www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2527 คน
52314 คน
1744758 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พ.ศ. 2514 (ฉบับ Update ล่าสุด)

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2514
เป็นปีที่ 26 ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมแร่ดีบุก

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พ.ศ. 2514”

มาตรา 2 [1] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

บทบัญญัติหมวด 1 แห่งพระราชบัญญัตินี้จะให้ใช้บังคับเมื่อใด ให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 3 ให้ยกเลิก (1) พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พุทธศักราช 2479

(2) พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479


(3) พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499

บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “แร่” หมายความว่า แร่ดีบุกที่ถลุงแล้วหรือที่ยังมิได้ถลุง และหมายความตลอดถึงแร่ชนิดอื่นที่มีเนื้อดีบุกเจือปนอยู่เกิน

ร้อยละสี่ของแร่นั้นๆ แต่ไม่หมายความถึงแร่ชนิดอื่นที่มีเนื้อดีบุกเจือปนอยู่เกินร้อยละสี่แต่ไม่เกินร้อยละแปดของแร่นั้นๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
“ทำเหมือง” หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำ เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี
“ผู้ทำเหมือง” หมายความว่า ผู้ถือประทานบัตรหรือผู้รับใบอนุญาตทำเหมืองชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยแร่
“ใบสุทธิแร่” หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้ผู้ทำเหมือง ทำเหมือง ขายแร่ และส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามโควตา ภายในกำหนดระยะเวลาโควตาและเงื่อนไข ดังระบุไว้ในหนังสือสำคัญนั้น
“โควตา” หมายความว่า จำนวนส่วนควบคุมแร่ที่กำหนดให้พึงทำเหมืองได้ในเหมืองแร่รายหนึ่งๆ เป็นส่วนร้อยของจำนวนแร่ทำเหมือง ภายในกำหนดระยะเวลา
“ระยะเวลาโควตา” หมายความว่า กำหนดระยะเวลาซึ่งจะพึงทำเหมืองและจำหน่ายแร่ตามโควตา
“จำนวนแร่ทำเหมือง” หมายความว่า จำนวนแร่ซึ่งเหมืองแร่รายหนึ่งๆ พึงทำเหมืองได้ในปีหนึ่งๆ ตามที่คณะกรรมการประเมินกำหนด
“คณะกรรมการประเมิน” หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
“ผู้ซื้อแร่” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่*
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการศุลกากร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด 1 การทำเหมือง การซื้อแร่ การขายแร่และการส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร

หมวด 2 การส่งแร่เข้ามูลภัณฑ์กันชน

หมวด 3 บทกำหนดโทษ

ที่มา : http://www.lawamendment.go.th/ow.asp?ID=4038


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com