www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2530 คน
52317 คน
1744761 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

บทสรุปแทนทาลัม

นายเรวุฒิ จินดาพล ผู้ต้องหาคนสำคัญ ในคดีแทนทาลัม ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวก่อนวันเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม 2529 เล็กน้อย ในฐานะที่เป็นผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังใหม่ ของจังหวัดภูเก็ต และผลจากการชี้ขาดประชาชนเลือกนายเรวุฒิ จินดาพล เป็น ส.ส.ภูเก็ต (เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 25 ธ.ค.2547 ด้วยอายุ 47 ปี)

รัฐบาลได้ตั้ง คณะกรรมการศึกษาเพื่อสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงงานแทนทาลัม ซึ่งมีนักวิชาการ ผู้แทนส่วนราชการของรัฐและหน่วยงานเอกชน เพื่อสรุปข้อเท็จจริงเผยแพร่ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทราบ โดยมีข้อสรุปดังนี้

บทสรุปและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ คือ

อุตสาหกรรมสกัดแร่แทนทาลัมจากตระกรันดีบุก เป็นขบวนการแต่งแร่ โดยกรรมวิธีเคมีเพื่อแยกและผลิต แทนทาลัมเพนทอกไซด์ นิโอเบียมเพนทอกไซด์ และ โปตัสเซียมฟลูโอแทนทาเลต โดยใช้กรดผสมของกรมกำมะถันและกรดกัดแก้ว และมีการใช้สารเคมีอย่างอื่นประกอบด้วย

ในการผลิตตามขบวนการนี้ อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับฝุ่นละอองที่เกิดจากการบดตะกรันดีบุก และการบรรจุหัวแร่ที่ผลิตได้ ปัญหาจากอกรดและสารเคมีอื่น ที่อาจจะรวมมากับอากาศที่ปล่อยออกนอกโรงงาน ปัญหาที่อาจจะเกิดจากการระบายน้ำทิ้ง ตลอดจนปัญหาที่เก็บกากและตะกอน นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงปัญหาของสารกัมมันตรังสี ซึ่งมีอยู่ในตะกรันดีบุก และแร่ซึ่งอาจจะมีอยู่ในบางขั้นตอนของขบวนการผลิต เช่น ระหว่างการบด การละลายด้วยกรด และที่เหลืออยู่ในกากตะกอนว่าจะอยู่ในเกณฑ์จะเป็นอันตรายหรือไม่

จาการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับการผลิตแร่แทนทาลัมของโรงงาน บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด โดยอาศัยข้อมูลจากเอกสารและแหล่งที่เชื่อถือได้ ซึ่งยึดถือขนาดกำลังการผลิตของโรงงานที่จังหวัดภูเก็ตตามที่ได้รับอนุญาตไว้(ตะกรันดีบุก 2,700 ตันต่อปี) อาจจะสรุปประเด็นปัญหามลพิษดังกล่าวข้างต้นและข้อเสนอแนะได้ดังนี้

1.) สารกัมมันตรังสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซเรดอน ที่ปล่อยออกมาจากกองวัตถุดิบตลอดจนขั้นตอนต่าง ๆ ในโรงงานนั้นมีปริมาณทั้งหมดต่ำกว่าระดับที่จะมีอันตรายต่อชุมชนและสุขภาพของมนุษย์

2.) ปัญหาไอกรมและสารเคมีตลอดจนก๊าซอื่น ๆ ซึ่งอาจปะปนอยู่กับอากาศที่จะระบายออกนอกโรงงานนั้น สามารถจัดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อชุมชนในบริเวณรอบโรงงานได้

3.) ปัญหาอันเกิดจากน้ำทิ้งของโรงงาน สามารถที่ป้องกันได้ด้วยระบบขจัดน้ำทิ้งตามหลักวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

4.)ปัญหาเกี่ยวกับกากจากขบวนการผลิต และตะกอนที่เกิดขึ้นจากการทำลายกรดในน้ำทิ้งนั้น สามารถป้องกันได้โดยการเก็บไว้ในบริเวณบ่อเก็บกักการ ซึ่งการป้องกันการรั่วซึมของนำชะล้างกากและสามารถติดตามตรวจสอบการรั่วไหลได้

5.)ปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง และการเก็บสารเคมีที่ใช้ในการผลิต จากการตรวจสอบข้อมูลทางเทคนิคแล้วพบว่า สามารถที่จะควบคุมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานสากล จึงเชื่อได้ว่า อันตรายที่จะเกิดจากการขนส่งหรือการเก็บสารเคมีนั้นมีน้อยมาก

6.)โรงงานสกัดแร่แทนทาลัม เป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยี ทันสมัยและยังไม่เคยมีการประกอบกิจการประเภทนี้ในประเทศไทย หรือประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ดังนั้น การพิจารณาความเหมาะสมของสถานที่ตั้งโรงงานควรจะได้ผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลกระทบทางด้านจิตวิทยาและสังคมต่อชุมชนในบริเวณนั้นด้วย สำหรับสถานที่ตั้งโรงงานใหม่ นั้น หากสามารถพิจารณาให้ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรืออยู่ในเขตที่ห่างไกลจากชุมชนก็จะลดความเสี่ยงทางด้านกายภาพและจิตวิทยาของชุมชนลงไปมาก

7.)ในการควบคุมสารเคมีบางชนิด ที่ยอมให้มีได้ในน้ำทิ้งและอากาศของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ในกรณีที่มาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่ครอบคลุมไปถึงสารเคมีบางชนิด เช่น ฟลูออไรด์ ดังในกรณีของโรงงานสกัดแร่แทนทาลัมนี้ เห็นสมควรให้กระทรวงอุตสาหกรรมศึกษามาตรฐานสากลตลอดจนสนับสนุนให้มีการศึกษาผลกระทบของสารชนิดนั้น ๆ ต่อสภาวะแวดล้อมที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของชุมชนเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานของทางราชการต่อไป

8.) แม้นว่าจะมีระบบป้องกันหรือควบคุมปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้นอย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็ตาม ทางฝ่ายราชการยังสามารถกำหนดให้โรงงานมีแผนการระบบเตรียมพร้อมที่สามารถป้องกันและแก้ไขเหตุฉุกเฉิน หรือซ่อมแซมได้ทันท่วงที ด้วย

9.) เพื่อให้มั่นใจได้ว่า มาตรการความปลอดภัยและการควบคุมมลพิษ เป็นไปตามที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการได้แล้ว จะต้องมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดตามความเหมาะสม ต่อไปด้วย

คณะกรรมการมีความเห็นว่า ในกรณีที่เกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุด ระบบป้องกันต่าง ๆ เกิดการล้มเหลว หรือเกิดอุบัติเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามระดับความรุนแรงอันอาจจะเกิดจากสารเคมีและสารกัมมันตรังสี จะอยู่ในระดับซึ่งไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากโรงงานเคมีภัณฑ์อื่น ๆ ดังที่เคยมีข่าวเป็นอันตรายร้ายแรงมาแล้วในต่างประเทศ ทั้งขนาดของความรุนแรงฉับพลันและผลสืบเนื่องที่ตามมา


* * * * * * * * * * * * * *


รายนาม
คณะกรรมการผู้เข้าร่วมประชุม
เพื่อสรุปข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับ
โรงงาน บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด
* * * * * *


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
*สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมศ.ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม ดร.สุทธิลักษณ์ สุจริตตานนท์ , นางสุรภี โรจน์อารยานนท์ , นายวินัย สมบูรณ์

*คณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร.มนู วีรบุรุษ .,รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร .,ดร.โกวิท ศตวุฒิ .,รศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ .,ผศ.ดร.วิจิตรา จงวิศาล .,คร.ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์ .,ผศ.ชยากริต ศิริอุปถัมภ์

*คณะวิทยาศาสตร์ศ.ดร.ประสม สถาปิตานนท์ .,ผศดร.ชัยยุทธ ขันธปราบ

มหาวิทยาลัยมหิดล
*คณะสาธารณสุขศาสตร์ รศ.น.พ.ดร.เทพพนม เมืองแมน คณบดี .,ผศ.ดร.สุทิน อยู่สุข

*คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณะบดี .,ผศ.พิสิฐ ศุกรียพงศ์ .,นายรุ่งจรัส หุตะเจริญ ., นายอุทัย เจริญวงศ์

*คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ศ.นพ.ร่มไทร สุวรรณณิก ที่ปรึกษา

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
*นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ ., ดร.แสงสันต์ พานิช ., นายสัจจา สายโรจน์พันธ์

สำนักงานพลังานปรมาณูเพื่อสันติ
*ดร.ผัสสพร จิตตราภรณ์ ., นายเชาวน์ รอดทองคำ

กรมแรงงาน
*นางอัมพร จุลนานนท์ .,นายมานพ ชาญธวัชชัย

บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด
*Mr.B.J.Hills ., นายสมบูรณ์ ฤทธิเจริญพร ., นายเอกสิทธิ์ บัวสรวง

บริษัท ที่ปรึกษา ธรณีเทค จำกัด
*Mr.Warren Evans ., นายมนูญนัช ไวกาสี ., นายสมรัก พิศาลบุตร

บริษัทที่ปรึกษา ซีเทค จำกัด
*นางวิภา พรรณพราว ., นายสุรศักดิ์ เมืองมั่น .,นายวิสุทธ์ เอี่ยมอร่าม

กระทรวงอุตสาหกรรม
*นายเจน บุญส่ง รองอธิบดี .,นายเทียร เมฆานนท์ชัย รองอธิบดี ., น.ส.นงนุช จักรสิรินนท์ .,นายธีรศักดิ์ พงศ์พนาไกร ., นายบุญเลิศ ชมพูบริสุทธิ์


* * * * * * * * * * * * * * *

          1
คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com