www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 2 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2528 คน
52315 คน
1744759 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13



การประชาสัมพันธ์ของรัฐด้านต่างประเทศ
การหนังสือพิมพ์สัมพันธ์
โดย สะอาด ตัณศุภผล

การติดต่อเผยแพร่ทางการเมืองระหว่างประเทศ
International Political Communication

          การติดต่อเผยแพร่ทางการเมืองระหว่างประเทศ หมายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่รัฐบาลของประเทศหนึ่ง ใช้ติดต่อเผยแพร่เพื่อยังอิทธิพลต่อพฤติการณ์ทางการเมืองของประชาชนในประเทศอื่น ๆ ดังนั้นจึงมีความหมายครอบคลุมการโฆษณาชวนเชื่อและการโฆษณาเผยแพร่ข่าวสาร ตลอดจนวิธีการบางอย่างในการติดต่อทางการทูต (ยกเว้นกิจการต่าง ๆ ขององค์การหนังสือพิมพ์และข่าวสารของสำนักงานเอกชน หรือองค์การทางศาสนา)
 
          คำว่า “การติดต่อเผยแพร่” (Communication) คือ การชักพาความหมายไปสู่ผู้รับ โดยใช้เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เขียนเป็นตัวหนังสือเป็นคำพูด หรือเป็นรูปภาพ หรือด้วยกิริยาอาการต่าง ๆ ฉะนั้น คำว่า “การติดต่อทางการเมืองระหว่างประเทศ” (International Political Communication ) จึงเป็นคำที่ย่อความมาจากกิจการบางอยางที่เป็นส่วนย่อยอันประกอบอยู่ในคำว่าการเจรจาทางการทูต (Negotiation) การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) สงครามการเมือง (Political Warfare) และสงครามจิตวิทยา (Psychological Warfare)   
 
          การศึกษาเรื่อง “การติดต่อเผยแพร่ทางการการเมืองระหว่างประเทศ ” หรือการศึกษาพิจารณาหาความเข้าใจในเรื่องนี้นั้น ปัจจุบันนี้เป็นเรื่องที่ยังไม่อาจจัดทำได้ง่ายนัก ด้วยเหตุผลยุ่งยากหลายประการด้วยกันคือ
 
          1.)การศึกษาเรื่องการติดต่อ เผยแพร่ทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น มีความกว้างขวางมาก เพราะต้องข้ามไปก้าวก่ายวิชาการอื่น ๆ อีกมากมาย ผู้เชี่ยวชาญงานการติดต่อเผยแพร่ระหว่างประเทศจะต้องเป็นเสมือนผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทรในพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งหมดนั่นเอง
 
          2.)เหตุผลที่ประกอบกับข้อ1 ก็คือ กรรมวิธีในการติดต่อด้านนี้เป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยความยุ่งยากซับซ้อนอย่างยิ่ง สูตรของกรรมวิธีการติดต่อมีอยู่ว่า “ใครพูดอะไรต่อใคร ผ่านสื่ออะไร เพื่อความมุ่งหมายอะไร ภายใต้สภาวะอะไร และด้วยการยังผลอะไรบ้าง” ซึ่งเราจะเห็นว่าคำที่กล่าวมาเหล่านี้เป็นเสมือนเนื้อธาตุต่าง ๆ ที่นำมาผสมตามสูตรเพื่อปรุงขึ้นเป็นสารที่ต้องการ ถ้าเป็นเพียงการติดต่อเผยแพร่ภายในประเทศหรือรัฐหนึ่ง ๆ ก็เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนพอดูอยู่แล้ว ยิ่งเป็นการติดต่อเผยแพร่ระหว่างประเทศก็ยิ่งเพิ่มพูนความยุ่งยากมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ แต่ละส่วนอันเป็นปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ ความแตกต่างของประชาชนซึ่งแบ่งได้ตามลักษณะภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ฯลฯ ที่แผ่คลุมไปทั่วโลกนี้ย่อมมีความแตกแยกต่างกัน อย่างชนิดที่ยังไม่ใคร่ศึกษาได้ทั่วถึง ปัจจุบันนี้แม้นจะมีความเจริญด้านวิชาการ และ เทคนิคมากมาย แล้วก็ตามก็ยังคงอยู่ในสภาพที่กำลังแผ้วทางไปสู่จุดหมายที่จะสามารถจัดระบบการศึกษาในเรื่องนี้ให้เข้ารูปรอยได้ในอนาคตเท่านั้น
 
          3.)ปัจจุบันนี้ เราไม่อาจหาวีใด ๆ มาวัดดูผลของงานการติดจ่อเผยแพร่ให้มีรูปเด่นชัดแน่นนอนได้เหมือนวิชาการอื่น ๆ สำหรับการติดต่อเผยแพร่ภายในประเทศในลักษณะต่างกัน เช่น การโฆษณาสินค้าที่มีผลต่อผู้ใช้หรือผู้ซื้อสินค้าก็ดี หรือผลการโฆษณาเผยแพร่ด้านประชาสัมพันธ์ในประเทศของรัฐบาลก็ดี ปัจจุบันนี้ เรามีวิธีการสำรวจตรวจสอบที่จะใช้วัดดูผลงานได้พอสมควรแล้ว แต่การติดต่อเผยแพร่ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการโฆษณาเผยแพร่ของรัฐบาลประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง นั้น เรายังไม่สามารถวัดผลงานได้ด้วยวิธีการสำรวจ ส่วนมากที่จะวัดได้ก็โดยวิธีการสังเกตดูพฤติกรรมอันเป็นผลทั่ว ๆไปเท่านั้น
 
          4.)การโฆษณาด้านต่างประเทศนี้เป็นเพียงเครื่องมือประกอบนโยบายเท่านั้น เป็นเพียงการดำเนินงานประสานกับการพิจารณาตัดสินใจของฝ่ายบริหารทางด้านการทูต การเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการทหาร ฉะนั้น ถ้าหากเราจะศึกษาวิธีการทาง “การติดต่อเผยแพร่ทางการเมืองระหว่างประเทศ”โดยไม่พิจารณาอ้างอิงไปถึงนโยบายและกิจการด้านการทูต การเศรษฐกิจและการทหาร เลย ก็จะไม่มีประโยชน์
 
          5.)การโฆษณาด้านต่างประเทศนั้น เป็นงานที่มีเป้าหมายไกลหูไกลตาประชาชนภายในประเทศ และเป็นงานที่ให้ผลทางอ้อมแก่นโยบาย ฉะนั้น ในบางประเทศประชาชนไม่ได้สนใจใยดีกับงานด้านนี้เลยก็ทำให้ขาดแรงสนับสนุน จากด้านมติทางการเมือง ภายในประเทศ หวังพึ่งแต่งงบประมาณสุดแท้แต่จะได้มา จึงทำให้รัฐบาลในประเทศที่ประสบปัญหาอย่างนี้ (โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านนี้) หันไป  ใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ภายในประเทศประโคมข่าวอวดผลงาน เกิดความจริงเพื่อเรียกร้องให้บรรดาผู้มีอำนาจทาง “กุมถุงเงิน” ของประเทศได้ช่วยให้เงินงบประมาณใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งการทำเช่นนี้นับเป็นการเสียหายในหลักการบริหารงาน ซึ่งจะทำให้เกิดการประมาณผลงานผิดพลาดจากความจริงและจะเกิดความเสียหายแก่การดำเนินนโยบายทางการทูต การเศรษฐกิจและการทหารได้
 
          แม้นจะมีเหตุผลยุ่งยากหลายประการ เกี่ยวกับการหาความเข้าใจในเรื่องนี้ก็ตาม ได้เป็นที่ยอมรับแล้วว่างานโฆษณาไปต่างประเทศก็ดี ได้มีบทบาทสำคัญอยู่แล้ว ในกิจการด้านการต่างประเทศ ผู้ชำนาญงานด้านนี้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก และในหลายประเทศด้วยกัน จึงเป็นที่เชื่อมั่นได้ว่าในอนาคตนับวันงานด้านนี้จะขยายความสำคัญขึ้นไปอย่างรวดเร็ว
 
          ปัจจุบันนี้ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับ “การตืดต่อเผยแพร่ทางการเมืองระหว่างประเทศ” อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจดีขึ้นอยู่หลายประการ เช่น ความเข้าใจผิดที่บ่างคนคิดว่า งานโฆษณาชวนเชื่อที่จัดทำขึ้นอย่างมีสมรรถภาพแล้ว จะช่วยตัดงบประมาณรายจ่ายแผ่นดินในด้านการทหารได้แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะงานโฆษณาชวนเชื่อมิได้มีมีสภาพเช่นเดียวกับการทหารหรือการป้องกันประเทศด้านอื่น ๆ เช่นการทูตหรือเศรษฐกิจ และมิใช่ว่าจะเอาไปใช้ทดแทนกันได้ แต่งานโฆษณาชวนเชื่อเป็นเพียงเครื่องประกอบ หรืพลังสนับสนุนการป้องกันประเทศด้านอื่น ๆ เหล่านี้เท่านั้น ในทำนองเดียวกันงานโฆษณาชวนเชื่อจำเป็นจะต้องมีพลังสนับสนุนจากด้านต่าง ๆ อย่างเต็มที่คือการติดต่อเผยแพร่ทางการเมืองระหว่างประเทศนี้ ได้เคยมีบทบาทสำคัญมาแล้วแต่ในอดีต คือระหว่างมหาสงครามโลกทั้งสองครั้ง และตลอดระยะเวลานับถอยหลังไปจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่เริ่มมีการต่อสู้ระหว่างประเทศหรือระหว่างเผ่าเพื่อแข่งอำนาจกัน รัฐบุรุษในยุคหลังที่เคยแสดงบทบาทในเรื่องนี้เป็นอย่างดีก็เช่น จอมจักรพรรดิ นโปเลียน แห่งฝรั่งเศส โจเซฟกินเบล แห่งเยอรมัน สมัยนาซี เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล แห่งอังกฤษ และยอร์จ ครีล แห่งสหรัฐรัฐอเมริกา ฯลฯ ต่างก็ซึมทราบในความสำคัญของการโฆษณาชวนเชื่อหรือสงครามจิตวิทยาเป็นอย่างดี แต่ก็เป็นเพียงการ “ซึมทราบ” เท่านั้น ซึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในกลวิธีอันพิสดารของสื่อประเภทต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีการศึกษาค้นคว้าก้าวหน้าแตกฉานกว่าสมัยโน้นมากมายนัก
 
          ในกรรมวิธีทั่ว ๆ ไป ของการโฆษณาเผยแพร่ไปต่างประเทศนั้น จุดสำคัญยิ่งอันหนึ่งก็คือความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายของโฆษณาเผยแพร่ กับนโยบายของชาติอันได้แก่ นโยบายด้านการเมือง ระหว่างประเทศ นโยบายด้านเศรษฐกิจ และนโยบายด้านการทหาร นักโฆษณาชวนเชื่อหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ด้าน “การติดต่อเผยแพร่ทางการเมืองระหว่างประเทศ” นั้น ถ้าหากไม่รู้หรืไม่เข้าใจในนโยบายของชาติดีแล้วก็เปรียบได้กับนักว่ายน้ำที่แต่คอยจะพยุงตัวอยู่ไม่ให้จม และเขาไม่สามารถจะหาทิศทางได้ว่าจะว่ายไปทางไหนดี ฉะนั้นงานโฆษณาเผยแพร่ไปสู่ต่างประเทศที่ดีนั้น จำเป็นต้องรู้นโยบายของชาติเป็นจุดหมายเพื่อมุ่งไปสู่ทิศทางนั้นได้ถูกต้อง ในทำนองตรงกันข้าม ถ้าหากเราจะสืบหาพฤติการณ์ทั่วไป ในงานโฆษณาชวนเชื่อหรือโฆษณาเผยแพร่ของประเทศใดแล้ว เราก็อาจจะหาต้นตอได้ที่นโยบายของชาตินั้น และคลำทางไปสู่แนวพฤติการณ์ด้านการโฆษณาเผยแพร่ของประเทศนั้นได้
 
9999999999999999
 


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com