กฎเกณฑ์ ขั้นตอน การสลายการชุมนุ
ที่มา : นสพ.มติชน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2553 หน้า 11
สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดประมวลหลักปฏิบัติไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Code of Conduct for Law Enforcement Officials) วันที่ 17 ธันวาคม 2522 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการที่จะเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และยังมีการประกาศใช้หลักการพื้นฐานการใช้กำลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials ) ซึ่งกำหนดว่า การคุกคามชีวิตและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ต้องได้รับการปฏิบัติเสมือนหนึ่งเป็นการคุกคามความมั่นคงของสังคมโดยรวม และรัฐต้องพัฒนาระบบการใช้กำลังและอาวุธของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย การใช้อาวุธและระเบิด การพัฒนาอาวุธที่ไม่สามารถทำให้บุคคลถึงแก่ความตาย เพื่อใช้กำลังในสถานการณ์ที่เหมาะสม เพื่อยับยั้งมิให้บุคคล หรือได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องพยายามให้ถึงที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงก่อนที่จะต้องพึ่งการใช้กำลังและอาวุธปืน และใช้อาวุธด้วยการยับยั้งชั่งใจ ให้สมควรกับความหนักเบาของการกระทำความผิดและตามวัตถุประสงค์อันชอบธรรมที่ตั้งไว้
ทั้งนี้ หากประมวลมาตรการควบคุมฝูงชน เป็นข้อ ๆ ขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และในนานาอารยะประเทศ จุดสำคัญสุดคือ ยึดหลักความรุนแรงอย่างน้อยที่สุดและเท่าที่จะเป็นโดยการดำเนินการต้องเป็นไปตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนักได้แก่
1.) ต้องมีการประกาศเตือนอย่างชัดเจนก่อนว่าจะมีการเข้าไปดำเนินสลายการชุมนุม โดยการประกาศต้องทำให้ฝูงชนได้ทราบและเข้าใจอย่างทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นการใช้ใบปลิว การใช้เครื่องขยายเสียง ฯลฯ
2.) เมื่อฝูงชนไม่มีทีท่าว่าจะสลายการชุมนุมไป (โดยให้ระยะเวลาหนึ่ง) เจ้าหน้าที่อาจประกาศเตือนว่าหากไม่สลายตัวไปด้วยความสมัครใจเจ้าหน้าที่จำต้องใช้น้ำฉีดใส่ฝูงชน
3.)หากยังไม่สลายตัวไปของฝูงชน เจ้าหน้าที่จะต้องประกาศถึงขั้นตอนต่อไปด้วยการใช้แก๊สน้ำตา
4.) ใช้แก๊สน้ำตาที่ไม่เป็นอันตราย กล่าวคือ ต้องเป็นชนิดที่ผู้โดนนั้นสามารถที่จะทำให้อาการที่โดนจากแก๊สน้ำตานั้นบรรเทาเบาบางลงได้ด้วยตัวเอง
5.) เมื่อขั้นตอน 2 ดูไม่อาจใช้การได้จะมีการประกาศเตือนว่าเจ้าหน้าที่อาจจะต้องใช้กระบองเข้าควบคุมฝูงชน โดยการใช้กระบองจะใช้ได้ต่อเมื่อฝูงชนปฏิเสธที่จะสลายตัวไปเท่านั้น
6.)เมื่อปรากฏว่าฝูงชนยังไม่ยอมสลายตัว เจ้าหน้าที่สามารถที่จะใช้กระบองกับฝูงชนได้ แต่การใช้กระบองนั้นต้องตีไปในส่วนที่ไม่เป็นอันตราย
7.)หากฝูงชนไม่มีทีท่าจะสลายไป ต้องมีการประกาศเตือนถึงการใช้อาวุธปืนด้วยกระสุนตาข่ายและกระสุนยางตามลำดับอย่างชัดเจน และต้องใช้เวลากับฝูงชนด้วยในการตัดสินใจสลายการชุมนุม
8.)หากสถานการณ์ยังไม่ดี และมีความรุนแรงมากขึ้น เจ้าหน้าที่ก็อาจสามารถประกาศว่าเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นที่จะใช้กระสุนจริง แต่จำต้องตระหนักว่ากระสุนจริงนั้นจะไม่ใช้จนกว่าจะเป็นการป้องกันตัว หรือป้องกันชีวิตผู้อื่นอันเป็นอันตรายที่จวนตัวมากจริง ๆเท่านั้น
9.)อย่างไรก็ดี หลังจากที่ประกาศเตือนไปแล้วเจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะยิงขึ้นฟ้า หรือในระดับเหนือศีรษะของฝูงชนได้เลย พึงระลึกว่ากระสุนปืนนั้นมีอันตรายต่อชีวิตมนุษย์เสมอ
10.)เจ้าหน้าที่จะต้องพยายามที่จะรักษาระยะห่างระหว่างตนเองกับฝูงชนที่ถือที่มีความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝูงชนที่อาจจะไหลทะลักที่จะเข้ามาในเขตของเจ้าหน้าที่และทำให้ระยะห่างนั้นน้อยลงอันอาจส่งผลเป็นการอันตรายได้
11.)หากมีความจำเป็นที่จะต้องยิงจริง ๆ การยิงควรเป็นการเล็งยิงในที่ต่ำ และเป็นการเล็งยิงไปในส่วนของฝูงชนที่มีลักษณะของการใช้ความรุนแรงมากที่สุดเท่านั้น
12.)แผนกปฐมพยาบาลจะต้องเตรียมการไว้เสมอเพื่อนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล
999999999999999999999
|