www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 7 คน
 สถิติเมื่อวาน 28 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3385 คน
49199 คน
1741643 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

   

ตั้งวิทยาลัยโต๊ะอิหม่าม
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ ผู้สื่อข่าว 8ว.  4 สิงหาคม 2548

บทนำ
ตามที่ รัฐบาล นำ พ.ร.ก.มาใช้ในพื้นที่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินการจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุ ให้ทันกับการกระทำของคนร้ายเพราะในบางครั้ง การใช้กฎหมายอื่น ทำให้เกิดความล่าช้า เช่นการขอหมายค้น หรือหมายจับ ก็ต้องขอผ่านทางศาล ทำให้พยานหลักฐานต่าง ๆ ถูกทำลายไป ซึ่งทางผู้นำศาสนาในพื้นที่ก็มีความกังวลมาก ต่อการนำ พ.ร.ก.มาใช้ในพื้นที่ และเรียกร้องให้ใช้ตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์

ประธานอิสลามปัตตานี อยากให้เหตุการณ์สงบโดยเร็ว
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี บอกว่า องค์กรที่จะมาแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากจะให้เกิดความสงบสุขโดยเร็ว ทางภาครัฐ ภาคประชาชน มีมาตรการปรับเปลี่ยน การแก้ไขปัญหา อยู่เรื่อย ๆ หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งทุกคนก็ตั้งใจอยากจะแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากจะให้ความสงบอยากกลับมาสู่ปกติโดยเร็ว โดยเฉพาะการประกาศ พ.ร.ก. แรก ๆ ประชาชนก็ไม่เห็นด้วย เพราะว่าประชาชนไม่เข้าใจ เกี่ยวความหมายของ พ.ร.ก.ว่าจะมีลักษณะบังคับอย่างไร ประชาชนเข้าใจว่า พ.ร.ก.จะยิ่งกว่า กฎอัยการศึก แต่เมื่อดูในระยะ 2-3 วัน ที่นายอนันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ได้ทำความเข้าใจ และไม่อยากให้ พ.ร.ก.กระทบกับแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสันติสุข การแก้ปัญหาก็ต้องมีการผนวกกัน ประยุกต์กัน ในเชิงบูรณาการ อะไรที่จำเป็นก็ต้องจำเป็น ในหลวงเองก็มีความห่วงใยต่อเรื่องนี้

"การใช้พ.ร.ก.ให้ใช้เท่าที่จำเป็น ใช้ให้เหมาะสม สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ตอนนี้ก็ดีขึ้นแล้ว สำหรับท่านอานันท์ เอง ท่านนายกรัฐมนตรี ได้มาปรับความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชกำหนด ทุกคนก็สบายใจ แต่ก็ต้องดูสักพักหนึ่ง และต้องให้เวลาฝ่ายรัฐ ฝ่ายกอส. ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ต้องทำงานควบคู่กันไป โดยไม่กระทบกับสมานฉันท์ และการทำงานของสมานฉันท์ ก็ไม่ให้กระทบกับ พ.ร.ก. ผมว่าอยู่ที่ความตั้งใจ และอดทน ผมว่าอะไร ๆ ก็จะเบาบางลง "

ควรพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี บอกอีกว่า ผมเองอยู่ในคณะทำงาน เยียวยา ของ รองจาตุรนต์ ผมดูแล้วว่า บทบาทของรองจาตุรนต์ ก็เพิ่มขึ้น เพราะรองจาตุรนต์ เป็นบุคคลที่เข้าใจ คนพื้นที่ มีเชิงรุกในการทำงานเช่นการเยียวยาด้านจิตใจ ด้านทรัพย์สิน ด้านการให้ทุนการศึกษา และผมก็อยู่ในคณะอนุกรรมการ ที่จะเข้าไปช่วยเยียวยา ดูแลสำหรับประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อน ตั้งแต่เหตุการณ์วันที่ 28 เมษา เหตุการณ์ตากใบ นอกนั้นก็มีเด็กกำพร้า ที่ได้รับผลกระทบหลายร้อยคน รวม ๆ แล้วใน 3 จังหวัดประมาณ 400 กว่าคน รองจาตุรนต์ได้ตั้งคณะทำงานในระดับท้องถิ่น และผู้นำท้องถิ่นก็ลงไปสำรวจ ข้อมูลที่แท้จริงเพื่อการเยียวยา ในเรื่องของการศึกษา การอาชีพ และทำงานเชิงรุก รองจาตุรนต์ก็ตั้งใจที่จะลงมาแก้ไขปัญหา "ปัญหาด้านความมั่นคงก็ทำไป ด้านการพัฒนาก็ทำไป ควบคู่กัน สักวันหนึ่งก็สำเร็จ แต่ต้องใช้เวลา เหตุการณ์ก็จะเบาลง และก็จะหมดไป "

"ถ้าเรามองเรื่องการศึกษาหลายประเภท ทั้งการศึกษาในระบบ และนอกระบบ ส่วนที่อยู่ในระบบแล้วก็ไม่มีปัญหาแล้ว เพราะรัฐบาลได้ปรับปรุงหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ที่ปัตตานี ก็มีวิทยาลัยชุมชนซึ่งเปิดดำเนินการประมาณ 10 เดือน ให้การรองรับ เพื่อจะได้ให้โอกาสคนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัย หลักสูตรที่ วิทยาลัยชุมชน ดำเนินการก็ต้องร่างให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ทุกคนก็ชื่นใจ และเข้ามาลงทะเบียนเรียน และลงทะเบียนเรียนหลักสูตรระยะสั้นด้วยเพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพ ผมเองก็อยู่ในสภาของวิทยาลัยชุมชนด้วย ผมได้สำรวจพื้นที่เพื่อนำมาวางแผน และมีความรู้สึกว่า โดยมีความรู้สึกว่าดีขึ้น และให้การต้อนรับมาก"

โรงเรียนสอนศาสนา จะมีการพัฒนาไปเป็นวิทยาลัย
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของโรงเรียนสอนศาสนา จะมีการพัฒนาไปเป็นวิทยาลัย ว่า "อันนี้ก็ต้องปรับไปเป็นมหาวิทยา แต่สำหรับคณะกรรมการใน 3 จังหวัด ได้เสนอแนะให้รัฐบาลร่างหลักสูตร วิทยาลัยอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น เพื่อยกฐานะอิหม่าม ให้มีความรู้ด้านการบริหารจัดการ ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช.ได้มีการอนุมัติงบประมาณจำนวน 5 ล้านบาท จัดกระบวนการอบรมหลักสูตรระยะสั้น ตอนนี้กำลังร่างหลักสูตร ให้ถูกต้อง เพื่อที่จะยกฐานะอิหม่าม ซึ่งทุกคนก็ต้องดูแลตรงนี้ด้วย ขณะนี้กำลังดำเนินการและผ่าน ครม.มาแล้ว "

นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ได้พูดถึงเรื่องโต๊ะอิหม่าม คอเต็บและบิหลั่น ที่ได้รับค่าตอบแทนเพียงเดือนละ พันกว่าบาท เพียงพอหรือไม่กับภารกิจ ที่ปฏิบัติศาสนากิจ ตามหลักศาสนาอิสลาม ตั้งแต่ เกิดจนตาย ว่า

"ตอนนี้ถ้ามองว่าผู้นำศาสนาทำงานเพื่อพระเจ้าแล้ว ก็ไม่ได้คำนึงถึงค่าตอบแทน แต่เมื่อรัฐบาลได้จ่ายค่าตอบแทนให้อิหม่ามเดือนละ 500 บาท คอเต็บและบิหลั่นเดือนละ 400 บาท ผมว่าถ้ามาเปรียบเทียบภารกิจหน้าที่บทบาท ไม่เพียงพอ จึงอยากจะให้ อย่างน้อย ก็ให้เหมือนกับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพราะอิหม่ามก็มีบทบาทแก้ไขปัญหามากพอสมควร แต่การที่จะให้มีเวลามาทำงานทั้งหมดก็ไม่เพียงพอเพราะต้องดูแลครอบครัว และต้องทำงาน หากรัฐบาลเห็นด้วยและปรับเกี่ยวกับเรื่องเงินเดือน เหมือนกับข้าราชการทั่วไป ผมว่าจะดีกว่า เพื่อจะได้ให้อิหม่าม คอเต็บบิหลั่นซึ่งเป็นผู้นำศาสนาที่มีบทบาทให้มาก และจะได้ทำงานจริง ๆ และรับผิดชอบการแก้ไขปัญหา ผมก็ได้ไปคุยกับผู้ใหญ่ในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ตั้งงบประมาณ เป็นเงินค่าตอบแทนที่ไม่เป็นเงินเดือน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดี"

บทสรุป
ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี มีแนวความคิดที่จะให้มีการตั้งรัฐบาลร่างหลักสูตร วิทยาลัยอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น เพื่อยกฐานะอิหม่าม ให้มีความรู้ด้านการบริหารจัดการ อีกทั้งเพิ่มเงินค่าตอบแทน โต๊ะอิหม่าม ให้เพิ่มขึ้น ถึงแม้นการประกอบพิธีทางศาสนาจะเป็นหน้าที่โดยตรงของโต๊ะอิหม่าม ก็ตาม แต่เมื่อรัฐให้ค่าตอบแทนก็ควรจะให้มีความเหมาะสม ด้วย

                                                                     

1


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com