www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 2 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2528 คน
52315 คน
1744759 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

ชีวิตนักข่าว....ความเป็นมาของโรงงานแทนทาลัม
ที่มา...ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภูเก็ต

บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2522 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ต่อมาภายหลังได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,000 ล้านบาท ตอนเริ่มก่อตั้งมี นายเยี๊ยบ ซุน อัน ชาวจีนเชื้อสายมาเลเซีย เป็นประธานกรรมการบริษัท ต่อมาเปลี่ยนเป็นนายพงศ์ สารสิน และมีกรรมการบริหารคนอื่น ๆ ดังนี้

1.)นายเยี๊ยบ ซุน อัน
2.)นายเอี๊ยบ ซุน ซิท
3.)นายเจี่ย ก๊ก เซียน
4.)นายประหยัด บุญสูง
5.)นายอัศวิน คงศิริ
6.)นายเจี่ย มิน เซียน
7.)นายอาทร ต้องวัฒนา (ถึงแก่กรรม ปี 2548)
8.)นายธานินทร์ นิมมานเหมินท์
9.)นายคณิต ยงสกุล
10.)นายเบรียน แจ๊กสัน ฮิลล์

ทางบริษัท ได้ยื่นคำร้องของบัตรส่งเสริมการลงทุนต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนเมื่อเดือน มกราคม 2523 ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ที่สำคัญ ดังนี้

1.)ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าว ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการพร้อมครอบครัวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้ตามเวลาที่กำหนด

2.)ได้รับการยกเว้นภาษีอากรขาเข้าและหรือภาษีการค้าสำหรับเครื่องจักรที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ

3.)ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันเริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น

4.)ไม่ต้องนำเงินปันผล จากกิจการของบริษัทไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ได้รับการยกเว้นภาษาเงินได้นิติบุคคลนั้น
5.)ได้รับอนุญาตให้หักเงินได้พึงประเมิน เป็นจำนวน 5 % ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากการส่งออกเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่มีรายได้จากการส่งออกของปีนั้น ๆ จะต้องไม่ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยของ 3 ปี ย้อนหลัง(ยกเว้น 2 ปี แรก )

6.)นำหรือส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้

บริษัทได้ว่าจ้าง นายบี.เจ.ฮิลล์ (B.J.HILLS) เป็นวิศวกรควบคุมโรงงาน และได้เจรจาซื้อเทคโนโลยีการผลิตจากบริษัท เฮอร์มันน ซี.สตาร์ก เบอร์ลิน (HERMANN C.STARCK BERLIN) ประเทศเยอรมันนีตะวันตกในราคา 69 ล้านบาท

บริษัท ได้ยื่นขออนุญาตการจัดตั้งโรงงานถลุงแร่โดยแบ่งออกเป็น 2 โครงการ คือ โรงงานถลุงแร่ด้วยไฟฟ้า ยื่นขออนุญาตเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2524 โดยโรงงานจะตั้งอยู่บริเวณเหมืองเก่า ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 73 ไร่ 2 งาน 17.8 ตารางวา

ทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ได้พิจารณาตรวจสอบคำขอโดยส่งให้ทางอำเภอพิจารณาด้วย ตามรายงานการตรวจการขออนุญาต บริษัทได้รับความเห็นชอบให้ตั้งโรงงานได้ โดยผู้ตรวจ(วิศวกร)ปลัดอำเภอเมืองภูเก็ต (รักษาราชการแทนนายอำเภอ) อุตสาหกรรมจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด

ผู้ว่าราชการที่อนุญาตให้มีการจัดตั้งโรงงานในขณะนั้นคือ นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ (ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา) มีข้อน่าสังเกตว่าเมื่อเปรียบเทียบลายเซ็นของผู้ว่าราชการจังหวัดในรายงานตรวจสอบอนุญาตตั้งโรงงานกับเอกสารอื่น ซึ่งลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัดคนเดียวกันปรากฏว่าลายเซ็นแตกต่างกันมาก จนเชื่อได้ว่าไม่ใช่ลายเซ็นของนายมานิต วัลยะเพ็ชร์ แน่นอน

เนื่องจากการก่อสร้างโรงงาน ในพื้นที่ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับผังเมืองภูเก็ต จึงต้องผ่านการพิจารณาของคณะที่ปรึกษาผังเมือง ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่นนายกเทศมนตรี ผู้แทนผังเมือง ฯลฯ คระที่ปรึกษาได้ประชุมพิจารณาเรื่องนี้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2524 ผลจากการพิจารณาออกมาว่า "หากจะพิจารณาถึงมลพิษที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมใกล้เคียงอันสืบเนื่องมาจากการตั้งโรงงานถลุงแร่ดังกล่าวแล้ว ไม่มีผลโดยตรง/หรือร้ายแรงแต่อย่างใดหากมีก็น้อยมากเพราะกรรมวิธีการผลิตหรือถลุงแร่ของโรงงานดังกล่าวได้ผ่านกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งกลั่นกรองสารพิษหรือสารอันตรายมาอย่างเพียงพอแล้ว"

ทางจังหวัดได้ส่งเรื่องการจัดขอจัดตั้งรงงานในโครงการแรก(ถลุงแร่ด้วยไฟฟ้า) ไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นว่าเป็นโครงการใหญ่ อาจจะมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงส่งผู้อำนวยการกองสิ่งแวดล้อมโรงงานและหัวหน้าฝ่ายโรงงานส่วนภูมิภาค กองควบคุมโรงงานลงมาตรวจสอบโรงงาน ระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2524 เมื่อเจ้าหน้าที่ชุดนี้กลับไป กรมโรงงานอุตสาหกรรมโดยกองสิ่งแวดล้อมโรงงาน แจ้งให้บริษัทจัดทำรายละเอียดด้านสิ่งแวดล้อม 2 รายการ คือ

1.)รายละเอียดการเก็บกัก และการหมุนเวียนกลับมาใช้ของน้ำหล่อเย็น

2.)แบบแปลนแผนผัง รายละเอียดการคำนวณระบบขจัดฝุ่นละออง และไอก๊าซต่าง ๆ จากกรรมวิธีการผลิต

โดยจัดส่งให้กองสิ่งแวดล้อมโรงงาน ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2524 ในขณะที่การขออนุญาตตั้งโรงงานครั้งแรกยังไม่ได้อนุมัตินี้ ทางบริษัทได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งโรงงานอีกโครงการหนึ่ง ซึ่งถลุงแร่แทนทาลัมด้วยวิธีทางเคมี ในที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินแปลงแรก สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดได้ตรวจสอบ ความเห็นของวิศวกร ผู้ตรวจสอบบอกว่าไม่อาจพิจารณาได้เพราะเป็นโรงงานแห่งแรกของประเทศ อาจมีปัญหาด้านมลพิษ ถ้าไม่มีปัญหาก็ควรอนุญาต แต่ทางอำเภอเป็นเห็นว่าอยู่ห่างชุมชนควรอนุญาต แต่ทางอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ตเห็นว่า ควรอนุญาตถ้าไม่มีปัญหาเรื่องมลพิษ ทางจังหวัดจึงได้ส่งเรื่องไปยังกรมโรงงาน ฯ กรมโรงงาน ฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีรายละเอียดไม่เพียงพอ จึงให้บริษัททำเพิ่มเติม ในเรื่องระบบกำจัดน้ำทิ้ง , ก๊าซ , กลิ่งไอสารเคมี และฝุ่น

ตรงช่วงนี้ไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า ทางบริษัทได้ส่งรายละเอียดให้ทางกรมโรงงาน ฯ หรือ ไม่ อย่างไร ระหว่างการพิจารณาเรื่องการขออนุญาตบริษัทได้เจรจาขอซื้อ เครื่องจักรและเทคโนโลยีจากต่างประเทศและได้ต่อรองกับทางกรมโรงงาน ฯ ให้ออกใบอนุญาตให้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานในการซื้อเทคโนโลยี(มีข่าวบางกระแสกล่าวว่า บริษัทได้อ้างว่ากู้เงินมาแล้ว ถ้าไม่ได้สร้างก็ทนรับภาระดอกเบี้ยไม่ไหว) และรับว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกประการหากได้รับอนุญาตแล้ว บริษัทจะจัดทำรายละเอียดมาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อมส่งกรมโรงงาน ฯ โดยเร็ว

กรมโรงงาน ฯ ได้อนุญาตให้ทางบริษัท จัดตั้งโรงงานทั้ง 2 โครงการ (ถลุงด้วยไฟฟ้าและเคมี) ในที่เดียวกันเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2526 โดยมีเงื่อนไขคือ

1.)ต้องสร้างระบบกำจัดฝุ่นละออง ก๊าซพิษและละอองสารเคมี รวมทั้งควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานสากล

2.)สร้างหรือจัดทำที่เก็บกากของเสียจากกระบวนการผลิต โดยไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อระบบนิเวศวิทยา

3.)สร้างระบบขจัดน้ำทิ้งที่มีขนาดและประสิทธิภาพเพียงพอตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

4.)ปลูกต้นไม้รอบโรงงาน เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่หลงเหลือจากระบบขจัดฝุ่น

5.)ต้องตรวจสอบหม้อน้ำก่อนใช้งานและต่อไปปีละครั้ง โดยวิศวกรผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

ในเดือนมกราคม 2525 บริษัทได้เซ็นสัญญาจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อวางแผนออกแบบโรงงานโดยกำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2527 ถึงเดือนพฤษภาคม 2527 บริษัทจึงจ้างบริษัทชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัดก่อสร้างเตาถลุงโรงงาน มูลค่า 100 ล้านบาท มีกำหนดเปิด ในเดือนสิงหาคม 2529 การเปิดดำเนินงานดังกล่าว จะต้องยื่นขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง ภายใน 30 วัน เมื่อโรงงานเสร็จ

**********************

          1
คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com