www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 36 คน
 สถิติเมื่อวาน 100 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1006 คน
38233 คน
1730677 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

ข่าว คืออะไร
By : ณรงค์  ชื่นนิรันดร์  ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.สงขลา
ข่าวคืออะไร What is News 
            เราน่าจะเริ่มต้น ที่ข้อความที่คุ้นหู คือ คนกัดสุนัขคือข่าว แต่สุนัขกัดคนไม่เป็นข่าว When a man bites a dog , that is news While a dog bites a man is not news ประโยคดังกล่าว ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากบรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์ News York Sun แต่ประโยคนี้ ยังไม่ถูกต้องนัก หากสุนัขไปกัดนายกรัฐมนตรี ก็จะเป็นข่าวขึ้นมาทันที  เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่มีบทบาทและเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงต่อสังคม คนกัดสุนัขอันนี้ก็เป็นข่าวอยู่แล้วเพราะถือว่าเป็นเรื่องแปลก แล้วอะไรหละที่เป็นข่าว
            ข่าว คือ สิ่งที่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ปรากฏเป็นข่าว เราทำได้โดยทำให้มันเกิดขึ้นมา เพราะข่าวนั้นไม่จำเป็นต้องรอให้มันเกิดเหตุการณ์แล้วจึงรายงาน เช่น การทุจริต ไม่ใช่ว่าเป็นข่าวเมื่อถูกจับแต่มันเป็นข่าวอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีผู้สื่อข่าวไปทำขึ้นมาเป็นข่าว ตัวข่าวเกิดขึ้นตลอดเวลาทุกแห่งหน ไม่ใช่ช้าไปแล้วมันเลยไม่เป็นข่าว เช่นกรณีไฟไหม้ตึกรายงานเป็นข่าวแล้ว มันไม่ได้จบเพียงนั้น 
                       
ผู้สื่อข่าวและแหล่งข่าว Correspondent and News Sources
            ผู้สื่อข่าว มีความสำคัญและมีบทบาทในการรายงานข่าว ผู้สื่อข่าวจะเป็นผู้ที่รวบรวมข้อมูลจากการบันทึกเหตุการณ์หรือสถานการณ์ หรือการสัมภาษณ์แหล่งข่าว หรือจากข้อมูลเอกสารแล้วนำไปรายงานเผยแพร่   เรื่องราวต่าง ๆ ที่ถูกรายงานสู่สาธารณชนต้องมีที่มาของข่าว หรือเรียกว่า แหล่งข่าว News Sources
            คุณลักษณ์พิเศษของผู้สื่อข่าว ข่าวที่ถูกรายงานไปสู่สาธารณชนในแต่ละวัน อาจมีผลให้ผู้รับข่าวฉลาดหรือโง่ก็ได้ สังคมดีงามหรือเสื่อมทรามลงก็ได้ หรือสังคมระส่ำระสายหรือสงบก็ได้ สังคมไร้สติหรือมีสติก็ได้ ดังนั้นบทบาทของผู้สื่อข่าวจึงมีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง ผู้สื่อข่าวจึงควรมีลักษณะพิเศษ ดังนี้
            1.)มโนคติ (Imgination)  มีความเข้าใจในเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ถูกนำมารายงานอย่างถูกต้อง ทำให้ผู้รับข่าวสารจากสื่อมวลชนเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับลักษณะข่าวที่สะท้อนความเป็นจริงของเรื่อง ต้องระลึกเสมอว่า ข่าว ต่างจากนวนิยายตรงที่ว่า ข่าวถูกจำกัดด้วยข้อเท็จจริง การมีมโนคติของผู้สื่อข่าวไม่มีอิสรเสรีใด ๆ ในการสร้างจินตนาการหรือมโนคติ เหมือนเช่นนักประพันธ์หรือนักเขียนนวนิยาย แต่ต้องรายงานข่าวโดยยึดฐานคติของความจริงสูงสุด
            2.)มีความสนเท่ห์เป็นนิสัย (Curiousity) ผู้สื่อข่าวต้องมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยความรู้สึกที่อยากรู้อยากเห็น น่าสนใจไปทั้งหมด และมักจะตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเวลา ทำไมจึงทำเช่นนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้หาคำตอบอันเป็นภารกิจของผู้สื่อข่าว ด้วยการรายงานข่าวให้ประชาชนได้รับทราบ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เป็นการปลุกสังคมให้ตื่นด้วยการป้อนข่าวสารให้รับรู้ตลอดเวลาให้รู้ว่า ใคร (Who) ทำอะไร (What) เมื่อไหร่ (When) ทำไม (Why) อย่างไร (How)
            3.)จมูกต้องได้กลิ่นข่าวเสมอ (Nose for News) หมายถึงจมูกไวต่อข่าว จึงเป็นการอุปมาอุปไทยให้เห็นภาพพจน์พิเศษของผู้สื่อข่าว คือ เป็นผู้ที่มีความไวต่อทุกเรื่องทุกข่าว รู้ว่าอะไรเป็นข่าว และมีคุณค่าอย่างทันทีทันใด นั่นเอง บางคนกล่าวว่า “ มองเห็นเรื่องราวที่อยู่ในหิน และมองเห็นข่าวซึ่งอยู่ในลำธารอันไหลเชี่ยว ”
            4.)คิดอย่างมีเหตุผล (Think Logically) ด้วยเวลาอันจำกัดของผู้สื่อข่าวต้องพยายามคิดคำนึงถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความรวดเร็ว คือ คิดเร็ว รอบด้าน และเจาะลึก แยกแยะข้อเท็จจริง ตั้งคำถามหาความจริง และเขียนข่าว อธิบายเรื่องที่อยู่ในกระแสความอย่างมีเหตุมีผลของเรื่อง   หรืออีกนัยหนึ่งคือ ทำความจริงให้ปรากฏด้วยสติปัญญา เพราะฉะนั้นการทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวให้สำเร็จในทุก ๆ ขั้นตอน ย่อมต้องมีผู้ปฏิบัติที่มีความคิดแจ่มใส (Clesr Thinking) ที่มีเหตุผล และต้องมีการวินิจฉัยที่ถูกต้องลึกซึ้งด้วย Joseph Pulizer เคยกล่าวว่า “ จงคิดให้ถูกทาง จงคิดด้วยความมั่นคงหนักแน่น จงคิดเรื่อยไปอย่างหยุดยั้ง จงคิดอย่างเคร่งครัด จงฉวยโอกาสทุกโอกาสที่คนอื่น ๆ เขาปล่อยให้มันผ่านไป”
            5.)มีความรู้กว้างขวาง (Wide Range of Knowledge ) ภารกิจของผู้สื่อข่าวต้องเข้าใจทุกเรื่องที่เกิดขึ้น และสามารถเรียบเรียงข้อความเชื่อมโยงเรื่องราว อธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ในเนื้อหาของข่าวได้ครบถ้วน สำหรับการรู้ลึกเฉพาะเรื่องอาจจะเหมาะกับงานข่าวเฉพาะบางเรื่อง เช่น ผู้จบนิติศาสตร์ จะรู้เรื่องกฎหมายได้ดีถ้าไปทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวศาล แต่อาจจะไม่สามารถเขียนข่าวได้เข้าใจเว้นแต่จะไปฝึกฝนให้เป็นนักวารสารศาสตร์มาก่อน 
            6.)จริยธรรม ผู้สื่อข่าวจะต้องมีจริยธรรม หมายถึงไม่เอาอาชีพการเป็นผู้สื่อข่าวไปแอบอ้างหากิน เช่น ข่าวรถชนกันแล้วเกิดความเสียหาย แล้วผู้สื่อข่าวจะไม่ลงข่าวหากได้รับเงินค่าปิดปาก หรือกรณีนายหัว ข่มขืนคนใช้ เรื่องถึงโรงพัก เมื่อนักข่าวรู้จึงมีการติดต่อเรียกเงินเพื่อขอค่าปิดข่าว พอนายหัวเขาไม่ให้ก็มีการลงข่าวโจมตีจนเสียชื่อเสียง ในที่สุด ผู้สื่อข่าวคนนั้นก็รับกรรม คือถูกไฟดูดตาย ที่หาดใหญ่
 
            หน้าที่ของผู้สื่อข่าว
 
            ผู้สื่อข่าว คือ ผู้ที่ทำความจริงให้ปรากฏเป็นข่าว เพื่อรายงานให้รับรู้ในแต่ละวัน มีผู้กล่าวว่าหน้าที่ของผู้สื่อข่าวคือ ถาม-ถาม—ถาม นั่นคือ วิธีการของ ผู้สื่อข่าว ที่เลือกใช้วิธีถามที่สุภาพ และก่อนถามต้องศึกษาเรื่องนั้นให้ดี ซึ่งหมายถึงต้องทำการบ้านมาให้ดีนั่นเอง และจงถามอย่างมั่นใจ อย่าตระหนกตกใจเวลาเข้าพบกับแหล่งข่าว
 
            หลักในการทำงาน ของผู้สื่อข่าว
 
            1.ความจดจำ (Recognition of a Story)  อาชีพผู้สื่อข่าวมีข้อจำกัด และมีลักษณะถูกบังคับให้รีบเร่ง แลการแข่งขันกับเวลาในการเสาะหาข่าว ทำให้ผู้สื่อข่าวต้องยึดหลักความจดจำเป็นสำคัญ ถ้าขาดความจำที่ดีอาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ และก่อความเสียหายแก่บุคคลในข่าวได้
            2.ความแม่นยำ (Handling a Story) มีเหตุการณ์เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ มีรายละเอียดอย่างไร ผู้สื่อข่าวจะต้องเก็บรายละเอียด ให้ได้อย่างครบถ้วน พยานหลักฐาน รวมทั้งจดจำข้อความที่บุคคลต่าง ๆ ได้ให้สัมภาษณ์
            3.)ใช้ภาษาอย่างชัดเจนเข้าใจง่าย (Clarity of Expression) ต้องระลึกเสมอว่า ผู้ฟังและผู้อ่านไม่มีเวลามานั่งตีความประโยค หรือคำบางคำในข่าว ผู้สื่อข่าวจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องของการใช้ภาษา คือเขียนข่าวอย่างไรให้ผู้ฟังและผู้อ่านเข้าใจได้ทันที เมื่อได้อ่านข่าวนั้น
                4.)สร้างมนุษยสัมพันธ์ (Plesing Personality) หน้าที่ของผู้สื่อข่าวคือความสามารถในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้พบเห็น ตลอดจนบุคคลที่เป็นแหล่งข่าวประจำ จนถึงเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน เพราะอาจพบปัญหาการกลั่นแกล้งกัน อาจจะทำให้เรา ตกข่าวดังนั้นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี หรือการสร้างพันธมิตรที่ดี จะทำให้เราได้ข่าวพร้อมกับเพื่อนร่วมอาชีพ ไม่ตกข่าว 
            5.)การปรับตัวเอง (Adjusting Approach) ผู้สื่อข่าวจะมีโอกาสพบผู้คนที่แปลกหน้าหลายอาชีพต่างจิตต่างใจ ผู้สื่อข่าวต้องพร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับบุคคลเหล่านั้นให้ได้
            6.)ความรวดเร็ว (Speed) ผู้สื่อข่าวต้องมีความคล่องตัวมีความพร้อมตลอดเวลา เมื่อทราบว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ควรคำนึงก็คือการแข่งขันการรายงานขช่าวด้วยความเร่งด่วนอาจจะเกิดข้อผิดพลาด แม้นความรวดเร็วมีความสำคัญ ผู้สื่อข่าวก็ต้องใช้ความระมัดระวังในการรายงานข่าวอย่างรอบคอบ
            7.)ความคิดริเริ่ม (Ingenuity) ผู้สื่อข่าวจะต้องมีความคิดริเริ่มว่า วันนี้จะนำเสนอข่าวอะไรประเด็นไหน ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวแปลก ๆ น่าสนใจ และไม่จำเป็นว่าจะต้องมารอทำข่าวเหตุการณ์
            8.)รู้แหล่งข่าว (Knowing News Sources) การสนิทสนม กับแหล่งข่าว มีความจำเป็น เพราะแหล่งข่าวจะเกิดความไว้ใจ ที่จะให้ข่าวในทางลับ   
           
ประเภทของแหล่งข่าว
            แบ่งเป็น 2 ประเภท
            1.)แหล่งข่าวเปิด Open News Sources  รายละเอียดของข่าวที่ได้มาเป็นแบบเปิดเผย มีการระบุชื่อผู้เปิดเผยข่าว ระบุผู้ให้สัมภาษณ์เรื่องราว เช่น นายก อบต.ให้สัมภาษณ์ ,ผู้ว่าราชการจังหวัดเปิดเผยข้อมูล ข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
            2.)แหล่งข่าวปิด Confidential News Sources รายละเอียดของข่าวได้มาจากผู้ชี้เบาะแสของข่าว Tipster โดยผู้ให้ข่าวมีเงื่อนไข ที่จะให้ผู้เสนอข่าวไม่เปิดเผยชื่อ หรือที่มาของแหล่งข่าว เพราะเกรงว่าจะเกิดความเสียหาย หรือเกิดอันตรายแก่ผู้ให้ข่าว ซึ่งอาจจะมีเหตุผลมาจาก
            2.1ต้นตอของเรื่อง มีลักษณะควบคุมไม่ให้เรื่องราวถูกเปิดเผยพยายามปิดบังซ่อนเร้นทุกวิถีทาง มีบทลงโทษผู้เปิดเผยเรื่องราว
            2.2เบาะแสของข่าว ประสงค์ที่จะให้มีการเปิดเผยเรื่องเพื่อทำลายคู่แข่งขันทางผลประโยชน์ และเป็นเรื่องที่สื่อมวลชนไม่มีโอกาสล่วงรู้ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ชี้เบาะแส Tipster
            2.3ผู้ชี้เบาะแส Tipster เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หากปล่อยให้มีการทุจริต ก็จะเกิดความเสียหาย ขึ้นได้
            ทั้ง 3 กรณีมีเงื่อนไขอย่างเดียวกันคือ ให้ผู้เสนอข่าวไม่เปิดเผย ที่มาของแหล่งข่าว การรายงานข่าวจึงไม่อาจระบุว่าใครเป็นผู้ให้ข่าว แต่จะอ้างว่า จากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ หรือ จากแหล่งข่าวใกล้ชิด Informed Source เรื่องราวจากแหล่งข่าวปิดได้แก่
            -การทุจริตในหน่วยงานราชการ อบต. อบจ.
            -ความลับทางทหาร ทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศชาติ
            ผู้สื่อข่าว ที่ได้รับเบาะแสจากแหล่งข่าวไม่ควรรีบร้อนเสนอข่าว ต้องใช้วิธีสืบเสาะหาข้อเท็จจริง เนื้อหา ข้อมูลให้พร้อมก่อนที่จะเรียบเรียงเป็นข่าว เราเรียกการรายงานข่าวแบบนี้ว่า Investigative Reporting
 
* * * * * * * * * * * * *
 
คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com