www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 3 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2529 คน
52316 คน
1744760 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

ชีวิตนักข่าว…ภาวะผู้นำจ่าเพียร
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
17 มีนาคม 2553

ผมเป็นผู้หนึ่งที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และก็ทำงานในพื้นที่ภาคใต้ของไทยหลายจังหวัด นับถึงวันนี้ก็ 25 ปี พอดี แต่ที่ประทับใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มากที่สุดก็คือ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา หรือที่เรารู้จักกันในนาม ว่า จ่าเพียร ที่รับราชการตั้งแต่พลตำรวจจนเติบโตมาเป็น ระดับผู้กำกับที่เสียสละ แม้นกระทั่งชีวิต ทุกอย่างเพื่อให้ประเทศชาติสงบ ในวาระสุดท้ายของจ่าเพียร ผมก็ได้ไปร่วมงานพระราชทางเพลิงศพ ด้วยความอาลัยยิ่ง แม้นว่าผมจะไม่ได้สนิทเป็นการส่วนตัว แต่ผมก็ได้ติดตามผลงานของ จ่าเพียรมาโยตลอด ก็เพราะหน้าที่ผมเป็นผู้สื่อข่าวนี่ครับ ที่จะต้องเสาะหา ประเด็นที่จะให้ทุกท่านได้รู้ข้อเท็จจริง และต่อไปนี้ผมจะได้พูดถึง ภาวะผู้นำของจ่าเพียร ที่อยู่ในหัวใจของลูกน้องทุกคน และจะเป็นแบบอย่างของผู้นำทุกคนที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นะครับ
 
ภาวะผู้นำ ของ จ่าเพียร
ตำนานนักรบ นักสู้ แห่งเทือกเขาบูโด
 
ผู้นำในสถานการณ์สู้รบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
หาใช่เป็นเพียงผู้บริหารที่จัดการหน้าที่การงานให้เกิดความเรียบร้อย หาใช่เพียงแต่แต่งชุดขาวไปหรดน้ำศพลูกน้องไม่ แต่ผู้นำจักต้องมีความเป็นผู้นำหน่วย ต้องมีความรู้ทางยุทธวิธีทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ต้องมีความกล้าหาญ กล้านำในการคิด วางแผน แก้ปัญหา รู้จักพลิกแพลงยุทธวิธี เพื่อป้องกันความสูญเสียและปฏิบัติการเชิงรุก “ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อมวลชน ก่อให้เกิดกำลังใจ และความทุ่มเท ในการปฏิบัติงาน”
 
ภาวะผู้นำของจ่าเพียรในอดีต
ภาวะผู้นำของจ่าเพียรเริ่มปรากฏชัด เมื่อปี พ.ศ. 2513 ที่มีการปฏิบัติการของโจรจีนคอมมิวนิสต์อย่างเป็นรูปธรรม เช่นการโจมตีสถานที่ราชการ จับคนเรียกค่าไถ่   เรียกค่าคุ้มครอง หรือกรรโชกทรัพย์ ซึ่งสถานการณ์ขณะนั้นเลวร้ายมาก จนรัฐบาลได้ตัดสินใจส่งกำลังหน่วยปฏิบัติการพิเศษทุกจังหวัด ลงมาช่วยผู้นำหน่วยระดับรองผู้บังคับการ เป็นผู้นำกองกำลังเข้าปฏิบัติการเชิงรุก กดดันทุกรูปแบบ เพื่อลดขีดความสามารถและอิทธิพลในการเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงกันข้าม กดดันบีบให้เข้าไปอยู่ในป่าเขา ไม่มีอิสระในการปฏิบัติการจนฝ่ายตรงกันข้ามต้องหลบหนีเข้าไปอยู่ในป่าเขา ตั้งฐานปฏิบัติการ มีกำลังเป็นกลุ่มก้อนซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ และวสามารถใช้กำลังเข้าไปปิดล้อมกวาดล้างจนทำให้สถานการณ์ยุติลง และกดดันทางยุทธวิธีอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนขบวนการมีการจับตายและสู้รบปะทะรุนแรง ฝ่ายตรงกันข้ามมีการสูญเสียจำนวนมาก จนระดับแกนนำอพยพออกนอกประเทศ ขบวนการดังกล่าวจึงยุติบทบาทและรายงานตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
 
หลังจากเหตุการณ์โจรก่อการร้ายไม่มีศักยภาพในการก่อเหตุร้าย เพราะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติการเชิงรุก โดยจ่าเพียนได้เคยกล่าวกับลูกน้องในขณะนั้นว่า “ถ้ากูเป็น ขจก. กูจะทำให้ตำรวจไม่กล้าออกไปไหน กูจะอยู่สบายไม่ต้องหลบหนี” ลูกน้องถามว่าจะทำอย่างไร คำตอบก็คือ ทำอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน   คือโจมตีโรงพัก ชิงความได้เปรียบในเชิงรุก เพื่อให้ฝ่ายตรงกันข้ามตั้งรับแล้วปิดล้อมยิงก่อกวนซุ่มยิงและใช้กำลังเข้าโจมตี จนทำให้ตำรวจสูญเสียและอยู่ไม่ได้ ขณะนี้ก็อยู่ในสถานการณ์คล้าย ๆ อดีต
ถามว่า “แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร เราจะนำหน่วยในสถานการณ์นี้อย่างไร” อาจเป็นคำถามที่ยากสำหรับบางคน แต่สำหรับจ่าเพียร อาศัยประสบการณ์ที่ผ่านการต่อสู้อย่างโชกโชนในอดีต เห็นว่าสถานการณ์ในภาคใต้ในอดีตและปัจจุบัน มีความเหมือนและความต่างกันเพียงเล็กน้อย เฉพาะวิธีการและเทคโนโลยี มาประกอบการปฏิบัติเท่านั้น วิธีการหลักยังเหมือนเดิม
 
จากคำถามดังกล่าว บางคนอาจตอบว่า “จะต้องให้ทำงานในเชิงรุก” หรือถามว่า การทำงานเชิงรุกคืออย่างไร ใครคือผู้นำเชิงรุก นี่คือปัญหาที่ผู้บังคับบัญชาต้องการทราบและต้องการเห็นและจะหาผู้นำในเชิงรุกได้อย่างไร
 
ผู้นำเชิงรุกนั้น อยู่ที่ตัวคน ผู้บริหารหน่วยระดับสถานีตำรวจจึงจะต้องเป็นผู้นำเชิงรุก ซึ่งต้องมีความสามารถในการนำหน่วยและการบริหารหน่วยพร้อม ๆ กัน ผู้นำหน่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน จ่าเพียร มีความเห็นว่า ควรเป็นผู้นำ 2 รูปแบบคือ ผู้นำอย่างแคบ กับผู้นำอย่างกว้าง
 
ผู้นำอย่างแคบ คือ ผู้นำตามธรรมชาติ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้กำกับ ผู้บังคับการ
ผู้นำอย่างกว้าง คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีลักษณะ
          -คนเราเกิดมาเพื่อเรียนรู้
          -เรียนรู้เพื่อกระทำ
          -กระทำเพื่อให้บรรลุผล
          -บรรลุผลเพื่อให้เห็นประจักษ์
เพราะฉะนั้น ผู้นำหน่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินที่พึงปฏิบัติ คือ
          1.)ต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ทั้งนโยบาย นายนิยม หรือประชานิยม จะต้องศึกษาให้เข้าใจ ต้องทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเกิดอย่างไรมีแนวโน้มอย่างไร
 
          2.) ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องทำคืออะไร เช่น นโยบายของผู้บังคับบัญชาต้องการให้ยุติเหตุร้ายรายวันให้ได้ เราจะทำอย่างไร จะนั่งรอเฝ้าสวดมนต์อ้อนวอน หรือจะต้องรุกอย่างไร เพื่อทำความหมายอย่างแคบ
 
          3.) ต้องทำตนให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ประชาชนและผู้บังคับบัญชาเชื่อมั่น ข้อนี้เป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้เมื่อมีความตั้งใจ ก็คือต้องกระทำให้บรรลุผลให้เห็นจริง
 
          4.)คิดเสมอว่าตัวเองเป็นผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ผู้บริหาร เป็นผู้เอานโยบายมาปฏิบัติ แล้วปฏิบัติให้ผู้บังคับบัญชาทราบและเห็นผลงาน
 
          5.)ต้องสร้างขวัญกำลังใจ ให้เกิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ได้
 
          6.)ต้องสร้างจิตสำนึกและความภูมิใจ ให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยปฏิบัติให้เขาเห็นและยอมรับ เมื่อยอมรับแล้วจะเกิดศรัทธา ความร่วมมือจะตามมา จะได้รับความเชื่อถือจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และประชาชน
 
เห็นไหมครับ ความคิดของจ่าเพียร ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่านายพล นะครับ ท่านผู้อ่านสามารถที่จะไปเป็นบทเรียนและแบบอย่างในการปฏิบัติได้อย่างแท้จริงครับ
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
 




คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com