การดูงานสาธารณรัฐประชาชนจีน
ด้านวิทยุกระจายเสียง
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
การศึกษาดูงานสื่อวิทยุกระจายเสียง ที่ RADIO BEIJING CORPORATION (RBC) ณ นครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน พอสรุปผลได้ดังนี้
1.ด้านฮาร์ดแวร์
- สื่อวิทยุกระจายเสียงของจีน (RBC) มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการกระจายเสียงค่อนข้างมาก มีความทันสมัยทั้งห้องสตูดิโอ และระบบต่าง ๆ ที่แบ่งออกตามคลื่นความถี่ทั้งหมด 8 ช่องโดยเฉพาะการใช้ระบบการกระจายเสียงแบบ RADIO WEBCASTING ซึ่ง
เป็นการถ่ายทอดรายการทั้งภาพและเสียงในสตูดิโอ ผ่านทางเว็บไซด์ ซึ่งเป็นการนำระบบสื่อสารแบบใหม่มาเป็นช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้ฟังมากขึ้น ขณะที่วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย มีเพียงระบบวิทยุทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ยังไม่มีการนำระบบ RADIO WEBCASTING มาใช้เพื่อเป็นบริการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ฟัง
2.ด้านซอฟแวร์
- RBC มีระบบการจัดวางโครงสร้างองค์กรเป็นมาตรฐานในการทำงาน โดยแบ่งการบริหาร
จัดการเป็นส่วนหารายได้ และช่องคลื่นความถี่วิทยุแต่ละช่องอย่างชัดเจน ตามกลุ่มเป้าหมาย
ผู้ฟังเฉพาะ เช่น ช่องความถี่ด้านคมนาคม, ด้านดนตรีและศิลปะ, ด้านกีฬา, ด้านข้อมูล
ข่าวสาร และด้านภาษาต่างประเทศ เป็นต้น
- RBC มีการจัดระบบการหารายได้จากการโฆษณาเพื่อเลี้ยงตัวเองของแต่ละช่องคลื่นความถี่
โดยมีหน่วยงานที่เรียกว่า ถนนโฆษณา เป็นผู้รับผิดชอบดูแลลูกค้าแยกตามรายประเภทของ
สินค้า เช่น โฆษณาประเภทอาหาร ประเภทสุขภาพ เป็นต้น
- RBC มีการทำงานเชิงผสมผสาน ระหว่างการให้บริการสาธารณะกับประชาชน และการแสวงหารายได้จากการโฆษณาของคลื่นความถี่ต่าง ๆ โดยมีคลื่นความถี่หลัก เป็นสถานี
กระจายเสียงที่เน้นให้บริการสาธารณะและข้อมูลข่าวสารในภาพรวม ซึ่งมีลักษณะคล้าย
คลื่นเอฟเอ็ม. 92.5 มฮ.ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย แต่ไม่เน้นการหารายได้ ขณะที่ RBC มีทั้งการให้บริการสาธารณะและแสวงหารายได้อยู่ในวิทยุของตัวเองทั้ง 2 ส่วน
- RBC มีหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นการเฉพาะ โดยการสำรวจและเก็บข้อมูล เพื่อการประเมินผลการจัดรายการแต่ละกลุ่มเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และนำมาพัฒนารายการ ตลอดจนบุคคลากร
* * * * * * * * * * * |