www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 60 คน
 สถิติเมื่อวาน 59 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4169 คน
4169 คน
1749437 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จภูเก็ต
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
31 พฤษภาคม 2536

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2536 เป็นวันประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งของชาวภูเก็ต ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน จังหวัดภูเก็ตเพื่อทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และสถานที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต
 
และเมื่อเวลา 1.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี   ได้เสด็จถึงอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร เพื่อทรงวางพวงมาลาสักการะ ณ ที่นี้ นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยข้าราชการของจังหวัดภูเก็ต เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ จากนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง เพื่อทรงศึกษาประวัติศาสตร์ ของจังหวัดทางภาคใต้ โดยมีนายเทือง สกุลดี หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง พลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ ประธานชมรมประวัติศาสตร์เมืองเมืองกาญจนบุรี  และอาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ กราบบังคมทูลรายงาน ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาว่า
 
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2525 กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนเอกชน ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อดำเนินการประสานงานแนวความคิดในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดภูเก็ต ด้วยมีเหตุผลว่า โบราณวัตถุอันมีค่าหลายชิ้นวางและตั้งอยู่ในที่ซึ่งไม่เหมาะสม และหลายชิ้นอยู่ในความครอบครองของเอกชน และประชาชนชาวภูเก็ตหลายคนมีความประสงค์ที่จะมอบให้กับทางการเพื่อจัดแสดงอย่างถาวร ดังนั้นการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง จึงได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2525 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529 โดยเปิดทำการในปี พ.ศ.2529 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จมาเปิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2532 
 
ในการออกแบบอาคารเป็นการเน้นลักษณะของอาคารทรงไทยภาคใต้เฉพาะถิ่น ที่นำมาปนระยุกต์ในการก่อสร้างจึงเป็นอาคารที่ทรงคุณค่า ในด้านของการอนุรักษ์แบบบ้านโบราณ และจากการประกวดผลงานด้านสถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับรางวัลอาคารออกแบบดีเด่นประเภทส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
 
สำหรับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ได้วางหลักในการจัดเนื้อหาด้านวิชาการเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและชาติพันธุ์วิทยาของกลุ่มชนชาวภูเก็ต และจังหวัดด้านฝั่งทะเลตะวันตกของไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานวรีกรรมของท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทร ในการทำสงครามกับพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328 การแสดงเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนกลุ่มน้อยในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียงพร้อมทั้งเป็นศูนย์ค้นคว้า ทางด้านศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีการแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตลอดคาบสมุทรไทย มลายูและดินแดนที่ใกล้เคียง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง ยังมีเทวรูปที่ล้ำค่า ซึ่งเป็นเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ปางมัธยมโยคะสถานกมูรติ ทำด้วยหิน ในอดีตพระวิษณุกรรมองค์นี้เคยประดิษฐานอยู่ที่บริเวณเขาพระนารายณ์อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงามีลักษณะสี่กร มีรูปบุคคลนั่งคุกเข่าเฝ้าอยู่ 2 รูป เทวรูปองค์นี้อยู่ในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งร่วมสมัยกับศิลาจารึกภาษาทมิฬ ที่พบในที่เดียวกัน ซึ่งกล่าวถึงการขุดสระน้ำโดยกลุ่มพ่อค้าชาวอินเดีย
         
การแสดงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ โดยการศึกษาจากจดหมายเหตุของชาวต่างประเทศ โบราณวัตถุ แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย และรูปจำลองโบราณสถานตลอดจนเส้นทางเดินเรือ ที่จอดเรือ และแหล่งชุมชนโบราณของดินแดนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกแถบภาคใต้ของไทย นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง ยังได้เน้นหนักไปในทางพันธุ์ชาติวิทยา เช่น ประเพณีลอยเรือของชาวเล ฉากจำลองในศึกถลาง เมื่อปี พ.ศ.2528 ประเพณีกินเจ การแต่งการในพิธีแต่งงานของชาวจีนในภูเก็ต การทำเหมืองแร่ อาชีพการทำสวนยางและบ้านของชาวเล และในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทอดพระเนตรการรำรองแง็งของชาวไทยใหม่บ้านแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่
 
จากนั้นเมื่อเวลา 13.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินวัดฉลอง โดยมีนายกำพล วรพิทยุต รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย  ชาวภูเก็ตเฝ้าทูลละอองรับเสด็จ จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถเพื่อนมัสการพระประธาน และได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่กำแพงวัดโบราณเพื่อทรงศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดฉลอง
 
วัดฉลองเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจ และเมื่อย้อนอดีตไปเมื่อปีพ.ศ.2416 ได้เกิดขบวนการอั้งยี่ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่พอใจของกรรมกรชาวจีน ต่อผลประโยชน์จากการทำเหมืองแร่ดีบุก อั้งยี่จึงได้ก่อการขึ้น ออกปล้นสะดมชาวบ้านในภูเก็ต กลุ่มอั้งยี่ได้ใจได้ฆ่าฟันชาวบ้านมาจนถึงบ้านฉลอง และชาวบ้านบางคนหนีไปอยู่บนภูเขา และบางคนก็หลบหนีไปอยู่ในวัดฉลอง ซึ่งชาวบ้านก็ได้พากันชักชวนหลวงพ่อแช่มให้หลบหนีไปด้วย แต่หลวงพ่อแช่มไม่หนีและได้บอกแก่ชาวบ้านว่า “หลวงพ่อเคยอยู่วัดมาตั้งแต่เด็กจะให้หนีไปอยู่ไหน แต่จะขอตายอยู่ที่วัด ” จึงทำให้ชาวบ้านเกิดกำลังใจที่จะปกป้องวัดฉลอง และทางด้านหลวงพ่อแช่มก็ได้จัดทำผ้าปะเจียด หรือ ผ้ายันต์ ไว้ให้ชาวบ้านเป็นเครื่องรางของขลัง จนในที่สุดชาวบ้านฉลองก็สามารถรบชนะอั้งยี่ได้อย่างง่ายดาย กิตติศัพท์ของหลวงพ่อแช่มจึงเลื่องลือไปทั่ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานนาม หลวงพ่อแช่ม เป็น พระวิสุทธิวงศ์ศาจารย์ญาณมุนีและวัดฉลอง เปลี่ยนชื่อเป็นวัดไชยธาราราม จนถึงทุกวันนี้
 
จากนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเลจังหวัดภูเก็ต เมื่อเสด็จถึง ทรงปล่อยเต่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และนักเรียนนายร้อย จปร.ก็ได้ร่วมกันปล่อยเต่าด้วย
 
สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเลจังหวัดภูเก็ต ก่อตั้งขึ้นจากผลของการสำรวจร่วม ไทย-เดนมาร์ก ครั้งที่ 5 โดยได้เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2511 สถาบันมีหน้าที่ศึกษาวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลในน่านน้ำไทย รวมถึงชีววิทยาประมงโดยความรู้ที่ทำการศึกษาจะเป็นข้อมูลของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรามชาติในท้องทะเลไทยด้านฝั่งตะวันตก
 
ในการเสด็จพระราชดำเนินของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงของพี่น้องชาวภูเก็ตที่มีโอกาสเฝ้าละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ เพราะว่าทุกครั้งที่จะเสด็จออกสู่หัวเมือง ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเลือกภูเก็ต เป็นที่ศึกษาประวัติศาสตร์เกือบจะทุกครั้ง
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

 


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com