www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 61 คน
 สถิติเมื่อวาน 59 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4170 คน
4170 คน
1749438 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

ประวัติ อำเภอตะกั่วป่า ตอน 7
ข้อมูล ปี 2509 นายกระจ่าง ศิรินทรนนท์ เป็นนายอำเภอตะกั่วป่า
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ รวบรวม

พระยาเสนานุชิต (นุช) เจ้าเมืองตะกั่วป่า

พระยาเสนานุชิต (นุช ) เป็นคนเข้มแข็ง ดุ มีความสามารถในการปกครองคล้ายเจ้าเมืองนครผู้เป็นบิดา เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเมืองตะกั่วป่าแล้ว เห็นว่าเมืองตะกั่วป่าที่ตั้งอยู่เดิม(ที่บ้านตะกั่วป่า) ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง บ้านเมืองถูกทำลาย ราษฎรมีน้อย ที่ตั้งไม่ถูกยุทธภูมิ จึงได้ย้ายเมืองตะกั่วป่ามาตั้งที่ตำบลตลาดใหญ่ (ตลาดเก่าเวลานี้) วางโครงการทำผังเมือง ก่อสร้างกำแพง จวนบ้านพักกรมการเมือง ตัดถนนสร้างตลาด สร้างวัดใหม่มีกำแพงล้อมรอบ(วัดเสนานุชรังสรรค์ เวลานี้) ราษฎรที่อยู่ตามป่าเขาก็ละทิ้งถิ่นเดิมกลับเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข เมืองตะกั่วป่าก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ นอกจากนั้น ในด้านการปราบปรามคนร้ายทั่วไป สมัยนั้นยังมีโจรสลัดแถบหัวเมืองชายทะเลตะวันตกชุกชุม โดยเฉพาะเขตเมืองตะกั่วป่าและถลาง ทำการปล้นเรือสินค้าอยู่เป็นนิจ ทำให้การค้าขายไม่สะดวก ราษฎรได้รับความเดือดร้อน พระยาเสนานุชิต ( นุช) ได้ดำเนินการออกปราบปรามจับกุมและนำมาฆ่าที่หาดฆ่าคนหน้าเมืองตะกั่วป่า พวกโจรสลัดที่เหลืออยู่บ้างก็หนีออกนอกเขตไม่กล้ามารบกวนเรือสินค้าอีก การค้าขายของราษฎรจึงดำเนินไปด้วยดี เมืองตะกั่วป่าจึงเป็นศูนย์กลางการค้าอันเป็นหัวเมืองเอกของเมืองนครศรีธรรมราช

พระยาเสนานุชิต(นุช)นอกจากปรีชาสามารถในการบริหารบ้านเมืองดังกล่าวมาแล้ว เมื่อคราวรบชนะเมืองไทรบุรี นอกจากท่านจะได้บุตรสาวเจ้าเมืองไทรบุรี มาเป็นภรรยาแล้ว ยังได้กวาดต้อนพลเมืองเป็นเชลยศึกมาเป็นอันมาก มาไว้ที่เมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราชเดี๋ยวนี้ สำหรับที่พามาเมืองตะกั่วป่า ท่านก็จัดให้อยู่ที่บ้านบางกรักใน บ้านบางกรักนอก อันเป็นหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 แห่งตำบลโคกเตียน อำเภอตะกั่วป่า และต่างได้ทำมาหากิน มีสวน มีนา เป็นหลักแหล่งมั่นคงสืบบุตรหลานมาจนทุกวันนี้

พระยาเสนานุชิต(นุช) อยู่รักษาเมืองตะกั่วป่าตลอดมาราว 30 ปี มีบุตร และธิดา 58 คน ขอกล่าวเฉพาะบุตรที่มีการเกี่ยวข้องกับเมืองตะกั่วป่าตามประวัติของสกุล ณ นคร คือ
บุตรคนที่ 2 พระยาเสนนุชิตสิทธิสาตรามหาสงคราม สยามราชภักดีพิริยะพาหะ (เอี่ยม) ผู้รักษาเมืองตะกั่วป่า

คนที่ 3 สมบัติยานุรักษ์(ดิษฐ) จางวาง คลังเมืองตะกั่วป่า

คนที่ 11 พระสมบัติยานุรักษ์ (หงส์) จางวางคลังเมืองตะกั่วป่า(บ้านของท่านคือสวนสมบัติเวลานี้)

คนที่ 13 พระสุนทรภักดี (สงวน) ผู้ช่วยราชการเมืองตะกั่วป่า

คนที่ 17 พระนรเทพภักดีศรีราช (สิทธิ์) ยกกระบัตรเมืองตะกั่วป่า ผู้นี้รั้งเมืองตะกั่วป่า ซึ่งจะกล่าวต่อไป)

คนที่ 28 พระอินทรศักดิ์เสนานุวงษ์บริรักษ์ (ชื่น) ผู้ช่วยราชการเมืองตะกั่วป่า

คนที่ 30 พระสุนทรวรนาถราชภักดี (ท้วม)ผู้ช่วยเมืองตะกั่วป่า

คนที่ 34 พระเรืองฤทธิรักษาราษฎร์ (พัน) ผู้ช่วยเมืองตะกั่วป่า

คนที่ 40 พระเรืองฤทธิรักษาราษฎร์(จันทร์) ผู้ช่วยเมืองตะกั่วป่า

คนที่ 54 พระพลยุทธสงคราม(พลอย) ผู้รักษาเมืองตะกั่วป่า พ.ศ. 2444

ต่อมาเป็นพระยาบริรักษ์ภูธรและเป็นพระยาคงคาธราธิบดีศรีสุราษฎร์โลหนครราธิปตัย อภัยพิริยะพาหะสมุหเทศาภิบาลมณฑลสุราษฎร์ ในรัชกาลที่ 6 บ้านของท่านคือโรงเรียนเต้าหมิงหลังที่ 1 บัดนี้ แต่ก่อนเรียกว่า ค่ายท่านพระพล

คนที่ 57 พระวรคีรีรักษ์(วร) นายอำเภอตะกั่วป่าคนแรก นอกจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเมืองตะกั่วป่าแล้ว บุตรคนที่ไปรักษาเมืองอื่นก็มีอีกหลายคน เช่นเมืองตะกั่วทุ่ง เมืองคีรีรัฐนิคม เมืองกระบี่ ส่วนธิดาก็ได้เป็นจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 สองคน และรัชกาลที่ 5 หนึ่งคน ผู้อยากทราบรายละเอียดโปรดอ่านประวัติของ สกุล ณ นคร พระยาเสนานุชิตสิทธิสาตรามหาสงครามภักดีพิริยะพาหะ(เอี่ยม) รักษาเมืองต่อมาปรับปรุงส่งเสริมอาชีพของราษฎร์ให้ดีขึ้น เหตุการณ์เป็นปกติ


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com