Malaya ) ชื่อประเทศสหพันธ์รัฐ ซึ่งอยู่ที่แหลมมลายู ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น มาเลเซีย ( Malaysia )
มลายู ( Melayu ) ชื่อชนชาติหนึ่ง อยู่ในสหพันธ์รัฐมาเลเซีย ,ชื่อภาษาของชนชาตินี้, ชื่อแหลมซึ่งอยู่ตอนใต้ของประเทศไทย เหนือสิงคโปร์ขึ้นมา
มาเลเซีย สหพันธ์มาเลเซีย (Federal of Malaysia ) อยู่ในแหลมมลายูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองหลวงชื่อ กัวลาลัมเปอร์

มาเลย์ ( Malay ) ชนชาวมลายู, ภาษามลายู

ยาวี เพี้ยนมาจาก "ยาวา" หรือ "ชวา"
โรมัน ( Roman ) ( คำนาม ) ชื่อชาวยุโรปครั้งโบราณพวกหนึ่ง เป็นพลเมืองของกรุงโรมสมัยก่อน , ( คำวิเศษณ์ ) เกี่ยวหรือเนื่องด้วยชาตินั้นเช่น ภาษาโรมัน อักษรโรมัน เลขโรมัน

สรุป
คำว่า "มาเลย์" ( Malay ) และ "มลายู" ( Melayu ) จะมีความหมายแสดงออกเกี่ยวกับเชื้อชาติ, เผ่าพันธุ์, วัฒนธรรม,ภาษา เช่น เผ่าพันธุ์มาเลย์/มลายู ภาษามาเลย์/มลายู, เชื้อสายมาเลย์/มลายู, เชื้อชาติมาเลย์/มลายู เป็นต้น ซึ่งในตำรา,หนังสือ หรือเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่มักจะใช้คำทั้งสองคำนี้ในการนำเสนอข้อมูล

ในเอกสารโฆษณาชวนเชื่อของ จกร. จะเรียกกลุ่มชนของตัวเองว่า "ชาวมลายูปัตตานี" หรือ "มลายูอิสลามปัตตานี" หมายถึงชาวมุสลิมเชื้อสายมลายู ที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ปัจจุบันยังปรากฏว่ามีประชาชนในท้องถิ่นดังกล่าวซึ่งมีความคิดชาตินิยม มักจะเรียกตัวเองว่าเป็น คนมลายู ( หรือนายู )

คำว่า "ยาวี" ในตำรา,หนังสือ หรือเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง บางเล่ม ( ส่วนน้อย ) ยังคงใช้คำนี้ในการนำเสนอข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่กล่าวถึงภาษาถิ่นของชาวมลายูทางตอนใต้ของประเทศไทยอักษรยาวี ได้แก่อักษรมลายูที่ได้มาโดยการเลียนแบบ และคิดประดิษฐ์เพิ่มเติมจากอักษรอาหรับ ส่วนอักษรรูมีนั้นเป็นอักษรที่ได้มาโดยการยืมอักษรโรมัน แล้วนำมาปรับใช้กับหน่วยเสียงที่ปรากฏในภาษามลายู อักษรที่นิยมใช้กันมากในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซียในปัจจุบัน ได้แก่ อักษรรูมี ส่วนในประเทศไทยยังคงพบว่านิยมใช้อักษรยาวีมากกว่า ความนิยมดังกล่าวสังเกตได้จากการใช้อักษรบนกระดาน ป้าย ชื่อห้างร้าน หน่วยงาน ถนน ข้อความที่ปรากฏ ตามป้ายประกาศ ป้ายโฆษณา ของหน่วยราชการ บริษัท ห้างร้าน และธนาคาร ชื่อสถานที่ราชการบางแห่ง ป้ายชื่อโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนา เหล่านี้มักเขียนด้วยอักษรยาวีนอกจากนี้ยังพบว่าในโรงเรียนเหล่านี้ มีการเรียนการสอนวิชาภาษามลายู ( ทั้งอักษรยาวี และรูมี ) และมีการใช้ภาษามลายูเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนนั้น ก็นิยมใช้อักษรยาวีเช่นกัน

คำว่า "รูมี" หรือ "ภาษารูมี" หมายถึงภาษาเขียน/ภาษาหนังสือของมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ( ทั้งสองประเทศใช้พจนานุกรมร่วมกัน ) ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน หรือที่เข้าใจกันว่าเป็นอักษรอังกฤษ ( เน้นหนักเฉพาะเมื่อกล่าวถึงภาษาหนังสือ/ภาษาเขียน ) ในอินโดนีเซียอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งอักษรลาตินคำว่า "ภาษามาเลเซีย" หมายถึงภาษาทางราชการของมาเลเซีย กล่าวคือ เป็นภาษามลายู ที่เขียนด้วยอักษรโรมัน หรือรูมี คำคำนี้ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับประเทศมาเลเซียแต่หากจะกล่าวถึงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชาวมุสลิมทางภาคใต้ของไทย น่าจะใช้คำว่า "ภาษามลายู" หรือภาษามาเลย์" หรืออาจใช้คำว่า "ภาษามลายูท้องถิ่น หรือมาเลย์ท้องถิ่น"มากกว่าภาษามลายูจึงถูกนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง และเป็นที่เข้าใจของกลุ่มชนกว่า 100 ล้านคน ที่กระจัดกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่นอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ศรีลังกา แอฟริกาใต้ กัมพูชา และประเทศไทย เฉพาะในประเทศไทยนั้นภาษามลายูนับว่าเป็นภาษาพื้นเมืองของคนไทยเชื้อสายมลายูกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณ 5 จังหวัดชายแดนใต้ อันได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา ( อำเภอ จะนะ เทพา สะบ้าย้อย สะเดา หาดใหญ่ ) โดยส่วนมาก

ภามลายูที่ใช้กันอยู่ในบริเวณท้องที่ต่าง ๆ ดังกล่าวนี้พบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกันบ้างเป็นบางประการ มีการแบ่งเป็นภาษามลายูสำเนียงท้องถิ่นต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเป็นเรื่องของภาษาพูดเท่านั้น ถ้าเป็นภาษาเขียนก็จะยึดภามลายูมาตรฐาน ( Malay Standard ) ต่อมาภาษามลายูสำเนียงนี้ก็ได้วิวัฒนาการกลายเป็นภาษาแห่งชาติมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน

///////////////////////////


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com