www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 3 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2529 คน
52316 คน
1744760 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

 RADIO NEWS

By : ณรงค์  ชื่นนิรันดร์  ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.สงขลา

ข่าวคืออะไร?
"ข่าว" หรือ News ในภาษาอังกฤษ มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พุทธศักราช 2542 ว่า "คำบอกเล่าเรื่องราวซึ่งปรกติมักเป็นเรื่องเกิดใหม่หรือเป็นที่สนใจ,คำบอกกล่าว,คำเล่าลือ" The Progressive English Dictionary ได้นิยามคำว่าข่าวไว้ว่า หมายถึงรายงานหรือการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างปัจจุบันทันด่วนหรือสิ่งอื่น
 
Webster Merriam Dictionary ให้คำจำกัดความว่า ข่าว คือ รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ ขณะที่สื่อมวลชนและนักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ทั้งของไทยและต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ข่าว" ไว้อย่างหลากหลายเช่นกัน
 
พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร บรรณาธิการอำนวยการหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ให้ทัศนะว่า ข่าว คือ "สิ่งที่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ปรากฏเป็นข่าว เราทำได้โดยทำให้มันเกิดขึ้นมา เพราะข่าวนั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดเหตุการณ์แล้วจึงรายงานข่าว"
 
อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ   ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ เนชั่น แชนแนล  ระบุว่า ข่าว คือ "เหตุการณ์หรือข้อมูลใดที่เกิดขึ้น แล้วมีผลต่อการตัดสินใจของผู้อ่าน ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุการณ์ปัจจุบันทันด่วนเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องที่ยังไม่เคยเปิดเผย และการพยากรณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ถูกส่งผ่านสื่อได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ของเวลา"
 
ประชัน วัลลิโก ให้คำจำกัดความของคำว่าข่าวไว้ว่า ข่าว คือ "รายงานเหตุการณ์ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้"
 
Joseph Pulitzer เจ้าของหนังสือพิมพ์ New York World และบิดาแห่งการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน ระบุว่า ข่าวคือเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆ มีความแตกต่างจากเรื่องอื่นๆ โดย Pulitzer บอกให้บรรณาธิการและนักข่าวของเขามองหาเรื่องที่ เป็นต้นตอ (Original), ชัดเจน (distinctive), เร้าอารมณ์ (romantic), หวาดเสียว (thrilling), หนึ่งไม่มีสอง (unique), น่าสงสัย (curious), กระจุ๋มกระจิ๋ม (quaint), ตลกขบขัน (humorous),แปลกและน่าจะได้รับการพูดถึง (Odd and apt-to-be-talked-about)
 
M. Lyle Spencer ผู้บุกเบิกการศึกษาด้านวารสารศาสตร์ อธิบายคำว่า "ข่าว"หมายถึง "ความจริง (Fact) ความคิด (Idea) อันถูกต้องที่จะเร้าความรู้สึกของคนจำนวนมาก และในระหว่างเรื่อง 2 เรื่อง ฝ่ายที่ถูกต้องซึ่งเรียกความสนใจจากผู้อ่านได้มากว่า ย่อมดีกว่า" นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่า"ข่าว"ไว้อีกมากมาย เช่น
 
-ข่าวคือ ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น และประชาชนให้ความสนใจ ซึ่งมีผลหรือมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตมนุษย์หรือความผาสุกของมนุษย์
-ข่าวคือ เรื่องราวของเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็นซึ่งเป็นที่สนใจของคน
-ข่าวคือเรื่องหรือข้อเท็จริงอย่างใหม่ซึ่งเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน
-ข่าวคือการรายงานเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้ชิดกับเวลาเขียนข่าว
- ข่าว คือ อะไรก็ตามที่ทันต่อเวลา เป็นที่สนใจของผู้อ่านจำนวนหนึ่ง และข่าวที่ดีที่สุด ก็คือข่าว ซึ่งเป็นที่สนใจมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุด
- ข่าว คือ การนำเสนอรายงานของเหตุการณ์ปัจจุบันในหนังสือพิมพ์หรือวารสารอื่นๆ หรือในวิทยุและโทรทัศน์ จะเห็นได้ว่าความหมายของคำว่า "ข่าว"มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ตามทัศนะ ประสบการณ์ และช่วงเวลาที่แตกต่าง แต่ทั้งหมดนี้อาจกล่าวได้ว่า นิยามของคำว่าข่าว เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ คือ
 
1. ข้อเท็จจริง (Fact) เหตุการณ์ (Event) ความคิด (Idea) ความเห็นที่เกิดขึ้น ที่ปรากฏอยู่ ที่เพิ่งได้รับได้รับการค้นพบหรือที่มีการคาดการณ์พยากรณ์

2. มีความสำคัญ (Significantly) ความน่าสนใจ (Interested)ต่อคนบางส่วน หรือคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นๆโดยสามารถวัดระดับความสำคัญและความน่าสนใจได้

3. ได้รับการหยิบยกขึ้นมารายงานข่าว (Reporting) ผ่านสื่อมวลชน (mass media)หากไม่มีการรายงานหรือสื่อข่าว สิ่งนั้นก็ยังคงเป็นเพียงข้อเท็จจริง
จากความหมายของข่าวที่แตกต่างกันดังกล่าว พอสรุปได้ว่า ข่าว คือ เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อเท็จจริง หรือ ความคิดความเห็นที่เกิดขึ้นใหม่ๆ มีความสำคัญ ความน่าสนใจ ส่งผลกระทบต่อผู้รับสารในวงกว้าง และได้ถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอผ่านสื่อต่างๆ องค์ประกอบของข่าว ต้องตอบคำถามพื้นฐาน 5 ข้อให้ได้ ได้แก่
 
1. ใคร (Who) เป็นคำถามเกี่ยวกับบุคคล เช่น ใครทำอะไรที่เป็นความสนใจของผู้ฟัง ใครคือบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข่าวข่าวนั้นมีใครที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบบ้าง
2. อะไร (What) เกิดอะไรขึ้น การกระทำหรือเหตุการณ์ใดของข่าวที่เป็นเรื่องราวและเหตุการณ์ที่สำคัญการกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆคืออะไร

3.ที่ไหน(Where)การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นที่ไหน

4.เมื่อไหร่(When)การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นวันเวลาใด
5. ทำไมและอย่างไร (Why and How) ทำไมการกระทำ เรื่องราวหรือเหตุการณ์จึง และ เกิดขึ้นได้อย่างไร
 
การตอบคำถามข้างต้น จะเป็นเครื่องมือช่วยในการรวบรวมข้อมูลหรือรายละเอียดของข่าว เพื่อให้ครบตามองค์ประกอบของข่าว แนวทางในการพิจารณาเพื่อคัดเลือกข่าว บก.ข่าว จะทำหน้าที่ในฐานะผู้เฝ้าประตู หรือผู้กลั่นกรองข่าว โดยจะเป็นผู้ตรวจสอบข่าว และตัดสินว่า จะเลือกนำประเด็นข่าวใด ที่สามารถสนองตอบความความต้องการ ความสนใจ ความพึงพอใจ และการนำไปใช้ประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ฟัง (อันนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสถานี)
 
การเขียนข่าววิทยุกระจายเสียง
การเลือกประเด็นข่าว ข่าวแต่ละข่าวบางครั้งเมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้วจะพบว่า มีข้อเท็จ จริงมากมาย จึงเป็นหน้าที่ของผู้สื่อข่าวที่จะต้องหาประเด็นที่มีความสำคัญ หรือมีความ สัมพันธ์กับผู้รับสาร ที่สำคัญต้องสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง
 
กรณีที่มีข้อเท็จจริงหรือมีประเด็นข่าวมาก ในขณะที่ข่าววิทยุแต่ละข่าวไม่ควรมีความยาวเกิน1.30 นาที (ยกเว้นกรณีของข่าว กปส.ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องยาวเพื่อให้เกิดความเข้าใจ) จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเขียนข่าวด้วยความถูกต้อง (correctness) แม่นยำตามข้อเท็จจริง มีความชัดเจน(Clarity) แต่ต้องมีความกระชับ (conciseness) โดยพยายามเลือก ประเด็นที่สำคัญที่ผู้รับสารสนใจ โดยไม่เขียนข้อมูลที่ไม่มีความสำคัญ หรือข้อมูลที่ไม่มีลักษณะของการเปิดเผยข้อเท็จจริง
 
การเขียนข่าววิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้รับสารไม่สามารถย้อนกลับมาฟังซ้ำ เพื่อให้มีความเข้าใจ ผู้ฟังสามารถสร้างจินตนาการเองได้ บางครั้ง การให้สีสัน (color) ของข่าวหรือเหตุการณ์ จึงมีความจำเป็น แต่ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดที่ไม่เป็นจริงลงในข่าว
 
การเลือกประเด็นข่าว ข่าวแต่ละข่าวบางครั้งเมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้วจะพบว่า มีข้อเท็จ จริงมากมาย จึงเป็นหน้าที่ของผู้สื่อข่าวที่จะต้องหาประเด็นที่มีความสำคัญ หรือมีความ สัมพันธ์กับผู้รับสาร ที่สำคัญต้องสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง
 
กรณีที่มีข้อเท็จจริงหรือมีประเด็นข่าวมาก ในขณะที่ข่าววิทยุแต่ละข่าวไม่ควรมีความยาวเกิน1.30 นาที (ยกเว้นกรณีของข่าว กปส.ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องยาวเพื่อให้เกิดความเข้าใจ) จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเขียนข่าวด้วยความถูกต้อง (correctness) แม่นยำตามข้อเท็จจริง มีความชัดเจน(Clarity) แต่ต้องมีความกระชับ (conciseness) โดยพยายามเลือก ประเด็นที่สำคัญที่ผู้รับสารสนใจ โดยไม่เขียนข้อมูลที่ไม่มีความสำคัญ หรือข้อมูลที่ไม่มีลักษณะของการเปิดเผยข้อเท็จจริง
 
การเขียนข่าววิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้รับสารไม่สามารถย้อนกลับมาฟังซ้ำ เพื่อให้มีความเข้าใจ ผู้ฟังสามารถสร้างจินตนาการเองได้ บางครั้ง การให้สีสัน (color) ของข่าวหรือเหตุการณ์ จึงมีความจำเป็น แต่ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดที่ไม่เป็นจริงลงในข่าว
 
รูปแบบการเขียนข่าววิทยุกระจายเสียง
การเลือกประเด็นข่าว ข่าวแต่ละข่าวบางครั้งเมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้วจะพบว่า มีข้อเท็จ จริงมากมาย จึงเป็นหน้าที่ของผู้สื่อข่าวที่จะต้องหาประเด็นที่มีความสำคัญ หรือมีความ สัมพันธ์กับผู้รับสาร ที่สำคัญต้องสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง
 
กรณีที่มีข้อเท็จจริงหรือมีประเด็นข่าวมาก ในขณะที่ข่าววิทยุแต่ละข่าวไม่ควรมีความยาวเกิน1.30 นาที (ยกเว้นกรณีของข่าว กปส.ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องยาวเพื่อให้เกิดความเข้าใจ) จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเขียนข่าวด้วยความถูกต้อง (correctness) แม่นยำตามข้อเท็จจริง มีความชัดเจน(Clarity) แต่ต้องมีความกระชับ (conciseness) โดยพยายามเลือก ประเด็นที่สำคัญที่ผู้รับสารสนใจ โดยไม่เขียนข้อมูลที่ไม่มีความสำคัญ หรือข้อมูลที่ไม่มีลักษณะของการเปิดเผยข้อเท็จจริง
 
การเขียนข่าววิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้รับสารไม่สามารถย้อนกลับมาฟังซ้ำ เพื่อให้มีความเข้าใจ ผู้ฟังสามารถสร้างจินตนาการเองได้ บางครั้ง การให้สีสัน (color) ของข่าวหรือเหตุการณ์ จึงมีความจำเป็น แต่ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดที่ไม่เป็นจริงลงในข่าว
 
โครงสร้างพื้นฐานของข่าวทั่วไปมีองค์ประกอบสำคัญๆคือ หัวข้อข่าว(headline) , ความนำข่าว (lead) , ตัวข่าวหรือเนื้อเรื่อง(Body) และ สรุป โครงสร้างพื้นฐานของข่าวทั่วไป แม้โครงสร้างของข่าวส่วนใหญ่จะประกอบด้วยส่วนสำคัญข้างต้นแล้ว แต่ยังมีวิธีการเขียนเพื่อเสนอเนื้อหาข่าวภายในโครงสร้าง พื้นฐานนั้นๆได้อีก 3 รูปแบบ ประกอบด้วย การเขียนข่าวแบบปีรามิดหัวกลับ (Inverted pyramid) แบบปีรามิดหัวตั้ง (Upright pyramid) และแบบลำดับเหตุการณ์ (Chronological pyramid)
 
แบบลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเขียนข่าวแบบปีรามิดหัวกลับ (Inverted pyramid) นั้น เนื้อหาข่าวจะประกอบด้วยความนำข่าวที่เป็นฐานของปีรามิด หรือจุดสำคัญ (climax) โดยกลับหัวขึ้นไปไว้ในเนื้อหาส่วนบนสุด และรายละเอียดตัวข่าวอื่นๆจะเขียนต่อไปตามลำดับความสำคัญ
 
ส่วนการเขียนข่าวแบบของปีรามิดแบบหัวตั้ง (Upright pyramid) นั้น จะเริ่มจากการเขียนข้อเท็จจริงที่มีความสำคัญน้อยไว้ในวรรคแรกหรือที่ยอดปีรามิด จากนั้นจะค่อยๆเขียนข้อเท็จจริงที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในวรรคต่อๆไปจนถึงวรรคสุดท้าย หรือฐานปีรามิด ซึ่งจะเป็นช่วงของการเสนอข้อเท็จจริงที่มีความสำคัญที่สุด
 
สำหรับการเขียนข่าวในรูปแบบของการลำดับเหตุการณ์ (Chronological pyramid) นั้น มีเค้าโครงการเขียนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกได้แก่ ความนำ ซึ่งอาจเป็นการสรุปแบบธรรมดาหรือสรุปเพียงส่วนเดียวอย่างไม่สมบูรณ์แต่เป็นการเปิดเผยลักษณะของข้อเท็จจริงโดยยังไม่เปิดเผยผลลัพธ์สุดท้ายของเรื่อง ส่วนที่สองคือตัวข่าว ซึ่งจะเป็นการเสนอเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง ตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และส่วนสุดท้ายของเนื้อหาอาจเป็นได้ทั้งตอนหรือฉากสุดท้ายของเรื่อง ซึ่งดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นการเขียนข้อเท็จจริงบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรง หรือเป็นการเขียนสรุป(conclusion) ซึ่งมักจะย้อนไปอิงกับข้อความเดิมในความนำ
 
นอกจากนั้นในข่าวแต่ละข่าวที่มีข้อมูลและปริมาณของข้อเท็จจริง รวมถึงมีความซับซ้อนของเนื้อหาต่างกัน หากเขียนขึ้นอย่างปราศจากความต่อเนื่องกลมกลืน โดยมุ่งเน้นความกะทัดรัดเป็นหลักแล้ว เนื้อหาของข่าวอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสน หรือไม่เข้าใจความหมายของข่าวได้ชัดเจน
 
ภาษาข่าววิทยุ
ภาษาข่าววิทยุ เป็นการเขียนเพื่อการพูด ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ขณะเดียวกันก็สามารถ บดบังความหมายให้เกิดความคลุมเครือและอำพรางความจริง แต่ภาษาที่ใช้ในการเขียนข่าวนั้น จะต้องเป็นภาษาที่เรียบง่าย เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจน เฉพาะเจาะจงและเข้าใจในความจริง เพราะการพูดและการได้ยิน ต่างจากการที่เห็นและได้อ่าน เมื่ออ่านแล้วไม่เข้าใจ เราสามารถหา คำอธิบายความหมายที่เคลือบแคลงได้ โดยอ่านประโยคนั้นๆซ้ำไปซ้ำมา แต่ผู้ฟังถ้อยคำที่พูด โดยเฉพาะการพูดผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ เพื่อคำพูดหลุดจากปากออกไป ก็จะล่อยลอยไปในอากาศและขาดหายไปในที่สุด จึงไม่มีโอกาสที่จะมาทบทวนใหม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวหนังสือ
 
เมื่อการเขียนบทรายการข่าววิทยุ เป็นการเขียนสำหรับการพูด ผู้เขียนบทต้องเขียนเรื่องราวให้เหมือนกับว่า กำลังอยู่ในวงสนทนา ที่ผู้เขียนต้องได้ยินถ้อยคำต่างๆเหมือนที่เขียนขึ้นมา บางครั้งผู้เขียนบทข่าว ไม่ได้ดำเนินรายการด้วยตัวเอง ผู้เขียนบทจึงต้องเขียนบทข่าวให้ชัดเจน เรียบง่าย และตรงไปตรงมา เพื่อให้ผู้อื่นที่มาดำเนินรายการ สามารถเข้าใจและถ่ายทอดความหมายของผู้เขียนบทได้โดยง่าย เพราะเมื่อผู้ดำเนินรายการมีปัญหา ผู้ฟังก็คงมีปัญหาเช่นเดียวกัน การออกอากาศกระจายเสียง ก็คือการพูดกับผู้ฟัง
 
ดังนั้นการเขียนบทเพื่อการพูดออกอากาศ จึงหนักหนากว่าการเขียนเพื่ออ่าน เนื่องจากการเขียนเพื่อพูด จะต้องสามารถสร้างภาพปฏิกิริยาตอบสนอง เสมือนกับการเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังอยู่ต่อหน้า ที่จะเห็นได้ว่า เขาตั้งใจฟังเราอยู่หรือไม่ เมื่อใดผู้ฟังเข้าใจหรือไม่เข้าใจ เมื่อใดที่ผู้ฟังต้องการตัวอย่างหรือคำอธิบาย และเมื่อใดผู้ฟังให้ความสนใจหรือไม่สนใจ สัญญาณต่างๆที่ได้รับจาการเล่าเรื่อง และการตอบสนองสัญญาณเหล่านั้น เป็นจุดประสงค์ของการเขียนเพื่อการกระจายเสียง
 
การเขียนความนำโดยทั่วๆไปจึงแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท เพื่อเน้นความสำคัญตามองค์ประกอบของข่าวดังนี้
 
1. ความนำ "ใคร" (Who Lead) คือความนำซึ่งบุคคลหรือนิติบุคคลมีคุณค่าในข่าว ในด้านความมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้ฟังทั่วไป หรืออาจมีอาชีพ เพศ อายุ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่มีความเด่น ดังตัวอย่าง (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ 15 พ.ค.47) นายกรัฐมนตรี ระบุ สถานการณ์ภาคใต้ดีขึ้น แม้จะมีฝ่ายก่อกวนอยู่บ้าง แต่ก็เชื่อว่าหากรัฐบาลใช้หลักเมตตาธรรม ต่อไปสถานการณ์จะคลี่คลายได้ (สำนักข่าว ไอเอ็นเอ็น 15 พ.ค.47) นายกรัฐมนตรี มั่นใจ แนวโน้มการแก้ปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ มีทิศทางที่ดีขึ้น หลังเยาวชนที่หลงผิด กลับใจมาเข้ากับทางการ เพิ่มมากขึ้น จะเห็นว่าความนำข่าวข้างต้น เป็นความนำที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วไป ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารสูงสุดของประเทศ
 
2. ความนำ "อะไร" (What Lead) คือความนำของข่าวที่บอกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือกำลังจะเกิดมีความสำคัญขึ้น และน่าสนใจกว่าข้อมูลที่ว่าใครเกี่ยวข้องอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ดังตัวอย่าง ประมูลหมายเลขทะเบียนรถ ที่กรมการขนส่งทางบกวันนี้ เป็นไปด้วยความคึกคัก หมายเลขทะเบียน ษท 9999 มีราคาสูงสุด 1 ล้าน 5แสนบาท (สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์) ฝนตกดินถล่ม ส่งผลเกิดอุบัติเหตุรถทัวร์ประสานงานสิบล้อและกระบะ คนเจ็บเกือบ 10 ราย (สำนักข่าว ไอเอ็นเอ็น 15 พ.ค.47)
 
3.ความนำ "ที่ไหน" (Where Lead) คือ ความนำที่สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆมีคุณค่าข่าวสูง เป็นที่น่าสนใจของผู้ฟัง ดังตัวอย่าง รัฐสภาป่วน!โทรศัพท์ลึกลับข่มขู่สร้างสถานการณ์เหมือนภาคใต้ ช่วงอภิปราย "วันนอร์" ด้าน"ธานี"ปฏิเสธเสียงแข็งทุกอย่างปกติ แค่มาตรวจเยี่ยมเท่านั้น (ผู้จัดการออนไลน์ศุกร์ที่ 21 พ.ค.47)
 
4.ความนำ "เมื่อไร" (When Lead) เป็นความนำซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับเวลาที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ มีความสำคัญมากกว่าข้อมูลอื่น ตังอย่างเช่น วันนี้ เวลา 17.50 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยหม่อมศรีรัตน์ มหิดล ณ อยุธยา จากวังศุโขทัย ไปทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ (จำลอง) ณ อาคาร มหาเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา เขตสาธร กรุงเทพมหานคร นายกรัฐมนตรีจุนอิชิโร โคอิซูมิเดินทางถึงเกาหลีเหนือแล้วในวันนี้ (22) โดยมีเป้าหมายเพื่อหารือเรื่องชาวญี่ปุ่นที่ ถูกลักพาตัวโดยเกาหลีเหนือเมื่อ 10 ปีที่แล้ว (ผู้จัดการออนไลน์ 22 พ.ค.47)
 
5.ความนำ "ทำไม" (Why Lead) เป็นความนำซึ่งข้อมูลที่เป็นเหตุจูงใจ หรือสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีคุณค่าข่าวสูง และเป็นข้อมูลที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ดีกว่าข้อมูลอื่นๆ ดังตัวอย่าง กระแสก่อการร้ายที่กำลังคุกคามไปทั่วโลก ได้จุดประกายให้ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ป้องกันภัย และระบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อป้องกันความเสียหายที่ จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินสาธารณะและส่วนตัว (ประชาชาติธุรกิจ 13 พ.ค.47)
 
6. ความนำ "อย่างไร" (How Lead) เป็นความนำซึ่งมีข้อมูลรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ผลกระทบต่อผู้ฟัง ความแปลกประหลาด ภัยพิบัติและความก้าวหน้า ซึ่งมีคุณค่าของข่าวสูง สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง ที่ต้องการทรายรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น ดังตัวอย่าง
 
รอยเตอร์ - นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ โทนี แบลร์ และสมาชิกสภาต้องอพยพออกจากที่ประชุมรัฐสภา เมื่อมีมือดีสาดผงเพนท์บอลเข้ามานั้นถูกไหล่ของผู้นำอังกฤษ เมื่อวันพุธ(19พ.ค.47)ที่ผ่านมา
 
จากประเภทของความนำโดยทั่วๆ ไปแล้ว ยังมีความนำแบบพิเศษ เป็นความนำทางเลือก หรือ ความนำเบา ซึ่งมีมากมายหลายประเภท ความนำเหล่านี้จะไม่กล่าวถึงประเด็นที่สำคัญที่สุดในเรื่องให้ผู้ฟัง ได้ทราบก่อนเหมือนความนำพื้นฐาน ที่อาจนำบทสรุปรายละเอียดที่สำคัญที่สุดไว้ในย่อหน้าต่อไป ขึ้นอยู่กับความคิดและ จินตนาการ ตลอดจนความสามารถในการสังเกตและการไหลเลื่อนทางความคิด เพื่อสร้างความนำที่เป็นเอกภาพ ความนำเบาที่กล่าวมานี้ มีความหลากหลายแต่โดยทั่วไปจะพบเห็นบนหน้าหนังสือพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผู้ทำงานในด้านรายการวิทยุกระจายเสียงน่าจะศึกษาไว้ โดยแบ่งเป็นประเภทดังนี้
 
1. ความนำแบบพรรณนาหรือสร้างภาพพจน์ (Narrative or Picture or Colorful Lead) การนำประเภทนี้ใช้กับเหตุการณ์ประเภทที่มีสีสันหรืออารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยอาจจะบรรยายหรือพรรณนาให้ผู้ฟังได้รับรู้เหตุการณ์เสมือนว่าได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์นั้นด้วย การเขียนประเภทนี้ผู้เขียนต้องมีความสามารถทางภาษาในระดับสูง จึงจะสามารถเลือกใช้คำที่จะทำให้ผู้ฟังได้เห็นภาพได้
 
2. ความนำแบบอ้างคำพูดหรือ อัญพจน์ (Quote or Quotation Lead) ความนำประเภทนี้ เป็นความนำที่อ้างคำพูดของบุคคลในข่าวมาขึ้นต้น โดยข้อความนั้นต้องเป็นข้อความที่สำคัญ อาจจะเป็นประโยคยาวหรือข้อความสั้นๆก็ได้ แต่ต้องไม่ยาวจนเกินไป
 
3. ความนำแบบเผ็ดร้อน (Punch Lead)เป็นความนำที่ใช้กับเรื่องหนัก จริงจัง ความนำประเภทนี้จะใช้คำที่มีความหมายหนักแน่น ที่ตรงกับลีลาและน้ำหนักของเรื่อง
 
4. ความนำแบบเปรียบเทียบ (contrast Lead) ความนำประเภทนี้เหมาะที่จะใช้กับข่าวที่มีองค์ประกอบด้านความขัดแย้งมาขึ้นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวการเมือง ที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหานโยบายหรือสังคม มากกว่า 2 ฝ่ายขึ้นไป และเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน
 
5. ความนำแบบคำถาม (Question Lead) ความนำแบบนี้ เริ่มด้วยคำถามตามด้วยคำตอบหรือแนวทางที่จะหาคำตอบให้แก่คำถามดังกล่าว เหมาะที่จะใช้กับรายงานข่าวเบาๆ สนุกสนาน หรือขบขัน อีกทั้งยังเหมาะที่จะใช้รายงานข่าวหรือเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ที่ไม่ทราบว่าผลจะออกมาเช่นไร เช่น การแข่งขันกีฬานัดสำคัญๆที่ยังไม่รู้ว่าใครแพ้ใครชนะ บรรยากาศการแข่งขันที่ต้องการให้ผู้ฟังติดตามผลการแข่งขันไปด้วย
 
6. ความนำแบบให้ภูมิหลัง (Background Lead) เป็นความนำที่ใช้กับรายงานเหตุการณ์ที่มีความต่อเนื่องมาจากอดีต แล้วเริ่มคลี่คลาย หรือมีความคืบหน้าสมควรแก่การรายงานข่าวให้ผู้ฟังได้ทราบ และเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจที่มาหรือความเดิมของเรื่องจึงต้องเติม "ภูมิหลัง"ไว้ในความนำด้วย
 
7. ความนำแบบหลักการ (None of the AboveLead) หมายถึงความนำแปลกใหม่ที่ไม่มีหลักการที่กล่าวมาข้างต้น การเขียนความนำประเภทนี้ ไม่มีข้อจำกัดตายตัว สามารถพลิกแพลงได้ตามเหตุการณ์ที่ต้องการนำเสนอ เพื่อดึงดูดความสนใจ และเปลี่ยนแปลงบรรยากาศให้เหมาะสมกับลีลาของเรื่อง ซึ่งผู้ฟังจะได้รับความสนุกสนาน ความทึ่ง เร้าใจ พร้อมๆกับข่าวสารที่เราต้องการนำเสนอด้วย
 
การเขียนความนำข่าววิทยุกระจายเสียงที่ดี จากหลักการในการเขียนความนำพื้นฐาน ความนำพิเศษหรือความนำเบาที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้เขียนควรยึดหลักการเขียนความนำข่าวที่ดีซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
 
1. ต้องกระชับ (Be Concise) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น โดยมีความยาวไม่เกิน 2-3 บรรทัดพิมพ์ ถ้าเกินกว่าถือว่ายาวไป ควรตรวจสอบใหม่และตัดคำหรือข้อความที่ซ้ำซาก และรายละเอียดบางอย่างไว้ในย่อหน้าต่อไป ความนำควรรายงานเฉพาะจุดเด่น หรือ (Highlight) ของเรื่อง เฉพาะที่สำคัญ เพื่อแสดงความคิดของตัวเองให้กระชับที่สุด
 
2. มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง (Be Specific) ที่มีรายละเอียดที่น่าสนใจและเฉพาะเจาะจง ชัดเจน ทำให้ผู้ฟังนึกถึงภาพเหตุการณ์ หรือสามารถจินตนาการถึงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่าง
 
3. ใช้คำที่มีความหมายหนักแน่น (Strong Words) ซึ่งการใช้คำเพียงคำเดียว สามารถเปลี่ยนแปลงความนำธรรมดาให้เป็นความนำที่น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้ฟัง และอาจสร้างความตื่นเต้นมีสรสันหรือภาพพจน์ให้เกิดขึ้นได้
 
4. เน้นถึงความสำคัญของข่าว เช่นการระบุรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากการเกิดภัยพิบัติต่างๆ ตามข้อเท็จจริง
 
5. ควรเน้นเรื่องที่ไม่ปกติ (Unusual) หรือสิ่งที่คาดไม่ถึง ไม่คาดฝัน ที่มีความสำคัญหรือมีแนวโน้มว่า จะมีความสำคัญต่อไปในอนาคต และสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้
 
6. ความนำควรมีเรื่องใกล้ตัวกับผู้ฟัง ซึ่งควรระบุท้องที่หรือถิ่นที่อยู่ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องหรือเกี่ยวข้องกับผู้ฟัง รวมทั้งระบุบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ที่ผู้ฟังคุ้นเคย
 
7. ความนำที่ดีที่สุดต้องเข้าใจง่ายและตรงประเด็น(To the Point) เพื่อให้ผู้ฟังจับใจความได้เร็ว ไม่ต้องรอฟังเนื้อหาข่าวโดยละเอียด
 
ความหมายของรายการข่าววิทยุกระจายเสียง
 
วิทยุกระจายเสียง ตามพจนานุกรมาฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คำนิยามไว้ว่า วิทยุ หมายถึงกระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตามอากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้ เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศว่า เครื่องส่ง เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียงตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ
 
ส่วนวิทยุกระจายเสียง ก็คือ การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศโดยใช้คลื่นวิทยุ วิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอข่าวสารไปสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง มีข้อได้เปรียบสื่อมวลชนอื่นๆหลายประการเช่น วิทยุกระจายเสียงสามารถเสนอข่าวได้รวดเร็วกว่าหนังสือพิมพ์ มีราคาถูกกว่าวิทยุโทรทัศน์ สามารถออกอากาศเสนอข่าวได้ในทันที ขณะที่เหตุการณ์เกิดขึ้น และสามารถติดตามรายงานเหตุการณ์เหล่านั้นได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเสนอข่าวได้บ่อยครั้ง ทั้งในรูปของรายการข่าวภาคย่อยที่กำหนดไว้ในทุกต้นชั่วโมง หรือทุกครึ่งชั่วโมง และในภาคหลัก ตัวอย่างเช่นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย มีข่าวภาคหลัก ได้แก่ ข่าวภาค 7.00 น., 12.00 น., 19.00 น., 20.00 น. หรืออาจจะแทรกรายงานข่าวสั้นๆออกอากาศในช่วงรายการอื่นๆของทางสถานี หากมีกรณีสำคัญเร่งด่วน ข้อได้เปรียบของการรับฟังข่าววิทยุกระจายเสียงอีกประการหนึ่งคือ ผู้ฟังสามารถทำกิจวัตรประจำวันหรืองานอื่นๆไปพร้อมๆกันด้วยก็ได้
 
รายการข่าว เป็นรายการวิทยุกระจายเสียงรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอข่าวสารต่อผู้ฟัง โดยการนำเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆทั้งที่ได้จากการสัมภาษณ์แหล่งข่าว จากการแถลงข่าว ประกาศของหน่วยงานราชการ และข่าวแจก( press release ) จากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน มากำหนดรูปแบบการนำเสนอ โดยอาจเสนอเป็นข่าวภาคย่อยหรือข่าวต้นชั่วโมง เพื่อความสดใหม่ ในรูปแบบของการรายงานข่าวจากผู้สื่อข่าวและมีเสียงแหล่งข่าวประกอบ ซึ่งจะช่วยให้ข่าวชิ้นนั้นเกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และหากเป็นข่าวสำคัญ ก็อาจนำมาสรุปเนื้อหาให้กระชับในกรณีที่มีแหล่งข่าวให้สัมภาษณ์ในเรื่องเดียวกันนั้นหลายคนและหลากหลายความเห็น ให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อนำออกอากาศในภาคหลักของทางสถานีต่อไป
 
แต่ทั้งนี้ วิทยุยังคงมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการนำเสนอข่าว เพราะถ้าเป็นข่าวภาคย่อยหรือภาคต้นชั่วโมงจะอยู่ระหว่าง 5-10 นาที ทำให้แต่ละชิ้นข่าวต้องสั้นกะทัดรัดและมีประเด็นหลักประเด็นเดียว เพื่อให้เหมาะสมกับเวลา ส่วนข่าวภาคหลักของสถานีวิทยุต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่จะมีความยาวประมาณ 15-30 นาที ซึ่งจะมีทั้งการนำเสนอข่าวใหม่ๆ หรือข่าวที่เคยออกอากาศในภาคย่อยมาเรียงร้อยใหม่ เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบข้อมูลที่ครอบคลุมในแง่มุมต่างๆมากยิ่งขึ้น
 
สรุป ความหมายของรายการข่าววิทยุกระจายเสียง ได้ว่า เป็นรายการที่แพร่สัญญาณเสียงออกอากาศโดยใช้คลื่นวิทยุ โดยมีเนื้อหาหลักคือ การนำเสนอข่าวสาร เหตุการณ์ ข้อเท็จจริงหรือ ความคิดความเห็นที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ที่สำคัญ น่าสนใจ ส่งผลกระทบต่อผู้รับสารในวงกว้าง โดยการจัดออกอากาศเป็นรายการประจำ หรืออาจนำเสนอแทรกในรายการอื่นๆของสถานีได้ ในกรณีมีความสำคัญเร่งด่วน
 
* * * * * * * * * * *

คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com