วิธีการจัดตั้งมวลชน
ของจ่าเพียร
17 มีนาคม 2553
ที่มา: จ่าเพียร ตำนานนักรบ นักสู้...แห่งเทือกเขาบูโด
วิธีการจัดตั้งมวลชน
ของจ่าเพียร
ความเชื่อถือ ศรัทธาและความร่วมมือ จากประชาชน ไม่จำเป็นจะต้องเกิดจากการมียศสูง ตำแหน่งสูง ธรรมชาติของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เขาเชื่อในตัวบุคคลเป็นอันดับหนึ่ง หน่วยงานหรือตำแหน่งเป็นอันดับรองลงมา เพราะฉะนั้นสำหรับบุคคลที่เขาเชื่อถือนั้น จึงเกิดจากการแสดงออกซึ่งความรักความจริงใจต่อเขา บางครั้งภาษายังไม่มีความจำเป็นเท่าความจริงใจ เพราะความจริงใจสามารถแสดงออกด้วยการกระทำมากกว่าคำพูด ทำไม จ่าเพียร จึงสามารถดึงมวลชนมาจัดตั้งเป็นกำลังร่วมต่อสู้
เท่าที่ได้ติดตามการทำงานของจ่าเพียร และเสียงสะท้อนจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ประชาชน พอสรุปประเด็นหลัก ๆ ได้ดังนี้
1.ความจริงจังในใจการปฏิบัติหน้าที่ โดยการเอาใจใส่ต่อการศึกษาพื้นที่ ศึกษาบุคคล และความต้องการของประชาชน ตลอดจนศึกษางานอย่างละเอียด
2.เป็นผู้มีความสามารถในการศึกษาจิตวิทยามวลชน โดยมีความเข้าใจอารมณ์ทั้ง 3ของมนุษย์ คือ
- อารมณ์รัก
- อารมณ์โกรธ
- อารมณ์เกลียด
การสร้างอารมณ์รัก จากประชาชน เกิดความรัก ความจริงใจที่ให้แก่ประชาชน ไม่
ว่าจะเป็นความช่วยเหลือ และคุ้มครองประชาชนให้พ้นจากความทุกข์ระทมในปัญหาที่เขามี
การสร้างอารมณ์โกรธ เมื่อเกิดปัญหาโดยเฉพาะการก่อเหตุรุนแรงต่อพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือการขู่เข็ญ บังคับ คุกคามประชาชน ซึ่งเป็นการสร้างเงื่อนไขที่ไม่ชอบธรรม จ่าเพียร จะชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่ไม่ชอบธรรม สร้างความโกรธแค้น เพื่อความชอบธรรม
การสร้างความเกลียด ใช้อารมณ์โกรธที่อยากจะแก้แค้น ยกระดับอารมณ์ให้เกิดความเกลียด อยากทำลายล้างบุคคลที่ก่อปัญหาให้เกิดความวุ่นวายในสังคม โดยให้กำลังใจและสนับสนุนให้เกิดปฏิบัติการ
3.การฉวยโอกาสจากเงื่อนไขที่ฝ่ายตรงข้ามสร้างขึ้น หากฝ่ายตรงข้ามปฏิบัติการที่ก่อให้เกิดเงื่อนไขต่อพี่น้องประชาชน จ่าเพียร จะชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาที่เป็นเงื่อนไข เพื่อดึงมวลชนมาเป็นพวก แล้วใช้สถานการณ์พลิกกลับเพื่อนำไปสู่การตอบโต้และช่วงชิงเป็นฝ่ายรุก ทั้งด้านยุทธวิธีและ การปฏิบัติการจิตวิทยา
4.การจัดตั้งกองกำลังประชาชน ทำแบบธรรมชาติบนพื้นฐานข้อเท็จจริง โดยการปลูกฝัง ปลูกความคิด ปักหลัก ชักชวน สร้างแกนนำและตั้งกองกำลังบนพื้นฐานพื้นที่ของมวลชน (หมู่บ้าน) ใช้มวลชนที่พร้อมจะต่อสู้ จัดตั้งเป็นชุดปฏิบัติการ ทุกคนเสียสละ เงินทองทรัพย์สิน เพื่อแสวงหาอาวุธ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ เท่าที่จำเป็น ในการปกปักษ์รักษาหมู่บ้าน และกวาดล้างกองกำลังฝ่ายตรงข้าม ด้วยความสมัครใจ มวลชนบางคนอาจเป็นโจรกลับใจจึงมีการปฏิบัติงานที่ได้ผล เพราะเขารู้จักพื้นที่ บุคคล และฝ่ายตรงข้าม
5.กำลังพลที่ดูแลกำลังประชาชน ใช้เพียง 5-6 คนต่อสถานี โดยปรับปรุงบ้านของประชาชนเป็นยุทธศาสตร์ ประหยัดทั้งกำลังพล และงบประมาณโอกาสถูกโจมตีน้อย เพราะการดูแลของกำลังประชาชน
6.การปฏิบัติงานด้วยความจริงใจต่อข่าวสารที่ได้จากประชาชน ยิ่งทำให้ประชาชน เชื่อ ศรัทธาและเปลี่ยนใจ มาร่วมมือกับเจ้าหน้าที่มากขึ้น การเข้าถึงและเอาชนะจิตใจประชาชน จึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง
7.ความร่วมมือของประชาชน ทำให้ได้ข่าวสารข้อมูลนำไปสู่การปฏิบัติการทางยุทธวิธีเชิงรุก ในการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม ที่ค่อนข้างจะบรรลุผลสำเร็จ ทำให้เกิดความเชื่อถือจากผู้ใต้บังคับบัญชาและหน่วยงานข้างเคียงจนทำให้ผู้บังคับบัญชาในหลาย ๆ พื้นที่ ใช้รูปแบบและวิธีการไปปฏิบัติ ไปขยายในหลายพื้นที่
8.การใช้ภาวะความเป็นผู้นำแบบธรรมชาติ ที่เกาะติดพื้นที่ เกาะติดมวลชน เกาะติดฝ่ายตรงข้าม และเกาะติดผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงจัง และต่อเนื่องทำให้เกิดผลงานที่บรรลุเป้าหมาย
9.การใช้ยุทธศาสตร์ที่ไม่มีรูปแบบ(แบบธรรมชาติ) ทำให้เกิดผลกระทบต่อฝ่ายตรงข้ามที่ต้องปรับยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะการสร้างเงื่อนไขของฝ่ายตรงข้ามต้องระมัดระวังในการก่อความรุนแรงที่สุ่มเสี่ยง หรือเป้าหมายไม่แจ่มชัด หรือเกิดความผิดพลาด จ่าเพียร จะฉวยโอกาสดึงมวลชนร่วมต่อสู้ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียมวลชน
10.ยุทธวิธีในการเข้าปฏิบัติการของ จ่าเพียร ไม่ว่าจะเป็นการลาดตระเวน หรือการเข้าปิดล้อม ตรวจค้น มักจะเป็นการลาดตระเวนทางเท้าจนได้รับฉายาว่า เพียรขาเหล็ก โดยปลูกฝังให้ตำรวจยึดหลักการลาดตระเวนด้วยเท้าเป็นหลัก มากกว่าการลาดตระเวนด้วยรถยนต์หรือจักรยานยนต์ เพราะนอกจากไม่ประสบความสำเร็จ แล้วยังเกิดความสูญเสียจำนวนมาก ๆ และซ้ำซาก
11.การจัดตั้งสถานียุทธศาสตร์ โดยการกำหนดจากสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน มากกว่ากำหนดตามเขตปกครองท้องที่ ทำให้เป็นการกุมสภาพในหมู่บ้าน เพื่อลดอิทธิพลของผู้ก่อความไม่สงบ ไม่กล้าเคลื่อนไหวและชี้นำประชาชน ทำให้สถานการณ์ลงลงอย่างเห็นได้ชัด
การจัดตั้งชุมชนเข้มแข็งในรูปแบบของ จ่าเพียร
- การจัดตั้งชุมชนเข้มแข็ง บ้านตลาดนิคม ม.6 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยมีที่ทำการอยู่ที่จุดตรวจเจริญธรรม บริเวณวัดเจริญธรรม ม.6 ต.ตลิ่งชัน มีกำลัง ชรบ. และอรบ. จำนวน 30 คน
- การจัดตั้งชุมชนเข็มแข็ง บ้านกาจะลากี ม.2 ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยมีที่ทำการอยู่ที่ฐานปฏิบัติการเขาใหญ่ บ้านกาจะลากี มีกำลังชุด ชรบ. และ อรบ. จำนวน 20 คน
- การจัดตั้งชุมชนเข้มแข็ง บ้านตาเนาะปูเต๊ะ ม.4 ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยมีที่ทำการอยู่ที่ฐานปฏิบัติการตาเนาะปูเต๊ะ มีกำลังชุด ชรบ. และ อรบ. จำนวน 10 คน
ผลกระทบต่อฝ่ายตรงกันข้ามจากการปฏิบัติการของจ่าเพียร
ความจริงจัง ต่อเนื่องและพลิกแพลงรูปแบบการปฏิบัติ ทำให้ฝ่ายตรงข้าม มีการตอบโต้ด้วยการปฏิบัติการแบบสร้างเงื่อนไขใหม่ จนต้องคิดทบทวนยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีใหม่ และไม่กล้าปฏิบัติการรุนแรงแบบสุ่มเสี่ยงเพราะกลัวเสียมวลชน และถูกดึงมวลชนมาจัดตั้ง เพื่อปฏิบัติตอบโต้สู้กับฝ่ายตรงข้าม เช่น ตัวอย่างใบปลิวในที่เกิดเหตุ (ผังเมือง 4 ซอย 11 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง ยะลา)
๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘