www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2527 คน
52314 คน
1744758 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

 

 

รับรางวัลจาก นายนิวัฒนฺธำรง บุญทรงไพศาลรมต.สำนักนายก

นั่งรอรับรางวัลที่กรมประชาสัมพันธ์

เอกสารประกอบการประกวด

ทำอย่างไรให้ได้รับการคัดเลือก สวท.ดีเด่น
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ 
4 มิถุนายน 2555
ผู้บริหารที่เป็นผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยหลายแห่ง ถามผมว่าทำอย่างไร ถึงบริหารงานได้รับรางวัล สวท.ดีเด่น และบางท่านก็ขอเอกสารที่ผมเสนอเพื่อการคัดเลือก เอาไปศึกษาเพื่อจะได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ซึ่งผมก็ยินดีที่จะให้ไปเป็นตัวอย่าง แต่บางท่านก็ไม่สนใจ ซึ่งผมก็ไม่ได้ว่าอะไร 
ผมขอปูพื้นฐานการทำงานของผมให้ท่านฟังก่อนนะครับ ผมเริ่มต้นชีวิตราชการเป็นผู้สื่อข่าว จึงมีโอกาสได้ไปสถานที่หลายแห่ง ที่คนอื่นไม่ได้ไป และได้เห็นหน่วยงานราชการหลายแห่ง ที่พอจะเอามาเป็นตัวอย่างได้ นอกจากนี้ ผมได้เป็นผู้อำนวยการส่วนข่าวและรายการ ซึ่งก็รับผิดชอบในการตัดสินการประกวด สวท.ดีเด่นเกือบจะทุกปี ตรงนี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกัน เพราะจะรู้หลักเกณฑ์ ในการคัดเลือก   แต่สิ่งที่เหนืออื่นใดคือ เมื่อผมไปตรวจราชการ ในหน่วยงานในสังกัด กรมประชาสัมพันธ์  ผมมักจะถ่ายรูปเก็บได้เกือบจะทุกซอกทุกมุม   เพื่อให้เห็นความแตกต่างในแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกล้องถ่ายรูปที่เป็นดิจิตอลทุกวันนี้   มีประโยชน์มาก เพราะกล้องสามารถที่จะบันทึกวันเดือนปีและเวลาที่เราถ่ายภาพได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้เราไม่ต้องไปจดบันทึกอะไรมาก เมื่อนำมาใช้เขียนบทความทางวิชาการก็สามารถเขียนจากข้อมูลที่เป็นรูปภาพนั้นได้เลย 
เอาหล่ะ นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราได้รู้วิธีการ แล้วถ้าถามว่า ผู้บริหารที่ไม่มีพื้นฐานอย่างผมจะเป็นผู้บริหารสวท.ดีเด่นได้ไหม ผมขอตอบว่า ได้ครับ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ที่ผมจะอธิบายขยายความต่อไปนี้ เป็นเพียงความเห็น และวิธีดำเนินการ ที่เป็นส่วนตัว ท่านสามารถนำไปเป็นตัวอย่างได้ 
ผมขอเรียนให้ท่านทราบว่า ผมมาอยู่ที่ สวท.สงขลา ได้เพียง 1 ปี 13 วัน ผมก็สามารถทำให้ สวท.สงขลา ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสวท.ดีเด่นได้   และผมมีวิธีการอย่างไรหล่ะ   ตามผมมาครับ 
วิธีที่ หนึ่ง ที่นำมาใช้คือ ท่านต้องมีแนวทางหรือกรอบในการทำงาน หรืออาจจะบอกว่าเป็นวิสัยทัศน์ก็ได้   โดยผม เริ่มที่ 2 ม.4 ทหลักการตรงนี้ผมนำตัวอย่างการบริหารงานของ นายสุดจิต นิมิตกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในสมัยที่ผมเป็นผู้สื่อข่าว ท่านผู้ว่ามีหลักการบริหาร ย่อ ๆ สั้น ๆ แต่ได้ใจความ จนผมจดจำมาถึงวันนี้ คือ ส.ป.บ. แต่ละคำล้วนเป็นคำย่อ ที่มีความหมาย ซึ่งผม พอจะจำได้ว่า ส.คือ สะอาด สงบ ป.คือ ปลอดภัย บ.คือ บริการ 3คำนี้ ทำให้ผู้ปฏิบัติ นำไปใช้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพราะภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่จะต้องมีความสะอาด มีความสงบ มีความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาพักผ่อนที่ภูเก็ต และ การท่องเที่ยวจะต้องมีการบริการที่ดี คำย่อที่ท่านผู้ว่าได้ให้ต่อหน่วยงานในภูเก็ต ในฐานะที่ผมเป็นนักข่าวก็ได้เรียนรู้ตรงนี้ และสามารถจดจำวิธีการทำงาน ว่าถ้าเราเป็นผู้บริหารก็จะต้องปฏิบัติแบบนี้ และผมก็ใช้หลักการบริหารคือ 2 ม. 4 ท. หมายถึง 2 ม.แรกคือ ไม่ทุจริต ไม่ทะเลาะ   4 ท. คือ ทีม,เที่ยงธรรม , เท่าเทียม , เทคโนโลยี 
ผมขออธิบายขยายความ ดังนี้นะครับ
ไม่ทุจริต การไม่คอรัปชั่น  อันนี้สำคัญมาก เป็นหัวใจต่อการทำงาน ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับ อย่างเช่น เมื่อผมได้รับของขวัญหรือกระเช้า (เฉพาะปีใหม่ 2555 สวท.สงขลาได้รับกระเช้าอวยพร ประมาณ 11 กระเช้า ไม่เคยได้รับ ) ผมจะนำมารวมกันที่ห้อง อาจจะเป็นห้องผู้อำนวยการ ก็ได้ เรื่องนี้ผมเคยประสบการที่สถานี ฯ แห่งหนึ่ง มีการแย่งชิงกระเช้ากันแม้นว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็เป็นเรื่องที่กินใจกันได้นะครับ เอาเป็นว่า เมื่อรวบรวมได้พอประมาณแล้ว ก็นำไปจับฉลาก เนื่องในวันปีใหม่ หรือวันสำคัญอื่น ๆ ก็ได้ นะครับ ซึ่งทุกคนก็จะได้เท่าเทียมกัน ส่วนพวกกาแฟ น้ำตาล ชา ก็เก็บไว้ที่กองกลางเป็นสวัสดิการ แก่เจ้าหน้าที่ ได้ดื่ม นี่เป็นส่วนหนึ่งนะครับ 
ไม่ทะเลาะ  ในองค์กรจะต้องมีความสามัคคีกัน การทะเลาะกันในองค์กร ผมก็เห็นมาหลายราย ส่วนใหญ่ ไม่ถูกไล่ออก ก็ถูกปลดออก เพราะเมื่อมีการทะเลาะก็จะทำให้แต่ละฝ่ายขุดคุ้ยความไม่ดีของแต่ละคนออกมาตีแผ่ ในที่สุดเมื่อมีการสอบสวนพบว่าผิด ก็ต้องเป็นไปตามคำวินิจฉัย ผมเสียดายมากที่เป็นรุ่นพี่ข้าราชการท่านหนึ่งในสังกัด กปสต้องถูกไล่ออกเพียงแค่เง็น 5,000 บาท เท่านั้น เพราะมีการทะเลาะกันภายในองค์ และมีการขุดคุ้ย จนต้องถูกออกจากราชการ แต่ถ้าหากไม่มีการทะเลาะกันหล่ะ การทุจริต ยังจะมีอยู่หรือไม่ ผมก็เชื่อว่ามีอยู่แต่โทษานุรูป อาจะไม่หนักหนาเหมือนกับคนในองค์กรต้องมาทะเลาะกัน  
ทีม  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าข้ออื่น   การทำงานที่มีคนทำงานอยู่มาก มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำงานเป็นทีม แล้วทำอย่างไรหล่ะ ถึงจะเรียกว่าทำงานเป็นทีม คำว่าทีม TEME  เป็นภาษาอังกฤษ นะครับ    ซึ่งผมขออธิบายขยายความ ว่า เป็นวิธีการทำงานที่เหมือนกับคำว่า การทำงานเชิงบูรณาการ หรือ INTERRATTIVE  ทีม เริ่มตั้งแต่มีชุดทีมเดียวกัน ใส่เสื้อที่เหมือน ๆ กัน ช่วงที่มีฟุตบอลโลก ผมเห็นการเล่นฟุตบอล ของทีมเยอรมัน ที่ชนะเลิศ จะเห็นว่า เขาทำงานเป็นทีม แล้วที่ว่าเป็นทีมนักฟุตบอลเยอรมัน เขาทำอย่างไร เท่าที่ผมเห็น การเล่น แม้นว่ากองหน้าเบอร์ 9 คนนี้จะมีโอกาสยิงประตู แต่เขาไม่ยิง เขาจะเขี่ยให้ผู้เล่นคนที่มีโอกาสดีกว่า ยิง เข้าประตู นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการทำทีม ถ้าเทียบกับการทำงาน ผู้บริหารควรมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ได้มีโอกาสได้ทำงาน เมื่อผู้บริหารถ้ามีอคติ จะไม่สามารถมอบหมายงานให้คนนั้นทำ แล้วการทำงานเป็นทีมจะเกิดขึ้นไม่ได้  
เที่ยงธรรม คำ ๆ นี้ เหมือนกับคำว่า เป็นธรรม พูดให้เข้าใจก็คือว่า ผู้บริหารต้องมีความเป็นธรรมกับผู้ใต้บังคับบัญชา ผมขอยกตัวอย่างนะครับ อันนี้ผมประสบกับตัวเอง มีผู้บริหารท่านหนึ่ง มีภรรยาทำงานอยู่ในองค์เดียวกัน ทั้งคู่พึ่งย้ายมาได้ 8 เดือน แต่ผู้บริหารท่านนี้กลับให้ ภรรยา ของท่าน ได้ 2 ขั้น แน่นอนครับถูกต่อต้านจากลูกน้องทันที   แล้วผมก็เคยพูดกับผู้บริหารท่านนี้ว่า ถ้าท่านทำอย่างนี้ จะไม่เจริญก้าวหน้าในอาชีพราชการ แล้วสิ่งที่ผมพูดเป็นจริงครับ เพราะข่าวแพร่กระจายไปเร็วมาก ล่วงรู้ถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูง   ความจริงผู้บริหารท่านนี้ถ้าไม่ปฏิบัติตัวแบบนี้ ท่านมีโอกาสได้เป็นผู้อำนวยการสำนัก อย่างแน่นอน เพราะ ท่านเป็นคนแรกที่ได้ ซี 7 ซึ่งตอนนั้น ผู้อำนวยการสำนักซี 8 เท่านั้น  เพราะฉะนั้นพฤติกรรมอย่างนี้อย่าได้ทำนะครับ ข่าวเร็วมาก 
เท่าเทียม มีความหมายคล้ายกับเที่ยงธรรม แต่เท่าเทียมในทัศนะของผม หมายถึง เมื่อท่านมีสิ่งของ ถ้าท่านจะให้ลูกน้องท่าน ท่านจะต้องให้ครบทุกคนอย่าเลือกว่า คนนี้เราชอบ คนนี้เราเกลียด คิดอย่างนี้ไม่ได้   สมมุติว่า ท่านมีเสื้อ 10 ตัว แต่ลูกน้องท่านมี 20 คน ถ้าเป็นผม ผมจะยังไม่แจก เพราะจะได้ไม่ครบคน ผมจะเก็บไว้   เมื่อได้สิ่งของอื่นมา เช่นได้ ร่ม มา 5 อัน ได้ปากกามา15 ด้าม แบบนี้ แจกได้เพราะทุกจะได้เท่าเทียมกัน   แต่ถ้าบางคนบอกว่า อยากได้เสื้อหมด ก็ต้องใช้วิธีการจับฉลาก แบบนี้ โอเค นับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่คำว่าเที่ยงธรรม ในทัศนะของผม จะหมายถึง ผลจากการปฏิบัติงาน  ที่จะต้องได้รับการตอบแทนอย่าง เที่ยงธรรม หรือเป็นธรรม หรือยุติธรรม เมื่อทำงานดี ก็ต้องได้รับการตอบแทนที่ดี ไม่ใช่ มาทำงาน 8 เดือน หรือเป็นภรรยาผู้บริหาร ก็ได้ 2 ขั้น แบบนี้ไม่ถูกครับ ผมเองก็สู้หัวชนฝา 
เทคโนโลยี  ยุคนี้เป็นยุคของไอที ที่ผู้บริหารจะต้องรู้ ต้องทันกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง ท่านต้องรู้เรื่องไอที ต้องศึกษา ผมเห็นผู้บริหารบางคน พอเขามีหลักสูตรการใช้อินเตอร์เน็ต ก็ไม่ไปเรียน ผมเคยสอบถามนะครับทำไมไม่ไป ได้รับคำตอบว่า เราเป็นผู้บริหารแล้ว ให้ลูกน้องเรียนรู้ก็แล้วกัน เราจะมาปฏิบัติทำไม คิดอย่างนี้ก็ไม่ถูก เพราะเมื่อลูกน้องมาพูดให้ฟังในเรื่อง ง่าย ๆ ก็ไม่เข้าใจ แล้วผู้บริหารจะตัดสินใจ ได้อย่างไร ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ในยุคที่มีคอมพิวเตอร์ ใช้ใหม่ ๆ ผู้บริหารบางคน เอาคอม ฯ เก็บไว้ในห้องทำงาน ไม่ยอมให้ลูกน้องใช้งาน เพราะกลัวว่า คอมจะเสีย แถมประตูห้อง ล๊อกอย่างดี ทำอย่างนี้ ได้ยินไปถึงไหน เขาก็หัวเราะกัน ไปถึงนั่น  และผู้บริหารที่ผมพูดถึงทั้ง 2 ท่านก็เกษียณ อายุไปหมดแล้ว ยุคนี้คงไม่มีแล้วนะครับ แล้วสำหรับตัวผม ซึ่งเป็นผู้บริหารยุคใหม่ ผมมีเว็บไซต์ ส่วนตัว ผมใส่ข้อมูลเอง เรียนรู้เอง กว่าจะรู้ต้องใช้เวลาเรียนรู้ นานมาก เพราะผมไม่มีพื้นมาทางด้านนี้  แต่เพราะว่าผมอยากจะทำ  อยากจะเป็น Web Master นั่นเองครับ และจากการที่ผมรู้เรื่องไอที ทำให้ ผมสามารถติดต่อ กับเว็บไซต์สถานีวิทยุปักกิ่ง และมีการแลกลิงค์ ทำให้มีเครือข่ายกว้างมากยิ่งขึ้น
ที่ผมพูดมาทั้งหมด เป็นวิสัยทัศน์การทำงาน หรือเป็นกรอบในการทำงาน เมื่อเราทำตามที่เราวางกรอบไว้ การปฏิบัติงาน ก็จะง่ายขึ้น ผมต้องบอกท่านผู้อ่านว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาของผม แทบจะไม่รู้เลยว่า การทำงานของเขามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เพราะผมดึงศักยภาพของทุกคนมาใช้ มอบหมายงานให้ทำ มีหัวหน้างาน ที่ดูแลงานเฉพาะ ทำให้เขามีความรับผิดชอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราไม่ต้องไปตรวจสอบหรือไปจับผิดลูกน้อง   เพราะจะมีผู้ดูแลแทนเราอยู่แล้วนะครับ และขออีกอย่างนะครับ ผู้บริหารอย่าทิ้งที่ทำงาน ไปในเรื่องส่วนตัวมากนัก อาทิ ไปเล่นกอล์ฟ ทั้งวัน ถ้าจะไปก็ขอให้เป็น เสาร์หรืออาทิตย์ มือถือต้องเปิดตลอดเวลา ผู้บริหารก็เหมือนเป็นพ่อแม่ เรานี่แหล่ะ เวลาพ่อแม่ไม่อยู่ลูก ๆ ก็จะซุกซน เข้าทำนอง แมวไม่อยู่หนูร่าเริง อะไรทำนองนั้น   ถ้าผู้บริหารอยู่สถานี อย่างน้อยลูกน้องก็เกรงใจ เหมือนกับพ่อแม่อยู่ ลูก ๆ ก็ไม่ค่อย ซุกซนเท่าไหร่  สิ่งที่ผมพูดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงนะครับ บางครั้งนายไปข้างนอก ไปดื่มเหล้าเมายา ใครจะมาติดต่องาน ก็มีกลิ่นเหล้าคลุ้งไปหมด อย่างนี้ก็เสียชื่อนะครับ และสิ่งที่ผมพูดเป็นการประพฤติปฏิบัติของผู้บริหาร จริง ๆแล้วก็มีมากกว่านี้  
เอาหล่ะ มาถึง การปฏิบัติงานให้ได้เป็น สถานีวิทยุดีเด่น นะครับ เริ่มแรก เมื่อท่านย้ายไปอยู่ที่ใหม่ก็ถือโอกาสนี้ ออกไปพบปะหัวหน้าส่วนราชการ แนะนำตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ จะได้รู้จักกัน ถ้าเป็นไปได้ก็เชิญมาเป็นแขกรับเชิญออกอากาศในรายการ แบบนี้ก็เป็นการซื้อใจกัน บางหน่วยงาน มีงบอาจจะมาเช่าเวลากับเราก็ได้แต่ไม่ต้องซีเรียส ในเรื่องนี้นะครับเพราะ สถานีไม่ได้แสวงหาผลกำไร  อ้อ..ลืมบอกไป ถ้าไปพบหน่วยงานอื่นแล้วอย่าลืมถ่ายรูปไว้นะครับ อันนี้สำคัญมาก เพราะจะเป็นหลักฐานอย่างดีมาก ที่เราจะทำเป็นเอกสารรายงานประกอบการพิจารณา เมื่อมีการประกวดสถานี
สิ่งต่อมา คือ เมื่อท่านทำอะไรท่านต้องเขียนโครงการ หรือ แผนงาน รองรับ หรือเมื่อมีการถ่ายทอดเสียงในเรื่องต่าง ๆ ต้องออกคำสั่ง หรือการมอบหมายงานทุกอย่างขอให้ออกเป็นคำสั่ง   เพราะจะเป็นหลักฐาน ที่จะแสดงให้เห็นว่าเราทำงานจริง ไม่โกหก ไม่แต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อรับรางวัล 
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ งานตามแผนงานโครงการยุทธศาสตร์ ที่ สำนัก ให้ สวท.ปฏิบัติ ต้องเสร็จทุกโครงการ         ที่สำคัญต้องทำงานให้เกินค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้   และต้องมีหลักฐานด้านเอกสารประกอบด้วย เพื่อจะได้ใช้อ้างอิง นอกจากนี้งานด้านอื่น อาทิ เรื่อง PMQA สถานีของเราทำหรือไม่ ดำเนินการไปถึงไหน เรื่องการรายงาน ผู้บริหารต้องสอดส่องดูแล อย่างใกล้ชิด 
การหารายได้ มีแผนการดำเนินการหรือไม่ การใช้เงินงบประมาณ ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยการหารายได้ จะต้องมีการทำแผนงานโครงการ จะได้เป็นหลักฐานไว้อ้างอิง เพราะเป็นเอกสารที่สำคัญ ที่จะใช้ในการประกอบการพิจารณา
เรื่องการปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติ ต้องมีแผนรองรับ การทำงาน เพราะเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ ขึ้นมาแล้ว จะได้มีวิธีการปฏิบัติที่สอดคล้องต้องกัน
เรื่องแผนการเงิน ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องคำนึง   ที่จะบ่งชี้ถึงคูณภาพการปฏิบัติงาน เราอาจจะเปรียบเทียบก็ได้ว่าปีที่แล้วก่อนที่เรามารายได้ของสถานีมีอยู่เท่าไหร่ อย่างตอนที่ผมไปเป็น ผอ.สถานีโทรทัศน์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ที่นั่นมีเงินสวัสดิการอยู่ 1,080 บาท แทบจะซื้อกาแฟมาทานก็ไม่ได้   ผมอยู่เพียง 9 เดือน 9 วัน ทำให้มีเงินสวัสดิการเพิ่มเป็น 270,000 บาท ผมต้องทำระเบียบสวัสดิการ เพื่อรองรับการใช้จ่ายเงิน เพราะมากที่สุดเท่าที่ เห็นมา เพราะอย่างเก่งก็จะได้อยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท ก็ประมาณนี้ พอผมมาอยู่ สถานีวิทยุ จ.สงขลา ก็เป็นภาระที่หนักเพราะมีการเช่าเวลา และสถานีมีรายได้สูงอยู่แล้วการที่จะหาให้มีรายได้ที่สูงกว่าเป็นเรื่องยาก ไม่เหมือนที่เมืองกาญจนบุรี ที่มีเงินน้อย เราหามามากกว่าเดิมเล็กน้อย ก็มีผลงานแล้ว แต่ที่สงขลาผมทำได้ ครับ มีเงินรายได้เพิ่มขึ้นมาเมื่อเทียบกับ  6 เดือน ที่ผมมาดำรงตำแหน่ง มากว่า 6 เดือนที่แล้ว ประมาณ 230,000 บาท ก็ถือว่า OK ครับ ผมว่าอย่างนี้ก็เป็นผลงานที่วัดได้ชัด ผมก็ไม่รู้ว่าตัวชี้วัดตัวไหน แต่ที่แน่ ๆ กพ.ร.เขาไม่วัด นะครับ เอาเป็นว่าเราวัดเองก็แล้วกัน จะได้รู้ว่าก่อนที่เรามาอยู่กับปัจจุบัน อะไรมากว่ากัน ก็ถือว่าประเมินตัวเองก็แล้วกัน และเมื่อทำแล้วก็อย่าลืมรายงานเป็นบันทึก ถึงผู้บังคับบัญชา เมื่อรายงาน ท่านเขต แล้ว ท่าน อปส. ท่านก็ทราบด้วย นั่นผลงานเต็ม ๆ ซึ่งลูกน้องเราก็ได้ด้วยไม่ใช่เฉพาะเราคนเดียวนะครับ 
การทำงานทุกอย่างต้องมีการรายงานเป็นรายลักษณ์อักษร ให้ผู้บังคับรับทราบเสมอนะครับ เพราะจะเป็นหลักฐานทางเอกสารอย่างดี อีกอย่างที่ไม่ควรลืม คือ ทุกครั้งที่มีกิจกรรม ต้องถ่ายรูป ไว้เสมอ เวลาประกวดสถานี ก็นำเสนอไปเป็นหลักฐานได้ 
และขอให้ทุกท่านที่เป็นชาวกรมประชาสัมพันธ์  ที่เข้ามาอ่าน ขอให้โชคดีนะครับ ที่สำคัญก็คือ ผู้บริหารต้องเอาใจใส่ อย่าท้อ นะครับ 


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com