www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 3 คน
 สถิติเมื่อวาน 115 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2593 คน
14417 คน
1706861 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

ทำไมประชาสัมพันธ์จังหวัด ไม่ได้ซี 9
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
16มี.ค.64


 เป็นความพยายามของกรมประชาสัมพันธ์..ที่จะยกระดับตำแหน่งประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต..ขึ้นเป็นระดับอำนวยการสูง หรือ ซี 9 ..เพราะหลายหน่วยงานได้ยกระดับอำนวยการสูง เกือบจะหมดแล้วแต่ทำไม..ประชาสัมพันธ์จังหวัด..จึงไม่ได้ซี 9 หรือ อำนวยการสูง หรือ อส..ซักที..


 ผมขออธิบายให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ นะครับ..ว่า..มีหนังสือเวียนจาก ก.พ. ที่นร1008/ว.2 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง ... ท่านสามารถเข้าไปอ่านในรายละเอียดได้นะครับ...เพราะค่อนข้างเยอะ..แต่ผมจะนำเอาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง กับหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค..ซึ่งประชาสัมพันธ์จังหวัด คือ หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค มาอธิบายให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ  ดังนี้
ให้ท่านไปอ่าน เอกสารหน้าที่ 34 เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง ระบุว่า...


  6.ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด ให้กําหนดตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัดได้ส่วนราชการละ ๑ ตําแหน่ง ตามที่ ปรากฏในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้


๑.๖.๑ ในฐานะตัวแทนกระทรวง (๑) มีบทบาทเป็นตัวแทนกระทรวงที่ปฏิบัติงานครอบคลุมภารกิจหลายด้านของ กระทรวง และเป็นหนัวยยุทธศาสตรของกระทรวงในระดับจังหวัด รับผิดชอบการบูรณาการแผนงาน และโครงการ (๒) รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจที่หลากหลาย โดยจําลองภารกิจหลักของกระทรวง ตามที่มีกฎหมายกําหนด นโยบายรัฐบาล พันธกิจ และยุทธศาสตรของส่วนราชการไปปฏิบัติอย่าง เบ็ดเสร็จในพื้นที่ และได้รับมอบอํานาจการตัดสินใจ การอนุมัติการอนุญาต ทั้งในด้านการบริหารงาน.....”


 ขออธิบาย..ให้เข้าใจง่าย ๆ คือว่า..หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด..เป็นข้าราชการส่วนภูมิภาค..นะครับ..เรื่องการเป็น...ผู้แทนกระทรวง..เรื่องนี้สำคัญมาก...ยกตัวอย่าง..กระทรวงเกษตรและสหกรณ์..มีผู้หน่วยงานที่เป็นผู้แทนกระทรวงที่อยู่ประจำจังหวัดคือ..สำนักงานเกษตรและสหกรณ์..หน่วยงานนี้จะได้..ตำแหน่งเป็นอำนวยการสูง ตามหลักเกณฑ์ เพราะเป็นผู้แทนกระทรวง..สำนักงานสถิติจังหวัด..หลายคนบอกว่าบุคลกรเพียง 5-6 คน พอ ๆ กับ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด..แต่ได้ตำแหน่งอำนวยการสูง..เป็นไปได้ยังไง..เป็นไปได้ครับเพราะเขาเป็นผู้แทนกระทรวงดิจิทัล..สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด..เป็นผู้แทนกระทรวง..เป็นหน่วยงานที่เกิดทีหลัง สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ก็ยังได้ตำแหน่งอำนวยการสูง..สรุปก็คือว่า..ถ้าหน่วยงานไหนได้เป็นผู้แทนกระทรวง..หน่วยงานนั้นก็จะได้เป็น..อำนวยการสูง..แต่ก็มีบางจังหวัดที่ยังไม่ได้เป็น..ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นแต่จะทยอยเป็น..นะครับ..ที่จะต้องผ่าน..หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน..ด้วยนะครับ...ที่นี้มาดูอีกข้อ...คือ


 ๑.๖.๒ ในฐานะตัวแทนกรม (๑) ปฏิบัติภารกิจที่หลากหลายโดยจําลองภารกิจหลักส่วนใหญ่ของกรมไปปฏิบัติ เบ็ดเสร็จในพื้นที่ (๒) ลักษณะงานมีความยุ่งยากซับซ้อน มีความหลากหลายเป็นพิเศษ มีคุณภาพและ ปริมาณงานสูง และมีขอบเขตการกํากับดูแลงานในพื้นที่ถึงระดับอําเภอ


 ขออธิบาย..ให้เข้าใจง่าย ๆ คือว่า..หน่วยงานที่เป็นผู้แทนกรม..บางหน่วยก็ได้..อำนวยการสูง..ทำไม..สงสัยจัง..อาทิ สำนักงานเกษตรจังหวัด..หัวหน้าหน่วยงานเป็น..อำนวยการสูง..ให้ย้อนไปดูข้อ 2 ที่บอกว่า..มีหน่วยงานกำกับดูแลงานในพื้นที่ถึงระดับอำเภอ..เพราะ..สำนักงานเกษตรจังหวัด..กำกับดูแล..สำนักงานเกษตรอำเภอ....สำนักงานพระพุทธศาสนา..เพิ่งก่อตั้งหลังสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด..ทำไหม..จึงได้..อำนวยการสูง..คำตอบก็คือว่า..สำนักพระพุทธศาสนา..กำกับดูแลวัด..สำนักสงฆ์..ที่พักสงฆ์....ถามว่าบางจังหวัดยังไม่ได้..อำนวยการสูง..ก็เพราะต้องผ่านหลักเกณฑ์การประเมินค่างาน..ก่อน..คงพอเข้าใจนะครับ..ผมพยายามอธิบายเป็นเรื่องง่าย ๆ เพื่อให้เข้าใจ..


เมื่อถามว่าแล้ว..สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด..เป็นหน่วยงานที่อยู่ในฐานะใด..ท่านผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ของ กรมประชาสัมพันธ์..ที่ผมทำงานอยู่..บอกว่า..บางทีก็เป็นผู้แทนกรม...และบางที่ก็เป็นผู้แทนกระทรวง..ตอบแบบนี้เรืยกว่าซี้ซั้วตอบ..คร้าบ..ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่รู้จริง..แต่ได้เป็นหัวหน้าหน่วยงานด้านบุคลากร..เป็นเรื่องเศร้าที่ได้คนประเภทนี้มาเป็น..เสียดายครับ..กับโอกาสที่สูญเสียไป..และการเลือกคนมาเป็นหัวหน่วยงาน..ก็สำคัญนะครับ..หาคนที่มีความรู้หน่อย..อย่าเอาประเภทเลียมาเป็นนัก..


 เอาหล่ะ..เพื่อกระชับ..ขอตอบนะครับว่า..สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด..เป็นเพียงผู้แทนกรม..เท่านั้น ขออธิบาย..เมื่อเป็นผู้แทนกรม..แต่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด..ไม่มีหน่วยงานที่กำกับดูแลในพื้นที่..แล้วมีคนอ้างว่า..แล้ว..อปมช.ใช้ไม่ได้เหรอ..อันนี้ไม่ได้ครับ..เพราะเราเชิญชาวบ้านมาอบรม..อบรมเสร็จก็แยกย้ายกลับบ้าน..งบประมาณให้บ้าง..ไม่ให้บ้าง..ที่สำคัญ อปมช.ไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย..และไม่มีในโครงสร้างในกรมประชาสัมพันธ์ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา..เมื่อสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด..ไม่มีหน่วยงานในระดับอำเภอที่กำกับดูแล..จึงไม่ได้..ตำแหน่งอำนวยการสูง..ด้วยเหตุฉะนี้..เข้าใจหรือยัง..


อันนี้เป็นหลักเกณฑ์..ตามที่ก.พ.กำหนด..ไม่ใช่ผมคิดเอาเอง..หรือมโนเอาเองว่า..เราเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์..แล้ว..ใกล้แล้ว..เดี๋ยวทำค่างานเสร็จ..ก็ส่งก.พ.ร.เดี๋ยวประชาสัมพันธ์จังหวัด..ก็จะได้..อำนวยการสูงแล้ว..พูดแบบนี้.มันเป็นการหลอกลวง..ผมได้พูดให้น้อง ๆ หลายคนฟัง..มันเหมือนแมงเม่าบินเข้ากองไฟ..มันไม่เชื่อผม..มันเห็นแต่แสงที่ริบหรี่ที่ปลายอุโมงค์..ตามที่เขาลวงบอก..ว่าประชาสัมพันธ์จังหวัด..ได้ตำแหน่งอำนวยการสูง..แม้นผู้บริหารระดับสูง..ก็หลงเชื่อ..เมื่อเห็นว่าไม่ได้จริง.ๆ.ก็อ้างว่าคนที่เป็นกรรมการหลายคนเกษียณ..ต้องตั้งกรรมการใหม่..ในที่สุดไปไม่ถูก..ถึงขั้นทำเพาเวอร์พร้อย..นำเสนอขอ..อำนวยการสูง..จากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี..ที่มาจากโคราช..สรุปก็คือ..ลวงโลก..หลอกถึงผู้บังคับบัญชา..หลอกถึงบุคลากรกรม..ที่ฝากความหวัง..ก็อย่างนี้แหล่ะที่เอาคน..ขับรถปาดหน้ามาทำงาน..ถามว่า..แล้วปีนี้ พ.ศ.2564 ได้แล้วยังโบ๋เบ๋..จนกรมกระชาสัมพันธ์..ต้องไปว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ  มาทำงานด้านนี้..แต่ก็คงโบ๋เบ๋..และในที่สุดก็บ๊ายบาย..เหมือนคณะทำงานชุดก่อน ๆ


 แล้วผมมีแนวทางยังไงหล่ะ..ที่จะทำให้..ประชาสัมพันธ์จังหวัด..ได้ตำแหน่งอำนวยการสูง..ง่ายนิดเดียว..ก็ทำให้ประชาสัมพันธ์..เป็นผู้แทนกระทรวง..ซะสิ..แล้วทำยังไง..


เวลานี้หน่วยงานที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี..ที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค..มีอยู่2หน่วยงานคือ..สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด กับ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค..ให้ทั้ง 2 หน่วยงาน ไปคุยกัน..ตอนนี้ยากแล้ว..เพราะถ้าคุยกันช่วงที่เป็น คสช...ก็จะง่ายมาก..เพราะอธิบดี..ก็มาจากทหาร..ใช้ม.44 บังคับเอาเลย..ว่าให้สำนักงานประชาสัมพันธ์..เป็นผู้แทนกระทรวง..เมื่อได้เป็นแล้ว..สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด..ก็ทำการประเมินค่างาน..ทยอยกันขึ้นเป็นตำแหน่งอำนวยการสูง..แต่วันนี้เหตุการณ์มันได้ผ่านไปแล้ว...ยากแล้ว..ตลาดวายแล้ว..วิธีการอื่น..แทบจะมองไม่เห็น..แต่ก็ยังมีอีกวิธีการหนึ่งคือ..


จัดทำโครงสร้างใหม่..ให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด..เป็นผู้แทนกรม..โดยจัดตั้ง..ให้แต่ละอำเภอมี..ประชาสัมพันธ์อำเภอ..แต่เรื่องงบบุคลากร..ต้องเท่าเดิมนะครับ..มีประมาณ 100 บาท..ก็ต้องใช้ในวงเงิน 100 บาท แล้วต้องอยู่ให้ได้..นี่คือวิธีที่ 2 ที่จะทำให้..ประชาสัมพันธ์จังหวัด..ได้ตำแหน่งอำนวยการสูง


แล้วอย่าไปเอา..สถานีวิทยุกระจายเสียง..และวิทยุโทรทัศน์มารวม..นะครับ..เพราะถ้ารวมแล้ว..ผู้อำนวยการสำนัก..ก็จะถูกตัดคน..ตัดงาน..พาลจะไม่ได้..อำนวยการสูง..เพราะการประเมินค่างานจะไม่ผ่าน..และที่สำคัญ..สวท.สทท.และสปข...เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง..


เรื่องนี้..ผมเคยนำเสนอ..ท่านอปส.ที่มาจากทหารแล้ว..คิดว่าเรื่องคงไม่ถึง...ซึ่ง.ผมได้ทำเป็นหนังสือราชการ..เสนอแนวทางการปรับปรุงเรื่องตำแหน่ง..ถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์..เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ..ตอนที่ท่านมารับตำแหน่งใหม่ ๆ เลย..ถ้าท่านได้อ่าน..ประชาสัมพันธ์จังหวัด..คงได้เป็นตำแหน่งอำนวยการสูง..ไปนานแล้ว
เอ้าเอาแค่นี้..หวังว่าคงเข้าใจ..รายละเอียดในระเบียบค่อนข้างเยอะไปอ่านเอา..ผมอ่านหลายรอบแล้ว..จึงสรุปให้ฟัง..ได้เท่านี้..ยังมีเรื่องตำแหน่งเชี่ยวชาญ..และเรื่องการทำสวัสดิการ..อีกนะครับ..ที่พวกเราเสียโอกาส..แต่เรื่องสวัสดิการ..ที่ผมทำที่สวท.สงขลามาตั้งแต่ปี 2556 ..อยู่อย่างสบาย...ผมไม่เสียโอกาส..ที่จะทำงานให้กรมฯโดยเฉพาะในส่วนที่ผมทำงานอยู่


99999999999999

 
คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com