www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 2 คน
 สถิติเมื่อวาน 45 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2528 คน
52315 คน
1744759 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

                           

ประวัติ อำเภอตะกั่วป่า ตอนที่ 1
ข้อมูล ปี 2509 นายกระจ่าง ศิรินทรนนท์ เป็นนายอำเภอตะกั่วป่า

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ รวบรวม

ประวัติอำเภอตะกั่วป่า ความหมายและที่มาของชื่อ
อำเภอตะกั่วป่า เดิมเป็นเมืองเรียกว่า เมืองตะกั่วป่า เป็นเมืองท่าสำคัญเมืองหนึ่งทางฝั่งทะเลตะวันตก ภาคใต้ของประเทศไทยมาแต่โบราณ และเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาพร้อม ๆ กับนครศรีธรรมราช เมืองไทรบุรี เมืองเหล่านี้เจริญรุ่งเรืองมาก่อนเมืองใด ๆ ในคาบสมุทรมลายู ชาวพื้นเมืองเดิมเป็นชาวป่าพวกหนึ่งเรียกว่า "ซาไก" ต่อมาชาวมลายูซึ่งเป็นพวกตามเกาะต่าง ๆ ทางมหาสมุทรแปซิฟิค ได้พากันขึ้นมาตั้งหลักแหล่งในดินแดนแถบนี้ ตั้งแต่ปลายแหลมมลายูถึงเมืองนครปฐม ราว พ.ศ. 200-300 พระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิแห่งประเทศอินเดีย ยกกองทัพมาปราบปรามพวก กลิงคราช ในอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ จนพวก กลิงคราช บางพวกอพยพจากถิ่นเดิมเลียบฝั่งทะเลตะวันตกมาจนถึงเมืองตะกั่วป่า และเมืองใกล้เคียง เช่น ตะกั่วทุ่ง และถลางเป็นต้น

พวกกลิงคราช เหล่านี้ได้นำเอาอาจารย์ผู้มีความรู้ต่าง ๆ มาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้ด้วย ดังปรากฏฝีมือในทางช่างเป็นหลักฐานพยาน คือ การขุดพบศิลาจารึกอันเป็น อักษรทมิฬ และในรูปหินสลักเป็นเทวรูป 3 องค์ ที่ปากเวียง (เมืองตะกั่วป่าเดิม) มีผู้ให้ความเห็นยืนยันว่า เทวรูปองค์หนึ่งเป็นรูปพระศิวะ ส่วนอีก 2 องค์ ไม่มีนักโบราณคดีผู้ใดวินิจฉัยว่ามีความหมายอย่างใด นอกจากประชาชนเรียกชื่อเทวรูปนี้ว่า พระนารายณ์ พระลักษณ์ และนางสีดา เทวรูป ทั้ง 3 องค์นี้ เป็นประติมากรรมฝ่ายอินเดียทั้งสิ้น ต่อแต่นั้นมาก็กลายเป็นเมืองท่าสำคัญ ซึ่งชนชาติตะวันตกรู้จักกันดี โดยเฉพาะชนชาติอินเดียมาถึงตะกั่วป่าก่อนชนชาติอื่น ปรากฏตามหลักฐาน หนังสือมิลินทปัญหา รจนาราว พ.ศ. 500 ชาวอินเดียเรียกเมืองนี้ว่า ตกโกล หรือ ตกฺโกลํ ในภาษาบาลี และคำว่า ตกูล ในภาษาสิงหล แปลว่ากระวาน เหตุผลที่เรียกชื่อดังนี้ น่าจะสืบเนื่องมาจากเป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยเครื่องเทศ หรือเจ้าเมืองที่มีการค้าเครื่องเทศกันมากมายดังปรากฏตามแผนที่ประวัติศาสตร์ของ แฮมมอนส์ (Hammond 's Historical Atlas )และที่ทุ่งตึกหน้าเมืองตะกั่วป่าเป็นตลาดการค้าใหญ่โต เมืองตะกั่วป่าหรือ ตะโกลา นี้ขึ้นอยู่ในปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช (Tambralinga ทัมบราลิงค ) ซึ่งเป็นเมืองเอกของอาณาจักรศรีวิชัย

ครั้งราว พ.ศ. 1823 ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ชนชาติไทยได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งทางใต้มากขึ้นตามลำดับ เมื่อชนชาติไทยมีกำลังและอำนาจเข้มแข็งมากขึ้นก็ได้แย่งชิงเอาดินแดนแถบนี้จาก ประเทศศรีวิชัย และเข้าครอบครองตลอดมา ชาวไทยคงเรียกเมืองนี้ตามที่เรียกกันอยู่เดิม แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมานานเข้าจึงเพี้ยนมาเป็นตะกั่วป่า ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งอันเนื่องแต่เมืองตะโกลา มีสินแร่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่สมัยโบราณ มีโรงถลุงแร่เคี่ยวเอาน้ำตะกั่ว ส่งไปขายต่างประเทศ จึงเป็นเหตุให้เรียกตะโกลก เป็นตะกั่วป่า ดังที่เรียกกันอยู่ในปัจจุบัน


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com