www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 60 คน
 สถิติเมื่อวาน 59 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4169 คน
4169 คน
1749437 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

BRN ป่วนใต้
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ ผู้สื่อข่าว 8 ว.
18 พฤษภาคม 2548


หมายเหตุ
ข้อมูลจาก กอ.สสส.จชต.สรุปผลการทำงานรอบ 6 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2547 -เดือนมีนาคม 2548 เสนอต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ห้วง 3 เดือนแรกตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม ปี 2547 สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในด้านวิธีการความถี่และความกว้างขวางของพื้นที่ในการก่อความไม่สงบ มาจากเหตุท้าทายต่ออำนาจรัฐใหม่ ที่เข้ามาดูแลในพื้นที่คือ กอ.สสส.จชต. ชุดใหม่ที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ ตุลาคม 2547 บวกกับการตอบโต้ล้างแค้นต่อการสูญเสียกรณีตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 จึงมีสถิติการก่อเหตุร้ายแรงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม 2548 สถิติการก่อเหตุร้ายเริ่มลดลงซึ่งที่ผ่านมาสามารถระบุโครงสร้างของกลุ่มก่อความไม่สงบและวิธีปฏิบัติได้ชัดเจนมากขึ้น โดยจำแนกโครงสร้างของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ 4 ระดับประกอบด้วย

1.องค์กรนำหรือกลุ่มควบคุมและสั่งการ
2.กลุ่มควบคุมทางยุทธศาสตร์
3.กลุ่มผู้ปฏิบัติทางการทหาร
4.กลุ่มแนวร่วมและมวลชน ซึ่งมีบุคคลหลายประเภทเกี่ยวข้องกันในแต่ละระดับ เช่น ผู้นำจิตวิญญาณ นักเรียนปอเนาะ เยาวชนว่างงาน

โดยโครงสร้างทั้ง 4 ระดับข้างต้นมีการเชื่อมโยงกันในลักษณะพีระมิด ที่มีอยู่ 3 ส่วน โดยพีระมิดส่วนยอดมีกลุ่ม บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต (BRN Co-ordinaye) เป็นองค์กรนำหรือกลุ่มควบคุมและสั่งการ

ส่วนกลางของพีระมิด คือ กลุ่มควบคุมทางยุทธวิธี มีการทำงานผสมผสานกันระหว่างนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น กลุ่มผลประโยชน์ ผู้มีอิทธิพล กลุ่มโจรรับจ้างและส่วนฐานของพีระมิดเป็นกลุ่มแนวร่วมและมวลชน ซึ่งมักถูกแสวงประโยชน์จากความมีเอกลักษณ์ทางเชื้อชาติศาสนาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการก่อเหตุในการลอบวางระเบิดในรอบ 6 เดือน เกิดขึ้นทั้งสิ้น 65 ครั้ง เก็บกู้ได้ 12 ครั้ง เกิดเหตุระเบิดขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียงเส้นทางรถไฟผ่านถึง 35 ครั้ง อีก 20 ครั้งเป็นเส้นทางผ่านของรถไฟ ปรากฏการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่าจากการที่ฝ่ายรัฐมีการตั้งจุดตรวจทั้งด่านลอยและด่านถาวรทำให้การขนย้ายระเบิดทำได้ยากขึ้น จึงอาจมีการขนย้ายวัตถุระเบิดและใช้เส้นทางในการหลบหนี ซึ่งมีการ รปภ. ที่น้อยกว่าประกอบกับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น อาจมีอุปกรณ์บางส่วนที่ประกอบแล้วนำเข้ามาจากฝั่งมาเลเซีย เพราะหลักฐานจากที่เกิดเหตุพบชิ้นส่วนโทรศัพท์ที่ผลิตในมาเลเซีย

หลังจากจับกุมครูสอนศาสนาโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ปรากฏภาพสถานการณ์ที่ชัดเจนว่าการก่อการก่อเหตุร้ายสูงขึ้นอย่างมาก ทั้งในด้านปริมาณและความรุนแรง โดยเฉพาะในเดือนธันวาคม 2547 มีสถิติการก่อเหตุสูงสุดเป็นการตอบโต้การจับกุมบุคคลในองค์กรระดับนำ หรือ กลุ่มควบคุมและสั่งการ กลุ่ม บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต (BRN Co-ordinaye) ที่มีนายสะแปอิง บาซอ เป็นผู้นำ ใช้การปลูกฝังแนวคิดอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน โดยใช้ศาสนาเป็นช่องทางในการปลูกฝัง

จังหวัดนราธิวาส มีการก่อเหตุร้ายสูงสุดสาเหตุประการสำคัญเนื่องมาจากเป็นจังหวัดที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนระหว่างบุคคล 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบและกลุ่มอิทธิพลธุรกิจผิดกฎหมายและยาเสพติด ทำให้การเคลื่อนไหวสร้างกลุ่มมวลชนของผู้ก่อความไม่สงบ ทำได้ง่ายและกว้างขวาง เนื่องจากได้รับการเกื้อหนุนในการเคลื่อนไหวจากการเมืองและได้รับเงินทุนจากธุรกิจผิดกฎหมาย จึงทำให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมีศักยภาพในการเคลื่อนไหวสูง ทั้งในด้านการสร้างมวลชนและการก่อเหตุร้าย

จังหวัดปัตตานี ภาพของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มก่อความไม่สงบกับกลุ่มการเองระดับชาติไม่เด่นชัด เมื่อเปรียบเทียบกับ จังหวัดนราธิวาส แต่มีภาพของความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมืองระดับท้องถิ่น กลุ่มอิทธิพลผิดกฎหมายและยาเสพติด ศักยภาพของกลุ่มก่อความไม่สงบจึงมีน้อยกว่าในจังหวัดนราธิวาส เช่นเดียวกับ จังหวัดยะลา ภาพของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกับกลุ่มการเมืองระดับชาติไม่ชัดเจนเนื่องจากนักการเมืองระดับชาติ ที่มีอิทธิพลสูงไม่เกี่ยวข้องด้วย ประกอบกับ นายสะแปอิง บาซอ (อดีตผู้จัดการโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ แกนนำกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ) มีลักษณะไม่ชอบนักการเมือง ขณะที่กลุ่มอิทธิพลส่วนใหญ่เป็นหัวคะแนนของนักการเมือง ก็มีท่าทีไม่ร่วมมือกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเช่นกัน กลุ่มอิทธิพลจึงเคลื่อนไหวช่วยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบไม้ได้มาก จำนวนเหตุร้ายที่เกิดขึ้นจึงมีไม่มากนัก แต่ศักยภาพของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดยะลา มีค่อนข้างสูง เพราะมีการก่อเหตุลอบวางระเบิดถึง 20 ครั้ง ในรอบ 6 เดือน และสร้างความสูญเสียได้สูง

แนวโน้มสถานการณ์ก่อเหตุร้ายรายวัน จะยังไม่สามารถยุติได้โดยเร็ว เนื่องจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังมีขีดความสามารถในทางยุทธวิธีที่จะสร้างปัญหาและก่อเหตุร้ายรายวันได้ เนื่องจากเซลล์อิสระ ยังคงมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหวและดำเนินการได้โดยไม่ต้องรับการสั่งการ

                     


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com